ชีวิตที่พอเพียง ๔๑๐๐. ทำงานเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (๑๑๘) จัดการความสำเร็จ


  

นี่คือทางเลือกการทำงานของโครงการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ ในปีที่ ๔ ของ กสศ.   ว่าจะเลือกเน้นจัดการโครงการให้ทุน   หรือจะเน้นจัดการเพื่อเก็บเกี่ยวผลประโยชน์แก่บ้านเมือง    ซึ่งที่จริงต้องทำทั้งสองทาง    แต่ต้องมีสติว่าจะเน้นด้านไหน   เพราะหากไม่ตั้งสติ ก็จะทำงานจัดการโครงการเหมือนสามปีแรก   

    ผมมีความเห็นว่า ต้องเน้นจัดการความสำเร็จ    ไม่หลงเน้นลงแรงเข็นโรงเรียนที่กลไกภายในอ่อนแอ    เพราะโรงเรียนเหล่านั้นตกอยู่ใต้วัฒนธรรมเดิมของต้นสังกัด   ไม่กล้าหรือไม่ยินดีลุกขึ้นมาดำเนินการเพื่อนักเรียนของตน (ขาดความเป็น agency)    

ผมมีความเห็นว่า ในปีที่สี่ กสศ. ต้องเน้นเก็บเกี่ยวผลที่เกิดขึ้นจากงานในสามปีแรก   เอามาขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงของระบบใหญ่ของประเทศ    โดยขับเคลื่อนด้วยความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากโครงการนำร่องใน ๓ ปีแรก     มีการวิจัยหาเหตุผลว่า ความสำเร็จดังกล่าวมาจากปัจจัยสำคัญๆ อะไรบ้าง   โรงเรียนที่ประสบความสำเร็จดำเนินการอย่างไร    มีข้อมูลหลักฐานยืนยันความสำเร็จอย่างไรบ้าง   

กสศ. ต้องพัฒนาทักษะก่อการระบาด (viral) ของการริเริ่มสร้างสรรค์ของโรงเรียน   ในการทำงานเพื่อยกระดับผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียน    ที่พิสูจน์แล้วว่าได้ผลดี    เป็นวิธีที่ได้ผล    ในลักษณะสร้างการเปลี่ยนแปลงจากฐาน (bottom-up)  หรือจากส่วนปลายของระบบ    เอามาสร้างการเรียนรู้เชิงระบบของประเทศ    เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาอันล้าหลังของเรา   

เอามาสร้างพลังประชาชน หรือพลังพ่อแม่ผู้ปกครอง เพื่อขับเคลื่อน Education Systems Transformation    เพื่อให้หลุดจากการครอบงำของกลุ่มผลประโยชน์ที่แย่งชิงทรัพยากรไปจากเด็ก    ตามที่ระบุใน World Development Report 2018 ของธนาคารโลก   และผมตีความนำมาเผยแพร่ใน บล็อก ชุด สู่การศึกษาคุณภาพสูง     

 ต้องมุ่งเรียนรู้จากความสำเร็จ (success story)    ใช้พลังของความสำเร็จ มาขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงภาพใหญ่  ของประเทศ    นี่คือมุมมองเชิงยุทธศาสตร์ของผม   ที่ไม่ทราบว่าเป็นยุทธศาสตร์ที่ถูกต้องหรือไม่ 

วิจารณ์ พานิช

๔ ต.ค. ๖๔ 

 

  

หมายเลขบันทึก: 693659เขียนเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2021 18:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2021 18:02 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท