คนไทยแข็งแกร่ง เมืองไทยแข็งแรง


มองอย่างง่ายๆก็คือทำให้ประชาชนอยู่ดีมีสุข กินอิ่ม นอนอุ่น นั่นเอง อำเภอบ้านตากก็เป็นอำเภอแข็งแรงตามเกณฑ์Healthy Thailand แล้ว แต่ผมก็ยังรู้สึกว่าชาวบ้านเหมือนๆเดิม

โครงการนี้มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Healthy Thais, Healthy Thailand ในความเห็นของผมเป็นโครงการที่ดีมาก น่าจะเป็นโครงการร่วมของทุกกระทรวงมากกว่าแค่เป็นของกระทรวงสาธารณสุข หากมองสุขภาพคือสุขภาวะที่สมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและเชาว์ปัญญา   ซึ่งก็คือคุณภาพชีวิตซึ่งเป็นเป้าหมายและหน้าที่หลักของรัฐที่ต้องจัดให้เกิดขึ้น   มองอย่างง่ายๆก็คือทำให้ประชาชนอยู่ดีมีสุข กินอิ่ม นอนอุ่น นั่นเอง

                ตามแนวคิดของโครงการเมืองไทยแข็งแรงนั้น เป็นสิ่งที่ดีมาก มีทั้งแนวคิด หลักการ ที่ชัดเจน ดังนี้

Healthy Thailand Principle

1.       Area based Implementation & Evaluation

2.       Integration & Intersectual  action collaboration

3.       Community based Approach

4.       Knowledge Worker & Knowledge Organization

Healthy Thailand Strategy

1.       Community participation

2.       Public Communication

3.       Capacity Building

4.       Quality of Care

5.       Social measures

6.       Knowledge Management

7.       Result  oriented  Management

              ในเรื่องของการปฏิบัติการกำหนดเป้าหมายทั้งหมด 6 เรื่องคือ ออกกำลังกาย อาหาร อารมณ์อโ รคยา อนามัยสิ่งแวดล้อม อบายมุข ก็เป็นสิ่งที่ชัดเจน แต่ที่ผมมมองว่าการทำให้ผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดนั้น ไม่แน่ใจว่าจะทำให้คนไทยแข็งแกร่ง เมืองไทยแข็งแรงได้จริงหรือไม่ เพราะเกณฑ์ที่กำหนดนั้นเป็นการวัดแค่ตวกิจกรรม กระบวนการหรือแค่ผลผลิต (Outputs) เท่านั้น ไม่ได้มีหลักประกันที่ชัดเจนว่าหากผ่านผลผลิตเหล่านี้แล้วจะนำไปสู่สุขภาพจริงหรือไม่   อาจจะเป็นแค่ความหวือหวาชั่วเวลาเหมือนกับการทำเรื่อง Health for all หรือสุขภาพดีถ้วนหน้า ที่ผ่านกันทั่วไทย แต่ทำไมยังต้องมาทำโครงการเมืองไทยแข็งแรงกันอีก ก็เชื่อในทางที่ดีว่าทุกพื้นที่ไม่ได้เสกข้อมูลขึ้นมา เป็นแต่ว่าเกณฑ์ที่กำหนดดูสวยหรูนั้น มันไม่ได้มีพลังที่จะส่งให้เกิดผลลัพธ์ต่อประชาชนจริง  ในกรณีของเมืองไทยแข็งแรงเองผมก็เกรงว่าจะเป็นแบบนั้นอีกเพราะเกณฑ์น้อยกว่าและผ่านง่ายกว่า จะทำให้ผ่านนั้นไม่ยากโดยไม่ต้อง Makeข้อมูลด้วย
                Healthy Thailand ของบ้านตาก 7 ตำบล ผ่าน 6 ตำบล ร้อยละ 85.71  ผ่านตำบลแข็งแรง  ผ่านอำเภอแข็งแรง  หมู่บ้านแข็งแรงผ่านเกือบทุกตำบล ยกเว้นที่ตำบลท้องฟ้า แต่เมื่อพิจารณาตามเกณฑ์แล้ว  อำเภอบ้านตากก็เป็นอำเภอแข็งแรงตามเกณฑ์Healthy Thailand แล้ว แต่ผมก็ยังรู้สึกว่าชาวบ้านเหมือนๆเดิม พฤติกรรมสุขภาพก็เดิมๆ ทุกวันก็ยังตรวจคนไข้แบบเดิมๆ และก็ยืนยันว่าทีมงานไม่ได้เสกข้อมูลมาเพื่อให้ผ่าน ผมคิดว่าเกณฑ์ไม่น่าจะมีพลังในการผลักดันสุขภาวะของชาวบ้านอย่างแท้จริงมากกว่า
คำสำคัญ (Tags): #kmกับงานประจำ
หมายเลขบันทึก: 7014เขียนเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2005 23:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

     หมอครับ ผมเชื่อว่า Healthy Thailand ก็เป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งในการมุ่งสู่สุขภาวะครับ หากไม่พิจารณาเรื่องความคุ้มค่าในบันดล (ทันที) ในระยะยาวไปข้างหน้าจะช่วยได้มากครับ เหมือนที่ Health for all ก็ทิ้ง Impact ไว้ให้เราเยอะเหมือนกันครับ คงเป็นเพราะการลงทุนเพื่อพัฒนาสุขภาพ หาตัวชี้วัดและตัวทำนายผลสำเร็จของ Healthy ยากจริง ๆ เราจึงใช้ Proxy Indicators แทนกัน และเราก็มาหลงกันว่าเมื่อได้ตามที่ตั้งไว้ (ตาม Proxy Indicators) เป็น Healthy แล้ว ซึ่งอาจจะไม่ใช่ก็ได้ตามที่หมอกล่าว

     ผมจึงเชื่อแนวทางการดูแลตนเอง พึ่งตนเองได้ของชุมชนเล็ก ๆ กลุ่ม ๆ ว่าน่าจะนำไปสู่สุขภาวะได้จริงและยั่งยืน ตามแนวคิดที่กำลังดำเนินการอยู่กับหมอยอร์น (นพ.ยอร์น จิระนคร) คือ "ไตรภาคีร่วมพัฒนาสุขภาพชุมชนครับ"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท