วันครู (Teachers' Day)


จุดประสงค์ในการมีวันครูก็เพื่อให้นักเรียนได้ระลึกถึงพระคุณของครูบาอาจารย์ แม่พิมพ์ พ่อพิมพ์ของชาติที่ได้อบรมสั่งสอนเรามาตั้งแต่เล็ก ทำให้เราเป็นคนดี รู้วิชา เพราะฉะนั้น ครูจึงเป็นบุคคลที่สำคัญอย่างมากในวงการ การศึกษา ทั้งในด้านวิชาการ และประสบการณ์ รวมทั้งเป็นอาชีพที่ถือว่ามีความเสียสละเพื่อส่วนรวมอย่างมาก จนถึงกับมีคำกล่าวว่า “อนาคตของชาติอยู่ในกำมือของเด็กและเยาวชน แต่อนาคตของเด็กและเยาวชน อยู่ในกำมือของครูและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย” อีกเหตุผลที่วันที่ 16 มกราคมของทุกปีถูกกำหนดให้เป็นวันครูอันเนื่องมาจาก ในปี 2488 ประเทศไทยมีการประกาศพระราชบัญญัติครูขึ้นมาในราชกิจจานุเบกษา จึงมีการกำหนดให้มีวันครูครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ.2500 เป็นต้นมา . งานของครูถือว่าเปนงานที่สร้างสรรคอย่างแท้จริง เพราะครูเปนผู้วางรากฐานความรู้ ความดี และความสามารถทุกๆ ด้านให้แก่ศิษย เพื่อช่วยให้เขาเหล่านั้นสามารถประกอบสัมมาชีพ เลี้ยงตน เปนหลักฐาน และดำรงตนเปนคนดีมีประโยชนต่อสังคมและส่วนรวม งานสร้างสรรคของครูนั้นจำเปนต้องกระทำด้วยความตั้งใจที่แน่วแน่ และหนักแน่น ด้วยความพากเพียรอดทน พร้อมด้วยความเมตตากรุณา และความเปนธรรมเที่ยงตรงอย่างสูง ไม่ว่าจะอยู่ในหน้าที่หรือนอกหน้าที่ ครูที่แท้จะต้องสำรวมระวังตนอย่างเคร่งครัด ในเรื่องของความประพฤติปฏิบัติ ไม่ปล่อยตัวปล่อยใจไปตามความสนุกสนานที่ไม่สมควรแก่ฐานะและเกียรติภูมิของครู ...” พระราชดํารัสพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิรว ลงกรณพระวชิรเกลาเจาอยูหัว เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสําธิรวสชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ในโอกาสที่คณะครูอาวุโส ประจำปี 2534 เข้ําเฝ้ําฯ รับ พระราชทานเครื่องหมายเชิดชูเกียรติและเงินช่วยเหลือ ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม 2534 (จากหนังสือวันครู ครั้งที่ 66 พ.ศ. 2565 “พลังครูยุคใหม่

 

วันครู   (Teachers' Day)

ดร.ถวิล  อรัญเวศ

          วันครู (Teachers' Day)   ตรงกับวันที่ 16 มกราคม ของทุก ๆ ปี จุดประสงค์ในการมีวันครูก็เพื่อให้นักเรียนได้ระลึกถึงพระคุณของครูบาอาจารย์ แม่พิมพ์ พ่อพิมพ์ของชาติที่ได้อบรมสั่งสอนเรามาตั้งแต่เล็ก ทำให้เราเป็นคนดี รู้วิชา เพราะฉะนั้น ครูจึงเป็นบุคคลที่สำคัญอย่างมากในวงการ การศึกษา ทั้งในด้านวิชาการ และประสบการณ์ รวมทั้งเป็นอาชีพที่ถือว่ามีความเสียสละเพื่อส่วนรวมอย่างมาก จนถึงกับมีคำกล่าวว่า

“อนาคตของชาติอยู่ในกำมือของเด็กและเยาวชน แต่อนาคตของเด็กและเยาวชน

อยู่ในกำมือของครูและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย”

        อีกเหตุผลที่วันที่ 16 มกราคมของทุกปีถูกกำหนดให้เป็นวันครูอันเนื่องมาจาก
ในปี 2488 ประเทศไทยมีการประกาศพระราชบัญญัติครูขึ้นมาในราชกิจจานุเบกษา จึงมีการกำหนดให้มีวันครูครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ.2500 เป็นต้นมา

.      งานของครูถือว่าเปนงานที่สร้างสรรคอย่างแท้จริง   เพราะครูเปนผู้วางรากฐานความรู้ ความดี และความสามารถทุกๆ ด้านให้แก่ศิษย เพื่อช่วยให้เขาเหล่านั้นสามารถประกอบสัมมาชีพ เลี้ยงตน เปนหลักฐาน และดำรงตนเปนคนดีมีประโยชนต่อสังคมและส่วนรวม   งานสร้างสรรคของครูนั้นจำเปนต้องกระทำด้วยความตั้งใจที่แน่วแน่     และหนักแน่น ด้วยความพากเพียรอดทน พร้อมด้วยความเมตตากรุณา และความเปนธรรมเที่ยงตรงอย่างสูง ไม่ว่าจะอยู่ในหน้าที่หรือนอกหน้าที่ ครูที่แท้จะต้องสำรวมระวังตนอย่างเคร่งครัด ในเรื่องของความประพฤติปฏิบัติ ไม่ปล่อยตัวปล่อยใจไปตามความสนุกสนานที่ไม่สมควรแก่ฐานะและเกียรติภูมิของครู ...”

              พระราชดํารัสพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิรวลงกรณพระวชิรเกลาเจาอยูหัว เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสําธิรวสชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ในโอกาสที่คณะครูอาวุโส ประจำปี 2534 เข้ําเฝ้ําฯ รับพระราชทานเครื่องหมายเชิดชูเกียรติและเงินช่วยเหลือ ณ ศาลาดุสิดาลัยสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม 2534

    (จากหนังสือวันครู ครั้งที่ 66 พ.ศ. 2565 “พลังครูยุคใหม่สร้างคุณภาพคนไทยสู่สากล”)

 

คำขวัญวันครู ปี 2565

         นายกรัฐมนตรีย้ำว่า ครูเป็นผู้จุดประกายความคิด อบรมสั่งสอนวิชาความรู้ เพื่อให้ศิษย์เป็นคนดี คนเก่ง มีคุณภาพ คุณธรรม และมีจิตสาธารณะ รวมทั้งมีความรับผิดชอบต่อสังคม รัฐบาลตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ โดยมีเป้าหมายให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่พัฒนาขับเคลื่อนโดยภูมิปัญญาและนวัตกรรมตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี โดยเฉพาะการพัฒนาการศึกษาของชาติแบบองค์รวม เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาไทยให้ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21 ที่มุ่งเน้นการสร้างครูยุคใหม่และผู้เรียนที่ใฝ่เรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต รวมทั้งพัฒนาในด้านต่างๆ เพื่อให้มีความพร้อมในการดำเนินชีวิตในโลกยุควิถีใหม่

 

      นายกรัฐมนตรี ได้มอบคำขวัญ “วันครู” ครั้งที่ 66 ในปีพุทธศักราช 2565 นี้ ว่า “พัฒนาครู พัฒนาเด็ก เรียนรู้สู่อนาคต” ด้วยตระหนักถึงการพัฒนาครูซึ่งเป็นหัวใจหลักของการพัฒนาการศึกษาของชาติให้มีความรู้ ความสามารถ มีทักษะที่เหมาะสม สอดคล้องกับรูปแบบการเรียนการสอนในยุคปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สามารถถ่ายทอดให้ศิษย์มีความรู้และทักษะที่จำเป็น เกิดการเรียนรู้ คิดริเริ่ม สร้างสรรค์ พัฒนาสิ่งใหม่ โดยนายกรัฐมนตรีขอเป็นกำลังใจให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนที่มุ่งมั่น ทุ่มเทแรงกาย แรงใจ ในการทำหน้าที่อำนวยความรู้แก่ศิษย์ เพื่อให้ศิษย์เติบโตเป็นอนาคตของชาติที่มีคุณภาพ คุณธรรม และเป็นพลเมืองที่ดีของสังคมและประเทศชาติต่อไป

  

ความหมายของครู

         คำว่าครูนั้นมาจากศัพท์ภาษาสันสกฤต คำว่า "คุรุ" และภาษาบาลี คำว่า

"ครุ" , "คุรุ" หมายถึง ผู้อบรมสั่งสอนแนะนำ ผู้ถ่ายทอดความรู้ ผู้สร้างสรรค์ภูมิปัญญา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศชาติ เป็นผู้ที่มีหน้าที่สอน อบรมเกี่ยวกับวิชาความรู้ การอ่านเขียน รวมไปถึงการให้ความรู้และแนะนำในการใช้ชีวิตประจำวันและการทำงาน นอกจากนี้ยังหมายถึง ผู้มีภาระอันหนักยิ่ง มีภาระอันใหญ่หลวง

 คุณลักษณะของครูที่ดีตามหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา

         คุณลักษณะของครูที่ดีตามหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา หลักธรรมหมวดนี้  คือ  “ กัลยาณมิตตาธรรม ” มี 7 ประการ  ดังนี้

        1.ปิโย - น่ารัก

     ครูนั้นจะต้องเป็นผู้ที่น่ารัก ศิษย์ได้พบเห็นแล้วอยากเข้าไปพบ สบายใจเมื่อได้พบปะกับครู อาจารย์ผู้นั้น สำหรับแนวทางกระทำตนให้น่ารักของศิษย์นั้นสามารถกระทำได้ดังนี้

         1.1. มีเมตตาหวังดีต่อศิษย์เสมอ

         1.2. ยิ้มแย้ม แจ่มใส หน้าไม่บึ้งตึงทั้งเวลาสอนและนอกเวลาสอน

         1.3. ให้ความสนิทสนมกับศิษย์ตามควรแก่กาลเทศะไม่เกินดี

         1.4. พูดจาอ่อนหวานสมานใจกับศิษย์ทุกคน

         1.5. เอาใจใส่อบรมสั่งสอนศิษย์ให้เกิดความรู้อย่างแท้จริง

         1.6. เป็นเพื่อนในสนามกีฬา เป็นครูที่สง่าในห้องเรียน

         1.7. เมื่อเด็กมีความทุกข์  ครูให้ความเอาใจใส่คอยปลอบประโลมให้กำลังใจ

 

        2. ครุ - น่าเคารพ  ครู

        ต้องเป็นผู้ประพฤติตนเหมาะสมแก่ฐานะของความเป็นครู กระทำตนเป็นแบบอย่างแก่ศิษย์ทั้งพฤติกรรมทางกาย  วาจา  ใจ

          3. ภาวนีโย – น่าเจริญใจหรือน่ายกย่อง  ครูต้องกระทำตนให้เป็นที่เจริญน่ายกย่องของศิษย์และบุคคลทั่วไป  มีความรู้และภูมิปัญญาอย่างแท้จริง  มีคุณธรรมควรแก่

การกราบไหว้บูชาของศิษย์เสมอ เปิดรับความรู้ใหม่ ๆ เชื่อกฎแห่กรรม เป็นผู้รักษาศีล  ควบคุมจิตด้วยสมาธิ และแก้ปัญหาด้วยปัญญา

         4.วัตตา

          มีระเบียบแบบแผน  ครูต้องกระทำตนให้เป็นบุคคลที่เคารพ อยู่ในกฎระเบียบ  มีระเบียบแบบแผน  ขณะเดียวกันก็อบรมตักเตือนศิษย์ให้เป็นผู้มีระเบียบ

ด้วยเช่นกัน

         5. วจนักขโม

         อดทนต่อถ้อยคำตาง ๆ    ครูต้องอดทนต่อคำพูดของศิษย์ที่มากระทบความรู้สึก  ครูต้องพร้อมรับฟังข้อซักถาม ให้คำปรึกษาหารือ  แนะนำ  ไม่เบื่อ ไม่ฉุนเฉียว หรือไม่มีอารมณ์ฉุนเฉียว โมโหโกรธง่าย

        6. คัมภีรัญจะ กถัง กัตตา

           แถลงเรื่องได้อย่างลึกซึ้ง ครูจะต้องมีความสามารถในการสอน  ใช้คำพูดในการอธิบายเรื่องราวต่างๆได้อย่างแจ่มแจ้ง มีความรอบรู้ในเรื่องที่จะพูด สอนเรื่องยาก ให้เข้าใจง่าย ยกตัวอย่าง ใช้สื่อการสอนประกอบเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจในเรื่องที่สอนได้โดยง่าย

       7. โน  จัฏฐาเน นิโยชเย

          ไม่ชักนำศิษย์ไปในทางเสื่อมเสีย หรือไม่ชักนำศิษย์ไปในทางที่ต่ำทรามใด ๆ

สิ่งใดเป็นความเสื่อมโทรมทางจิต จะไม่ชักนำศิษย์ไปทางนั้น และในขณะเดียวกันครูต้องหลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นอบายมุขทั้งหลายทั้งปวงด้วยเพื่อเป็นแบบอย่าง

ให้แก่ศิษย์ เพราะแบบอย่างที่ดี มีค่ามากกว่าคำสอน

 

ความเป็นมาของวันครูแห่งชาติ

         วันครูได้จัดให้มีขึ้น ครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ. 2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า"คุรุสภา" ซึ่งมีสถานะเป็นนิติบุคคลและให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความ เห็นในเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ จัดสวสัดิการให้แก่ครูและครอบครัว ได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู

        ด้วยเหตุนี้ในทุก ๆ ปี คุรุสภาจึงจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา พร้อมทั้งซักถามปัญหาข้อข้องใจต่างๆเกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภา โดยมี คณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบข้อสงสัย สถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุม"สามัคคยาจารย์"หอประชุมของจุฬาลงกร ณมหาวิทยาลัย ในระยะหลังจึงมาใช้หอประชุมของคุรุสภา

        ปี พ.ศ. 2499 ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวปราศัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า "ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่า "วันครู" ควรมีสักวันหนึ่งสำหรับให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายได้ แสดงความเคารพสักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับคนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง"

        จากแนวความคิดนี้ กอรปกับความคิดเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่นๆที่ล้วนเรียกร้อง ให้มี "วันครู" เพื่อให้เป็นการรำลึกถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสีย สละ ประกอบคุณงามความดีเพื่แประโยชน์ของชาติ และประชาชนเป็นอันมาก ในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติ เห็นควรให้มี "วันครู" เพื่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอในหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครู และเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอีนดีระหว่างครูกับประชาชน

        ในที่สุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2499 ให้วันที่ 16 มกราคม ของทุกปีเป็น "วันครู" โดยถือเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2488 เป็นวันครู และให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดัง กล่าวได้

        การจัดงานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2500 ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงาน งานวันครูนี้ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้ให้แก่อนุชนรุ่น หลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญคือหนังสือประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างที่เป็นถาวรวัตถุ

         การจัดงานวันครูนั้น ได้จัดให้มีกิจกรรมทางศาสนา และกิจกรรมวันครู

เช่น มีการไหว้ครู แต่ในปัจจุบัน ได้ถูกปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรม เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยตลอดเวลา โดยเฉพาะปี 2564 เป็นปีที่มี

การแพร่ระบาดของเชื้อโรคไวรัสเหมือนปี 2563 แต่ปี 2564 เป็นการแพร่เชื้อใน

ปลายปี 2563 กลับมาอีกระลอกใหม่ ก็งดจัดงานวันครู

      สำสหรับการจัดงานวันครูที่ได้เคยมีมาได้จัดรูปแบบการจัดงานวันครูจะมี

กิจกรรม 3 ประเภทใหญ่ดังนี้

 

กิจกรรมทางศาสนา

          พิธีรำลึกถึงครูบาิจารย์ โดยมีพิธีปฏิญญานตน รวมไปถึงการกล่าวระลึกถึงพระคุณของครูกิจกรรมจัดเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ปกครองกับคุณครู อาจจะเป็น

การแข่งขันกีฬาเพื่อความสามัคคี หรืองานเฉลิมฉลองต่าง ๆ

 

บทกล่าววันไหว้ครู และขั้นตอนในการจัดกิจกรรม

 

ปาเจราจริยา โหนติ คุณุตตรานุสาสกา (วสันตดิลกฉันท์)

 

ประพันธ์โดย พระวรเวทย์พิสิฐ (วรเวทย์ ศิวะศรียานนท์)

 

 บทไว้ครู ปาเจราจริยา โหนติ

 

ปัญญาวุฒิกเรเตเต ทินโนวาเท นมามิหัง

       จากนั้นประธานจัดงานวันครู จะเชิญผู้ร่วมประชุมยืนสงบนิ่ง 1 นาที เพื่อระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ที่ได้ล่วงลับไปแล้ว ครูอาวุโสประจำการนำผู้เข้าร่วมประชุมกล่าวคำปฏิญาณดังนี้

 

ข้อ 1.ข้าฯจะบำเพ็ญตนให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นครู

ข้อ 2.ข้าฯจะตั้งใจฝึกสอนศิษย์ให้เป็นพลเมืองดีของชาติ

ข้อ 3.ข้าฯจะรักษาชื่อเสียงของคณะครูและบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม

          จบแล้วพระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา ในส่วนกลาง นายกรัฐมนตรี

หรือผู้ได้รับมอบหมาย จะได้มีการมอบรางวัลครูดีเด่นประจำปี มอบของที่ระลึกให้ครูอาวุโสนอกและในประจำการสุดท้ายกล่าวคำปราศัยและให้ โอวาทแก่ครูที่มาประชุม

 

จรรยามารยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีของครู

            มารยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีของครู

1. เลื่อมใสการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ

2. ยึดมั่นในศาสนาที่ตนนับถือ ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นศาสนาอื่น

3. ตั้งใจสั่งสอนศิษย์และปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เกิดผลดีด้วยความเอาใจใส่ อุทิศเวลาของตน ให้แก่ศิษย์ จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่การงานไม่ได้

 

4. รักษาชื่อเสียงของตนมิให้ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว ห้ามประพฤติการใด ๆ อันอาจทำให้เสื่อมเสียเกียรติและชื่อเสียงของครู

5. ถือปฏิบัติตามระเบียบและแบบธรรมเนียมอันดีงามของสถานศึกษา และปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งในหน้าที่การงานโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแบบแผนของสถานศึกษา

6. ถ่ายทอดวิชาความรู้โดยไม่บิดเบือนและปิดบังอำพราง ไม่นำหรือยอมให้นำผลงานทางวิชาการของตนไปใช้ในทางทุจริตหรือเป็นภัยต่อมนุษย์ชาติ

7. ให้เกียรติแก่ผู้อื่นทางวิชาการ โดยไม่นำผลงานของผู้ใดมาแอบอ้างเป็นผลงานของตน และไม่เบียดบังใช้แรงงานหรือนำผลงานของผู้อื่นไป เพื่อประโยชน์ส่วนตน

8. ประพฤติตนอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริต และปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความเที่ยงธรรมไม่แสวงหาประโยชน์สำหรับตนเอง หรือผู้อื่นโดยมิชอบ

9. สุภาพเรียบร้อยประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ รักษาความลับของศิษย์ ของผู้ร่วมงานและของสถานศึกษา

10. รักษาความสามัคคีระหว่างครูและช่วยเหลือกันในหน้าที่การงาน

             วันครูนั้น จะมีทั้งวันครูโลกและวันครูแต่ละประเทศ

             สำหรับวันครูของไทยได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อ เมื่อ 16 มกราคม พ.ศ.2500 เพื่อบรรดาลูกศิษย์ได้แสดงความเคารพ สักการะต่อครูผู้มีพระคุณ การประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ.2488 ได้ระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภาเป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา มีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครู ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษา รักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู และมีการจัดสวัสดิการให้ครูและครอบครัวได้รับความช่วยเหลือตามสมควร

           ประกอบกับมีคุณครูบางกลุ่มที่มีการเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึกถึงความสำคัญของครู ในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ และประกอบคุณงามความดีเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชน ซึ่งทำให้ที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาและมีมติ เห็น ควรให้มีวันครู เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครูและเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่าง ครู กับประชาชน

           จนกระทั่งเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2499 ทางคณะรัฐมนตรีได้มีมติ ให้วันที่ 16 มกราคมของทุกปีเป็น    "วันครู"  และให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าว

 

กิจกรรมพิธีไหว้ครู

         16 มกราคม ของทุกปี ถือเป็นวันครู เป็นวันหยุดของครูที่จะได้ร่วมกิจกรรมวันครู ที่จะทำให้ระลึกถึงการเรียนการสอนแก่ศิษย์ทั้งหลาย จุดประสงค์ในการมีวันครู เพื่อให้นักเรียนได้ระลึกถึงพระคุณของครูบาอาจารย์ แม่พิมพ์ของชาติที่ได้อบรมสั่งสอน ให้เราเป็นคนดีรู้วิชา เพราะฉะนั้นครูจึงเป็นบุคคลที่สำคัญอย่างมาก ทั้งให้ความรู้ การศึกษา และประสบการณ์ รวมทั้งเป็นอาชีพที่ถือว่ามีความเสียสละเพื่อส่วนรวมอย่างมาก กิจกรรมวันครู แม้จะไม่ยิ่งใหญ่อลังการ แต่ก็ทำให้ลูกศิษย์ที่ยังนึกถึงมาแสดงความเคารพและทำกิจกรรมร่วมกัน

         เนื่องจากวันครูเป็นวันที่โรงเรียนหยุดทั้งประเทศ พิธีไหว้ครู ซึ่งสถาบันการศึกษาแต่ละแห่ง มักเลือกเอาวันพฤหัส ในช่วงเริ่มต้นของการเปิดภาคเรียน ตามความเชื่อโดยทั่วไปของไทย ซึ่งถือว่าวันพฤหัสบดี คือวันครู สำหรับพิธีไหว้ครูนั้น นักเรียนแต่ละห้องจะจัดทำพานดอกไม้ และธูปเทียน ที่จัดทำขึ้นเพื่อน้อมระลึกถึงพระคุณครู โดยการนำ ดอกไม้ ธูป เทียน มากราบไหว้สักการะครู

         การระลึกนึกถึงพระคุณของคุณครู การไหว้ครูคือการแสดงความเคารพระลึกถึงพระคุณของครูด้วย ดอกไม้ ธูป เทียน มากราบไหว้สักการะครู การแสดงความเคารพบูชาครูบาอาจารย์ ดีที่สุดคือปฏิบัติบูชา คือทำตามคำสอนของท่าน ครูมีหน้าที่แนะนำสิ่งดีๆ อบรมสั่งสอน หน้าที่ของศิษย์เองก็จะต้องตั้งใจประพฤติปฏิบัติตามเรียกว่าปฏิบัติ อันนี้คือการปฏิบัติบูชาที่ดีที่สุด

             ในทางพระพุทธศาสนาของเรานี่ ครูผู้ยิ่งใหญ่ของเราคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราจึงควรศึกษาของดีๆ ที่มีอยู่ในพระพุทธ ศาสนา เพื่อนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์แก่สังคมอย่างกว้างขวางและนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน รวมกับคำสอนของคุณครู เพียงเท่านี้ก็จะดำเนินชีวิตไปอย่างมีความสุขด้วยสติแล้ว

 

กิจกรรมทางศาสนา

             การทำบุญตักบาตร เข้าวัด ฟังธรรมเป็นเรื่อง ที่ส่วนใหญ่คุณครูจะปฏิบัติ แม้กิจกรรมวันครู จะถูกปรับปรุงกิจกรรม เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยตลอดเวลา แต่การเข้าวัดเพื่อทำจิตใจให้สะอาด และทำบุญ จะช่วยให้มีสติในการดำเนินชีวิตมากขึ้น ซึ่งตามต่างจังหวัดอาจทำพิธีการทางศาสนาที่คุณครูร่วมกับชาวบ้าน หรือกิจกรรมวันครูเป็นการเฉพาะ

 

บำเพ็ญประโยชน์เพื่อสาธารณะ

             กิจกรรมแต่ละโรงเรียนไม่เหมือนกัน ซึ่งบางโรงเรียนก็จัดกิจกรรม มีพิธีปฏิญาณตน รวมไปถึงการกล่าวระลึกถึงพระคุณของครู ซึ่งจะรวมทั้งศิษย์เก่า ศิษย์ใหม่ มาในวันเดียวกัน ซึ่งเป็นการทำกิจกรรมร่วมกัน การจัด กิจกรรมจัดเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ปกครองกับคุณครู ในวันครูนั้น อาจจะเป็นการแข่งขันกีฬาเพื่อความสามัคคี หรืองานเฉลิมฉลองต่างๆ ซึ่งจะช่วยสานสัมพันธ์ที่ดี ระหว่างผู้ปกครองและครู รวมถึงเด็กๆ อีกด้วย

           กิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในวันครู ต่างทำเพื่อน้อมรำลึกถึงพระคุณที่คุณครู ได้อบรม สั่งสอน และเป็นผู้ให้ความรู้ เป็นผู้ให้แสงสว่างนำทางส่องชีวิต ทำให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายได้แสดงความเคารพ สักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณ ซึ่งการส่งเสริมแนวทางการทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้วันครูได้สืบยาวนานตลอดไป จะเป็นการดีที่เป็นกำลังและแรงใจให้คุณครู ได้มีกำลังใจที่จะสอนต่อไป

 

พิธีรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์

           การส่งเสริมแนวทางที่จะทำให้กิจกรรมวันครูสืบต่อไป ประกอบด้วยพิธีปฏิญาณตน การกล่าวคำระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์

          ส่วนกิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู ส่วนมากเป็น

การแข่งขันกีฬาหรือการจัดงานรื่นเริงในตอนเย็น

 

กิจกรรมทางวิชาการ

           เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่เป็นการส่งเสริมวันครูสำหรับการจัดกิจกรรมทางวิชาการในช่วงสัปดาห์ "วันครู" เพื่อสร้างจิตวิญญาณความเป็นครูและกิจกรรมการพัฒนาครู ซึ่งเด็กๆ จะได้เห็นความเหนื่อยยาก ลำบาก กว่าจะทำให้เด็กแต่ละคนประสบความสำเร็จ การนำเกียรติคุณของครูที่มีประวัติที่ดีมาจัดนิทรรศการเพื่อจะได้แง่คิดของครูเหล่านั้น

  มอบโล่ประกาศเกียรติคุณครูดีเด่น

         เป็นการจัดกิจกรรม ที่มีพิธีมอบโล่ประกาศเกียรติคุณ "ครูดีไม่มีอบายมุข" ครูดีมีคุณธรรม หนึ่งแสนครูดี อาจจัดเป็นงานนิทรรศการ งานวันครูและเปิดประชุมทางวิชาการ การจัดอภิปราย เกี่ยวกับครู การนำเสนอผลงานเกี่ยวกับการปฏิรูปการเรียนรู้ และมอบรางวัลแก้ผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่การศึกษาและได้รับคัดเลือกให้ได้รับรางวัล

 

 

 

 

 

แหล่งข้อมูล

https://www.matichon.co.th/politics/news_2527966

https://www.kroobannok.com/88643

https://www.sanook.com/campus/1183409/

https://sites.google.com/site/khrukhonmai/k1

https://bit.ly/3ilAgMu

https://bit.ly/3nVzVkQ

http://www.focusnews.in.th/9453

https://www.thairath.co.th/news/politic/2289070

คำสำคัญ (Tags): #วันครู (Teachers' Day)
หมายเลขบันทึก: 696204เขียนเมื่อ 16 มกราคม 2022 23:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มกราคม 2022 23:51 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท