ฝึก "ใส่ใจ" ยากแท้หยั่งถึงอย่างไร


ตัวอย่าง Compassion ที่เรา Detect ความคิดภายในเรียกทางธรรมว่า พละ 5 อินทรีย์ 5 จากการวัดคลื่นสมอง จากภาพคือ Intrinsic mind-body-heart alignment บวกกับ Functional Abilities of Metacognition InsideOUT ขณะที่ PIC-Cultural Fit เป็น Aptitude Test OutsideIN ที่มี Sensitivity ในการตอบคำถามด้วยความจริงซื่อสัตย์แตกต่างกันในแต่ละบุคลากร เรียกทางธรรมว่า ศีล 5 อิทธิบาท 4 ดังภาพ ยังไม่มีใครวัดคลื่นสมองขณะตอบแบบสอบถาม PIC-Cultural Fit ทำให้เห็นว่า HRD Assessment ยังไม่มีอะไรแน่นอน เพราะ Growth Mindset ของมนุษย์สะท้อนศักยภาพของสมองที่เรียกว่า Behavioral Fit กับ Cognitive Ability ยากแท้หยั่งถึง

ผมกำลังทำงานกับทีม In Mind ด้วยธรรมจัดสรรให้พวกเรากำลังเรียนรู้ธรรมะจากท่านสมเด็จพระญาณสังวรฯ ที่ว่า “ผู้ที่มีความพอแล้วย่อมมีความพอใจในภาวะและฐานะของตนเอง จนกระทั่งไม่เห็นความสำคัญที่จะต้องนำตนไปเปรียบเทียบกับผู้อื่น”  

ผมจึงขอตั้งจิตภาวนาให้ค้นคว้าเรื่อง Empathy Training อย่างเข้าใจถ่องแท้ในบันทึกเช้าวันนี้ 

  • อ้างอิงจาก https://dlibrary.stanford.edu/questions/how-does-empathy-influence-creativity ผมชอบประโยคที่ว่า “Getting people to feel, not just think, is essential to design work. Luckily, we’ve got empathy on our side.” แม้ว่า “ความสนใจ หรือ Attention” จะเริ่มพร้อมกับระหว่าง Empathy กับ Creativity แต่ทั้งสองทักษะแยกส่วนการทำงานกัน เราจึงควรวัดศักยภาพทางสมองแยกความถนัดภายในแต่ละรายบุคคลกัน เมื่อเราเอาใจเขามาใส่ใจเรา เรามองออกไปสู่การรับรู้ด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์บนโลกใบนี้ เราเกิดมาเพื่อตัดสินใจแก้ปัญหาของคนว่า “ใครคือผู้สร้างปัญหามากกว่าปัญหาคืออะไร (Empathy ก่อน Define)” ถ้าเราไม่ให้สมองสร้างสรรค์กรอบคิดที่ดี เราก็จะไม่มีทางแก้ปัญหาได้ดีเช่นกัน สิ่งที่ยากที่สุดคือ นิยามว่าปัญหาคืออะไร แต่เราใช้ Creativity โดยพยายามหากรอบคิดมากมายในการแก้ปัญหา คราวนี้ขึ้นอยู่กับว่า ระบบคิดเป็นระบบในแต่ละรายบุคคลจะมองเห็นกรอบคิดมากมายนั่นได้เห็นดีพ้องกัน (ตีโจทย์ให้แตก ด้วยการสื่อสารภาษายีราฟ หรือ Passionate Empathy) หรือ เห็นต่างกัน (โจทย์ยังคงยุ่งยากซับซ้อน - ต่างคนต่างคิดเงียบ ด้วยการสื่อสารด้วยภาษาหมาป่า หรือ Painful Empathy) 
  • อ้างอิงจาก https://www.ccl.org/articles/leading-effectively-articles/empathy-in-the-workplace-a-tool-for-effective-leadership/ ผมชอบประโยคที่ว่า “Empathetic leadership means having the ability to understand the needs of others, and being aware of their feelings and thoughts.” ทำให้เห็นว่า Leadership ที่มีสุขภาวะจะมี Empathy อยู่ในเนื้อแท้และมีคุณลักษณะของผู้ให้อย่างแท้จริง ได้แก่ สังเกตเข้าถึงคนทำงานที่กำลังหมดไฟ เข้าใจในความฝัน-ความหวัง-ประเมินความต้องการที่แท้จริงของคนทำงานได้ ตั้งใจช่วยเหลือจัดการอุปสรรคชีวิตคนทำงานรายบุคคล และสะท้อนความเมตตากรุณาในกรณีที่คนทำงานกล้าเล่าความสูญเสีย/ความเจ็บปวดในการดำเนินชีวิต
  • อ้างอิงจาก https://business.adobe.com/blog/perspectives/new-year-new-leadership-5-skills-needed-to-succeed-in-2021 ผมชอบประโยคที่ว่า “Effective leadership has been imperative for business resilience during the COVID-19 pandemic. But it hasn’t been easy.” แม้ว่าจะนำเสนอทักษะที่จำเป็นของผู้บริหารในปีที่ผ่านมา แต่ผมคิดว่ายังคงจำเป็นตลอดกาลโดยเฉพาะวิกฤตโควิดที่ยาวนานเช่นนี้ ได้แก่ Empathy, Creativity, Agility related Growth Mindset, Collaboration และ Flexibility
  • อ้างอิงจาก https://federalnewsnetwork.com/management/2020/06/leading-a-remote-workforce-requires-different-mix-of-flexibility-empathy-managers-say/ ผมชอบประโยคที่ว่า “Today’s challenges just demand a different mix of flexibility, empathy and creativity.” ช่วงโควิดทำให้ Leadership ควรฝึกฝนทักษะในการสื่อสารกับคนทำงานด้วย Telework อย่างน้อย 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ ไม่ใช่สื่อสารแค่เรื่องงาน แต่มีน้ำใจและเห็นอกเห็นใจในสถานการณ์ชีวิตที่ยากลำบากทั้งสมดุลสุขภาวะทางการทำงานหารายได้ การเลี้ยงดูลูกและครอบครัวที่ไม่สามารถออกไปข้างนอกได้ และการวางแผนระยะยาวเพื่อให้อยู่รอดแบบอึด ฮึด สู้ ทั้งสุขภาพ ความสุขพอดี การพัฒนาความรู้สู้โรคร้ายบนโลกนี้ และการสื่อสารด้วยความรักความเข้าใจในเพื่อนมนุษย์ 

 

คำสำคัญ (Tags): #empathy#leadership#creativity#flexibility
หมายเลขบันทึก: 698155เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2022 13:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2022 13:13 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

อ่านไปก็คิดตามว่า การฟังคนพูดปัญหาให้ฟังตลอด แต่ไม่ให้เราเสนอความคิดเห็น

เขาบอก เขาเป็นแบบนี้ เพราะเขาเคยทำแบบนี้

เราจะทำอย่างไร ฟังไปก็เท่าเดิม

เหมือนเขาอยากระบายให้เราฟังมากกว่า

ขอบพระคุณมากครับพี่ขจิต และ คุณแก้ว เมื่อเขาระบายให้เราฟัง ฟังไปไม่เท่าเดิมครับ ถ้าเราฟังแล้วจับประเด็นทวนซ้ำ เพื่อตั้งคำถาม ง่ายสุด ถาม “ทำไม” 5 รอบ แต่ละรอบนำคำตอบที่เขาตอบมา ตั้งทีละคำถามว่า “ทำไม” จะเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงความคิดภายในได้กระจ่างขึ้นครับผม

-สวัสดีครับอาจารย์-ตามมาอ่านบันทึกครับ-สบายดีนะครับ-ผมกำลังกลับเข้ามาเขียนบันทึกเรื่องราวครับ-ต้องเคาะสนิม…ป๊อกๆ -ต้องถ่ายน้ำมันเครื่อง/อัดจาระบีเพิ่มครับ 555-ด้วยความระลึกถึงนะครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท