GotoKnow

มหาวิทยาลัยกับงานวิจัย การปรับเปลี่ยนเพื่อภารกิจสร้างสรรค์ปัญญา ตอน 3 (6)

ผศ.ดร. วิบูลย์ วัฒนาธร
เขียนเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2548 12:19 น. ()
แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2555 14:05 น. ()
การแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ โดยการพูดคุย เสนอผลงานในรูปของการสัมมนาวิจัย (Research Seminar) เสนอผลงานในที่ประชุมวิชาการหรือโดยการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ ถือเป็นกระบวนการของการเรียนรู้ร่วมกันของนักวิชาการ

         < เมนูหลัก >

         ตอน 3 (6)

         “ปฏิวัติวัฒนธรรม” เพื่อภารกิจสร้างสรรค์ปัญญา

         ความคิดสร้างสรรค์ มาจากกระบวนการของการเรียนรู้

         กระบวนการของการเรียนรู้ คือ การตั้งคำถาม การฝึกสังเกต ค้นคว้า ทดลอง เก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบให้น่าเชื่อถือได้ ลดความลำเอียง (Bias) ให้เหลือน้อยที่สุด วิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ และสังเคราะห์หาข้อสรุปหรือทฤษฎี หรือการวิจัยนั่นเอง

         การแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ โดยการพูดคุย เสนอผลงานในรูปของการสัมมนาวิจัย (Research Seminar) เสนอผลงานในที่ประชุมวิชาการหรือโดยการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ ถือเป็นกระบวนการของการเรียนรู้ร่วมกันของนักวิชาการ จะมองเป็นผลงานก็ได้ หรือจะมองเป็นกระบวนการของการเรียนรู้สืบเนื่องต่อไปเรื่อย ๆ ไม่จบสิ้น เป็นแนวคิดที่เกื้อกูลการเรียนรู้ทั้งในระดับบุคคล ระดับสถาบัน และระดับสังคม

         บทความพิเศษ ตอน 3 (6) นี้ได้ จากหนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ ปีที่ 9 ฉบับที่ 2795 (105) 16 พ.ค.39 พิเศษ 6 (บทความไอที)

         เขียนโดย ศ.นพ.วิจารณ์   พานิช

         วิบูลย์  วัฒนาธร

 



ความเห็น

ยังไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท
ภาษาปิยะธอน (Piyathon)
เขียนโค้ดไพทอนได้ด้วยภาษาไทย