ทำไม อาหาร ธรรมชาติ และธรรมะ ช่วยเป็นบ้านฟื้นใจในคนไร้ที่พึ่ง?


ถามข้อ 1: ทำไมอาหารช่วยเป็นบ้านฟื้นใจในคนไร้ที่พึ่ง?

ตอบข้อ 1: คนไร้ที่พึ่งที่ผ่านการรักษา การบำบัด และการฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิตเวชสู่จิตสังคม ในระยะเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ถ้ามีประวัติการเข้าสถานพยาบาลซ้ำเพราะมีอาการทางจิตยุ่งยากซับซ้อน เรียก Serious Mental Illness ในทางกิจกรรมบำบัดเราสนใจภาวะไร้เจตจำนง (Avolition) หรือ ไม่มีความตั้งใจมุ่งหมายในการดำเนินชีวิต 

ใน https://www.webmd.com/mental-health/what-is-avolition อธิบายว่า “ภาวะไร้เจตจำนง คือ ขาดแรงจูงใจให้ทำสิ่งใดได้สำเร็จเพราะไม่มีรางวัลให้จริง พบในบุคคลผู้มีโรคจิตเภท โรคซึมเศร้าเรื้อรัง โรคอารมณ์สองขั้ว โรคความเครียดจากเหตุการณ์รุนแรงในชีวิต ภาวะบาดเจ็บทางสมอง โรคอัลไซเมอร์ รวมทั้งผลจากยาทางระบบประสาทจิตเวช ซึ่งศูนย์รางวัลในสมองหลั่งสารโดปามีนน้อยลง ภาวะไร้เจตจำนงจะส่งผลให้พูดน้อย น้ำเสียงอ่อนแอ ไม่อยากเข้าสังคม และไม่ยินดียินร้ายเรื่องใด ๆ” และในงานวิจัย DOI: 10.1007/s10608-016-9799-4 ทำให้ยิ่งรู้ว่า “ภาวะไม่ยินดียินร้ายเรื่องใด ๆ ทำให้เกิดความว้าเหว่ สะสมจากความเหงาเศร้าซึม เป็นตัวกลางทำให้มีแนวโน้มเกิดโรคซึมเศร้าเรื้อรังได้” โปรดศึกษาคลิปการจัดการความเหงาเศร้าซึมได้ที่ 

และถ้าผู้ใช้บริการไม่มีแรงทำกิจกรรมบำบัดดังคลิป แสดงว่า ร่างกายมีภาวะโภชนาการบกพร่อง จำเป็นที่จะมีผู้ดูแลคัดกรองเรื่องภาวะโภชนาการบกพร่อง ดังแบบคัดกรอง http://sheacademy.in.th/?p=1241 

DOI: 10.1136/bmjnph-2019-000053   

15 ปีที่ผ่านมา มีเพียง 7 จาก 71 งานวิจัยที่สะท้อนถึงอาหารเสริมจำพวกโพรไบโอติกส์และพรีไบโอติกส์ที่มีส่วนผสมของ Tryptophan ที่มีกลไกเชื่อมโยงกับ GBA ผ่านทางเส้นประสาทอัตโนมัติคู่ที่ 10 (vagus nerve) หลังจากผู้ใช้บริการมีความบกพร่องทางจิตสังคม พบว่า ควรศึกษาเพิ่มเติมในกลุ่มตัวอย่างที่ มีขนาดใหญ่ขึ้นและแยกแยะระหว่างผลกระทบจากโรคซึมเศร้าวิตกกังวล และโรคทางเดินอาหาร 

DOI: 10.20944/preprints202201.0423.v1 

ความว้าเหว่ หรือ Loneliness ส่งผลให้คุณภาพชีวิตด้อยลงในผู้อาศัยที่บ้านพักคนชรา เพราะภาวะซึมเศร้าสัมพันธ์กับอารมณ์ว้าเหว่ ภาวะกลั่นปัสสาวะไม่อยู่ และสังคมว้าเหว่หากมีลูกเป็นผู้ดูแลน้อยกว่า 2 คน 

https://doi.org/10.1016/j.jad.2020.03.075 

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความว้าเหว่ได้แก่ การเริ่มมีภาวะสมองเสื่อม ความชุกของอาการหวาดระแวงกับอาการทางจิตเวช รวมทั้งภาวะเจ็บป่วยเรื้อรังทางสุขภาพกายและจิตใจในผู้ใช้บริการสูงวัยที่มีภาวะยากจนและขาดทักษะการสื่อสารทางสังคม

ถามข้อ 2: ทำไมอาหารตามธรรมชาติและธรรมะจะช่วยเป็นบ้านฟื้นใจในคนไร้ที่พึ่ง?

ตอบข้อ 2: คนไร้ที่พึ่งมีระดับการรู้คิดที่ไม่มีโอกาสฟื้นฟูสมรรถภาพทางการรู้คิดผ่านกิจกรรมบำบัดทางระบบประสาทจิตสรีรวิทยา แม้ว่าจะได้รับนันทนาการบำบัดตลอดจนอาชีวบำบัด แต่ก็หมดแรง หมดใจ และหมดไฟ ได้อย่างรวดเร็ว เพราะสภาวะอารมณ์ยังไม่มั่นคง และธรรมชาติที่คนไร้ที่พึ่งขาดศรัทธาในตัวเองเพราะโดนกระทำจากผู้คนมากมายหลายชนชั้น ดังนั้นการนำ “ธรรมะ” มาผสมผสานกับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายและจิตสังคม ยกตัวอย่าง  การเคี้ยวเพื่อสุขภาพด้วยการรับรู้สติคิดดีมีสุขสงบภายในตัวเอง คลิกเรียนรู้ที่ 

เมื่อทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง จะเห็นได้ว่า 

https://doi.org/10.1136/bmj.m2382 
อาหารเมดิเตอร์เรเนียนช่วยบำรุงฟื้นฟูอารมณ์ได้ดีมีสุขภาวะในประชากรที่มีความเครียดจนน้ำหนักลด หรือมีปัญหาทางร่างกายที่มีโรคเบาหวานจนถึงมีโรคหัวใจและหลอดเลือด มีหลักฐานเชิงประจักษ์ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายโดยเฉพาะระบบทางเดินอาหารที่ภายในกระเพาะจะเพิ่มพูนด้วยแบคทีเรียอันมีประโยชน์ต่อร่างกายแล้วสื่อสารให้การยับยั้งชั่งใจปรับอารมณ์ที่อ่อนแอโมโหหิวได้ผ่อนคลายดีมีอารมณ์คิดบวกขึ้น ส่วนธรรมะที่เพิ่มพลังศรัทธาในชีวิต มีมากมาย เช่น 

https://doi.org/10.1016/j.appet.2019.104325

มวลดัชนีน้ำหนักดีขึ้นหลังจากได้รับการฝึกเจริญสติเน้นการบริโภคอาหาร เรียนรู้ดูใจด้วยการตั้งคำถามว่า “เรากำลังกินอะไร จะกินมากน้อยแค่ไหม และกินไปทำไม” ส่งผลให้ทัศนคติคิดบวก มีเป้าหมายในการใช้ชีวิตด้วยความรักความเข้าใจในสุขภาพและสุขภาวะแห่งตนอย่างยั่งยืน

https://mindrxiv.org/mx32f/ 

ผู้ใช้บริการซึมเศร้ากว่า 227 ราย สุ่มเข้าโปรแกรมฝึกการรู้คิดด้วยการเจริญสติภาวนา 74 ราย ฝึกการผ่อนคลาย 77 ราย และได้รับการรักษาตามปกติ 76 ราย พร้อมมีการวัดอาการที่กำเริบซ้ำในทุก 3 เดือนจนครบ 1 ปีหลังจากเข้าโปรแกรมข้างต้น ผลการรักษาพบว่ามีผู้ใช้บริการเฉพาะที่ฝึกการรู้คิดด้วยการเจริญสติภาวนาที่มีอาการซึมเศร้าลดลง ขณะที่กลุ่มอื่นมีอาการซึมเศร้ากำเริบมากขึ้น 

 

 

หมายเลขบันทึก: 697442เขียนเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2022 13:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2022 15:46 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท