คุณธรรม จริยธรรม นำสุขแก่ชีวิต


เมื่อนำสองคำ คือ คุณ กับ ธรรม มารวมกัน เป็น “คุณธรรม” ก็หมายถึง คุณงามความดีที่จะรักษาผู้ปฏิบัติธรรมไม่ให้ตกไปสู่ที่ชั่ว เช่น อบายมุข และอบายภูมิ ปกติ “คุณธรรม” ถ้ามีในจิตใจของคนเรา คือ สิ่งที่ดีงาม ที่เราได้อบรมสั่งสมไว้ในใจ ต่อเมื่อแสดงพฤติกรรมนั้นออกมาก็จะเป็น “จริยธรรม” นั้นเองจริยธรรม จึงเป็นการนำเอาคุณธรรมมาปฏิบัตินั้นเอง

คุณธรรม จริยธรรม นำสุขแก่ชีวิต

 

คุณธรรม จริยธรรม นำสุขแก่ชีวิต

ดร.ถวิล   อรัญเวศ

   พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน 2554 ให้ความหมายของ

คุณ และธรรม ไว้ ดังนี้

(๑)  [คุน, คุนนะ-] น. ความดีที่มีประจำอยู่ในสิ่งนั้น ๆ เช่น คุณของแผ่นดิน, ความดีที่มีต่อสิ่งต่าง ๆ เช่น ไม่รู้คุณข้าวแดงแกงร้อน

 

(๒) น. ความเกื้อกูล เช่น รู้คุณ. (ป., ส.)

 

(๓) น. คำที่ใช้เรียกนำหน้าบุคคลเพื่อแสดงความยกย่อง เช่น คุณพ่อ คุณแม่ คุณสมร

 

(๔) น. คำนำหน้าชื่อสตรีที่ยังไม่ได้สมรสและได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ชั้นจตุตถจุลจอมเกล้าถึงชั้นทุติยจุลจอมเกล้า, คำนำหน้าชื่อสตรีที่ยังไม่ได้สมรสและได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายในชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษขึ้นไป

 

(๕)  (ไว) คำแต่งชื่อ.

 

(๖)  [คุน, คุนนะ-] ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เป็นคำสุภาพ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, (ปาก) คำใช้แทนผู้ที่เราพูดถึงด้วยความสุภาพ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓, เช่น คุณอยู่ไหม ช่วยไปเรียนว่ามีคนมาหา.

 

ธรรม

ธรรม ๑, ธรรม-, ธรรมะ

(๑)  [ทำ, ทำมะ-] น. คุณความดี เช่น เป็นคนมีธรรมะ เป็นคนมีศีลมีธรรม (ส. ธรฺม; ป. ธมฺม).

 

(๒) น. คำสั่งสอนในศาสนา เช่น แสดงธรรม ฟังธรรม ธรรมะของพระพุทธเจ้า (ส. ธรฺม; ป. ธมฺม).

 

(๓) น. หลักประพฤติปฏิบัติในศาสนา เช่น ปฏิบัติธรรม ประพฤติธรรม (ส. ธรฺม; ป. ธมฺม).

 

(๔) น. ความจริง เช่น ได้ดวงตาเห็นธรรม (ส. ธรฺม; ป. ธมฺม).

 

(๕) น. ความยุติธรรม, ความถูกต้อง, เช่น ความเป็นธรรมในสังคม (ส. ธรฺม; ป. ธมฺม).

 

(๖) น. กฎ, กฎเกณฑ์, เช่น ธรรมะแห่งหมู่คณะ (ส. ธรฺม; ป. ธมฺม).

 

(๗) น. กฎหมาย เช่น ธรรมะระหว่างประเทศ (ส. ธรฺม; ป. ธมฺม).

 

(๘) น. สิ่งของ เช่น เครื่องไทยธรรม. (ส. ธรฺม; ป. ธมฺม).

 

  ลูกคำของ "ธรรม ๑, ธรรม-, ธรรมะ" คือ   ธรรมกถา  ธรรมกถึก  ธรรมกาม  ธรรมกาย  ธรรมการ  ธรรมการย์  ธรรมขันธ์  ธรรมคุณ  ธรรมจรณะ  ธรรมจรรยา  ธรรมจริยา  ธรรมจักร  ธรรมจักษุ  ธรรมจาคะ  ธรรมจารี  ธรรมจินดา  ธรรมชาติ  ธรรมฐิติ  ธรรมดา  ธรรมทรรศนะ  ธรรมธาดา  ธรรมธาตุ  ธรรมนาถ  ธรรมนิตย์  ธรรมนิยม  ธรรมนิยาม  ธรรมนิเวศ  ธรรมนูญ  ธรรมบท  ธรรมบาล  ธรรมบิฐ  ธรรมปฏิรูป  ธรรมปฏิสัมภิทา  ธรรมประติรูป  ธรรมยุติกนิกาย  ธรรมยุทธ์  ธรรมรัตน์  ธรรมราชา  ธรรมวัตร  ธรรมศาสตร์  ธรรมสถิติ  ธรรมสภา  ธรรมสังคีติ  ธรรมสังเวช  ธรรมสากัจฉา  ธรรมสามิสร  ธรรมสามี  ธรรมสาร  ธรรมะธัมโม  ธรรมันเตวาสิก  ธรรมา-ธิษฐาน  ธรรมาทิตย์  ธรรมาธรรม  ธรรมาธิปไตย  ธรรมานุธรรมปฏิบัติ  ธรรมานุสาร  ธรรมาภิมุข  ธรรมาภิสมัย  ธรรมายตนะ  ธรรมารมณ์  ธรรมาสน์  ธรรมิก  ธรรมิก-  ธรรมเกษตร  ธรรมเจดีย์  ธรรมเนียม  ธรรมเนียมประเพณี

ธรรม ๒

น. คำประกอบท้ายคำที่เป็นนามธรรม เมื่อประกอบแล้วมีความหมายไม่ต่างไปจากคำศัพท์เดิม เช่น วัฒนธรรม อารยธรรม.

ธรรม ๓

น. สมณศักดิ์พระราชาคณะ สูงกว่าชั้นเทพ ตํ่ากว่าชั้นหิรัญบัฏ เรียกว่า ชั้นธรรม เช่น พระธรรมโกศาจารย์ พระธรรมเจดีย์.

 

         เมื่อนำสองคำมารวมกัน เป็น “คุณธรรม” ก็หมายถึง คุณงามความดีที่จะรักษาผู้ปฏิบัติธรรมไม่ให้ตกไปสู่ที่ชั่ว เช่น อบายมุข และอบายภูมิ

         ปกติ “คุณธรรม” ถ้ามีในจิตใจของคนเรา คือ สิ่งที่ดีงาม ที่เราได้อบรมสั่งสมไว้ในใจ  ต่อเมื่อแสดงพฤติกรรมนั้นออกมาก็จะเป็น “จริยธรรม” นั้นเอง

จริยธรรม จึงเป็นการนำเอาคุณธรรมมาปฏิบัตินั้นเอง

 

        การแสดงคุณธรรมออกมา สามารถแสดงออกมาได้ 3 ทาง คือ ทางกาย

ทางวาจา และทางใจ

         คุณธรรม ต่างจากศีล ตรงที่ว่า  ศีล  แปลว่า ปกติ เช่น ปกติกาย และปกติ

วาจา  ถ้าความคิดไม่ดี เช่น คิดโลภอยากได้ของคนอื่น คิดรักเมียคนอื่น หรือชู้ทางใจ จะไม่ผิดศีล แต่จะผิดธรรม คือคิดอกุศล  หรือคิดอย่างไม่ฉลาด

  

คุณธรรม จริยธรรม ที่จะนำมากล่าววันนี้ มีดังนี้

 

คติธรรม นำสุข เช่น

1. เจอปัญหา อย่าท้อแท้

 

“เจอปัญหา ต้องอดทน และต่อสู้

เกิดมาอยู่ คู่กับคน ต้องทนไหว

เพราะทุกคน ต่างความคิด ต่างจิตใจ

เราอยากได้ เขาอยากเด่น เห็นมากมี…”

 

2. ไม่ควรเป็นคนหลายใจ ครอบครัวแบบพอเพียง
     หรือรักเดียวใจเดียว จะดีกว่า

 

“อันเสื้อผ้า มีมาก หลากหลายสี

อันทีวี มีมาก หลากหลายช่อง

อันเครื่องกรอง มีมาก หลากกหลายชั้น

แต่ตัวฉัน ไม่ควรมีมาก “หลากหลายใจ…”

 

3. ศีลธรรมจำเป็นสำหรับทุกคน

 

“อันสตรี ไม่มีศีล ก็สิ้นสวย

บุรุษด้วย ไม่มีศีล ก็สิ้นศรี

พระภิกษุ ไม่มีศีล ก็สิ้นดี”

ข้าราชการ ศีลไม่มี ก็หยาบคาย

 

 

“อันสตรี ขาดธรรมะ ก็ทรามชั่ว

บุรุษทั่ว ขาดธรรมะ ต่ำศักดิ์ศรี

ภิกษุ ขาดธรรมะ เป็นอลัชชี

ข้าราชการ ธรรมะไม่มี ก็เลวทราม

 

4. เสียอะไรก็เสียไปเถอะ แต่อย่าเสียกำลังใจ

    เพราะเสียกำลังใจ เหมือนสูญเสียทุกอย่าง

5. ทำดี ดีกว่าขอพร

    ทำชั่ว จะวอนให้พระช่วยคงไม่ไหว

    ทำดี นิรทุกข์สุชใจ

    ทำชั่วแล้วไซร้ จักทุกข์ ทรมาน

 6. ก่อนจะเชื่อ ควรใช้สติปัญญาพิจารณาไตร่ตรองให้รอบคอบ

    ก่อนจะเชื่อ สิ่งใด ให้พิสูจน์

    ก่อนจะพูด ให้ยั้งคิด  วินิจฉัย

    ก่อนจะทำ กิจการใดใด  ให้ดี

    คิดให้ถ้วนถี่ จะเกิดผลดี ตามมา

  6. ควรฝากอะไรไว้กับโลก

  อันวัวควาย ตายแล้ว เหลือเขาหนัง

อันช้างตายยัง เหลืองา เป็นศักดิ์ศรี

คนเรานี้ตายแล้ว เหลือไว้ แต่ชั่วดี

คุณความมดี ประดับไว้ ในโลกา

 

เมื่อเจ้ามา เจ้ามีอะไร มากับเจ้า

เจ้าจะมัว โลภมาก ไปถึงไหน

เวลาตาย ไม่เห็น เอาอะไรไป

ติดตามได้ แต่บาปบุญ ของคุณเอง

 

พรรณไม้ดอก แม้โตได้วันละนิด

ยังความงาม พาจิตใจให้สดใส

ก่อนเหี่ยวแห้ง หมู่ภมรได้ชื่นใจ

ดูดเกสรบินร่อนไป เลี้ยงรวงรัง

 

อันมนุษย์ เกิดมาอยู่ คู่กับโลก

มีสุขทุกข์โศก โรคภัย ตายแล้วเผา

ก่อนจะดับ ลับโลกไป เพราะมัจจุราชมารับเอา

ท่าน เราและเขา ควรปลูกฝังความดีไว้ ให้โลกชม

  

7. ถึงตัวตาย แต่ความดี ยังไม่ตาย ไม่เลือนหาย

  “พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง

โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี

นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์

สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา”

 

        ขอให้สุขกาย สุขใจ ไร้โควิด ไปจนทุกภพทุกชาติ เทอญ

 

 

แหล่งข้อมูล

http://thawin09.blogspot.com/2021/11/19_30.html

https://dictionary.orst.go.th/

https://www.facebook.com/Thawil2503/posts/5270094353031819

https://youtu.be/ZHiNxCgLLAc

http://www.sobsuan.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&p=58934

 

 


 


 

 

 

หมายเลขบันทึก: 693704เขียนเมื่อ 2 ธันวาคม 2021 02:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 ธันวาคม 2021 02:30 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท