LEAN ดีขึ้น เร็วขึ้น ถูกลง หัวใจของการปรับปรุงกระบวนการ


ถ้าตั้งโจทย์ด้วยหัวใจของการปรับปรุง 3 ข้อข้างต้น ก็ดูเหมือนเครื่องมือการจัดการผลิตที่ชื่อว่า “LEAN” น่าจะเป็นเครื่องมือที่ตอบโจทย์ได้ตรงกับหัวใจมากที่สุด เพราะเป้าหมายที่สำคัญของการทำระบบ LEAN ก็คือ #ลดต้นทุน #เพิ่มคุณค่า #ปรับตัวได้เร็ว

.

ความหมายตรงๆ ของ LEAN คือ การระบุและกำจัดความสูญเปล่า ในกระแสคุณค่าของกระบวนการ ดำเนินการตามจังหวะความต้องการของลูกค้าด้วยการดึง ให้เกิดการไหลอย่างต่อเนื่อง ราบเรียบ และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

.

จากความหมายข้างต้น ก็พอจะเห็น How to อยู่ว่า ถ้าอยากจะนำ LEAN มาใช้ จะเกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง แต่ต้องขอชี้แจงตั้งแต่ตรงนี้นะครับว่า LEAN เป็นเครื่องมือในการปรับปรุงที่ต้องทำทั้งระบบ ไม่ใช่ทำเฉพาะจุด เฉพาะส่วน อย่างน้อยก็มีคำว่า “กระแสคุณค่า” ซึ่งไม่ใช่ แค่คุณค่าเฉพาะจุดเดียว แต่เป็นสายธารของคุณค่าที่เชื่อมโยงกันมาตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง

ขยายความจากความหมาย เป็น How To หรือ ขั้นตอนการดำเนินการสำหรับองค์กรที่ทำระบบ LEAN มักจะเห็นโดยทั่วไปว่า แบ่งได้ 5 ขั้นตอน คือ

.

✅1.ชี้บ่งคุณค่า ทำความเข้าใจว่าอะไรคือคุณค่า อะไรเป็นความสูญเปล่า ค้นหาความสูญเปล่าเหล่านั้นแล้วกำจัดออกไป

✅2.สร้างกระแสคุณค่า นำคุณค่าชี้บ่งมาเขียนเป็นผังกระแสคุณค่า เพื่อให้เข้าใจกระบวนการชัดเจน เห็นโอกาสในการปรับปรุง

✅3.ทำให้กระแสคุณค่าไม่ติดขัด ทำให้เกิดการไหลคล่องทั้งในส่วนของกระบวนการผลิตและข้อมูล

✅4.ให้ความสำคัญเฉพาะสิ่งที่ลูกค้าต้องการเท่านั้น วางแผนการผลิตโดยใช้ความต้องการของลูกค้าเป็นตัวกำหนดอย่างแท้จริง

✅5.ค้นหาความสูญเปล่าและกำจัดออกไปอย่างต่อเนื่อง

.

การดำเนินการให้เกิดผลในขั้นตอนต่างๆนั้น มีเครื่องมือที่ถูกนำมาใช้และผ่านการพิสูจน์มาแล้วว่าใช้งานได้จริง คุณจึงเพียงแค่ไปเรียนรู้การใช้เครื่องมือ ตัดสินใจเลือกเครื่องมือการจัดการที่เหมาะสม แล้วมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับลักษณะกระบวนการในองค์กรของคุณ

.

ผมจะขอยกตัวอย่างเครื่องมือที่นิยมนำมาใช้ โดยขอจัดกลุ่มตามสาเหตุรากเหง้าของปัญหา ซึ่งเมื่อมีการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต มักจะสรุปรวมได้อยู่ 3 กลุ่มนี้ คือ

1.การออกแบบที่ไม่ดี เครื่องมือพื้นฐานที่อาจนำมาใช้ ได้แก่ Quality Function Deployment (QFD) , Poka-yoke , Visual Control

2.การไม่มีมาตรฐาน เครื่องมือพื้นฐานที่อาจนำมาใช้ ได้แก่ 5ส , One Point Lesson (OPL) , Work Instruction , Standard Operation Procedure (SOP)

3.การไม่ได้สอนงาน เครื่องมือพื้นฐานที่อาจนำมาใช้ ได้แก่ On the Job Training (OJT) , Skill Matrix

.

ส่วนเครื่องมือที่เฉพาะเจาะจงสำหรับปรับปรุงกระบวนการตามแนวทาง LEAN นั้น ยังมีอีกมากมายและคงไม่สามารถอธิบายให้เข้าใจได้ในบทความนี้ แต่จะขอยกตัวอย่างชื่อเครื่องมือบางตัว สำหรับผู้ที่สนใจไปค้นคว้า ศึกษาเพิ่ม เช่น Value Stream Mapping (VSM) , Work Sampling , Process Flowchart , Time and Motion Study , Theory of Constraints (TOC) , Kanban เป็นต้น

.

การปรับปรุงกระบวนการผลิตนั้น เป็นเหมือนการเดินทาง ที่มีจุดเริ่มต้น แต่อาจไม่ใช่จะถึงจุดสิ้นสุดง่ายๆ อาจเรียกได้ว่า เป็นเส้นทางสู่ความเป็นเลิศก็ได้ แต่คุณอาจประเมินได้ว่า ตอนนี้คุณอยู่ตรงไหนของเส้นทาง คุณมาไกลแค่ไหนแล้ว ด้วยการประเมินด้านการผลิต 8 ด้านนี้ ได้แก่

1. #การจัดการพื้นฐาน เช่น 5ส Visual Management , การสอนงาน

2. #การปรับปรุงงาน เช่น Kaizen

3. #การประสานงาน เช่น เป้าหมาย ข้อมูล ตัวชี้วัด การประชุมสื่อสาร

4. #การบำรุงรักษาเครื่องจักร อุปกรณ์

5. #การจัดการคุณภาพ ตั้งแต่สำรวจสภาพความเป็นจริง หาสาเหตุ แก้ไขและป้องกันการเกิดซ้ำ

6. #การจัดการการผลิตและการจัดส่ง ตั้งแต่การวางแผน จนถึงส่งมอบให้ลูกค้า

7. #การควบคุมพัสดุ ทั้งวัตถุดิบ สินค้าระหว่างทำ และสินค้าสำเร็จรูป

8. #การควบคุมต้นทุน ทั้งในส่วนที่ดำเนินการเอง ผู้ส่งมอบ และผู้รับเหมาช่วง

#lean #ลีนดิ #วันชัยแผนธุรกิจ #vpconsult

คำสำคัญ (Tags): #lean#improvement
หมายเลขบันทึก: 696200เขียนเมื่อ 16 มกราคม 2022 21:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มกราคม 2022 21:17 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท