ไม่ต้องถึงกับจ้างแก๊งค์ทวงหนี้ ทวงหนี้สมาชิกสหกรณ์ เพราะสมาชิกสหกรณ์เป็นเจ้าของสหกรณ์


ไม่ต้องถึงกับจ้างแก๊งค์ทวงหนี้ ทวงหนี้สมาชิกสหกรณ์ เพราะสมาชิกสหกรณ์เป็นเจ้าของสหกรณ์ 


ปรัชญาของการสหกรณ์ ช่วยตน ช่วยกัน self help mutual help
 

การจ้างแก๊งหมวกกันน็อค  มาทวงหนี้สมาชิกสหกรณ์ นั้น จะเกิดผลได้ 4 ทาง


1. จ้างทวงหนี้ โดยสุจริต   เกิดประโยชน์แก่สหกรณ์
2. จ้างทวงหนี้ โดยสุจริต   เกิดโทษแก่สหกรณ์
3. จ้างทวงหนี้  โดยทุจริต  เกิดประโยชน์แก่สหกรณ์
4. จ้างทวงหนี้  โดยทุจริต  เกิดโทษแก่สหกรณ์

ทางที่ 1 จ้างโดยสุจริต เกิดประโยชน์แก่สหกรณ์ เป็นหนทางที่ควรทำ  แต่ก็ควรเลิกจ้างผู้จัดการสหกรณ์และเจ้าหน้าที่สินเชื่อของสหกรณ์ กรณีนี้อบรมให้ความรู้แก่แก๊งหมวกกันน็อคทวงหนี้ให้เข้าใจถึงหลักวิชาการสหกรณ์จะไม่เกิดความเสียหาย

ทางที่ 2 การจ้างโดยสุจริต เกิดโทษแก่สหกรณ์ แก๊งหมวกกันน็อคมาทวงหนี้สมาชิก บาดเจ็บ ทางด้านร่างกายหรือจิตใจ หรือล้มตาย ขัดหลักวิชาการสหกรณ์ 

ทางที่ 3 จ้างโดยทุจริต กรรมการหรือพนักงานสหกรณ์ มีผลประโยชน์ทับซ้อน  จ้างแก๊งหมวกกันน็อคทวงหนี้ นอกระบบที่ตนเองปล่อยไปด้วย ด้วยเงินของสหกรณ์ แต่เก็บหนี้ของสหกรณ์ได้ เป็นผลดีกับสหกรณ์ กรณีนี้ก็ควรเลิกผู้จัดการสหกรณ์และเจ้าหน้าที่สินเชื่อของสหกรณ์

ทางที่ 4 จ้างโดยทุจริต กรรมการหรือพนักงานสหกรณ์ มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับบริษัทรับจ้างทวงหนี้ โดยจะให้ไปทวงหนี้นอกระบบของตนเอง ที่ปล่อยตัดหน้าสหกรณ์ไป ด้วยสหกรณ์เป็นผู้จ้าง และบริษัททวงหนี้เหล่านี้ไปทำความเสียหายแก่ระบบสหกรณ์

เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2564

เครือข่าย เขตพื้นที่สหกรณ์สมาชิก กรุงเทพมหานคร พื้นที่ 1 (เครือข่ายตามหลักการสหกรณ์สากลที่ 6 การร่วมมือกันระหว่างสหกรณ์  ได้มีโครงการอบรม “พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และประเด็นข้อพิพาทที่พบในสหกรณ์ ที่ควรรู้”  ซึ่งเป็นการอบรมทั้งออนไซด์ (ในห้องประชุม) และออนไลน์ ผ่าน application Zoom Webinar Platform

ผู้เขียนได้ถามคำถาม กับท่านวิทยากร ว่า การที่สหกรณ์นำข้อมูลส่วนบุคคลของสมาชิกสหกรณ์ไปให้ แก๊งค์หมวกกันน๊อกทวงหนี้สมาชิกสหกรณ์ นั้นเป็นการผิด พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบคคุลหรือไม่  

คำตอบคือ ผิดทุกอย่าง ผิดทุกทาง สหกรณ์กระทำเช่นนั้นมิได้

การให้บริการของสหกรณ์ในส่วนของการให้บริการเงินกู้ และการให้บริการรับฝากเงิน เป็นการให้สมาชิก (เจ้าของสหกรณ์) ได้มาแบ่งปันโอกาสการใช้เงินระหว่างกัน 

 โดย สมาชิกสหกรณ์ผู้ถือหุ้น และสมาชิกสหกรณ์ผู้ใช้บริการรับฝากเงินจากสหกรณ์ เป็นผู้มีโอกาสในการใช้เงินที่เหลือเกิน 

ได้นำโอกาสการใช้เงินดังกล่าว มาแบ่งปันให้สมาชิกสหกรณ์ผู้ใช้บริการเงินกู้ ซึ่งขาดโอกาสการใช้เงิน 

ได้ใช้บริการเงินกู้เพื่อนำเงินที่ได้รับจากการแบ่งปันนั้นไปใช้ในการสร้างชีวิต สร้างครอบครัว ด้วยความพอเพียง ตามความจำเป็น และได้จ่ายค่าตอบแทนในรูปดอกเบี้ยเงินกู้ และค่าบริการแก่สหกรณ์ 

สหกรณ์นำค่าตอบแทนนั้นไปจ่ายให้กับผู้ฝากเงินในรูปดอกเบี้ยเงินฝาก (interest) และให้ผู้ถือหุ้นในรูป เงินปันผล (dividend) ตามสมควร

                    ในระหว่างการดำเนินการเมื่อสิ้นปีแล้วสหกรณ์มีส่วนเกิน (surplus) จากการให้บริการสมาชิก ก็สามารถจ่ายเงินเฉลี่ยคืน (patronage refund) ให้แก่ สมาชิกสหกรณ์ทั้งสมาชิกผู้ใช้บริการรับฝากเงิน และสมาชิกผู้ใช้บริการเงินกู้ได้ ตามหลักวิชาการสหกรณ์ 

ในหลักการสหกรณ์สากลที่ 3 : การมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจโดยสมาชิกสหกรณ์ พึงมีความเที่ยงธรรมในการให้ และควบคุมการใช้เงินทุนในสหกรณ์ตามแนวทางประชาธิปไตย 

ทุนของสหกรณ์อย่างน้อยส่วนหนึ่งต้องเป็นทรัพย์สินส่วนร่วมของสหกรณ์ สมาชิกจะได้รับผลตอบแทนสำหรับเงินทุนตามเงื่อนไขแห่งสมาชิกภาพในอัตราที่จำกัด (ถ้ามี) 

มวลสมาชิกเป็นผู้จัดสรรผลประโยชน์ส่วนเกินเพื่อจุดมุ่งหมายประการใด ประการหนึ่งหรือทั้งหมด จากดังต่อไปนี้ คือ เพื่อการพัฒนาสหกรณ์ของตนโดยจัดให้เป็นทุนของสหกรณ์ 

ซึ่งส่วนหนึ่งของส่วนเกินนี้ต้องนำมาแบ่งปันกัน เพื่อเป็นผลประโยชน์แก่สมาชิกตามส่วนของการใช้บริการของสหกรณ์ (transactions with the co-operative ) และเพื่อสนับสนุนกิจกรรมอื่นใดที่มวลสมาชิกเห็นชอบ 

(3 rd Principle: Member Economic Participation  : Members contribute equitably to, and democratically control, the capital of their co-operative. At least part of that capital is usually the common property of the co-operative. Members usually receive limited compensation, if any, on capital subscribed as a condition of membership. Members allocate surpluses for any or all of the following purposes: developing their co-operative, possibly by setting up reserves, part of which at least would be indivisible; benefiting members in proportion to their transactions with the co-operative; and supporting other activities approved by the membership. )
 
สิ่งที่ควรทำ     

                    สหกรณ์ควรให้ความรู้ในเรื่อง “หลักวิชาการสหกรณ์” แก่สมาชิกสหกรณ์ และผู้เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอและทั่วถึง ตามหลักการสหกรณ์สากล ที่ 5 การศึกษา อบรม และข่าวสาร : พึงให้การศึกษา การฝึกอบรม แก่มวลสมาชิกผู้แทนจากการเลือกตั้ง ผู้จัดการ พนักงาน เพื่อบุคคลเหล่านั้น สามารถช่วยพัฒนาสหกรณ์ของตนได้อย่างมีประสิทธิผล และสามารถให้ข่าวสาร แก่สาธารณชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแก่เยาวชน และผู้นำทางความคิดในเรื่อง คุณลักษณะและคุณประโยชน์ของสหกรณ์ได้

                 ลักษณะของสหกรณ์ (nature) ตามนิยามสหกรณ์สากล : สหกรณ์เป็นองค์การอิสระ ของบุคคล ซึ่งรวมกันด้วยความสมัครใจ เพื่อสนองความต้องการอันจำเป็น (needs) และความมุ่งหมายร่วมกันทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยการดำเนินวิสาหกิจร่วมกัน เป็นเจ้าของร่วมกัน และควบคุม
ตามแนวทางประชาธิปไตย สมาชิกของสหกรณ์ ตั้งมั่นอยู่ในความซื่อสัตย์ เปิดเผย รับผิดชอบต่อสังคม 
และเอื้ออาทรต่อผู้อื่น      

                  คุณประโยชน์ของสหกรณ์ (benefit)

                   คุณประโยชน์ของสหกรณ์ที่เป็นตัวเงิน (tangible benefit) เช่น เงินปันผล (dividend) เงินเฉลี่ยคืน (patronage refund) ดอกเบี้ยรับ ฯลฯ

                   คุณประโยชน์ของสหกรณ์ที่ไม่เป็นตัวเงิน (intangible benefit) เช่น การพึ่งพาและรับผิดชอบตนเอง ประชาธฺิปไตย ความเสมอภาค ความเที่ยงธรรม ความสามัคคี การแบ่งปัน การเอื้ออาทรต่อสังคม ฯลฯ

                    สหกรณ์ ควรให้ความรู้ในเรื่อง “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” แก่สมาชิกสหกรณ์และผู้เกี่ยวข้องอย่่างสม่ำเสมอและทั่วถึง เพื่อให้สมาชิกสหกรณ์ นำไปใช้ในชีวิตประจำวันให้สมาชิกสหกรณ์สามารถใช้จ่ายเงินได้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือ

                   สมาชิกสหกรณ์สามารถใช้จ่ายเงินได้อย่างพอประมาณ 

                   สมาชิกสหกรณ์สามารถใช้จ่ายเงินได้อย่างมีเหตุผล

                   สมาชิกสหกรณ์สามารถใช้จ่ายเงินได้อย่างมีภูมิคุ้มกัน 

                   ใช้จ่ายเงินตามเงื่อนไขหลักวิชาการที่ถูกต้อง

                   ใช้จ่ายเงินตามเงื่อนไขหลักธรรมของศาสนา อันจะก่อให้เกิดเสถียรภาพและความยั่งยืนของสหกรณ์

                    สหกรณ์ควรยกเลิก กองทุนรักษาระดับอัตราเงินปันผล ส่งผลให้สหกรณ์เป็นองค์การแสวงหากำไร  สหกรณ์ควรตั้งกองทุนแบ่งเบาบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ค้ำประกันและครอบครัว
 โดยจัดสรรจากกำไรสุทธิประจำปี และกำหนดระเบียบว่าด้วยการใช้กองทุน ฯ นี้ขึ้น

เพื่อ บรรเทาความเดือดร้อนของผู้ค้ำประกันและครอบครัว กรณีสมาชิกผู้ใช้บริการเงินกู้ผิดสัญญาและไม่สามารถฟ้องร้องได้ ทำให้ตกเป็นภาระของผู้ค้ำประกันและครอบครัวของผู้ค้ำประกัน และกองทุนนี้จะช่วยคณะกรรมการดำเนินการในการพิจารณาเงินกู้ให้ละเอียดรอบคอบยิ่งขึ้น 

                       สหกรณ์ควรเตรียมการให้บริการสมาชิกสหกรณ์ ในสภาพแวดล้อม Decentralized Finance (DeFi) ด้วย ทรัพย์สินดิจิทัล เช่น Cryptocurrency , Utility Token , Investment Token เมื่อเทคโนโลยี Blockchain เป็นที่ยอมรับแพร่หลาย

                       สหกรณ์ควรปรับอัตราดอกเบี้ยการให้บริการสมาชิกสหกรณ์ทั้งสมาชิกผู้ใช้บริการเงินกู้ และบริการเงินฝากให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน โดยพิจารณาจากแนวโน้มการเคลื่อนไหว 
ของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อมิให้เงินไหลเข้าสหกรณ์มากเกินพอเพียง การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งที่ 7/2564 เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2564 คณะกรรมการฯ มีมติเป็นเอกฉันท์ ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.50 ต่อปี 

ในอนาคตหลังจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 สหกรณ์อาจให้บริการในการประชุมใหญ่สมาชิกสหกรณ์ เพื่อให้สมาชิกสหกรณ์เข้าถึงโอกาสในการประชุมใหญ่และโอกาสในการเข้าถึงการเลือกตั้งผู้แทนของสหกรณ์ ได้โดยสะดวกและประหยัด ด้วยเทคโนโลยี และนวัตกรรมการให้บริการในปัจจุบัน ด้วยการประชุมใหญ่ และการประชุมคณะกรรมการดำเนินการ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ตามพระราชกำหนด ว่าด้วยการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2563 หรือให้บริการสมาชิกสหกรณ์ในการประชุมแบบผสม ออนไลน์ ออฟไลน์ ได้ เนื่องจากเทคโนโลยีในปัจจุบันมีความพอเพียงต่อการดำเนินการในเรื่องดังกล่าว

สหกรณ์ควรจัดทำโครงการ ปลดหนี้วิกฤตให้ชีวิตใหม่แก่สมาชิกสหกรณ์ และผู้ค้ำประกัน ลักษณะเดียวกับชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์ตํารวจแห่งชาติ จํากัด 

http://chumnumpolice.org/chumnumcoop/th/2019-01-30-17-00-46/2019-05-09-05-41-34/2019-01-30-17-02-09/347-ชสอ-ตร-จัดโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินของข้าราชการตำรวจและลูกจ้างประจำในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ-และการจัดสวัสดิการด้านสหกรณ์ออมทรัพย์.html

ผบ.ตร.ออกแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้สินตำรวจ เริ่มช่วยผู้ถูกฟ้องร้องก่อน
https://mgronline.com/crime/detail/9640000038798

ที่ให้บริการปลดหนี้ให้กับสมาชิกของสหกรณ์สมาชิก ได้บางส่วนแล้ว แทนที่จะจ้างแก๊งหมวกกันน็อคมาทวงหนี้สมาชิก

พีระพงศ์ วาระเสน บ๊อบบี้ 
นักการสหกรณ์ไทยด้วยหัวใจ💚
วันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม 2564

หมายเลขบันทึก: 693707เขียนเมื่อ 2 ธันวาคม 2021 08:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 ธันวาคม 2021 06:02 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท