การดำรงชีวิตภายใต้สถานการณ์โควิด 19 กำลังแพร่เชื้อระบาด


ช่วงปลายเดือน พฤศจิกายน เข้าหาธันวาคม 2564 จะใกล้วันสิ้นปี นอกจากจะ ระมัดระวังเชื้อไวรัสโตวิด 19 พวกเรายังต้องระมัดระวังอุบัติเหตุอีกด้วย เพราะ ใกล้วันสิ้นปี ถือว่าเป็นระยะช่วงเปลี่ยนผ่านชีวิตคนเรา มักจะวัดกันได้ด้วยว่า ใครจะ กลับบ้านเก่า หรือใครยังจะมีชีวิตอยู่เพื่อดูความเปลี่ยนแปลงของโลกใบนี้

การดำรงชีวิตภายใต้สถานการณ์โควิด 19 กำลังแพร่เชื้อระบาด

 

การดำรงชีวิตภายใต้สถานการณ์โควิด 19 กำลังแพร่เชื้อระบาด

ดร.ถวิล  อรัญเวศ

 

        สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-2019 ในไทย และทั่วโลก ผู้คนต้องตกอยู่ในการดำรงชีวิตอย่างยากลำบาก ต้องระมัดระวังตัวอยู่เสมอ เสมือนจะมีคนมาปองร้าย ด้วยการนำเชื้อไวรัสโควิด 19 มาติดเรา และเชื้อไวรัสก็มีการพัฒนาตนเองไปเรื่อย ๆ เพื่อไม่ให้มนุษย์เราได้ตามทัน

         ช่วงปลายเดือน พฤศจิกายน เข้าหาธันวาคม 2564 จะใกล้วันสิ้นปี นอกจากจะ

ระมัดระวังเชื้อไวรัสโตวิด 19 พวกเรายังต้องระมัดระวังอุบัติเหตุอีกด้วย เพราะ

ใกล้วันสิ้นปี ถือว่าเป็นระยะช่วงเปลี่ยนผ่านชีวิตคนเรา มักจะวัดกันได้ด้วยว่า ใครจะ

กลับบ้านเก่า หรือใครยังจะมีชีวิตอยู่เพื่อดูความเปลี่ยนแปลงของโลกใบนี้

         มนุษย์เราเป็นสัตว์สังคม จึงไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้โดยลำพัง ต้องอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น ตั้งแต่แรกเกิดไปจนตาย

         เมื่อยังเป็นเด็ก พ่อแม่คอยดูแลเอาใจใส่ เลี้ยงดูอย่างทะนุถนอม อบรมสั่งสอน

ให้รู้ดีรู้ชั่ว มีกิริยามารยาทเรียบร้อย ให้กระทำในสิ่งที่ดี ละเว้นสิ่งที่ชั่วร้าย ให้มีพฤติกรรมเป็นที่พึงประสงค์ของสังคม เมื่อถึงวัยเรียนท่านก็ส่งให้เรียนในโรงเรียนที่ดี หวังให้ลูกมีชีวิตที่ดีมีความรู้พอที่จะไปประกอบสัมมาอาชีพได้อย่ในโลกนี้ได้อย่างมีความสุข

      หน้าที่ของพ่อแม่ที่มีต่อลูก เป็นวงจรชีวิตที่ไม่รู้จบ ทุกคนถือเป็นภาระหน้าที่สำคัญ เมื่อเด็กได้เติบใหญ่เป็นผู้มีการศึกษา หารายได้เลี้ยงชีพได้แล้วก็ถึงเวลาที่ต้องมีคู่ครอง พ่อแม่ที่เลี้ยงดูมาตั้งแต่เกิดยังต้องทำหน้าที่ช่วยเลือกคู่ครองที่เป็นคนดีมาเป็นคู่ชีวิต

     เมื่อพ่อแม่เข้าสู่ผู้สูงวัย หรือวัยชรา ลูก ๆ ยังมีความหวังในการเลี้ยงดูหลานเหลน ผู้สูงอายุจึงเป็นบุคคลที่เป็นความหวังของลูกหลานตราบใดที่ยังมีชีวิตอยู่ แม้ว่าจะ

ต้องสู้กับภัยโควิด 19 ก็ตาม จะต้องประคองชีวิตไปด้วยกัน จนกว่าชีวิตจะหาไม่

 

สภาพประชากรไทยปัจจุบัน

          ปัจจุบันประเทศไทยเรา กำลังก้าวสู่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางประชากรครั้งสำคัญ คือการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยสัดส่วนประชากรในวัยทำงานและวัยเด็กลดลง เนื่องจากอัตราการเกิดของประชากรลดลง ประชากรไทยโดยเฉลี่ยมีอายุยืนยาวขึ้นซึ่งสถานการณ์ของประเทศไทยก็ดำเนินไปเช่นเดียวกับนานาประเทศ กล่าวคือ การดำเนินนโยบายด้านประชากรและการวางแผนครอบครัวที่ประสบผลสำเร็จ ตลอดจนความก้าวหน้าในการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม ส่งผลให้คนไทยมีสุขภาพดี มีอายุยืนยาวขึ้น และมีโอกาสได้รับการศึกษาที่สูงขึ้น มีความรู้และทักษะในการป้องกันและดูแลสุขภาพ ตลอดจนการวางแผนครอบครัวที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

      จากการคาดการณ์ของผู้สูงอายุ  มีการคาดการณ์ว่าในปี 2583 ประเทศไทยจะมีอัตราส่วนผู้สูงอายุถึง 32.1 % ในปี พ.ศ. 2562 ประเทศไทยมีประชากร 66,558,935 คน (ตามประกาศสำนักทะเบียน กรมการปกครอง ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562) 68,977,400 คน (ประมาณการประชากร ณ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2563 โดยสำนักข่าวกรองกลางแห่งสหรัฐอเมริกา) 69,626,000 คน (ประมาณการประชากร ณ พ.ศ. 2562 โดยสหประชาชาติ) 66.4 ล้านคน โดยมีประชากรวัยทำงาน (15-59 ปี) ร้อยละ 64.7 ประชากรวัยเด็ก (แรกเกิด- 14 ปี) ร้อยละ 16.8 ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) ร้อยละ 16.0 (ข้อมูลสำมะโนประชากรและเคหะ) มีการคาดการณ์ว่าในปี 2583 ประเทศไทยจะมีประชากรลดลง เหลือร้อยละ 63.9 แต่มีโครงสร้างประชากรเปลี่ยนแปลงอย่างมากคือ มีประชากรวัยทำงาน (15-59 ปี) ร้อยละ 55.1 ประชากรวัยเด็ก (แรกเกิด- 14 ปี) ร้อยละ 12.8 และมีผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) สูงถึงร้อยละ 32.1 ทั้งนี้เนื่องจากการมีอัตราการเกิดที่น้อยลง และการพัฒนาทางการแพทย์ที่ทำให้ประชากรมีอายุยืนยาวขึ้น

 

การดำรงชีวิตของผู้สูงวัย

      วัยผู้สูงอายุ หรือวัยเกษียณ คือ 60 ปีขึ้นไป ในการดำรงชีวิตแบบสงบเรียบง่าย

พอเพียง จะทำให้ชีวิตมีคุณค่า เพราะวัยนี้ถือว่าผ่านร้อนผ่านหนาวมาโชกโชนแล้ว

การดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่าของผู้สูงอายุ ย่อมนำมาซึ่งความสุข วิธีง่ายๆ ที่จะช่วยเพิ่มคุณค่าในการดำเนินชีวิตให้มีความสุขในผู้สูงวัย ได้แก่

 

1.     ทำจิตใจให้สงบปล่อยวาง

โดยอาจใช้เวลาทำสมาธิ สวดมนต์ทำจิตให้สงบสดใสเบิกบานตอนเช้าหลังตื่นนอน

และตอนเย็นก่อนนอน

2.     เดินออกกำลังกาย

ควรหาเวลาออกกำลังกายบ้าง โดยผู้สูงอายุไม่ควรออกำลังกายหักโหม

ไม่ควรวิ่งเร็ว หรือออกกำลังกายรุนแรงเพราะอาจจะทำให้การทำงานของหัวใจเต้นเร็ว หายใจหอบและอาจถึงตายได้ง่าย

3.     รับประทานอาหารให้เหมาะกับวัย โดยเฉพาะผู้สูงวัย

รัยปาะทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ไม่กินตามอยากจนเกินไป โดยเฉพาะผู้สูงอายุ

ควรรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย ประเภทเนื้อวัวหรือสัตว์ใหญ่ ควรงดหรือลด หรือเว้น เช่น อาหารดิบๆ สุกๆ เพราะระบบการย่อยอาหารของคนสูงอายุอาจจะทำหน้าที่ไม่ปกติ ควรทานผักผลไม้เพื่อช่วยในการขับถ่าย ไม่ให้ท้องผูก

4.     หาเวลาร่วมกิจกรรมพักผ่อนหย่อนใจเป็นครั้งคราว

ควรหาเวลาสังสรรค์กับเพื่อน ๆ โดยเฉพาะผู้สูงอายุ โดยการทำกิจกรรมร่วมกัน

ไม่ว่าจะพักผ่อนหย่อนใจ เที่ยวงานบุญตามเทศกาล เข้าชมรมผู้สูงอายุด้วยกัน

5.     เข้าวัดปฏิบัติธรรมในวันธรรมสวนะหรือวันพระ

การไปเข้าวัดปฏิบัติธรรม ถือว่าได้มีโอกาสพบกันกับผู้คน ด้วยเฉพาะคนสูงอายุ

ด้วยกันและสนทนาธรรมตามกาล พูดคุยแต่เรื่องสนุก สร้างสรรค์ ชีวิตจะได้ไม่เหงา

6.     พักผ่อนให้เพียงพอ

ผู้สูงอายุควรพักผ่อนให้เพียงพอ นอนหลับสนิท ก่อนนอนทำสมาธิ ปลดปล่อย

ทำใจให้สดใส ไม่คิดฟุ้งซ่าน ทำใจให้สงบก่อนนอนและนอนให้หลับลึกหลับสนิท ตัดความวิตกกังวลให้หมดไป

7.     หากิจกรรมทำยามว่างทำที่บ้าน

เช่น ออกกำลังกายเบา ๆ ปลูกผักสวนครัวเล็ก ๆ น้อย ๆ แบบพอเพียง

รดน้ำต้นไม้  ฯลฯ  และควรยึดหลักที่ว่า

     “ร่างกายแข็งแรง จิตใจเข้มแข็ง ร่าเริงแจ่มใส ไร้วิตกกังวล จะพ้นความห่วงใย”

8.     ห่างจากผู้คนที่จะทำให้ติดไวรัสโควิด 19

การดำรงชีวิตต้องมีสุขนิสัย กินของร้อน ใช้ช้อนกลาง ล้างมือให้สะอาด

ไม่ประมาทเมื่อพบปะผู้คน รัดแมสก์เสมอ ใช้ชีวิตเว้นระยะห่าง

 

สรุป

      การใช้ชีวิตภายใต้สถานการณ์โควิด 19 กำลังแพร่เชื้อระบาดของคนเรา รวมทั้งของผู้มีชีวิตสูงวัย จะต้องดำรงชีวิตแบบสำรวมตน เพื่อให้รอดพ้นภัยต่าง ๆ อันจะมากระทบ ไม่ประมาท พักผ่อนให้เพียงพอ หมั่นออกกำลังกายเสมอ ใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย ไม่ต้องไปดิ้นรนให้มาก ใช้จ่ายอย่างประหยัด หมั่นปลูกผักสวนครัวเป็นงานอดิเรก จะได้ลดรายจ่ายในครัวเรือน  เวลานอนให้ทำสมาธิ หมั่นเจริญภาวนา เจริญมรณสติ จะทำให้ชีวิตเราไม่หลงตาย............


 


 


 

 


 

หมายเลขบันทึก: 693632เขียนเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2021 01:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2021 01:08 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

จริงเลยค่ะ ชีวิตจะได้อยู่ต่อก็ต้องใช้ชีวิตแบบสำรวมค่ะ หากเกิดโรคร้าย มีเงินก็ซื้อชีวิตไม่ได้นะคะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท