รักษาสุขภาพกายและสุขภาพจิต ด้วยธรรมะโอสถ


การรักษาสุขภาพกายและสุขภาพจิตนั้น นอกจากเราจะออกกำลังกาย รับประทานอาหารถูกสุขลักษณะและพักผ่อนให้เพียงพอแล้วยังไม่พอ จำต้องมีการปฏิบัติธรรมคือการทำจิตให้ผ่องใส เย็นสบาย จึงจะเป็นวิธีการส่งเสริมการรักษาสุขภาพกายและสุขภาพจิตได้ การปฏิบัติธรรมเพื่อรักษาสุขภาพ หรือการใช้ธรรมะโอสถนั้น ย่อมมีผลแน่นอนเพราะไม่ว่าวงการแพทย์และหน่วยงานที่ดูแลด้านสุขภาพจิตหรือ กรมสุขภาพจิต ต่างก็ยอมรับว่า การรักษาคนป่วยด้วยธรรมะบำบัดได้ผลดีจริง แถมยังเป็นการปฐมพยาบาลเบื้องต้นด้วย

รักษาสุขภาพกายและสุขภาพจิต ด้วยธรรมะโอสถ

 

รักษาสุขภาพกายและสุขภาพจิต

ด้วยธรรมะโอสถ

ดร. ถวิล  อรัญเวศ

       พุทธภาษิตที่ว่า “ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ” เป็นสัจธรรมที่เป็นจริงตลอดมาและตลอดไป

       การรักษาสุขภาพกายและสุขภาพจิตนั้น นอกจากเราจะออกกำลังกาย รับประทานอาหารถูกสุขลักษณะและพักผ่อนให้เพียงพอแล้วยังไม่พอ จำต้องมีการปฏิบัติธรรมคือการทำจิตให้ผ่องใส เย็นสบาย จึงจะเป็นวิธีการส่งเสริมการรักษาสุขภาพกายและสุขภาพจิตได้

“เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว หนทางที่จะไปไม่ดีนั้น

ย่อมมีแน่นอน โดยไม่ต้องสงสัย”

เพราะฉะนั้น จงอย่าทำให้จิตมีอารมณ์ไม่ปกติ ต้องดูและจิตให้ดี เพราะจิตที่ฝึกดีแล้วย่อมนำสุขมาให้

           การปฏิบัติธรรมเพื่อรักษาสุขภาพ หรือการใช้ธรรมะโอสถนั้น ย่อมมีผลแน่นอนเพราะไม่ว่าวงการแพทย์และหน่วยงานที่ดูแลด้านสุขภาพจิตหรือกรมสุขภาพจิต ต่างก็ยอมรับว่า การรักษาคนป่วยด้วยธรรมะบำบัดได้ผลดีจริง แถมยังเป็นการปฐมพยาบาลเบื้องต้นด้วย สำหรับและธรรมะ 4 ประการ เพื่อสุขภาพจิตที่ดีนั้น ท่านพระคุณเจ้า ว.วชิรเมธี ก็แนะนำให้ปฏิบัติธรรม ดังนี้


1. อย่าเป็นนักจับผิด
    คนที่คอยจับผิดคนอื่น แสดงว่า หลงตัวเองว่าเป็นคนดีกว่าคนอื่น ไม่เห็นข้อบกพร่องของตนเอง
" กิเลสฟูท่วมหัว ยังไม่รู้จักตัวอีก " คนที่ชอบจับผิด จิตใจจะหม่นหมอง ไม่มีโอกาส " จิตประภัสสร " ฉะนั้น "จงมองคน มองโลกในแง่ดี แม้ในสิ่งที่เป็นทุกข์ ถ้ามองเป็น ก็เป็นสุข "

    นั้นก็คือต้องฝึกเป็นคนมองโลกในแง่ดีไว้ก่อน จะทำให้ใจสบาย
2. อย่ามัวแต่คิดริษยา
" แข่งกันดี ไม่ดีสักคน ผลัดกันดี ได้ดีทุกคน "
คนเราต้องมีพรหมวิหาร 4 คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา คนที่เราริษยาเป็นการส่วนตัว มีชื่อว่า

" เจ้ากรรมนายเวร " ถ้าเขาสุข เราจะทุกข์
      ฉะนั้นเราต้องถอดถอนความริษยาออกจากใจเรา เพราะไฟริษยา เป็น " ไฟสุมขอน " ( ไฟเย็น) เราริษยา 1 คน เราก็มีทุกข์ 1 ก้อน เราสามารถถอดถอนความริษยาออกจากใจเราโดยใช้วิธี " แผ่เมตตา " หรือ ซื้อโคมมา แล้วเขียนชื่อคนที่เราริษยา แล้วปล่อยให้ลอยไป

    นั้นเป็นเพราะว่า ความริษยาจะบั่นทอนจิตใจเราให้

ร้อนรุม และอาจเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งได้ เพราะเมื่อเราริษยาใคร จะมีอารมณ์โกรธออกมาด้วย ความโลภก็

มาด้วย ฉะนั้น พุทธศาสนาจึงสอนให้มีมุทิตา พลอยยินดีเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดี เป็นคุณธรรมสำหรับนักปกครองหรือ

นักบริหารด้วย
3. อย่าเสียเวลากับความหลัง
     ส่วนใหญ่คนที่ทุกข์ เกิดจากการย้ำคิดย้ำทำ " ปล่อยไม่ลง ปลงไม่เป็น "
    มนุษย์ที่สลัดความหลังไม่ออก เหมือนมนุษย์ที่เดินขึ้นเขาพร้อมแบกเครื่องเคราต่างๆ ไว้ที่หลังขึ้นไป
    ด้วยความทุกข์ที่เกิดขึ้นแล้ว จงปล่อยมันเถอะ

" อย่าปล่อยให้คมมีดแห่งอดีต มากรีดปัจจุบัน "
อยู่กับปัจจุบันให้เป็น ให้กายอยู่กับจิต จิตอยู่กับกาย คือมี "สติ" กำกับตลอดเวลา

        ประเด็นนี้ จะเห็นได้จากคนที่เคยเป็นอริกันมาก่อนเมื่อมาเจอกัน ใจก็มีโทสะ เพราะไม่ลืมเรื่องเก่าๆ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร มีอะไรที่พอจะยอมกันได้ก็ให้อภัยกันเพราะจะทำให้นำไปสู่ความสงบสุขอย่างแท้จริง จะไม่มีการบาดหมางกันต่อไป ดังคำว่า “จะได้หมดเวรหมดกรรมกันไป”

     การทะเลาะวิวาทของนักศึกษาที่มีข่าวอยู่เสมอสาเหตุหนึ่งก็มาจากการไม่ลืมความหลังนี้แหละ เคยทำผิดใจกันเคยกระทบกระทั้งกันทำให้ไม่สบอารมณ์กันมาก่อนก็ไม่ลืมสักที เวลาเจอกันจึงทำให้บันดาลโทสะอยากจะห้ำหั่นกันให้รู้แล้วรู้รอด ฉะนั้น ต้องลืมบ้างความหลังที่ไม่ดี อดีตแห่งความไม่ดีจงปล่อยไปตามสายลม


4. อย่าพังเพราะไม่รู้จักพอ
    "ตัณหา" ความโลภ ความอยากที่เกินพอดี เหมือนทะเลไม่เคยอิ่มด้วยน้ำ ไฟไม่เคยอิ่มด้วยเชื้อ ธรรมชาติของตัณหา คือ "ยิ่งเติมยิ่งไม่เต็ม" ทุกอย่างต้องดูคุณค่าที่แท้ ไม่ใช่ คุณค่าเทียมเช่น คุณค่าที่แท้ของนาฬิกา คืออะไร คือ ไว้ดูเวลา ไม่ใช่มีไว้ใส่เพื่อความโก้หรูคุณค่าที่แท้ของโทรศัพท์มือถือ คืออะไรคือ ไว้สื่อสาร แต่องค์ประกอบอื่นๆ ที่เสริมมาไม่ใช่คุณค่าที่แท้ของโทรศัพท์ เราต้องถามตัวเองว่า 'เกิดมาทำไม' 'คุณค่าที่แท้จริง ของการเกิดมาเป็นมนุษย์อยู่ตรงไหน ตามหา "แก่น" ของชีวิตให้เจอ คำว่า "พอดี" คือ ถ้า "พอ" แล้วจะ "ดี" รู้จักพอ” จะมีชีวิตอย่างมีความสุข

        ประเด็นการรู้จักพอ จะขอยกเรื่องความสันโดษหรือความยินดี พอเพียง 3 ประการ ถ้าใครทำได้คนนั้นมีสุขแน่นอน คือ

1.     ยถาลาภสันโดษ  ยินดีตามมีตามได้ หามาได้เท่าไรก็ยินดีหรือพอใจเท่านั้น ไม่เดือดร้อน ไม่โลภอยากได้ของคนอื่น

2.     ยถาพลสันโดษ  ยินดีตามกำลังความรู้

ความสามารถที่เรามีอยู่ ไม่ทำอะไรเกินตัวเรา เพราะถ้าเราทำอะไรเกินกำลังตนเอง ย่อมจะเจอความทุกข์แน่นอนประดุจเราแบกของหนักมาก ก็จะเหนื่อยมาก

3.     ยถาสารุปสันโดษ  ยินดีตามความเหมาะสม

กับสภาพที่เป็นอยู่ บริบทที่เราเป็นอยู่เป็นอย่างไร ถ้าจะทำเหมือนคนอื่นที่มีบริบทต่างจากเราและดีกว่าเราหลายเท่าย่อมเปรียบเทียบกันไม่ได้ บางอย่างไม่ต้องไปเปรียบเทียบกับใครแข่งขันกับตนเอง พอใจในสิ่งที่ตนเองทำได้ นั้นแหละ คือความพอเพียงที่แท้จริง

     นอกจากการปฏิบัติธรรมดังกล่าวแล้ว ยังมีวิธีอื่นที่จะต้องปฏิบัติด้วย เช่น คติธรรมที่ว่า ทุกข์อยู่ที่ถือ สุขอยู่ที่การรู้จักปล่อยวาง อย่ายึดมั่นถือมั่นจนเกินไป อย่าวู่วามโมโหโกรธง่าย อย่ามีความโลภ โกรธ หลงเกินประมาณเป็นต้น ซึ่งเราสามารถปรับประยุกต์ใช้ตามแต่สถานการณ์ที่กำลังเผชิญ

 

สรุป

       การรักษาสุขภาพกาย และสุขภาพจิต นอกจากใช้ยาตามหมอบอก

ยังนำธรรมะโอสถ หรือการปฏิบัติธรรมช่วยได้ด้วย เพราะ

การปฏิบัติธรรมนั้น ก็คือการละเว้นสิ่งที่เลวร้าย ที่จะเป็นภยันตรายต่อสุขภาพกาย

และสุขภาพใจ สิ่งเลวร้ายต่อสุขภาพกาย เช่น ยาเสพติดให้โทษ ของมึนเมา

สิ่งเลวร้ายต่อสุขภาพใจหรือสุขภาพจิต เช่น อารมณ์โกรธ อิจฉาริษยา

อาฆาตพยาบาท โลภเกินขอบเขต ไม่รู้จักปล่อยวาง  เป็นต้น ดังนั้น ถ้าเราละเว้น

สิ่งเสพติดให้โทษต่อร่างกาย ทำใจให้ผ่องใส ร่าเริงแจ่มใส ใจคอเบิกบาน มองโลก

ในแง่ดี แน่นอน เราจะมีสุชภาพกายและสุชภาพจิตที่ดี จิตที่ฝึกดีแล้ว ย่อมนำ

ประโยชนาสุขมาให้....

 

 

 

 

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

https://th-th.facebook.com/O2Fitness.th/posts/466925636665635


 


 


 

 

 


 

 

 

หมายเลขบันทึก: 693711เขียนเมื่อ 2 ธันวาคม 2021 14:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 ธันวาคม 2021 14:28 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท