วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช

การจัดเรียนการสอนแบบการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงปีที่ 2


การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง

สรุปสาระสำคัญการจัดการความรู้(KM) เรื่อง “การจัดการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง”

รูปแบบการสอนภาคปฏิบัติเพื่อให้ผู้เรียนเกิด Transformative  Learning

เพื่อพัฒนาพฤติกรรมการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ของผู้เรียน

                                                                                                 วิทยากร ดร.ทัศนีย์  ทิพย์สูงเนิน

                                                                                                 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา

การจัดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง(Transformation Learning) เป็นการเรียนรู้ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในตนในลักษณะของการให้ความหมายใหม่/ของสิ่งต่างๆ เรื่องราวต่างๆเกิดการเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ ความมุ่งมั่น และพฤติกรรม หรือกล่าวง่ายๆ ว่า เป็นการเรียนรู้ที่นาไปสู่การเปลี่ยนกระบวนทัศน์ (Mindset Change) หรือเปลี่ยนโลกทัศน์ (ดร.ทัศนีย์ ทิพย์สูงเนินและคณะ,2564)

ศาสตราจารย์ นพ.วิจารณ์ พานิช (๒๕๕๘) กล่าวว่าTransformative  Learning ต้องเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ดังนี้

๑) โลกทัศน์ (Affective  Attributes) 

๒) ความรู้ความเข้าใจ (Cognitive Attributes) 

๓) พฤติกรรม (Psychomotor Attributes)

การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงเป็นขั้นสูงสุดของบุคคล  ดังขั้นการเกิดการเรียนรู้ มี ๘ ระดับ คือ

๑. รู้

๒. เข้าใจ

๓. นำไปใช้เป็น

๔. วิเคราะห์ได้

๕. สังเคราะห์ได้

๖. ประเมิน หรือ เปรียบเทียบได้

๗. เปลี่ยนวิธีเรียนรู้ของตนเป็น และ

๘. นำไปสู่การเปลี่ยนใจหรือเปลี่ยนกระบวนทัศน์ คือบรรลุ Transformative Learning นั่นคือ วิธีการที่สามารถนำไปสู่การเปลี่ยนใจหรือเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของบุคคล

ปัจจัยหลัก (CORE ELEMENTS) ในการสอนของ Transformative Learning 

ในช่วงแรกเข้าใจว่ามี ๓ ประการ คือ

๑. ประสบการณ์ของปัจเจกบุคคล(บุคคลเรียนรู้แตกต่างกัน)

๒. การสะท้อนคิดอย่างจริงจัง  โดยสะท้อนสิ่งดีดีให้กันฟังทำให้เกิดบรรยากาศการมีส่วนร่วม อยากจะสะท้อนคิด

๓. สุนทรียสนทนา 

ต่อมาจึงเกิดความเข้าใจปัจจัยอื่นๆ ที่มีความสำคัญเท่าเทียมกัน รวมเป็น ๖ ปัจจัย ได้แก่

๔. มุมมอง/วิธีการที่ครบด้าน (Holistic) 

๕. ให้ความสำคัญต่อบริบท (Context)

๖. ความสัมพันธ์ที่อยู่บนฐานของความจริงใจ (ครู และ นศ.) เช่น ให้นักศึกษาบอกความรู้สึกในช่วงการปฐมนิเทศ และมีความเป็นกันเองเพื่อให้นักศึกษากล้าบอกสิ่งที่คาดหวัง

 

การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง มีตัวบ่งชี้ ๕ ประการ

๑.ความร่วมมือ (Collaboration): การเรียนรู้คนเราจะเปรียบเทียบกับการเรียนรู้ของผู้อื่น

ไม่เอาตนป็นที่ตั้ง (ฟังผู้อื่น)

๒.การเรียนรู้อย่างลึกซึ้ง (Deep Learning): ทำความเข้าใจเชื่อมโยงระหว่างส่วนต่างๆ ในเนื้อหารายวิชา

๓. การไตร่ตรองสะท้อนคิดเพื่อเชื่อมโยงความรู้ไหม่ /กับความรู้เดิม/กับประสบการณ์ชีวิต/การฝึกปฏิบัติ

๔. ความผูกพัน (Engagement) : ความรู้ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่น

๕. เอื้ออาทรกัน (Caring) : ผู้เรียนรับฟัง และการเรียนรู้จากผู้อื่นจากความคิดเห็นที่เหมือนและต่าง เป็นการเรียนรู้ต่อยอดความรู้

ทบทวนสาระสำคัญของการสะท้อนคิด (Reflective Thinking) 

หมายถึง กระบวนการคิดไตร่ตรองทวนสอบ (Reflective Thinking) เป็นการพิจารณา สิ่งต่างๆอย่างรอบคอบโดยใช้สติและมีสมาธิ ซึ่งเป็นวิธีการที่ทำให้ตัวเราได้ทบทวนและสะท้อนการกระทำของตน(Reflective Practice) โดยสามารถแสดงออกได้ทั้งการพูดและการเขียน เพื่อให้เกิดความเข้าใจ /และเกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์แสวงหาคำตอบโดยใช้เหตุผล แก้ไขปัญหานำไปสู่การพัฒนาปรับปรุงตนเอง และปรับปรุงงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น (Johns, 2000) 

ความสำคัญของการสะท้อนคิด

1.การสะท้อนคิดมีความสำคัญต่อการศึกษา เพราะทุกวันนี้มีความรู้ใหม่ๆเพิ่มขึ้นทุกวัน วิชาชีพพยาบาลที่ต้องพบกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดอยู่เสมอ และต้องหาทางแก้ไขเฉพาะหน้าอยู่ตลอดเวลา ต้องมีการตัดสินใจ มีความรับผิดชอบสูงดังนั้นการสะท้อนคิดจึงเป็นการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมสาหรับหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ (ตอกย้าซ้าๆ)

2.การที่ผู้ปฏิบัติมีโอกาสได้สะท้อนคิดด้วยตนเองนั้น เป็นการฝึกการสังเกต การคิดวิเคราะห์ จัดระบบ ความคิดเพื่อให้สื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างเข้าใจ ต้องเป็นผู้ที่ช่างสังเกต เชื่อมโยงความรู้ เป็นนักคิดและมีการตั้ง คำถามที่ดีโดยใช้เหตุผลในการอ้างอิง

องค์ประกอบและหลักการการสะท้อนคิด

ด้านครูผู้สอน

1. ครูควรสร้างแรงจูงใจหรือกระตุ้นให้นักศึกษาสนใจการเรียน มีการใช้คำถามปลายเปิด กระตุ้นให้คิดเพื่อให้ นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นได้อย่างต่อเนื่อง

2. ครูควรจะสะท้อนคิดนักศึกษาได้ทั้งแบบบุคคลหรือแบบกลุ่มขึ้นอยู่กับหัวข้อ หรือตามสถานการณ์

3. ครูต้องเป็นผู้ฟังที่ดีเปิดใจ มีความเข้าใจ และเป็นกันเองกับนักศึกษาเป็นที่ปรึกษา ไว้วางใจได้และ แก้ปัญหาได้ 

4. ครูต้องมีความอดทน ควบคุมอารมณ์ได้ดี และพูดจาน่าเชื่อถือ อบอุ่น ไม่ออกคำสั่ง พร้อมให้นักศึกษาเข้าหาได้ตลอดเวลา

5. ครูต้องเป็นผู้ที่ทำหน้าที่ลดความขัดแย้ง สอนให้นักศึกษากล้าและเก่ง กระตุ้นการเรียนรู้อยู่เสมอ

6. ครูควรส่งเสริมให้ นศ.มีความร่วมมือกันทุกคน ไม่ปัดภาระให้ใครคนใดคนหนึ่ง

7. ครูควรมีการเสริมแรงโดยการชมเชยเมื่อนักศึกษาทำได้

8. ครูควรเป็นกัลยาณมิตรเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล

9. ครูต้องสามารถเชื่อมโยงความรู้ และหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกับนักศึกษาได้อย่างเหมาะสม

10. ครูควรมีหน้าตาที่ยิ้มแย้มแจ่มใส ไม่ตำหนินักศึกษา ต้องนิ่ง / ไม่ชี้นำ /แต่ควรตั้งคาถามที่เป็นเหตุเป็นผล

11. ครูควรมีการมอบหมายงานล่วงหน้าเพื่อให้นักศึกษามีเวลาเตรียมตัวและคิดวิเคราะห์ และติดตามการสะท้อนคิดอย่างสม่ำเสมอ ครูต้องระบุเป้าหมายหัวข้อการสอน วัตถุประสงค์ที่ชัดเจน

12. ครูควรเป็นคนช่างสังเกต เปิดใจให้นักศึกษาได้ระบายความรู้สึก ควรไวต่อความรู้สึก

ด้านนักศึกษา

  1. จะต้องมีการเตรียมความพร้อมในการเรียนรู้ ต้องเข้าใจในลักษณะวิธีการเรียนการสอนโดยการสะท้อนคิด 

และมีส่วนร่วมในการวางแผนการเรียนรู้

2. ต้องฝึกการคิดวิเคราะห์ ต้องมีการวางแผนที่ดี แบ่งเวลาในการเขียนให้เหมาะสม 

3. ต้องเข้าใจ /สรุปประเด็นและเขียนสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ 

4. มีอิสระในการเขียน มีความกระตือรือร้น และมีทักษะการตั้งคำถามที่ดี

5. มีการเรียนรู้จากสภาพการจริง เรียนรู้ตรงกับความต้องการ ความสนใจและความถนัดของตน

6. นำสื่อต่างๆมาใช้ในการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม

7. กล้าแสดงความคิดเห็น มีการสังเกตที่ดี มีความรับผิดชอบ มีวินัย และตรงต่อเวลา

8. มีการใช้ความคิด/ ความสามารถเชื่อมโยงการเรียนรู้ 

9. มีความสุขในการเรียนการสอน

ด้านวิธีการจัดการเรียนการสอน

1. ใช้การวิเคราะห์กรณีศึกษา การประชุมกลุ่ม การสนทนาเป็นรายบุคคล

2. ใช้บันทึกการเรียนรู้ในการจัดการเรียนการสอน เช่น Journal writing ใช้ในการสะท้อนความคิดนักศึกษาทั้งในภาคทฤษฏีและปฏิบัติ การสะท้อนการคิดโดยการ เขียนบันทึก ควรให้เวลาในการสะท้อนคิดอย่างเหมาะสม ไม่สั้นจนเกินไป เช่น ควรให้ นศ.เขียนในสัปดาห์แรก/ ระหว่างฝึก/ สัปดาห์หลังสุด

3. ในการสะท้อนคิดสามารถทำใน pre-post conference จะช่วยให้นักศึกษาได้มีการเตรียมความพร้อม

4. การสะท้อนคิดทำบางครั้งต่อหน้าผู้ป่วยเราก็ไม่สามารถสะท้อนได้ทันที

5. การเรียนการสอนต้องมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้

การวัดและประเมินผล

1.ควรใช้ Authentic assessment ในการประเมิน แต่ควรมีการทำข้อตกลงระหว่างครู และนักศึกษา ตกลงการวัดให้ชัดเจน 

2.ประเมินจากการเขียนสะท้อนผลการเรียนรู้ โดยให้เขียนภายหลังการเรียนรู้ในแต่ละวัน หรือ สัปดาห์ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป

ขั้นตอนของการสะท้อนคิด

•กระบวนการเรียนรู้โดยการสะท้อนคิด ของกิบส (Gibbs, 2000) ประกอบด้วย 6 ขั้นตอนดังนี้

1. การบรรยายที่เกิดจากความรู้สึกที่กำลังเผชิญกับสถานการณ์นั้นๆ

2. การสะท้อนการคิดจากการสังเกต ความรู้สึก และการรับรู้ 

3. การประเมินวิเคราะห์ประสบการณ์ร่วมกันว่าเป็นไปในทางดี/ไม่ดี

4. ร่วมกันวิเคราะห์สถานการณ์โดยภาพรวม

5. สรุปแนวคิดและวิธีแก้ไขปัญหาร่วมกันโดยใช้เหตุผลประกอบ

6. การวางแผนเพื่อนำไปใช้

 

 

ขั้นตอนของการสะท้อนคิด

•1. การบรรยายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น (Description what happened) เป็นการบรรยายลักษณะเหตุการณ์ เฉพาะเหตุการณ์ที่สำคัญเพื่อให้ผู้อ่านได้มองเห็นภาพว่ามีอะไรเกิดขึ้น

 •แนวคำถาม ดังนี้ 

 “มีเหตุการณ์อะไร เกิดขึ้น”

“มีใครอยู่ในเหตุการณ์นั้นบ้าง”

“ การปรึกษาครอบครัวผู้ป่วยซึมเศร้าวันนั้นมีใครบ้าง/มีอะไรเกิดขึ้น”

2. ความรู้สึก (feelings) เป็นการบรรยายความคิดและ ความรู้สึกเกี่ยวกับเหตุการณ์ เช่น การขาดความมั่นใจ/ ความกลัว/ ความสับสนในการปฏิบัติงานเป็นต้น

              คำถาม เช่น 

 “ในขณะนี้ท่านรู้สึกอย่างไร”

 “ท่านรู้สึกอย่างไรกับผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์นั้น”

3. การประเมิน (Evaluation) เป็นการประเมินวิเคราะห์ประสบการณ์ร่วมกันว่าเป็นไปในทางดีหรือไม่ดี การประเมินหรือการปฏิบัติการพยาบาลของตนเองได้ และต้องมีการอ้างอิงที่มาของแนวคิดและทฤษฎี

แนวคำถาม เช่น 

“ท่านให้การพยาบาลแก่ผู้ป่วยได้ดีหรือไม่อย่างไร”

“สิ่งที่ดีหรือ ไม่ดีในประสบการณ์นี้คืออะไร”เป็นต้น

4. การวิเคราะห์ (Analysis) เป็นการวิเคราะห์สถานการณ์โดยภาพรวม โดยใช้ประสบการณ์เดิม หลักการหรือแนวคิดมาอธิบาย มาช่วยในการมองว่าสถานการณ์นี้เป็นอย่างไร?

•คำถามเพื่อหาคำตอบในขั้นประเมินผล ได้แก่ 

 “มีอะไรที่ผ่านไปด้วยดี” 

“ภาพรวมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มครั้งนี้ ดำเนินตามขั้นตอนได้ดีหรือไม่ อย่างไร”

“ภาพรวมฉีดยาตามหลักการได้ดี หรือไม่ อย่างไร”

5. การสรุป (General conclusions) เป็นการสรุปความคิดรวบยอดจากการวิเคราะห์โดยใช้เหตุและผล หรือสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน

•คำถาม ได้แก่

“สิ่งที่นศ.ได้เรียนรู้จากฝึกงานวันนี้อย่างไร”

“จากการสอนทางสุขภาพ นศ.ต้องการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น หรือไม่อย่างไร”

6. การวางแผนปฏิบัติในอนาคต (Personal action plans) การวางแผนนาสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปปฏิบัติใน

สถานการณ์ใหม่ เพื่อแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาตนเองขึ้น 

 •แนวคำถาม เช่น

 “ นศ.ต้องการพัฒนาการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มในอนาคตอย่างไร”

“มีเรื่องใดที่ นศ.ต้องพัฒนาก่อนเป็นอันดับแรก”

รูปแบบการเรียนการสอนที่การส่งเสริมการสะท้อนคิด

1.การวิเคราะห์กระบวนการตัดสินใจ (Decision-Making Analysis) 

2.การสนทนาโต๊ะกลม (Reflection Roundtables) 

3.นอกจากนี้ยังมีอีกหลากหลายวิธี ซึ่งบางวิธีใช้สำหรับการสะท้อนคิดในตัวบุคคล หรือการส่องสะท้อนตนเอง

 (Self Reflection/ Individual Reflection) 

4.บางวิธีใช้สำหรับทำเป็นคู่ (Reflection with Partners) หรือทำเป็นกลุ่มเล็ก (Reflection in Small Groups and Teams)

 

 

 

ประโยชน์ของการสะท้อนคิด

1. เกิดทางเลือกแนวใหม่ในทางปฏิบัติ : สามารถพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาได้

2. เรียนรู้ข้อบกพร่องเพื่อนำมาปรับปรุงการปฏิบัติของตนเองให้ดีขึ้น

3. ผู้เรียนสามารถระบุปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาด้วยเหตุผล

4. ผู้เรียนมีโอกาสแสดงความรู้สึก และได้รับการยอมรับจากเพื่อนๆ ในกลุ่ม ทำให้ลดความวิตกกังวลในการปฏิบัติการพยาบาลลง

5. ผู้เรียนมีความมั่นใจในตนเอง และเกิดความภาคภูมิใจที่เกิดจากการเรียนรู้ของตนเอง

6. สามารถสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้สอน มีความเข้าใจกันมากขึ้น

7. ช่วยเพิ่มความตระหนักรู้

8. ส่งเสริมให้เกิดการคิดอย่ามีวิจารณญาณ

9. ทำให้ผู้ปฏิบัติในคลินิกสามารถปฏิบัติได้ใกล้เคียงกับการปฏิบัติในอุดมคติ

10. สอนให้ผู้ปฏิบัติรู้จักรับฟังเสียงสะท้อนภายในตนเอง

การพัฒนาทักษะการสะท้อนคิด

การกำหนดประเด็นหรือ การตั้งคำถามที่ช่วยกระตุ้นการคิดถือเป็นหัวใจสาคัญของการพัฒนาทักษะการสะท้อนคิด

การวัดและประเมินผล

•ควรใช้ Authentic assessment ในการประเมิน

•ประเมินจากการเขียนสะท้อนผลการเรียนรู้ โดยให้เขียนภายหลังการเรียนรู้ในแต่ละวัน หรือ สัปดาห์

ใบสะท้อนคิด

1.“มีเหตุการณ์ที่ท่านประทับใจอะไรเกิดขึ้น มีใครบ้างที่เกี่ยวข้อง”

2.“ท่านคิด และรู้สึกอย่างไรกับเหตุการณ์นั้น”

3.“ท่านให้การพยาบาลแก่ผู้ป่วย....ได้ดี หรือไม่ อย่างไร”

4.“ ภาพรวมในการฝึกงานวันนี้ มีสิ่งใดทำได้ดี/มีสิ่งใดอยากพัฒนา ” 

5.“สิ่งที่นศ.ได้เรียนรู้จากประสบการณ์...นี้คืออะไร”

6.“การฝึกงานพรุ่งนี้เรื่องใดที่ต้องพัฒนาให้ดีกว่าวันนี้”

การเติมพลังใจแก่ผู้เรียนในการเรียนโดย

•หาสิ่งดีที่ นศ.มาชื่นชม

•เสนอแนะ นศ.ทางสร้างสรรค์ > ตำหนิ

•ให้ นศ.สะท้อนตนเอง เขาจะเพิ่มการยอมรับตนเองนำสู่การเปลี่ยนแปลง

 

การจัดการเรียนรู้เรื่อง รูปแบบการสอนภาคปฏิบัติเพื่อให้ผู้เรียนเกิดTransformative Learning เพื่อพัฒนาพฤติกรรมการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ของผู้เรียน

วัตถุประสงค์

1.พัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบการสอนภาคปฏิบัติเพื่อให้ผู้เรียนเกิดTransformative Learning เพื่อพัฒนาพฤติกรรมการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ของผู้เรียน

2.เพื่อประเมินผลวิธีการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการสอนภาคปฏิบัติเพื่อให้ผู้เรียนเกิดTransformative Learning เพื่อพัฒนาพฤติกรรมการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ของผู้เรียน

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

1.วิทยาลัยฯ มีการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบการสอนภาคปฏิบัติเพื่อให้ผู้เรียนเกิดTransformative Learning และพัฒนาพฤติกรรมการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ของผู้เรียน จำนวน 1 เรื่อง

2. ค่าเฉลี่ยพฤติกรรมด้วยการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ของนักศึกษาที่ได้รับการสอนจากอาจารย์ผู้ที่ประยุกต์ใช้รูปแบบการสอนภาคปฏิบัติเพื่อให้ผู้เรียนเกิดTransformative Learning มีค่าเฉลี่ยหลังการสอนสูงกว่าก่อนสอน

3. อาจารย์ผู้ใช้รูปแบบรูปแบบการสอนภาคปฏิบัติเพื่อให้ผู้เรียนเกิดTransformative Learning เพื่อพัฒนาพฤติกรรมการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการสอน ไม่น้อยกว่า 3.51คะแนนจากคะแนนเต็ม 5

ประเด็นสำคัญที่ได้จากการการจัดการความรู้(KM) เรื่อง “การจัดการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง”

            1.ผู้สอนนำการสอนแบบสะท้อนคิด (Reflective) ที่มีอยู่เดิมมาเชื่อมโยงสู่การจัดการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้

สู่การเปลี่ยนแปลงให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

            2.เน้นความเข้าใจในตัวผู้เรียน ธรรมชาติของผู้เรียน และการประเมินผลลัพท์ที่ตัวนักศึกษาเป็นสำคัญ เพื่อเห็นการเปลี่ยนแปลงโดยในช่วงแรกผู้เรียนอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงไม่มาก ก็ถือได้ว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงแล้วและการเปลี่ยนแปลงสามารถพัฒนาไปได้เรื่อยๆตามความพร้อมของนักศึกษาแต่ละคน

            3.แนวปฏิบัติในการการจัดการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง ต้องเกิดจากกระบวนการKM

ต่อยอดของแต่ละภาควิชา และทำในรูปแบบการวิจัยร่วมด้วย และนำมาแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน(sharing) จนสามารถสรุปเป็นแนวปฏิบัติที่ดี(Best Practice)ได้ต่อไป   เอกสารประกอบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากวิทยากร 20211125134105.pdf  20211125133913.pdf

 

 

หมายเลขบันทึก: 693555เขียนเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2021 08:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2021 13:41 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (52)
เกศกาญจน์ ทันประภัสสร

ได้เข้าใจชัดเจนขึ้นว่า Transformative Learning . ใช้การ reflective เป็นกระบวนการสำคัญทำให้เกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ของผู้เรียนได้

ยังไม่ค่อยเห็นความแตกต่างระหว่างการสอนแบบ Reflective learning กับ Transformative Learning ค่ะ

ขอบคุณที่มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการสอนเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนะคะ จุดสำคัญของการดำเนินการคือ หากต้องการให้ผู้เรียนเปลี่ยนคือครูต้องเปลี่ยนก่อนอันนี้คือจริงๆเลย

จากการร่วมฟัง เข้าใจว่าการใช้ Reflective เป็นเทคนิคหนึ่งที่ใช้ในการทำให้เกิด Transformative Learning ซึ่งผู้สอนต้องมีทักษะในการสะท้อนอย่างมากในทุกสถานการณ์ที่นักศึกษาพบ ไวต่อคำพูด พฤติกรรมการแสดงออก เมื่อสะท้อนไปแล้ว ส่งผลทำให้นักศึกษาเกิดการปิ๊งแว๊บ เรียนรู้ด้วยตนเอง และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางบวก

เข้าใจชัดเจนขึ้นว่า Transformative Learning . ใช้การ reflective เป็นกระบวนการสำคัญทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของผู้เรียนได้

ทำให้เกิดความชัดเจน และให้แนวทางในการปฏิบัติดีค่ะ

วิภาพร สิทธิสาตร์

เข้าใจกระบวนการ การนำไปใช้มากขึ้น

สุดาวรรณ สันหมอยา

ได้เรียนรู้เละเข้าใจในกระบวนการมากยิ่งขึ้น พยายามจะนำไปปรับใช้ในการฝึกภาคปฏิบัติ แต่บางครั้งในเรื่องของสถานที่ สิ่งแวดล้อม บริบท เวลาไม่เอื้ออำนวยเท่าที่ควร นอกจากนี้อาจารย์ยังต้องมีทักษะในการพูดหรือสะท้อน ซึ่งสำหรับตัวเองคิดว่ายังทำได้ไม่ดี ต้องฝึกฝนต่อไปค่ะ

เข้าใจกระบวนการ Transformative Learning มากขึ้น แต่ตนเอง ซึ่ง เป็น ผู้สอน ยังมีทักษะในการสะท้อนคิด ให้นักศึกษา เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางบวกได้น้อย

เข้าใจและนำไปใช้ได้ค่ะ

วิลาวัณย์ สายสุวรรณ

ได้เรียนรู้และเข้าใจในการสอนเพื่อให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงมากขึ้น โดยเฉพาะในการใช้วิธีการสอนแบบสะท้อนคิด (Reflective Thinking) ในรายวิชาปฏิบัติการดูเเลผู้ป่วยที่มีปัญหาทางจิต ทำให้ผู้เรียนได้ฝึกคิด วิเคราะห์ สะท้อนเหตุการณ์ที่ได้เจอในขณะขึ้นฝึกปฏิบัติงาน เพื่อให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจในตนเอง สนุกในการเรียนรู้ เเละหาแนวทางที่ดีในการดูแลผู้ป่วย

ได้ฟังตัวอย่างของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ Transformative Learning และ การการนำ Reflective มาใช้ในนการสะท้อนการเรียนรู้ของนักศึกษา จะนำแนวทางไปทดลองปรับใช้ และจะนำมาแชร์โอกาสหน้านะคะ..ขอชื่นชมท่านวิทยากรที่สามารถแชร์ประสบการณ์ได้อย่างเห็นภาพค่ะ ยอดเยี่ยมมากค่ะ และขอขอบคุณผู้จัด KM ที่จัดกิจกรรมดีๆ นี้ เพื่อพัฒนาทั้งผู้สอน และให้ประโยชน์เกิดกับผู้เรียน และผู้รับบริการนะคะ..ยอดเยี่ยมค่ะ

เข้าใจการจัดการเรียนการสอนแบบ transformative เพิ่มขึ้น สามารถนำไปปรับวางแผนการสอนต่อไปได้

หลังจากได้ฟังการแชร์ประสบกการณ์การจัดการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงทำให้เห็นแนวทางของการพัฒนาการสะท้อนคิด เพื่อให้นักศึกษาเกิดการ transform ไปเป็นพยาบาลวิชาชีพ ตามอัตลักษณ์ของสถาบันมากขึ้น

สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาจัดการเรียนการสอนได้ค่ะ

เป็นเทคนิคที่ดี สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้

มีสาระเเละได้เเนวทางในการนำไปปฎิบัติคะ ขอบคุณมากคะ

ได้รับความรู้ เกิดความเข้าใจในการนำไปใช้ในกระบวนการเรียน การสอนมากขึ้นค่ะ ขอบคุณท่านวิทยากรและทีมงานผู้จัดทุกท่านค่ะ

ได้เข้าใจเกี่ยวกับ Transformative Learningมากขึ้น และการใช้ reflectiveมีความสำคัญในการสะท้อนผู้เรียน

เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่ดี ช่วยให้ผู้เรียนมีการสะท้อนคิดและเข้าใจในสาระการเรียนนั้นมากขึ้น

อาจารย์ ดร.ทัศนีย์ให้ตัวอย่างการสอน transformative learning ได้ชัดเจน และกระตุ้นการแลกเปลี่ยนเรียนได้ดีมาก สามารถนำรูปแบบการสอนสะท้อนคิดไปใช้สอนได้จริง

สามมรถนำไปต่อยอดได้เยอะมากเลยค่ะ

เข้าใจเกี่ยวกับ Transformative Learning มากขึ้น ซึ่งสามารถใช้เทคนิคการเรียนรู้ได้หลากหลาย เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษา

กีรติ กิจธีระวุฒิวงษ์

เข้าใจเรื่อง Transformative Learning มากขึ้นและน่าจะนำมาปรับใช้ในการเรียนได้ทั้งภาคทฤษฎีและทดลอง เพื่อประโยชน์ของผู้เรียนทุกคนครับ

เป็นวิธีการสอนที่น่าสนใจและทำให้เข้าใจมากขึ้น เป็นประโยชน์กับผู้เรียนมากค่ะ

เป็นวิธีการสอนที่น่าสนใจและทำให้เข้าใจมากขึ้น เป็นประโยชน์กับผู้เรียนมากค่ะ

ได้รับความรู้และความชัดเจนมากขึ้นและพยายามจะนำไปปรับใช้ในวิชาทฤษฎีแต่ยังมีข้อจำกัดเรื่องจำนวนนักศึกษาที่มากและเวลาสอนมีน้อยอาจทำให้การสะท้อนคิดเพื่อให้ไปสู่จุดสูงสุดคือการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงอาจไม่ทั่วถึงผู้สอนอาจจะต้องเรียนรู้และพยายามฝึกฝนต่อไปครับ

สิ่งสำคัญที่จะประสบความสำเร็จในการสอนเพื่อการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงนั้น อยู่ที่ ครูผู้สอน ที่จะต้องมีความเข้าใจความต่างของนักศึกษาอย่างแท้จริง จึงจะสามารถเข้าถึงความคิดและความรู้สึกของนศ ได้จริง จึงจะสามารถสะท้อนให้นศ.คิด เรียนรู้ และเปลี่ยนแปลงได้จริง

สิ่งที่ได้รับคือ ผู้สอนควรเน้นความเข้าใจในตัวผู้เรียน ธรรมชาติของผู้เรียน ความแตกต่างของผู้เรียน และการประเมินผลลัพท์ที่ตัวนักศึกษาเป็นสำคัญ และนำไปเชื่อมโยงกับการสอนแบบสะท้อนคิดที่ปฏิบัติอยู่เดิมให้ชัดเจนมากขึ้นค่ะ

นายจารุกิตติ์ จันทร์งาม

เป็นการสอนที่กระตุ้นความคิดผู้เรียนได้เป็นอย่างดี

ดร.จินดาวรรณ เงารัศมี

ได้เข้าใจสิ่งที่เราใช้ในการสอนภาคปฏิบัติ เป็นการใช้ Reflective thinking ซึ่งเป็นเทคนิคหนึ่งที่ใช้ในการทำให้เกิด Transformative Learning ได้ โดยผู้สอนต้องมีทักษะในการสะท้อนคิดในทุกสถานการณ์การเรียนรู้

เป็นการถ่ายทอดประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยม โดยการนำแนวคิดมาทำให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมและเกิดประโยชน์อย่างดียิ่ง

เป็นวิธีการสอนที่ช่วยให้ผู้เกิดการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณได้ดี จะพยายามนำไปใช้

ดูเหมือนง่ายแต่ไม่น่าจะง่าย จะพยายามไปทดลองใช้ค่ะ

เห็นความสำคัญเกี่ยวกับการเข้าใจในตัวผู้เรียนมากขึ้น และได้เทคนิกการเรียนการสอนมากขึ้น ขอบคุณวิทยากรค่ะ

Transformative Learning เป็นรูปแบบการเรียนการอีกวิธีหนึ่งที่สามารถนำไปพัฒนาทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยจากการร่วมประชุมฯทำให้ได้มุมมองใหม่ ๆ ในการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ Transformative Learning

การจัดการเรียนการสอนแบบ transformative Learning ทำให้นักศึกษาเกิดการเปลี่ยนแปลงจากภายใน และมีความสุขในการเรียน มีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นสิ่งที่ดีมาก

การสะท้อนคิดเป็นเทคนิคที่สามารถให้นักศึกษาเข้าใจในตัวเอง ซึ่งอาจารย์จะต้องมีความเข้าใจและมีทักษะในการสะท้อนคิด บรรยากาศในการสะท้อนคิดก็เป็นสิ่งสำคัญค่ะ

ขอบคุณวิทยากรที่มาถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ดีๆให้กับพวกเราชาววพบ.พุทธฯค่ะคิดว่าการใช้ Reflective เป็นเทคนิคหนึ่งที่ใช้ในการทำให้เกิด Transformative Learning ซึ่งต้องเริ่มจากผู้สอนก่อนที่ต้องเรียนรู้และฝึกทักษะในการสะท้อน เพื่อช่วยส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน ด้วยการฝึกการฟังอย่างตั้งใจ จับประเด็นหรือชี้ประเด็นเพื่อช่วยกระตุ้นในนักศึกษาคิดและวิเคราะห์ ครูต้องอดทน ใจเย็น รอคอยเพื่อให้นักศึกษาที่ไม่ค่อยกล้าหรือไม่ค่อยมั่นใจได้มีโอกาสสะท้อนคิดออกมา แล้วผู้สอนก็ต้องส่งเสริมชื่นชมให้กำลังใจเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางบวก

ได้มีโอกาสจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติโดยใช้การสะท้อนคิด จะเป็นความเปลี่ยนแปลงของผู้สอนและผู้เรียนได้อย่างชัดเจน เช่น 1.ความสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียนส่งเสริมให้ผู้เรียนกล้าคิดกล้าแสดงความคิดเห็น 2.การใช้คำถามที่ไม่เป็นทางการ จะทำให้ผู้เรียนสะท้อนคิดได้ง่าย 3.การเปลี่ยนแปลงที่เกิดในตัวน.ศ.ปีการศึกษา 2563 พบ ในประเด็นความรู้สึกเห็นคุณค่าในตัวเอง และปีการศึกษา 2564 พบในประเด็น วิธีการพัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเองจากการสะท้อนคิดผู้เรียน เพื่อนๆ และผู้สอน

ดร.ศุภาณ์นาฏ สุวรรณกิจ

เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ดีมาก วิทยากรสามารถถ่ายทอดได้ดี ทำให้เข้าใจการสอนในภาคปฏิบัติโดยใช้การสะท้อนคิดได้มากขึ้น

เนื่องจากผลการประเมินคุณภาพบัณฑิตพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2553-2554 ของสถาบันพระบรมราชนก สังกัดกระทรวงสาธารณสุข พบว่า บัณฑิตมีคะแนนทักษะด้านปัญญาต่ำที่สุด (Tumchue, Yingrangroeng, & Rutchawat, 2013) นอกจากนี้ยังพบว่า คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรีสาขาพยาบาลศาสตร์ 6 ด้าน ประจำปีการศึกษา 2561 ตามความคิดเห็นของผู้ใช้บัณฑิต ด้านที่น้อยที่สุด คือ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Pansuwan, Klayjan, Suasing, & Sribuarom, 2020)

การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative learning) ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่เปลี่ยนจากการอ้างอิงจากกรอบที่ยากหรือท้าทาย ซึ่งจะเป็นกลุ่มของสมมติฐานเดิมและการคาดการณ์ เช่น ความคิดของพฤติกรรม มุมมองของความหมาย หรือทัศนคติ เพื่อที่จะทำให้กรอบอ้างอิงมีความเข้าใจได้มากขึ้น แยกแยะได้มากขึ้น มีการเปิดรับมากขึ้น มีการสะท้อนย้อนคิด และมีความสามารถทางอารมณ์ที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งต่าง ๆ โดยกรอบการอ้างอิงใหม่จะดีขึ้นกว่ากรอบอ้างอิงเก่าเพราะว่าเป็นกรอบอ้างอิงที่มีความเป็นไปได้ว่าจะสร้างความเชื่อและความคิดเห็นที่หลากหลายที่จะพิสูจน์ความจริงได้มากขึ้นหรือยอมรับได้มากขึ้นเพื่อที่นำไปสู่การปฏิบัติ (Mezirow, 1991 & 2000 cited in Mezirow, 2003) ดังนั้นคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่สอดคล้องกับการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาควรจะมีความคิดสร้างสรรค์ เช่น ความคิดริเริ่ม ความคิดนอกกรอบ ความคิดคล่อง ความคิดยืดหยุ่น ความคิดละเอียดลออ ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดในการจัดการเรียนการสอนของวิชาชีพด้านสุขภาพ

ทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด (Guilford, 1956) ได้อธิบายความสามารถทางสมองของมนุษย์ออกเป็น 3 มิติ ได้แก่ มิติที่ 1 เนื้อหา มิติที่ 2 วิธีคิด และมิติที่ 3 ผลของการคิด จะเห็นได้ว่าทฤษฎีนี้มีจุดเด่นที่ได้เน้นการคิดแบบอเนกนัย (Divergent production) โดยกระบวนการคิดอเนกนัย ได้แก่ ความคิดริเริ่ม ความคิดคล่อง ความคิดยืดหยุ่น ความคิดละเอียดลออ ซึ่งมี 8 องค์ประกอบ คือ (1) เป็นความคิดที่อิสระ (2) ไม่มีขอบเขตจำกัด (3) เป็นแนวคิดที่อาศัยการมองที่ก้าวไกลสร้างให้เกิดความคิดที่ต่อเนื่อง (4) เป็นความคิดที่เกิดการจินตนาการ (5) ระบบความคิดกระจายหลายทิศทาง หลายทางเลือก (6) เป็นความคิดที่แปลกแหวกไปจากปกติ (7) สร้างให้เกิดการพัฒนาที่แปลกใหม่ สร้างสรรค์ และ (8) เป็นความคิดที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย

จริงอยู่ที่การใช้ Reflective thinking จะเป็นกระบวนการที่นำไปใช้ได้จริงเพื่อให้นักศึกษามีการคิดใคร่ครวญและเกิดการคิดนอกกรอบขึ้นมาก ดังนั้นน่าจะนำไปใช้ในการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติเพื่อดูผลลัพทธ์ในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยเป้าหมายสูงสุดคือ ผลลัพธ์การปรับปรุงการให้บริการพยาบาลที่มีประสิทธิภาพ ผลลัพธ์อยู่ที่คุณภาพบริการพยาบาลและตัวผู้ป่วยเอง วิทยากรท่านพูดได้ชัดเจนดีมากและสามารถนำไปใช้ได้จริงคะ

การจัดการเรียนการสอนแบบtransformative learning ทำให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้และเกิดการเปลี่ยนแปลงในการแก้ไขปัญหา ทำให้มีความสุขในการเรียน ขอบคุณวิทยากรมากๆค่ะที่มาแบ่งปันประสบการณ์

มีประเด็นสาระความรู้ที่สามารถช่วยในการพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดีมากอีกวิธีหนึ่ง มีวิธีการจัดการเรียนการสอนรวมไปถึงการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ค่อนข้างชัดเจนค่ะ

มีประเด็นสาระความรู้ที่สามารถช่วยในการพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดีมากอีกวิธีหนึ่ง มีวิธีการจัดการเรียนการสอนรวมไปถึงการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ค่อนข้างชัดเจนค่ะ

การจัดการความรู้ด้านการจัดการเรียนการสอนแบบ Transformative Learning เป็นรูปแบบการเรียนการอีกวิธีหนึ่งที่สามารถนำไปพัฒนาทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 และจากการร่วมประชุมฯทำให้ได้แนวทางการและมุมมองใหม่ ๆ ในการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ Transformative Learning

สาวิตรี ลิ้มกมลทิพย์

เป็นวิธีการสอนที่ดีข่วยให้นศได้ทักษะการคิดที่ครูผู้สอนได้เข้าใจในนศ ที่แตกต่างแต่ละบุคคล

ภูษิตา ครุธดิลกานันท์

เป็นเนื้อหาที่ทำให้ได้รับความรู้และสามารถเข้าใจนำไปประยุกต์ใช้ต่อได้ในการเรียนการสอน

การเปลี่ยนแปลงนำไปสู่การพัฒนาการเรียนรู้

เข้าใจในเรื่อง Transformative Learning ที่เป็นรูปแบบการเรียนการอีกวิธีหนึ่งที่สามารถนำไปพัฒนาทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 เพิ่มขึ้นเป็นเนื้อหาที่ทำให้ได้รับความรู้และสามารถเข้าใจนำไปประยุกต์ใช้ต่อได้ในการเรียนการสอน

การจัดการเรียนการสอนแบบ transformative learning ทำให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ในหลายมิติ ทั้งด้านสติปัญญา จิตใจ อารมณ์และสังคม

วิทยากรถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ดีๆในการทำให้เกิด Transformative Learning ให้นักศึกษา มั่นใจ ต่อการทำงานของตนเอง และครูชื่นชม นศ. ส่งผลให้นักศึกษามีความคิดเชิงบวก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท