แกะรอยความรู้


สรุปบทเรียนผ่านเวทีวิชาการ ที่เราจะจัด “วันปันผลความรู้”ขึ้น ตามไตรมาสของงาน

    วันนี้..เราเริ่มประชุมกลุ่มนักศึกษาตามแบบที่จำลองมาจาก กทม. ในช่วงที่ผมชวนนักศึกษาโข่งลงกรุงเทพ เรามีโปรแกรมไปโน่นไปนี้ตลอดวัน และบางรายการก็โชคดีมาก โดยเฉพาะการมีโอกาสได้ไปสังเกตการณ์ประชุมการปฏิบัติงานประจำสัปดาห์ของชาว(ส.ค.ส.) ที่สำนักงานใหญ่ ขอขอบพระคุณที่ท่านอาจารย์ให้กรุณาได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง  ทำให้เกิดความตระหนักในการออกแบบวิธีทำงานในกลุ่มของเรามากขึ้น

    ผมชอบบรรยากาศวันนั้นมาก  มีผู้ร่วมงานรุ่นกระเต๊าะห้อมล้อมท่านอาวุโส  ท่านอาจารย์ใหญ่ชี้ชวนคนโน้นคนนี้ให้เล่นบทพระเอกนางเอก เสนอผลงานที่รับการบ้านไปดำเนินงานนำมาเล่าสู่กันฟัง หลังจากนั้นก็มีความเห็นของเพื่อนร่วมงานช่วยต่อแต้มความคิดเห็น  ท่านอาจารย์ใหญ่ คอยให้ข้อสังเกต ให้แง่คิด ให้กำลังใจ ผมนั่งคิดในใจว่าบุคลากรรุ่นกระเต๊าะเหล่านี้ช่างโชคดีเหลือเกิน  ที่มีโอกาสได้เรียนรู้กับท่านผู้คงแก่เรียนระดับอ๋องเรียกพี่ ทรัพยากรบุคคลเหล่านี้ คงจะเป็นกำลังสำคัญในการสร้างKM.ประเทศไทยต่อไปในอนาคต

    ก็อย่างที่ผมบอกในที่ประชุมวันนั้น  เมื่อเห็นสิ่งดีๆเราก็เก็บเกี่ยวมาลงมือทำที่บ้านเราบ้าง เราเรียกวิธีนี้ว่า “แกะรอยความรู้” ตามที่จั่วหัวไว้นั่นนะครับ  เราจัดกันง่ายๆ  เอาเก้าอี้มาล้อมวง แล้วก็ชวนสมาชิกมาคุยกัน  บังเอิญว่าช่วงนี้มีน้อง(กุ๊ก)น.ส.ราณี บำเพชร นักศึกษาระดับปริญญาโท จากสถาบันวิจัยสังคมจุฬา ที่มาทำวิทยานิพนธ์ที่นี่เกือบ 2 ปีมาแล้ว  มาลงพื้นที่เก็บข้อมูลงวดสุดท้าย  ได้มาร่วมแลกเปลี่ยนวิธีการทำงาน การเก็บข้อมูล แง่มุมต่างๆในการทำวิทยานิพนธ์ 

     เราประชุมกัน4-5 คน แต่ก็มีอาจารย์ที่ปรึกมาร่วมแลกเปลี่ยนให้ข้อแนะนำด้วย  โดยการโทรศัพท์แล้วเปิดโปรแกรมขยายเสียงไว้  ทำให้นักศึกษาได้ยินเสียงอาจารย์ที่ปรึกษาโต้ตอบในประเด็นต่างๆ  ทำให้บรรยากาศการหารือกันในครั้งที่ 1 เป็นการปูพื้นฐานที่จะสานต่อในครั้งต่อไป  ทุกคนได้มีการบ้านให้กับไปทำ เช่น

1 ในการเก็บข้อมูลในแต่ละบทควรหลากหลายและสมบูรณ์แบบมากที่สุด เพื่อที่จะนำเอาภูมิปัญญาพื้นถิ่นมาประยุกต์เข้ากับความรู้สายวิชาการที่เหมาะ แล้วคัดกรองให้เป็นชุดความรู้ที่เหมาะสมต่อการนำมาประกอบอาชีพในชุมชน  โดยยึดหลักการ วิชา+อาชีพ = การสร้างวิชาชีพในชุมชน

2 ความรู้ที่ผสมผสานขึ้นมาใหม่  มีการนำไปทดลองใช้ในกลุ่มเป้าหมาย แจกจ่ายตามความเหมาะสมของแต่ละบทที่ว่าด้วยเรื่องนั้นๆ

3 ถอดรหัส KM. ว่ามีการนำความรู้ใหม่ไปปรับใช้ในกรณีไหนบ้าง ใช้อย่างไร ในลักษณะใด ผลลัพธ์เป็นอย่างไร

4 วิเคราะห์วิธีการนำความรู้ไปใส่ลงในเรื่องนั้นๆ ชาวบ้านคิดและทำอย่างไร แตกต่างหลากหลายในประเด็นใดบ้าง

5 มีการนำบทเรียนเข้าที่ประชุมกลุ่ม เพื่อสังเคราะห์ชุดความรู้ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์และสอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในวิถีชุมชน

6 สรุปบทเรียนผ่านเวทีวิชาการ  ที่เราจะจัด “วันปันผลความรู้”ขึ้น ตามไตรมาสของงาน

7 ควรได้ข้อเสนอแนะในส่วนที่เหมาะกับชาวบ้าน และในส่วนที่ให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องนำไปพิจารณา

8 สุดท้าย สิ่งทั้งหมดที่ศึกษามา ควรเป็นตำราว่าด้วยเรื่อง…..ชุดความรู้ระดับชุมชน

 ครั้งแรกเอาพอหอมปากหอมคอแค่นี้   ในสัปดาห์ต่อไปนักศึกษาจะเอาบทที่ได้เรียนรู้กับชุมชนหลังจากที่ปรับทิศทางแล้วมาเข้าวงสนทนา  และจากนี้ไปบทที่จะไปเชื่อมโยงกับสายวิชาการ  นอกจากการสืบค้นจากเว๊ปไซด์ต่างๆตามที่ท่านอาจารย์ใหญ่แนะนำแล้ว  ช่วงนี้จะมีพันธมิตรวิชาการลงมาหารือวางแผนงานวิจัยบ่อยครั้ง  นักศึกษาต้องไปทำการบ้านมาเสนอว่าจะเชื่อมโยงชุดความรู้สายวิชาการ  จากนักวิจัยนักปฏิบัติการในส่วนกลางอย่างไร หลังปีใหม่ผ่านไป เราจะเช็คแฮนด์กับนักวิจัยมืออาชีพที่จะลงมาถ่ายเทความรู้ระหว่างกันเต็มลูกสูบแล้วละครับ

หมายเลขบันทึก: 69770เขียนเมื่อ 27 ธันวาคม 2006 20:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
  • ขอบพระคุณครูบามากครับที่นำมาแบ่งปัน
  •  เสียดายที่อยู่ไกลไปหน่อยหากไกล้ๆ อาจขอร่วมวงเรียนรู้เรียนรู้(อยู่แถวชายขอบ)ด้วยคน
  • ขอเรียนรู้ผ่านบล็อกก็แล้วกันนะครับ

ตัวอย่างที่ดีคือการปฏิบัติให้เห็นจากพี่น้อง สคส.  ตอนนี้นักศึกษาทุกคนที่หลงทิศหลงทางไปบ้างกำลังพยายามวิ่งเข้าลู่ตามคำแนะนำของท่านอาจารย์ใหญ่ทุกท่าน เพื่อเก็บความรู้เก็บงานมาสานต่อเป็นชุดความรู้ได้ดังใจหมาย

ขอบคุณค่ะ

 

อ้าว ผมโทรคุยหารืองาน กลายเป็นออกที่ประชุมเลยหรือครับ น่าจะบอกกันมั่ง ปล่อยไก่ไปฝูงเบ้อเร่อเลยครับ

การสังเคราะความรู้ให้เป็นชุดความรู้ที่เหมาะสมกับชุมชน ผมมีแนวคิดว่าสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง ด้วยเหตุแห่งการใช้ชุดความรู้ที่ไม่ได้สังเคราะห์ด้วยตนเองของชุมชน   ชุมชนจึงอ่อนแอถึงขนาดข้าวคั่ว 

หัวหอม    พริกป่น  ตะไคร้  ใบมะกรูด   ต้องซื้อกิน

         

ดีจังเลยครับ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างต่อเนื่องนะครับ

กระบวนการ AAR (After Action Review) เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ใช้ในกระบวนการจัดการความรู้ที่ทรงพลัง เพื่อทำให้เราทราบว่า

  1. สิ่งที่เราได้ดำเนินการมาแล้วได้ผลเป็นอย่างไร เป็นไปตามความคาดหวังของเราหรือไม่ อย่างไร
  2. สิ่งไหนที่ไม่เป็นไปตามความคาดหวังบ้าง แล้วเราจะปรับปรุงให้ดีขึ้นได้อย่างไร
  3. มีอะไรบ้างที่ได้มากกว่าความคาดหวังของเรา และจะเชื่อมโยงอย่างไร
  4. ในการดำเนินการขั้นต่อไปเราจะดำเนินการอะไร อย่างไร

สิ่งต่างๆ เหล่านี้มีพลังอย่างมากครับที่จะใช้ในขับเคลื่อนการจัดการความรู้ต่อไป

ด้วยความเคารพ

อุทัย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท