เจริญมรณสติด้วยบทเพลงนักร้องโด่งดัง (ซึ่งเสียชีวิตแล้ว)


แม้การเจริญมรณสติ หรือ “มรณัสสติ” (การระลึกถึงความตาย) จะเป็นหลักธรรมประการหนึ่งที่พระพุทธองค์ทรงแสดง แต่ชาวพุทธส่วนหนึ่งที่ยังติดอยู่ในความเชื่อเรื่องโชคลาง มักจะปฏิเสธที่จะคิดถึงในเรื่องนี้ แท้จริงแล้วเรื่องของ ความเจ็บป่วยเรื่องของความตาย เป็นเรื่องที่ต้องเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หากไม่ได้มีการเตรียมตัวไว้ก่อน จะเกิดความทุกข์มากเมื่อเรื่องเหล่านี้มาถึงพระพุทธองค์ได้ตรัสสรรเสริญ มรณัสสติว่า “มรณัสสติ อันบุคคลทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลใหญ่หยั่งลงสู่พระนิพพานเป็นที่สุด” และพระพุทธองค์ได้เคยตรัสกับพระอานนท์ว่า “ตถาคตนึกถึงความตายอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก”

จริญมรณสติด้วยบทเพลงนักร้องโด่งดัง (ซึ่งเสียชีวิตแล้ว)

 

เจริญมรณสติด้วยบทเพลงนักร้องโด่งดัง (ซึ่งเสียชีวิตแล้ว)

ดร.ถวิล  อรัญเวศ

          การเจริญมรณสติ หมายถึง การระลึกถึงความตายอันจะมีมาถึงตนเป็นธรรมดา ต้องประกอบด้วยสติ สังเวช และญาณ ควรพิจารณาและเตือนตนอยู่เสมอว่าเราทุกคนต้องตาย ในที่สุด เพราะความตายไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอน ประดุจเงาตามตัวดังนั้น การระลึกถึงความตายจึงเป็นการกระตุ้นเตือนให้ไม่ประมาท รีบทำกิจที่ควรทำ ไม่ปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไป ใช้เวลาที่เหลืออยู่ให้เป็นประโยชน์อย่างคุ้มค่าด้วยความไม่ประมาท

          การเจริญมรณสติ ที่ก่อให้เกิดความสุขนั้น มีหลายวิธี

ที่นำมาใช้เป็นกสิณ หรือเป็นอารมณ์  โดยเฉพาะยามค่ำคืน

ดึกสงัด ก็นั่งปฏิบัติธรรม ใช้บทเพลงเป็นสื่อ ฟังเบา ๆ เพื่อไม่ให้

เสียงรบกวนใคร (อาจใช้เครื่องฟังที่หู) และก็พิจารณาธรรมไป

ตามบทเพลง ยิ่งเป็นบทเพลงที่โด่งดังของนักร้องที่เขาได้เสียชีวิต

ไปแล้ว ก็ยิ่งจะทำให้ใจเราได้คิดว่า

           “จงอย่าประมาทในชีวิต พินิจพิจารณาอย่าง

แคบคายและรอบคอบชอบด้วยธรรม จะนำชีวิตให้มีสุข เพราะ

คนที่เก่ง เขายังตายไปแล้ว คงเหลือไว้แต่สิ่งที่ดีงามเพื่อให้

คนที่ยังอยู่ได้ตรองตามให้เห็นจริง”

 

การหมั่นเจริญมรณสติ จะช่วยให้วาระสุดท้าย

ของชีวิตจากไปได้อย่างสงบ

           แม้การเจริญมรณสติ หรือ “มรณัสสติ”  (การระลึกถึงความตาย)  จะเป็นหลักธรรมประการหนึ่งที่พระพุทธองค์ทรงแสดง  แต่ชาวพุทธส่วนหนึ่งที่ยังติดอยู่ในความเชื่อเรื่องโชคลาง มักจะปฏิเสธที่จะคิดถึงในเรื่องนี้ แท้จริงแล้วเรื่องของ

ความเจ็บป่วยเรื่องของความตาย  เป็นเรื่องที่ต้องเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  หากไม่ได้มีการเตรียมตัวไว้ก่อน  จะเกิดความทุกข์มากเมื่อเรื่องเหล่านี้มาถึงพระพุทธองค์ได้ตรัสสรรเสริญ มรณัสสติว่า

 

       “มรณัสสติ  อันบุคคลทำให้มากแล้ว  ย่อมมีผลใหญ่หยั่งลงสู่พระนิพพานเป็นที่สุด”  

         และพระพุทธองค์ได้เคยตรัสกับพระอานนท์ว่า

“ตถาคตนึกถึงความตายอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก”

 

วิธีเจริญมรณัสสติ

        วิธีเจริญมรณัสสติ แต่ละคนอาจทำได้หลายวิธี แล้วแต่ใจเราชอบ หรือแล้วแต่จริตของแต่ละคน เช่น

        1. การระลึกถึงความจริงว่า “เราต้องตายอย่างแน่นอน และ ตายได้ทุกโอกาสทุกเมื่อ” ดังภาษิตทิเบตที่ว่า “พรุ่งนี้กับชาติหน้า ไม่มีใครรู้หรอกว่าอะไรมาถึงก่อน”

         2. การถามตัวเองว่า “เราพร้อมตายหรือยัง?”, “เราทำความดีมาพอหรือยัง?”, “เราทบทวนสิ่งที่ควรทำแล้วหรือยัง” เพื่อกระตุ้นให้เราขวนขวายทำความดี ไม่ผัดผ่อนในการกระทำหน้าที่สำคัญ ไม่ว่ากับตนเอง ครอบครัว พ่อแม่ ลูกหลาน หรือ ส่วนรวม ถ้าเราทำหน้าที่ทั้งภายนอกและภายใน เราก็พร้อมสำหรับการพลัดพราก นั่นคือพร้อมจะไปอย่างสงบ และรู้ที่จะปล่อยวาง ดังพุทธพจน์ตอนหนึ่งว่า

 

          “รีบทำความเพียรเสียแต่วันนี้ ใครเล่าจะรู้ว่าพรุ่งนี้

ความตายจะมาเยือนหรือไม่” (อัชเชวะ กิจจะมาตัปปัง โก ชัญญา มะระณัง สุเว) ความเพียรเป็นกิจที่ต้องทำวันนี้ ใครรู้ความตายแม้วันพรุ่งนี้

          3. มรณัสสติกรรมฐานหรือมรณานุสสติกรรมฐาน

              สมเด็จพระญาณสังวร  สมเด็จพระสังฆราช

สกลสังฆปริณายก  ได้นิพนธ์ไว้ในหนังสือ  วิธีสร้างบุญบารมีว่ามรณัสสติกรรมฐานนั้น  โดยปกติเป็นกรรมฐานของผู้ที่มีพุทธจริต  คือ คนที่ฉลาด  การใคร่ครวญถึงความตายเป็นการพิจารณาถึงความเป็นจริงที่ว่าไม่ว่าตนและสัตว์ทั้งหลาย  เมื่อมีเกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญวัยเป็นหนุ่มสาว  เฒ่าแก่แล้วก็ตายไปในที่สุด  ไม่อาจล่วงพ้นไปได้ทุกผู้คน  ไม่ว่าจะเป็นคนยาก  ดี  มี  จน  เด็ก  หนุ่ม  สาว  เฒ่าแก่  สูง  ต่ำ  เหลื่อมล้ำกันด้วยฐานันดรศักดิ์อย่างใด  ในที่สุดก็ทันกันและเสมอกันด้วยความตาย   ผู้ที่คิดถึงความตายนั้น  เป็นผู้ที่ไม่ประมาทในชีวิต  ไม่มัวเมาในชีวิต  เพราะเมื่อคิดถึงแล้วย่อมเร่งกระทำความดีและบุญกุศล  เกรงกลัวต่อบาปกรรมที่จะติดตามไปในภพชาติหน้า  ผู้ที่ประมาทมัวเมาต่อทรัพย์สมบัติยศศักดิ์ตำแหน่งหน้าที่นั้นเป็นผู้ที่หลง  เหมือนกับคนที่หูหนวกและตาบอด  ซึ่งโบราณกล่าวตำหนิไว้ว่า

          “หลงลำเนาเขาป่ากู่หาพอได้ยิน  หลงยศอำนาจ

ย่อมหูหนวกและตาบอด” และกล่าวไว้อีกว่า

          “หลงยศลืมตาย  หลงกายลืมแก่”

         และความจริงก็มีให้เห็นอยู่ทุกวันนี้ที่บางท่านใกล้จะเข้าโลงแล้ว  ก็ยังหลงและมัวเมาในอำนาจวาสนา  ตำแหน่งหน้าที่  จนลืมไปว่าอีกไม่นานตนก็จะต้องทิ้งต้องจากสิ่งเหล่านี้ไป  แล้วทุกสิ่งทุกอย่างที่ตนได้หลงมัวเมาเฝ้าแสวงหาหวงแหนเกาะแน่นอยู่นั้น  ก็จะต้องสลายไปพร้อมกับความตายของตน  สูญเปล่าไม่ได้ตามติดกับตนไปด้วยเลยแล้วไม่นานผู้คนที่อยู่เบื้องหลังก็ลืมเลือนตนไปเสียสิ้น  ดูเหมือนกับวันเวลาทั้งหลายที่ตนได้ต่อสู้เหนื่อยยากขวนขวายจนได้สิ่งดังกล่าวมานั้น  ต้องโมฆะสูญเปล่าไปโดยหาสาระประโยชน์อันใดมิได้เลย

           4. ใช้บทเพลงเป็นสื่อ หรืออารมณ์ โดยเฉพาะบทเพลง

ของผู้มีชื่อเสียงโด่งดัง จะทำให้คิดว่า

               “ชีวิต อย่าประมาท แม้นักปราชญ์ นักร้อง

หรือคนที่มีชื่อเสียงโด่งดัง เขาได้ตายไปแล้ว”

 

มรณสติในชีวิตประจำวัน

       1. ฝึกซ้อมตาย หรือ ฝึกตายก่อนที่จะหลับ

       2. พิจารณาทำให้เกิดปัญญา ว่าสิ่งที่ทำอยู่ ณ ปัจจุบัน พร้อมที่จะปล่อยวางสิ่งต่าง ๆ ได้เลยไหม

       3. เจริญมรณสติ นึกถึงงานศพเรา ที่จะช่วยให้เราตื่นตัวและขวนขวายในการทำความดี

       4. พิจารณา อสุภกรรมฐาน (พิจารณาร่างกายของตนหรือของผู้อื่นว่าเป็นของไม่งาม ไม่น่ายึดมั่นถือมั่น แต่เป็นของน่าเกลียด โสโครก เช่นพิจารณาซากศพที่นอนให้เขารดน้ำก่อนใส่โลง ก่อนเผาหรือฝัง

 

ประโยชน์ของมรณสติ

         1. ทำให้เราขวนขวายในสิ่งที่เราชอบผัดผ่อนในชีวิตเรามีสิ่งสำคัญมากมายที่ควรทำ แต่เราไม่ได้ทำ

        2. ทำให้เราปล่อยวางในสิ่งที่เราชอบยึดติด และ แม้แต่สิ่งที่เราไม่รัก เช่น ความโกรธ เกลียด รู้สึกผิด

         3. ทำให้เราเห็นคุณค่าของสิ่งที่เรามีอยู่ในปัจจุบัน

         4. ทำให้เรามีความสุขได้ง่ายขึ้น

         5. ทำให้เราตายอย่างสงบ

         6. ช่วยเรากระตุ้นเตือนให้ดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่าถูกต้อง ไม่ปล่อยเวลาให้เปล่าประโยชน์หรือดำเนินชีวิตไปในทางที่เสียหายโดยนำมาเปรียบเทียบ นำมาเปรียบเทียบกับตนพร้อมทั้งคนอื่น ๆ ว่า ความตายเปรียบเทียบกับอาการ ๗ อย่าง คือ

         1. ผู้มียศใหญ่ ท่านผู้มียศใหญ่ เป็นท้าวพระพญา

ผู้ประเสริฐ เป็นต้น  ท่านเหล่านั้นยังต้องตาย อย่างเราทั้งหลายคงไม่ต้องกล่าวให้ป่วยการ

         2. เป็นผู้มีบุญมาก เศรษฐีต่าง ๆ ที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีบุญมาก ท่านเหล่านั้นก็ต้องตาย อย่างเราทั้งหลายคงไม่ต้องกล่าวให้ป่วยการ

        3. เป็นผู้มีกำลังมาก พระวาสุเทพ พระพลเทพ แม้นักมวยปล้าชื่อจานุระแม้จะได้ชื่อลือนามว่าเป็นผู้มีกำลังมาก ก็ต้องสู่อ านาจแห่งความตาย อย่างเราทั้งหลายคงไม่ต้องกล่าวให้ป่วยการ

          4. เป็นผู้มีฤทธิ์มาก พระอัครสาวกผู้มีฤทธิ์ทั้งหลาย สามารถทำให้ปราสาทหวั่นไหวด้วยนิ้วหัวแม่เท้า ท่านก็ยังเข้าปากของความตายเหมือนกับเข้าสู่ปากราชสีห์ อย่างเราทั้งหลายคงไม่ต้องกล่าวให้ป่วยการ

         5. เป็นผู้มีปัญญามาก ยกเว้นพระพุทธเจ้า สัตว์อื่นๆ นั้นมีปัญญาไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ ของพระสารีบุตร ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นพระอัครสาวกที่มีปัญญามาก ท่านก็ยังถึงแก่ความตายอย่างเราทั้งหลายคงไม่ต้องกล่าวให้ป่วยการ

       6. เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า พุทธบุคคลเหล่านั้นได้ทำการทำลายกิเลสทั้งปวงได้แล้ว ด้วยปัญญาและวิริยะของตน จนสามารถตรัสรู้เอง ก็ยังไม่พ้นความตายไปได้ อย่างเราทั้งหลายคงไม่ต้องกล่าวให้ป่วยการ

              7. เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประกอบไปด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ อนุพยัญชนะ ๘๐ ประการ เป็นผู้มียศใหญ่ มีบุญมาก มีกำลังมาก มีฤทธิ์มากมีปัญญาที่ไม่มีใครเสมอได้ ไม่มีใครจะมาเปรียบเทียบได้ เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ได้ด้วยพระองค์เองพระองค์ก็ยังต้องทรงระงับขันธปรินิพพาน อย่างเราทั้งหลายคงไม่ต้องกล่าวให้ป่วยการโดยเป็นกายแก่หมู่หนอนทั้งหลาย

 เจริญมรณสติ ง่ายๆ ด้วย 5 Step

        ฝึกตาย ก่อนเข้านอนด้วยการเจริญมรณสติ ง่ายๆ ด้วย 5 Step ดังนี้

 Step 1 เตรียมตัวเข้านอนเป็นครั้งสุดท้าย

         ลองนอนราบลงบนเตียง เอาแขนมาแนบลำตัว ผ่อนคลายร่างกายทุกส่วนตั้งแต่หัวจรดเท้า อย่าให้ส่วนใดส่วนหนึ่งเกร็ง หายใจอย่างเป็นธรรมชาติ ปล่อยวางความคิดที่รกรุงรังในหัว ทั้งเรื่องราวที่ผ่านมาในอดีต และสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นในอนาคต จากนั้นน้อมใจมาไว้ที่ปลายจมูก สังเกตลมหายใจเข้าและออกของตัวเอง เมื่อใจเริ่มสงบแล้ว ให้ลองจินตนาการว่า เรากำลังเข้าสู่การตาย การนอนครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้าย ไม่มีพรุ่งนี้สำหรับเราอีกต่อไปแล้ว

 

Step 2 พิจารณาความไม่เที่ยงของร่างกาย

            ลองพิจารณาร่างกายของเราทีละส่วนว่า เมื่อความตายมาถึง หัวใจเราจะหยุดเต้น ลมหายใจเราจะสิ้นสุดลง ไม่มีลมหายใจเข้าออกเหมือนในปัจจุบันแล้ว ท้องที่กำลังพอง ยุบอยู่ในขณะนี้จะหยุดเคลื่อนไหว ลำตัวที่เคยอุ่น ก็จะเย็นลง ส่วนต่างๆ ที่เคยยืดหยุ่นก็จะแข็งตึงเหมือนท่อนไม้ที่ไร้ประโยชน์ น้ำหนองจะเริ่มไหลออกมาตามตัว การพิจารณาความไม่เที่ยงของร่างกายเช่นนี้ จะช่วยให้เราคลายจากความยึดติดในร่างกายได้

 Step 3 ปล่อยวางคนรักและของที่หวงแหน

         ลองเลือกบุคคล สัตว์ หรือสิ่งของที่เรารัก ผูกพัน และคิดว่ามีความสำคัญที่สุดมา 5 อย่าง จากนั้นลองถามตัวเองว่า ในบรรดา 5 อย่างนี้ หากมีสิ่งหนึ่งที่เราต้องสูญเสียไป อะไรที่เราสามารถตัดใจได้ ลองเรียงลำดับสิ่งที่ตัดใจได้ง่ายที่สุด ไปหายากที่สุด

           หากพบว่าตัวเองยังมีสิ่งที่ตัดใจได้ยากอยู่หลายข้อ ให้ลองหมั่นเตือนตัวเองบ่อย ๆ ว่า หากเราต้องตายจริง ทรัพย์สมบัติทั้งหมดที่เราเฝ้าหาและสะสมมาจะไม่ใช่ของเราอีกต่อไปแล้ว ชื่อเสียง เกียรติยศ อำนาจ หน้าที่การงานของเราที่กำลังไปได้ดีก็เช่นกัน วันพรุ่งนี้ตำแหน่งหน้าที่ของเราจะกลายเป็นของคนอื่นไปแล้ว นอกจากนี้เราจะไม่มีโอกาสได้พบหน้าคนรักและครอบครัวอีกต่อไป  หากเรายังรู้สึกห่วงหาอาลัยเพราะมีสิ่งที่ติดค้าง ก็ให้รีบทำสิ่งนั้นให้เสร็จ

 Step 4 จินตนาการถึงงานศพของตัวเอง

           ลองจินตนาการว่า ขณะนี้เรากำลังนอนอยู่ในโลงศพ ในงานศพของเราเอง ลองนึกดูว่า ญาติมิตร เพื่อนสนิท เพื่อนร่วมงาน หรือใครต่อใครที่มางานศพของเราจะพูดถึงเราอย่างไรบ้าง ลองทบทวนและถามตัวเองว่า ชีวิตที่ผ่านมาเรามีความดีข้อใดให้ทุกคนเอ่ยถึง มีสิ่งใดที่ควรค่าแก่การสรรเสริญ เราใช้ชีวิตคุ้มค่ากับการเกิดมาเป็นมนุษย์หรือยัง มีอะไรบ้างที่เรายังไม่ได้ลงมือทำเสียที เมื่อคิดทบทวนได้เช่นนี้ ก็ให้เตือนตัวเองว่า  ควรใช้เวลาที่เหลืออยู่ทุก

วินาทีให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่

 

Step 5 คว่ำแก้วเปล่าไว้ข้างเตียง

           หลังจากพิจารณาตัวเองจนครบทั้ง 4 ข้อแล้ว ก็ให้เตรียมตัวเข้านอน โดยก่อนนอน ให้หยิบแก้วน้ำที่ตั้งอยู่ตรง

หัวเตียงขึ้นมา แล้วนำน้ำในแก้วไปเททิ้งออกจนหมด จากนั้นคว่ำแก้วเปล่าไว้ข้างๆ เตียง วิธีการนี้เป็นอุบายเตือนใจถึงความตายที่อาจารย์กรรมฐานชาวทิเบตบางท่านใช้กัน เพื่อฝึกเตือนตัวเองว่า วันพรุ่งนี้เราอาจไม่มีโอกาสได้ตื่นขึ้นมาแล้วดื่มน้ำในแก้วใบนี้อีก การทำเช่นนี้ทุกวันจะช่วยเตือนใจให้เราหมั่นนึกถึงความไม่จีรังของชีวิตได้

 คติธรรม  คำกลอนที่ใช้เป็นอารมณ์เจริญมรณัสสติ

 

อันวัวควาย ตายแล้ว เหลือเขาหนัง

อันช้างตายยัง เหลืองา เป็นศักดิ์ศรี

คนเรานี้ตายแล้ว เหลือไว้ แต่ชั่วดี

คุณความมดี ประดับไว้ ในโลกา

 

เมื่อเจ้ามา เจ้ามีอะไร มากับเจ้า

เจ้าจะมัว โลภมาก ไปถึงไหน

เวลาตาย ไม่เห็น เอาอะไรไป

ติดตามได้ แต่บาปบุญ ของคุณเอง

 

 พรรณไม้ดอกแม้โตได้วันละนิด

ยังความงามพาจิตใจให้สดใส

ก่อนเหี่ยวแห้งหมู่ภมรได้ชื่นใจ

ดูดเกสรบินร่อนไปเลี้ยงรวงรัง

 

อันมนุษย์ เกิดมาอยู่ คู่กับโลก

มีสุขทุกข์โศก โรคภัย ตายแล้วเผา

ก่อนจะดับ เพราะมัจจุราช มารับเอา

ท่าน เรา และเขา ควรปลูกฝังความดีไว้ ให้โลกชม

 

แหล่งข้อมูล

https://infocenter.nationalhealth.or.th/node/27626

https://www.letterplanet.com/content.php?item=734

https://bit.ly/3DQXyUk

https://goodlifeupdate.com/lifestyle/66803.html

--------------------------------------------

         บทเพลงของนักร้อง ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ที่ขอแนะนำใน

การนำมาเป็นกสิณ หรืออารมณ์การเจริญมรณัสสติ วันนี้

ขอแนะนำ 3 ท่าน เพราะ 3 ท่านเหล่านี้ ถือว่า เป็นบรมครูเพลง

เป็นคนเก่งกาจสามารถที่เสียชีวิตด้วยอายุยังน้อย คือ

 

         1. เติ้ง ลี่จวิน

             นักร้องที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ชาติกำเนิดเป็นคนจีน แต่

แต่มาเสียชีวิตบนผืนแผ่นดินไทย

ชื่อเกิด    เติ้ง ลี่ยวิน (จีนตัวย่อ: 邓丽筠; จีนตัวเต็ม: 鄧麗筠; พินอิน: Dèng Lìyūn)

รู้จักในชื่อ เสี่ยวเติ้ง (小鄧)

เทเรซา เติ้ง (テレサ・テン/Terasa Teng/Teresa Deng)

เกิด  29 มกราคม พ.ศ. 2496

เมืองเป่าจง มณฑลหยุนหลิน สาธารณรัฐจีน

เสียชีวิต   8 พฤษภาคม ค.ศ. 1995 (42 ปี)

อ.เมือง, เชียงใหม่, ประเทศไทย

แนวเพลง ป็อป, เจป็อป, เอ็งกะ Mandopop, Cantopop

อาชีพ     นักร้อง

ช่วงปี     พ.ศ. 2510 - 2538

เว็บไซต์   http://www.teresa-teng.org/

           เติ้ง ลี่จวิน หรือ เทเรซา เติ้ง (จีนตัวย่อ: 邓丽君; จีนตัวเต็ม: 鄧麗君; พินอิน: Dèng Lìjūn, ญี่ปุ่น: テレサ・テン, 29 มกราคม พ.ศ. 2496 – 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2538) นักร้องเพลงจีนสากลชาวไต้หวันชื่อดังและมีอิทธิพลอย่างสูง เธอเกิดที่ เมืองเป่าจง มณฑลหยุนหลิน สาธารณรัฐจีน โดยบรรพบุรุษของเธอมาจากมณฑลเหอเป่ย์ สาธารณรัฐประชาชนจีน เสียงและเพลงของเธอเป็นที่จดจำทั่วทั้งเอเชียตะวันออกและในหมู่ชาวจีนทั้งในประเทศจีน ไต้หวัน และชาวจีนโพ้นทะเลทั่วโลก จนมีคำกล่าวว่า "มีชาวจีนอยู่ที่ไหน ก็จะได้ยินเพลงของเติ้ง ลี่จวินที่นั่น" นอกจากนี้ เพลงของเธอยังเป็นที่รู้จักในหมู่ชาวญี่ปุ่น ชาวเกาหลี ชาวไทย ชาวเวียดนาม ชาวมาเลเซีย และชาวอินโดนีเซียจำนวนมากเช่นกัน

           เติ้ง ลี่จวิน มีชื่อเสียงจากบทเพลงรัก และเพลงพื้นเมืองภาษาหมิ่นหนาน (ภาษาฮกเกี้ยน) เพลงที่โด่งดังจนรู้จักกันทั่วไปทั่วเอเชีย ได้แก่เพลง เถียนมี่มี่ (甜蜜蜜, tián mì mì แปลว่า หวานปานน้ำผึ้ง) และเพลง เยว่เหลียงไต้เปี่ยวหวอเตอซิน (月亮代表我的心, yuè liàng dài biǎo wǒ de xīn แปลว่า พระจันทร์แทนใจฉัน) เป็นต้น ไม่เพียงเพลงภาษาจีนกลางเท่านั้น เธอยังเคยมีผลงานเพลงภาษาไต้หวัน ภาษากวางตุ้ง ภาษาญี่ปุ่น ภาษาอินโดนีเซีย และภาษาอังกฤษด้วย

          เติ้ง ลี่จวิน เกิดที่ เมืองเป่าจง มณฑลหยุนหลิน สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ครอบครัวของเธอมาย้ายมาจากมณฑลเหอเป่ย์ สาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนแผ่นดินใหญ่) เธอได้เข้าเรียนในโรงเรียนสตรีกินหลิง เมื่อสมัยเด็ก เธอเคยชนะการประกวดร้องเพลงหลายรางวัล รางวัลใหญ่รางวัลแรกในชีวิตของเธอได้จากเพลง "พบอิงไถ" เพลงประกอบภาพยนตร์งิ้วหวงเหมยของชอว์บราเดอร์ เรื่อง "ม่านประเพณี" (梁山伯與祝英台, liáng shān bó yǔ zhù yīng tái, The Love Eterne) ในการประกวดที่จัดขึ้นโดยองค์การกระจายเสียงแห่งจีน (中國廣播公司, Broadcasting Corporation of China) เมื่อ พ.ศ. 2507 เธอได้รับการสนับสนุนจากครอบครัวตลอดมา และเมื่อถึงทศวรรษที่ 1960 ไต้หวันได้ปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้ชาวไต้หวันซื้อหาแผ่นเสียงได้ง่ายขึ้น จนทำให้พ่อของเธออนุญาตให้เธอออกจากโรงเรียน และหันมาเป็นนักร้องอาชีพอย่างเต็มตัว

 ชีวิตนักร้อง

            ใน พ.ศ. 2511 (1968) เติ้ง ลี่จวิน เริ่มมีชื่อเสียงครั้งแรก เมื่อเธอได้ร้องเพลงในรายการเพลงที่มีชื่อเสียงรายการหนึ่งของไต้หวัน ทำให้ต่อมา เธอได้เซ็นสัญญาบันทึกเสียงกับบริษัทไลฟ์เรคคอร์ด และออกอัลบั้มหลายอัลบั้มในปีต่อมา

           ใน พ.ศ. 2516 (1973) เติ้ง ลี่จวิน ได้สร้างชื่อในวงการเพลงของญี่ปุ่น โดยออกอัลบั้มเพลงภาษาญี่ปุ่นกับโพลิดอร์เรคคอร์ด และเข้าร่วมการประกวดร้องเพลงประจำปีของสถานีโทรทัศน์เอ็นเอชเค (NHK) ในรายการ โคฮะคุ อุตะ กัสเซน (ญี่ปุ่น: 紅白歌合戦; โรมาจิ: Kōhaku Uta Gassen) ซึ่งจะนำนักร้องที่ประสบความสำเร็จในปีนั้นๆมาแข่งขันกัน เติ้ง ลี่จวินได้รับรางวัลดาวรุ่งยอดเยี่ยมในปีนั้น เป็นผลให้เธอประสบความสำเร็จอย่างสูงในญี่ปุ่น และออกอัลบั้มภาษาญี่ปุ่นอีกหลายอัลบั้ม

            ใน พ.ศ. 2517 (1974) เพลง "คูโค"

(ญี่ปุ่น: 空港; โรมาจิ: kuukou) หรือ สนามบิน โด่งดังในญี่ปุ่น ทำให้เติ้ง ลี่จวิน ยังสามารถรักษาชื่อเสียงในญี่ปุ่นไว้ได้ ในทศวรรษ 1970 หลังจากที่เปิดตัวในญี่ปุ่น ชื่อเสียงของเติ้ง ลี่จวินก็เริ่มกระจายออกไปทั่วโลก ในช่วงนั้น เธอได้ออกผลงานเพลงภาษาญี่ปุ่น ภาษาจีนกวางตุ้ง และภาษาอังกฤษ ควบคู่ไปกับภาษาจีนกลาง และเธอโด่งดังอย่างรวดเร็วในมาเลเซียและอินโดนีเซีย

           ในไต้หวัน เติ้ง ลี่จวินไม่เพียงเป็นที่รู้จักในนาน "นักร้องอินเตอร์" เท่านั้น เธอยังเป็น "ขวัญใจทหารหาญ" อีกด้วย เนื่องจากเธอเปิดแสดงให้เหล่าทหารชมอยู่บ่อยครั้ง นอกจากนี้ เธอยังเป็นลูกสาวของครอบครัวทหารอีกด้วย ในการแสดงของเธอสำหรับกองทัพนั้น เธอได้ร้องเพลงพื้นเมืองภาษาไต้หวัน เพื่อให้เข้าถึงใจชาวไต้หวันเดิม และยังร้องเพลงภาษาจีนกลางยอดนิยม ที่ทำให้ชาวจีนแผ่นดินใหญ่ ผู้ลี้ภัยจากสงครามกลางเมืองระหว่างพรรคก๊กมินตั๋งและพรรคคอมมิวนิสต์จีน รู้สึกคิดถึงบ้านมากยิ่งขึ้น

            ในช่วงต้นของทศวรรษ 1980 ความตึงเครียดระหว่างจีนแผ่นดินใหญ่และไต้หวันยังคงคุกรุ่น เหล่านักร้องจากทั้งไต้หวันและฮ่องกงถูกแบนในจีนแผ่นดินใหญ่ เนื่องจากถูกมองว่ามีความเป็นทุนนิยมเกินไป ถึงกระนั้น เติ้ง ลี่จวินก็ยังมีชื่อเสียงในหมู่ชาวจีนแผ่นดินใหญ่ เนื่องจากชาวจีนส่วนหนึ่งนิยมหาเพลงจากตลาดมืด เพลงของเธอถูกเปิดทุกที่ ตั้งแต่สถานเริงรมย์จนถึงสถานที่ราชการ จนทางการสั่งแบนเพลงของเธอในที่สุด ชาวจีนให้ฉายาเติ้ง ลี่จวินว่า "เติ้งน้อย" (小鄧, xiǎo dèng) เนื่องจากเธอมีแซ่เดียวกับเติ้ง เสี่ยวผิง ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีนสมัยนั้น จนมีคำกล่าวว่า "เติ้ง เสี่ยวผิงครองเมืองจีนยามกลางวัน

เติ้ง ลี่จวินครองเมืองจีนยามราตรี"

            ใน พ.ศ. 2522 (1979) เธอถูกต่อต้านในประเทศบ้านเกิดเป็นเวลาสั้นๆ จากการที่เธอถูกทางการญี่ปุ่นพบว่าได้ใช้หนังสือเดินทางปลอม สัญชาติอินโดนีเซียราคา 20,000 เหรียญสหรัฐในการเดินทางเข้าญี่ปุ่น และถูกขับออกจากประเทศ เหตุการณ์นี้เป็นข้ออ้างเล็กๆข้ออ้างหนึ่งที่รัฐบาลไต้หวันใช้ในการตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากที่สาธารณรัฐจีน หรือไต้หวัน ถูกบีบให้ออกจากสหประชาชาติ และสาธารณรัฐประชาชนจีน หรือจีนแผ่นดินใหญ่เข้ามาเป็นสมาชิกแทนเพียงเล็กน้อย

          ปลาย พ.ศ. 2524 (1981) เติ้ง ลี่จวิน หมดสัญญากับ

โพลิดอร์เรคคอร์ด ต่อมาเธอออกอัลบั้มที่ได้รับการยกย่องมากที่สุด ชื่อ "ต้าน ต้าน โยว ฉิง" (淡淡幽情, dàn dàn yōu qíng, Light Exquisite Feeling) เพลงในอัลบั้มนี้ เป็นเพลงที่แต่งจากบทกลอนสมัยราชวงศ์ถังและราชวงศ์ซ่ง 12 บท ประพันธ์ดนตรีโดยนักประพันธ์จากเพลงยอดนิยมของเธอเพลงก่อนๆ โดยใช้ดนตรีร่วมสมัยและมีกลิ่นอายของโลกตะวันออกและตะวันตกอยู่ร่วมกัน เพลงที่โด่งดังที่สุดจนบัดนี้นี้เพลง

"ต้าน ย่วน เหยิน ฉาง จิ่ว" (但願人長久, dàn yuàn rén cháng jiǔ, Wishing We Last Forever) จากนั้น เธอเซ็นสัญญากับทอรัสเรคคอร์ดใน พ.ศ. 2526 (1983) และประสบความสำเร็จในญี่ปุ่นอีกครั้ง ในช่วง พ.ศ. 2527 (1984 - 2532 (1989) เติ้ง ลี่จวิน ออกเพลงยอดนิยมมากมาย จนแฟนๆ ยกให้เป็น "ปีทองของเติ้ง ลี่จวิน" เธอเป็นนักร้องคนแรกที่ได้รับรางวัลออลเจแปนเรคคอร์ดอวอร์ด (All-Japan Record Awards) 4 ปีติดต่อกัน (พ.ศ. 2527 (1984) - 2531 (1988)

         ใน พ.ศ. 2532 (1989) เติ้ง ลี่จวิน ได้เปิดคอนเสิร์ตใน

กรุงปารีสของฝรั่งเศส ขณะนั้น เกิด (1989) เหตุการณ์การชุมนุมประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมินของนักศึกษาชาวจีนเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย ในวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2532 (1989)

เติ้ง ลี่จวิน ได้เปิดคอนเสิร์ตในนามของกลุ่มนักศึกษา เพื่อประกาศจุดยืนสนับสนุนการเรียกร้องประชาธิปไตยของกลุ่มนักศึกษาในกรุงปักกิ่งของจีน คอนเสิร์ตดังกล่าวมีชื่อว่า

"บทเพลงประชาธิปไตยเพื่อเมืองจีน" (民主歌聲獻中華, mín zhǔ gē shēng xiàn zhōng huá) จัดขึ้นที่สนามม้าแฮปปี้วัลเลย์ ฮ่องกง มีผู้เข้าชมกว่าสามแสนคน เธอได้ประกาศจุดยืนว่า "บ้านของฉันอยู่คนละฝั่งกับภูผาใหญ่" อันตีความได้ว่า เธอจะต่อต้านพรรคคอมมิวนิสต์จีนนั่นเอง

          แม้ว่า เติ้ง ลี่จวินจะได้เดินทางไปแสดงตามประเทศ

ต่าง ๆ ทั่วโลกตลอดชีวิตการเป็นนักร้อง แต่เธอก็ไม่เคยไปแสดงในสาธารณรัฐประชาชนจีนเลย แม้เธอหวังมาโดยตลอด จนในที่สุด ในช่วงทศวรรษ 1990 พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้เชิญเธอไปแสดงในประเทศจีน แต่ยังไม่ทันที่ความฝันของเธอจะเป็นจริง

เติ้ง ลี่จวินก็มาเสียชีวิตเสียก่อน

 

การเสียชีวิตและการรำลึก

           ตั้งแต่เข้าสู่วัยผู้ใหญ่ เติ้ง ลี่จวิน ป่วยด้วยโรคหอบหืดเรื้อรังมาตลอด จนในวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 (1995)

เติ้ง ลี่จวิน เสียชีวิตอย่างกะทันหันด้วยโรคหอบหืดขั้นรุนแรง ขณะมาพักผ่อน ณ โรงแรมอิมพีเรียล แม่ปิง จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย ด้วยอายุ 42 ปี (43 ปีตามปฏิทินจีน)

           พิธีศพของเติ้ง ลี่จวิน ถูกจัดขึ้นแบบรัฐพิธี หีบศพขอเธอถูกคลุมด้วยธงชาติสาธารณรัฐจีน โดยอดีตประธานาธิบดี หลี่

เติงฮุย และประชาชนจำนวนหลายพันเข้าร่วมพิธีด้วยความอาลัยรัก

           ศพของเติ้ง ลี่จวิน ถูกฝังที่สุสานจินเป่าซาน อันเป็นสุสานติดภูเขาในเมืองจินซาน มณฑลไทเป ทางตอนเหนือของไต้หวัน ป้ายหลุมศพมีรูปปั้นของเติ้ง ลี่จวิน และคีย์บอร์ดเปียโนไฟฟ้าขนาดใหญ่ตั้งอยู่ที่พื้น เมื่อมีคนเหยียบที่แต่ละแป้น จะมีเสียงออกมาต่างกัน แม้ว่าชาวจีนจะเชื่อว่าควรหลีกเลี่ยงการเข้าไปในสุสานก็ตาม แต่สุสานของเธอมักมีแฟนเพลงจากทั่วโลกเข้ามาเคารพและรำลึกถึงเธออยู่เสมอ

          ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2545 (2002) ได้มีการเปิดตัวหุ่นขี้ผึ้งของ เติ้ง ลี่จวิน ที่พิพิธภัณฑ์มาดามทุสโซส์ ฮ่องกง

         ในวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 (2009) ได้มีการจัดคอนเสิร์ต “15 ปี เติ้งลี่จวิน A Special Tribute” ขึ้นที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย โดยมี 13 นักร้องชาวไทยขึ้นขับกล่อมบทเพลงของเติ้ง ลี่จวิน เพื่อเป็น

การรำลึกการจากไปครบ 15 ปีของเธอ

  

รางวัลจากญี่ปุ่น

           เติ้ง ลี่จวิน หลังจากได้ไปออกอัลบั้มภาษาญี่ปุ่นที่ประเทศญี่ปุ่นแล้ว เธอก็ประสบความสำเร็จ และได้รับรางวัลมากมาย ดังต่อไปนี้

1.  รางวัลนักร้องดาวรุ่ง จาก เพลง "คูโค" (空港, Kuukou) เมื่อ พ.ศ. 2517

2.  รางวัลเหรียญทอง จาก เพลง "โทะคิ โนะ นะงะเระนิ มิโอะ มะคะเสะ" (時の流れに身をまかせ, Toki no nagareni miwo makase) หรือในฉบับภาษาจีนกลาง ชื่อเพลง "หว่อ จื่อ ไจ้ ฮู หนี่" (我只在乎你, wǒ zhǐ zài hū nǐ เมื่อ พ.ศ. 2529

3.  รางวัลกรังด์ปรีซ์ 3 ปีซ้อน โดยก่อนหน้าเธอ ยังไม่มีนักร้องคนใดทำได้มาก่อน จากเพลงเพลง “สึงุไน” (つぐない, Tsugunai) เมื่อ พ.ศ. 2527 เพลง “ไอจิน” (愛人, Aijin) เมื่อ พ.ศ. 2528 เพลง "โทะคิ โนะ นะงะเระนิ มิโอะ มะคะเสะ" (時の流れに身をまかせ, Toki no nagareni miwo makase) เมื่อ พ.ศ. 2529

4.  รางวัลดาวเด่น จาก เพลง “วาคะเระ โนะ โยะคัง” (別れの予感, Wakare no Yokan) เมื่อ พ.ศ. 2530

รางวัลเคเบิลเรดิโอมิวสิคอวอร์ด จาก เพลง “วาคะเระ โนะ โยะคัง” (別れの予感, Wakare no Yokan) เมื่อ พ.ศ. 2530 และ พ.ศ. 2531

5.  รางวัลเคเบิลเรดิโอมิวสิคเมอริตอวอร์ด (รางวัลเกียรติยศ) เมื่อ พ.ศ. 2538 สำหรับการชนะรางวัลกรังด์ปรีซ์ 3 ปีซ้อน ถือเป็นรางวัลสุดท้ายก่อนที่เธอจะเสียชีวิต

ต่อมาในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2545 ได้มีการเปิด

ตัวหุ่นขี้ผึ้งของ เติ้ง ลี่จวิน ที่พิพิธภัณฑ์มาดามทุสโซส์ ฮ่องกง

   มีคำกล่าวกันว่า สำหรับ ชีวิตส่วนตัว เติ้งลี่จวิน เข้าตำรา

"งานชุก ทุกข์รัก" เช่นกัน เพราะในชีวิตรักของเธอต้องพบกับความผิดหวังหลายครั้งหลายครา เธอเคยมีรักแรกตอนอายุ 18 กับชายผู้ที่ต่อมาจากเธอไปอย่างไม่มีวันกลับด้วยโรคหัวใจ

        ต่อมาพบรักกับ พระเอกดัง  “เฉินหลง” ข้อมูลเล่าว่าทั้งคู่พบกันที่ขณะฝ่ายชายไปถ่ายภาพยนตร์ที่อเมริกาและฝ่ายหญิงไปศึกษาภาษาอังกฤษ ที่ UCLA แต่ควงกันพักหนึ่งก็แยกย้าย และหันมาคบกับ "หลินฟงเจียว" แล้วก็เลิกลากันไป จนมามีข่าวอีกครั้งกับ "เคนนี่ บี" พระเอกชื่อดัง จนเมื่อรู้ว่าฝ่ายชายมีลูกเมียแล้ว ก็ม้วนเสื่อ

        ช่วงหนึ่ง ยังมีข่าวว่าเธอควงคู่กับ “กว๊อกขงเฉิง” ทายาทอภิมหาเศรษฐีจากมาเลเซีย จนเกือบจะได้แต่งงาน แต่ฝ่ายครอบครัวว่าที่เจ้าบ่าวเรียกร้องจากเธอมากเกินไป เช่น เธอต้องเล่าเรื่องอดีตของตัวเองให้ละเอียด และเลิกอาชีพนักร้อง ทั้งยังต้องหันหลังให้วงการบันเทิง ทั้งหมด เติ้งลี่จวิน จึงยุติความสัมพันธ์ จนกระทั่งมาพบรักกับ นายสเตฟาน ซึ่งอยู่กับเธอในวาระสุดท้ายที่เชียงใหม่

         บทเพลงรัก อย่างเพลง เถียนมี่มี่ เพลงนี้ได้รับความนิยมจนเปรียบเสมือนเป็นเพลงประจำตัวของเธอ ถูกนำมาใช้เป็นเพลงเบื้องหลัง และเป็นชื่อภาษาจีนของภาพยนตร์เรื่อง "เถียน มีมี่ 3650 วันรักเธอคนเดียว" ภาพยนตร์รักฮ่องกงในปี 2539 หลังจากการตายของเติ้งลี่ จวินปีเดียว โดยผลงานกำกับ

ของปีเตอร์ ชาน

     

อ้างอิง

https://bit.ly/3oZvUOx

https://www.komchadluek.net/today-in-history/370806

 

สุรพล สมบัติเจริญ

      สุรพล  สมบัติเจริญ  ได้รับสมญา ราชาเพลงลูกทุ่ง

ของไทย

      สุรพล สมบัติเจริญ หรือ พันจ่าอากาศโท ลำดวน

สมบัติเจริญ (25 กันยายน พ.ศ. 2473 - 16 สิงหาคม

พ.ศ. 2511) เป็นคนสุพรรณบุรีโดยกำเนิด เป็นนักร้องเพลงลูกทุ่ง เจ้าของเพลงดัง "16 ปีแห่งความหลัง"

          ลำดวน สมบัติเจริญ อาศัยอยู่ที่บ้านเลขที่ 125 ถนน

นางพิม ตำบลท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี ฐานะทางครอบครัวแต่เดิมค่อนข้างดี คุณพ่อรับราชการอยู่แผนกสรรพากรจังหวัด ชื่อ เปลื้อง สมบัติเจริญ ส่วนคุณแม่ชื่อ วงศ์ นอกจากเป็นแม่บ้านแล้วยังค้าขายเล็ก ๆ น้อย ๆ ภายในบ้านกลางใจเมืองสุพรรณ สุรพลเป็นบุตรชาย คนที่ 2 ในบรรดาพี่น้องท้องเดียวกัน 6 คน

           หลังจบชั้นประถมจาก โรงเรียนประสาทวิทย์ ก็มาเรียนที่โรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัยจนจบมัธยมปีที่ 6 เมื่อเรียน จบที่สุพรรณบุรีคุณพ่อก็จัดส่งสุรพลเข้ามาเรียนต่อที่โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย แต่สุรพลก็เรียนได้เพียงปีครึ่งก็ต้องลาออกเพราะใจไม่รักแต่ด้วยไม่อยากขัดใจคุณพ่อ การเรียนก็เลยไม่ดี เขาไปสมัครเป็นครูสอนหนังสืออยู่ที่โรงเรียนสุพรรณกงลิเสีย เสี้ยว เป็นโรงเรียนจีน แต่สอนอยู่ได้แค่ครึ่งปีก็ลาออก ด้วยใจไม่ได้รักอาชีพนี้อย่างจริงจัง

         เขาได้สมัครเข้าไปเป็นนักเรียนจ่าพยาบาล อยู่ที่โรงเรียนพยาบาล กรมแพทย์ทหารเรือ กองทัพเรือ ตั้งอยู่ที่ปากคลองมอญ (ปัจจุบัน เป็นศูนย์ทันตกรรม กรมแพทย์ทหารเรือ) ด้วยความที่ชื่นชอบการร้องเพลงเป็นอย่างยิ่ง จึงหนีออกไปร้องเพลงยามค่ำคืนอยู่บ่อยครั้ง แต่สิ่งที่ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้น เมื่อชะตาเขาพลิกผกผัน หลังจากเขาได้หนีราชการทหารเรือ จนได้รับโทษถูกคุมขัง เขาได้กลายเป็นขวัญใจของนักโทษ ด้วยการร้องเพลงกล่อมก่อนนอน เมื่อได้รับอิสรภาพ สุรพลได้ทิ้งเส้นทางทหารเรือ สุรพลมีโอกาสได้ร้องเพลงในงานสังสรรค์กองทัพอากาศ น้ำเสียงของเขาได้โดนใจ เรืออากาศเอกปราโมทย์ วัณณะพงษ์ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งค่ายมวยและหัวหน้าคณะนักมวยของกองทัพอากาศชื่อ ค่ายมวยเลือดชาวฟ้า ดังนั้นในวันรุ่งขึ้น สุรพล สมบัติเจริญจึงถูกเรียกตัวให้เข้าพบ และยื่นโอกาสให้เขาได้เข้าไปรับราชการประจำกองกองดุริยางค์ทหารอากาศ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่เขาได้รับความรู้เกี่ยวกับการดนตรีและร้องเพลง ซึ่งการกระทำนี้จึงเป็นจุดพลิกผันครั้งสำคัญของชีวิต ที่ทำให้ สุรพล สมบัติเจริญ ได้ถูกบันทึกในหน้าประวัติศาสตร์ว่าเป็น "ราชาเพลงลูกทุ่งไทย"

           ในปี พ.ศ. 2496 เพลง 'น้ำตาลาวเวียง' เป็นเพลงแรกที่ได้บันทึกเสียง แต่เพลงที่ทำให้เป็นที่รู้จักทั่วไปคือเพลง 'ชูชกสองกุมาร' หลังจากนั้นชื่อเสียงของสุรพล ก็เป็นที่นิยมมากขึ้น และมีผลงานชุดใหม่ออกมาเรื่อยๆ เช่น 'สาวสวนแตง' 'เป็นโสดทำไม' 'ของปลอม' ' หนาวจะตายอยู่แล้ว' 'หัวใจผมว่าง' 'สวยจริงน้อง' 'ขันหมากมาแล้ว' 'น้ำตาจ่าโท' 'มอง' และ อีกหลายเพลง

จนทำให้คนรู้จักความเป็น "สุรพล สมบัติเจริญ" อย่างแท้จริงในเวลาต่อมาก็คือเพลง "ลืมไม่ลง" และเมื่อชื่อเสียงเริ่มเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป สุรพลจึงมีงานร้องเพลง นอกสังกัดถี่ขึ้นเป็นลำดับ อาทิ ร่วมร้องกับวง "แมมโบ้ร็อค" ของ เจือ รังแรงจิตร

วง "บางกอกช่ะช่ะช่ะ" ของ ชุติมา สุวรรณรัตน์ และ สมพงษ์ วงษ์รักไทย ส่วนวงดนตรีที่สุรพลร้องด้วยมากที่สุดคือ วง " ชุมนุมศิลปิน " ของ จำรัส วิภาตะวัตร

            สุรพล สมบัติเจริญ มีความเคารพต่อคุณประสาน

ศิลป์จารุ (ทองแป๊ะ) เป็นอย่างมาก เพราะเป็นผู้ผลักดันให้สุรพลมีความมุ่งมั่นในวงการลูกทุ่งยิ่งขึ้นไปอีก เพราะคุณประสานเป็นผู้นำเพลงของสุรพลไปเปิดในสถานีวิทยุกระจายเสียงวรจักร ซึ่งถือเป็นการเปิดตัวเพลงลูกทุ่งในสถานีวิทยุเป็นครั้งแรกในสมัยนั้น และเป็นจุดเริ่มต้นให้เพลงลูกทุ่งได้รับการยอมรับ และมีการพัฒนาเป็นอย่างมากมาจนถึงปัจจุบัน

           ตลอดชีวิตของการเป็นนักร้อง สาเหตุที่ทำให้ ฃ

"สุรพล" ได้รับการยอมรับว่าเป็นราชาเพลงลูกทุ่ง เพราะความอัจฉริยะในตัวเองที่สามารถแต่งเพลง และยังคงเป็นที่จดจำจนทุกวันนี้ก็มี อาทิ ลืมไม่ลง , ดำเนินจ๋า , แซ่ซี้อ้ายลื้อเจ็กนั้ง , หัวใจเดาะ , สาวสวนแตง , น้ำตาจ่าโท , สนุกเกอร์ , นุ่งสั้น , จราจรหญิง , เสน่ห์บางกอก และ 16 ปีแห่งความหลัง เป็นต้น

           นอกจากจะแต่งเอง ร้องเอง "สุรพล" ยังทำหน้าที่ครูแต่งเพลงให้คนอื่นร้องจนโด่งดังอีกด้วย อย่างเช่น ผ่องศรี วรนุช , ไพรวัลย์ ลูกเพชร , ละอองดาว สกาวเดือน , ยงยุทธ เชี่ยวชาญชัย , เมืองมนต์ สมบัติเจริญ, กังวาลไพร ลูกเพชร , ก้องไพร ลูกเพชร เป็นต้น

          "สุรพล สมบัติเจริญ" ถูกลอบยิงเสียชีวิต หลังจากการแสดงบนเวทีที่วิกแสงจันทร์ บริเวณริมถนนมาลัยแมน ตรงข้ามวัดหนองปลาไหล ต.ทุ่งกระพังโหม อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม เมื่อกลางดึกของคืนวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2511 (เวลา 01.00 น. ของวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2511) เมื่ออายุเพียง 37 ปี

 ผลงานเพลงที่ศิลปินคนอื่น ๆ นำไปขับร้องใหม่

สุรชัย สมบัติเจริญ หนาวนี้พี่ตายแน่ จากอัลบั้ม 30 ปี สุรพล สมบัติเจริญ ชุดที่ 1 (พ.ศ. 2545)

 สาวสวนแตง

จากอัลบั้ม 30 ปี สุรพล สมบัติเจริญ ชุดที่ 2 (พ.ศ. 2545)

 

หงส์ปีกหัก

จากอัลบั้ม 30 ปี สุรพล สมบัติเจริญ ชุดที่ 3 (พ.ศ. 2545)

 

สิบหกปีแห่งความหลัง

หนาวจะตายอยู่แล้ว

มอง

เดือนหงายที่ริมโขง

รักน้องบ่มีเงินแต่ง

คนใต้ใจซื่อ

น้ำค้างเดือนหก

ดำเนินจ๋า

หงส์ปีกหัก

ลูกทุ่งเลือดสุพรรณ

หัวใจเดาะ

สนุ้กเกอร์

เสียวไส้

บ้านนี้ฉันรัก

สุรพลมาแล้ว

น้ำตาจ่าโท

เป็นโสดทำไม

น้ำตาผัว

ดอกฟ้าเมืองไทย

เสน่ห์สาวเวียงพิงค์

เดือนจ๋า

แฟนจ๋า

มนต์รักป่าซาง

สวยจริงน้อง

สาวหน้าฝน

ลืมไม่ลง

ของปลอม

รำวงออกพรรษา

แซ่ซี้อ้ายลื้อเจ็กนั้ง

แก้วลืมดง

อาทิตย์อุทัยรำลึก

จากอัลบั้ม ดีที่สุด ชุดที่ 1 - สุรพล สมบัติเจริญ (พ.ศ. 2545)

 

วงแมคอินทอช

แซ่ซี้อ้ายลื้อเจ็กนั้ง

จากอัลบั้ม ใจสยิว (พ.ศ. 2525)

 

ก๊อท จักรพันธ์

ลูกทุ่งเลือดสุพรรณ

ไหนว่าจะจำ

คนหัวล้าน

เป็นโสดทำไม

สาวสวนแตง

หัวใจผมว่าง

เสน่ห์สาวเวียงพิงค์

เขมรไล่ควาย

น้ำตาผัว

ควายหาย

จากอัลบั้ม แม่ไม้เพลงไทย (พ.ศ. 2533)

 

หงส์ปีกหัก

เดือนจ๋า

น้ำค้างเดือนหก

จากอัลบั้ม หัวแก้วหัวแหวน ชุดที่ 4 มาลัยดอกรัก (พ.ศ. 2538)

 

บ้านนี้ฉันรัก

จากอัลบั้ม หัวแก้วหัวแหวน ชุดที่ 5 สมัครรักสมัครแฟน (พ.ศ. 2538)

ลืมไม่ลง

หัวใจเดาะ

สาวสวนแตง

น้ำตาผัว

แก้วลืมดง

ผู้แพ้รัก

เป็นโสดทำไม

เดือนจ๋า

กว๊านพะเยา

ดรรชนีไฉไล

จากอัลบั้ม มนต์เพลงสุรพล ชุดที่ 1 (พ.ศ. 2543)

ของปลอม

ดอกฟ้าเมืองไทย

ดำเนินจ๋า

หนาวจะตายอยู่แล้ว

เขมรไล่ควาย

แซ่ซี้อ้ายลื้อเจ๊กนั้ง

แฟนจ๋า

สวยจริงๆ

บ้านนี้ฉันรัก

รักน้องบ่มีเงินแต่ง

จากอัลบั้ม มนต์เพลงสุรพล ชุดที่ 2 (พ.ศ. 2543)

หัวใจผมว่าง

สวยจริงน้อง

แน่ข้างเดียว

หญิงกับเสือ

สนุ๊กเกอร์

สาวหน้าฝน

หงส์ปีกหัก

วันพระอย่าเว้น

ใครจะเป็นแฟนผมบ้าง

จากอัลบั้ม มนต์เพลงสุรพล ชุดที่ 3 (พ.ศ. 2543)

มอง

สุรพลมาแล้ว

พ่อค้าขนมปลากริม

คนใต้ใจซื่อ

ยิ้มเห็นแก้ม

รักริงโง

ยิกเท้าโหละซัว

อัฐยายขนมยาย

ลูกแก้วเมียขวัญ

จากอัลบั้ม มนต์เพลงสุรพล ชุดที่ 4 (พ.ศ. 2543)

 

เสน่ห์สาวเวียงพิงค์

ลูกทุ่งเลือดสุพรรณ

ตา

คนหัวล้าน

ควายหาย

เรื่องของแฟนเพลง

ป่าซาง

เสียวไส้

รำวงออกพรรษา

มาช่วยกันผลาญ

จากอัลบั้ม มนต์เพลงสุรพล ชุดที่ 5 (พ.ศ. 2543)

มีการเปลี่ยนชื่อเพลงใหม่เป็น พระจันทร์ตกน้ำ

รางวัลที่ได้รับ

         วันที่ 12 ก.ย. 2532 ได้รับรางวัลพระราชทานเพลงดีเด่นจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในงานกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย ครั้งที่ 1 "สาวสวนแตง" คว้าเพลงดีเด่น แต่งโดยครูพยงค์ มุกดา แต่งเพลงดีเด่นในเพลง "เด็กท้องนา" ขับร้องโดย ละอองดาว สกาวเดือน และเพลง "ไหนว่าไม่ลืม" ขับร้องโดย ผ่องศรี วรนุช ส่วนเพลงที่ได้รับรางวัลร้อง-แต่งเองคือ "16 ปีแห่งความหลัง"

          วันที่ 7 ก.ค. 2534 ได้รับรางวัลพระราชทานแต่งเพลงดีเด่นจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในงานกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย ภาค2 ในเพลง "ด่วนพิศวาส" ขับร้องโดย ผ่องศรี วรนุช และ คำเตือนของพี่ ขับร้องโดย ไพรวัลย์ ลูกเพชร

         วันที่ 18 ก.ย. 2537 ได้รับรางวัลพระราชทานเกียรติบัตรจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในการจัดงานกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่ง สืบสานคุณค่าวัฒนธรรม สองรางวัลในเพลง น้ำตาเมียหลวง ขับร้องโดย ผ่องศรี วรนุช และเพลง เสียวไส้ ซึ่งสุรพลแต่ง และขับร้องเอง

เมื่อ 18 ต.ค. 2537 เพลงรอยไถแปร และน้ำตาลก้นแก้วได้รับการคัดเลือกเป็นเพลงลูกทุ่งดีเด่นที่ส่งเสริมวัฒนธรรมไทย ขับร้องโดย ก้าน แก้วสุพรรณ ส่วนเพลงกว๊านพะเยาได้รับรางวัลเดียวกัน แต่เป็นการขับร้องโดย สุรพล สมบัติเจริญ

 

ชีวิตครอบครัว

           สุรพล สมบัติเจริญ สมรสกับ ศรีนวล สมบัติเจริญ (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) มีบุตร-ธิดารวม 5 คน ดังนี้

 

สมพงษ์ สมบัติเจริญ (อ๊อด)

สุรชัย สมบัติเจริญ (แอ๊ด)

ศิรินทิพย์ สมบัติเจริญ (เอื้อม)

สุรชาติ สมบัติเจริญ (อุ้ม)

สุรเดช สมบัติเจริญ (กิ้งก่อง)

หลังจากการเสียชีวิต

เมื่อ สุรพล สมบัติเจริญ เสียชีวิตได้เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2511 ณ วิกแสงจันทร์ จ.นครปฐม โดยบิดาของสุรพล (เปลื้อง สมบัติเจริญ) ได้ลงทุนสร้างหนังเรื่อง สุรพล ลูกพ่อ เพื่อเป็นอนุสรณ์แต่ราชาเพลงลูกทุ่งและระลึกถึงสุรพล ในนาม สมบัติเจริญ ภาพยนตร์ โดยมีครูรังสี ทัศนพยัคฆ์ กำกับการแสดง

ภาพยนตร์ สุรพลลูกพ่อ นำแสดงโดย บรรจบ ใจพระ​

(ปัจจุบันชื่อ บรรจบ เจริญพร) คู่กับ โสภา สถาพร โดยเปลื้อง สมบัติเจริญ ก็ได้นำครอบครัวของตน ไปเข้าร่วมแสดงในเรื่องนี้ด้วย (ยกเว้นศรีนวล สมบัติเจริญ ภรรยา , ลูกสะใภ้และสมาชิกวงดนตรีของสุรพล) ที่ไปร่วมงานหนังอัตชีวิตของสุรพลในอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งฉายพร้อมกันในช่วงปลายปี พ.ศ. 2511 และภาพยนตร์เรื่อง 16 ปีแห่งความหลัง เข้าฉายเมื่อ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2511 นำแสดงโดย มิตร ชัยบัญชา , เพชรา เชาวราษฎร์ โดย ทองใบ รุ่งเรือง​ (คนสนิทของสุรพล) ก็ได้ร่วมแสดงภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วย

          ต่อมา ครอบครัวสมบัติเจริญ ได้สร้างหอระฆังมูลค่าประมาณ 2 แสนบาท มอบถวายแก่วัดไชนาวาส ถ.ประชาธิปไตย ต.ท่าพี่เลี้ยง อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี พร้อมกับปั้นรูปปั้นสุรพลตั้งไว้บนหอระฆังดังกล่าว

 

ที่มา

https://bit.ly/3p0hCgG

 

พุ่มพวง  ดวงจันทร์

          พุ่มพวง ดวงจันทร์ เป็นนักร้องที่มีชื่อเสียงโด่งดัง

จนได้รับสมญา  "ราชินีลูกทุ่ง"

         พุ่มพวง ดวงจันทร์ (4 สิงหาคม พ.ศ. 2504 – 13 มิถุนายน พ.ศ. 2535) เป็นชื่อการแสดงของ รำพึง จิตรหาญ ชื่อเล่น ผึ้ง เป็นนักร้องเพลงลูกทุ่งชาวไทย ได้รับฉายาว่าเป็น "ราชินีลูกทุ่ง" มีผลงานเพลงมากกว่า 500 บทเพลง และอยู่ในวงการเพลงกว่า 2 ทศวรรษ เธอเป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมลูกทุ่งไทยและเป็นผู้ผสมผสานระหว่างเพลงป็อปและเพลงลูกทุ่ง ...

          พุ่มพวง ดวงจันทร์ (4 สิงหาคม พ.ศ. 2504 – 13 มิถุนายน พ.ศ. 2535) เป็นชื่อการแสดงของ รำพึง จิตรหาญ ชื่อเล่น ผึ้ง เป็นนักร้องเพลงลูกทุ่งชาวไทย ได้รับฉายาว่าเป็น "ราชินีลูกทุ่ง" มีผลงานเพลงมากกว่า 500 บทเพลง และอยู่ในวงการเพลงกว่า 2 ทศวรรษ เธอเป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมลูกทุ่งไทยและเป็นผู้ผสมผสานระหว่างเพลงป็อปและเพลงลูกทุ่งไว้เข้าด้วยกัน จนเป็นที่นิยมในยุค 80s และต้นยุค 90s

          เธอเกิดที่จังหวัดชัยนาท เติบโตที่จังหวัดสุพรรณบุรี ครอบครัวเป็นชาวไร่ฐานะยากจน เมื่ออายุได้ 15 ปี บิดาฝากให้เป็นบุตรบุญธรรมของไวพจน์ เพชรสุพรรณ ซึ่งแต่งเพลงและอัดแผ่นเสียงชุดแรกให้ ชื่อเพลง "แก้วรอพี่" ต่อมามนต์ เมืองเหนือ​ ได้ตั้งชื่อในวงการบันเทิงให้เธอใหม่ว่า พุ่มพวง ดวงจันทร์ เธอมีชื่อเสียงมากที่สุดในปี พ.ศ. 2525 โดยมีผลงานเพลงดัง เช่น

สาวนาสั่งแฟน, นัดพบหน้าอำเภอ, อื้อฮือหล่อจัง, กระแซะเข้ามาซิ, ดาวเรืองดาวโรย, คนดังลืมหลังควาย, บทเรียนราคาแพง

เป็นต้น

 

ชีวิตของพุ่มพวง  ดวงจันทร์

           รำพึง จิตรหาญ เกิดที่ บ้านหนองนกเขา ตำบลไพรนกยูง อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท

          ต่อมาเติบโตที่ตำบลบ่อสุพรรณ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรีของสำราญ และจรัญ (เล็ก) จิตรหาญ ครอบครัวมีอาชีพรับจ้างทำไร่อ้อย เกิดในครอบครัวยากจน เป็นลูกคนที่ 5 ของบ้านในจำนวน 12 คน

        สถานภาพครอบครัวเธอจัดอยู่ในขั้นที่ยากจนมาก เธอเรียนที่โรงเรียนบ้านดอนตำลึง แต่ด้วยความที่เธอมีน้องอีก 6 คน ประกอบกับค่านิยมของแม่นั้นเห็นว่าผู้หญิงไม่จำเป็นต้องเรียนมาก เธอจึงไม่จบแม้แต่ชั้น ป.2 ในวัยเด็กพอน้องหลับหมด เธอไปหาของขาย เก็บผัก หาดอกไม้ป่า หาบไปขายตามโรงงาน[4]

 

เส้นทางนักร้อง

             เธอเริ่มหัดร้องเพลงและเข้าประกวดตามงานต่าง ๆ ตั้งแต่อายุ 8 ปี โดยใช้ชื่อว่า น้ำผึ้ง ณ ไร่อ้อย[5][ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้]

          ในปี พ.ศ. 2519 ครูเพลงลูกทุ่ง มนต์ เมืองเหนือ รับเธอเป็นลูกศิษย์ และเปลี่ยนชื่อจากน้ำผึ้ง เมืองสุพรรณเป็น

"พุ่มพวง ดวงจันทร์" จากการตั้งชื่อโดย มนต์ เมืองเหนือ และได้บันทึกเสียงจากการแต่งของ ก้อง กาจกำแหง ร้องแก้ ขวัญชัย เพชรร้อยเอ็ด​ เพลงนั้นคือ "รักไม่อันตราย" และตั้งวงดนตรีเป็นของตนเอง โดยการสนับสนุนของคารม คมคาย นักจัดรายการวิทยุ มนต์ เมืองเหนือ แต่ไม่ประสบความสำเร็จก็มาสังกัดบริษัทเสกสรรเทป-แผ่นเสียง ผลงานของพุ่มพวง ดวงจันทร์เริ่มประสบความสำเร็จในเวลาต่อมาหลังจากได้รับการสนับสนุนจากประจวบ จำปาทองและปรีชา อัศวฤกษ์นันท์ ให้ตั้งวงร่วมกับ

เสรี รุ่งสว่าง ในชื่อวง เสรี-พุ่มพวง จากจุดนี้ก็ได้รับความสำเร็จขึ้น

         พุ่มพวง ดวงจันทร์ เข้ามาอยู่สังกัดอโซน่า โปรโมชั่น ในปี พ.ศ. 2525 ผลงานในระหว่างปี 2525-2535 ของเธอมีมากมายอย่างเช่น จะให้รอ พ.ศ.ไหน (มิ.ย. 2525) นัดพบหน้าอำเภอ (2526) สาวนาสั่งแฟน (2527) ทิ้งนาลืมทุ่ง (2527) คนดังลืมหลังควาย (2528) อื้อฮื้อ ! หล่อจัง (2528) ห่างหน่อย – ถอยนิด (2529) ชั่วเจ็ดที-ดีเจ็ดหน (2529) เรื่องของสัตว์โลก (2529) และ คิดถึงน้องบ้างนะ (2530) ซึ่งสามชุดหลังเป็นชุดที่ออกหลังที่พุ่มพวงออกจากค่ายอโซน่า โปรโมชั่นแล้ว

           ต่อมาย้ายมาอยู่กับพีดี โปรโมชั่น และ ซีบีเอส เร็คคอร์ด (ประเทศไทย) และอาจารย์ไพจิตร ศุภวารี ได้เปลี่ยนภาพลักษณ์พุ่มพวงให้เข้ากระแสนิยมของเพลงสตริงในยุคนั้น แต่ก็ไม่ได้รับการยอมรับของนักฟังเพลงลูกทุ่ง จึงได้ย้ายไปทำงานร่วมกับท็อปไลน์มิวสิค มีผลงานเพลงที่ได้รับความนิยมมากมาย ผลงานที่ได้รับความนิยมอย่างเช่นชุด ตั๊กแตนผูกโบว์, กล่อม และ ทีเด็ดพุ่มพวง ผลงานกับค่ายท็อปไลน์มิวสิคอื่น ๆ เช่น พุ่มพวง 31

(หนูไม่รู้), พุ่มพวง 31 ภาค 2 (หนูไม่เอา), พุ่มพวง 32 (พี่ไปดู

หนูไปด้วย) และนำผลงานเก่ามามิกซ์รวมกัน เช่น พุ่มพวงหลาย พ.ศ. (ตลับทอง และตลับเพชร), ขอให้รวย, น้ำผึ้งเดือนห้า, ซูเปอร์ฮิต 1 และ 2 จากนั้นเธอเริ่มรับจ้างทำงานให้กับอาร์เอส โปรโมชั่น เมโทรเทปและแผ่นเสียง และแฟนตาซี ไฮคลาส สำหรับผลงานกับค่ายอาร์เอส เช่น ลูกทุ่งท็อปฮิตมาตรฐาน เป็นผลงานอัลบั้มที่เธอนำเพลงดังของศิลปินลูกทุ่งดังในอดีตมาร้องใหม่ นอกจากนี้ยังมีค่ายเมโทรฯ ที่ได้ลิขสิทธิ์งานเพลงชุด "ส่วนเกิน" อีก 1 ชุด

           พุ่มพวงเข้าสู่วงการภาพยนตร์ในปี พ.ศ. 2526 และแสดงหนังเรื่องแรก สงครามเพลง สร้างโดยฉลอง ภักดีวิจิตร และอีกหลายเรื่อง ในช่วงที่แสดงภาพยนตร์เรื่อง มนต์รักนักเพลง ได้พบกับ (ไกรสร แสงอนันต์) ผลงานการแสดงของเธอในฐานะนางเอก อย่างเช่น สงครามเพลง, รอยไม้เรียว, ผ่าโลกบันเทิง, นักร้อง นักเลง, นางสาวกะทิสด, มนต์รักนักเพลง, ลูกสาวคนใหม่, อีแต๋น ไอเลิฟยู, หลงเสียงนาง, จงอางผงาด, ขอโทษทีที่รัก, คุณนาย ป.4, อาจารย์เด๋อเจอพุ่มพวง, สาวนาสั่งแฟน, เสน่ห์นักร้อง, นางสาวยี่ส่าย (ภาพยนตร์โทรทัศน์) เป็นต้น

          ต่อมาเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2532 พุ่มพวง

ดวงจันทร์ ได้รับรางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี​อีกครั้ง ในสาขารางวัลขับร้องเพลงดีเด่น กับเพลง "สยามเมืองยิ้ม" ประพันธ์โดยครูลพ บุรีรัตน์ ในงานกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่ง ภาค 2

 

การเสียชีวิต

         เธอห่างหายไปหลังปี พ.ศ. 2534 เนื่องจากเธอป่วยด้วยโรคเอสแอลอี และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2535 ด้วยวัยเพียง 31 ปี แม้เธอจะเสียชีวิตไปแล้วแต่ผลงานของเธอก็ยังมีการวางจำหน่าย และยังมีศิลปินนักร้องลูกทุ่งอีกหลายรายได้นำผลงานเพลงของเธอมาขับร้องใหม่

 

ชีวิตส่วนตัว

         ในปี พ.ศ. 2527 พุ่มพวงจดทะเบียนสมรสกับนายไกรสร ลีละเมฆินทร์ อดีตพระเอกภาพยนตร์ ที่ใช้ชื่อในวงการว่า ไกรสร แสงอนันต์ ต่อมาพุ่มพวงฝึกหัดเขียนหนังสือจนสามารถเขียนชื่อตัวเองได้ เพื่อประโยชน์ทางนิติกรรมต่าง ๆ ในปี พ.ศ. 2530 มีบุตรชายชื่อ สันติภาพ (ต่อมาเปลี่ยนชือเป็น สรภพ) หรือ "เพชร" หรือ "บ่อยบ๊อย" ลีละเมฆินทร์ ซึ่งก็เป็นนักร้องลูกทุ่ง นอกจากนี้ยังมี จันทร์จวง ดวงจันทร์ ดวงใจ ดวงจันทร์ และสลักจิต

ดวงจันทร์ น้องสาวพุ่มพวงก็เป็นนักร้องเพลงลูกทุ่งเช่นกัน

 

ผลงานเพลง

       ผลงานการร้องเพลง มีมากมาย อาทิ เช่น

ตั๊กแตนผูกโบว์

หม้ายขันหมาก

อื้อฮือหล่อจัง

สาวนาสั่งแฟน

ดาวเรืองดาวโรย

อายแสงนีออน

นักร้องบ้านนอก

บทเรียนราคาแพง

หม้ายขันหมาก

ส้มตำ

เพลงรักบ้านทุ่ง

ฯลฯ

ผลงานแสดงภาพยนตร์

พ.ศ. 2526 สงครามเพลง

พ.ศ. 2526 เสน่ห์นักร้อง

พ.ศ. 2526 หลงเสียงนาง

พ.ศ. 2527 ผ่าโลกบันเทิง

พ.ศ. 2527 มนต์รักนักเพลง

พ.ศ. 2527 คุณนาย ป.4

พ.ศ. 2527 ชี

พ.ศ. 2527 รอยไม้เรียว

พ.ศ. 2527 นางสาวกะทิสด

พ.ศ. 2527 สาวนาสั่งแฟน

พ.ศ. 2527 อาจารย์เด๋อเจอพุ่มพวง

พ.ศ. 2527 อีแต๋น ไอเลิฟยู

พ.ศ. 2527 ขอโทษที ที่รัก

พ.ศ. 2527 จงอางผงาด

พ.ศ. 2527 ที่รักจ๋า

พ.ศ. 2527 นักร้องนักเลง

พ.ศ. 2528 ที่รัก เธออยู่ไหน

พ.ศ. 2529 มือปืนคนใหม่

พ.ศ. 2530 เชลยรัก

พ.ศ. 2530 เพลงรักเพลงปืน

พ.ศ. 2531 เพชรพยัคฆราช

พ.ศ. 2531 2 พยัคฆ์

พ.ศ. 2533 เลือดแค้น เล็กนกใน

พ.ศ. 2535 บันทึกรักพุ่มพวง

พ.ศ. 2535 รักอาลัย พุ่มพวง ดวงจันทร์

พ.ศ. 2536 ผ่าโลกเพลงลูกทุ่ง

พ.ศ. 2536 เธอของเรา ของเขา หรือของใคร

พ.ศ. 2554 พุ่มพวง (หลังจากการเสียชีวิต)

 ผลงานแสดงละครโทรทัศน์

พ.ศ. 2533 นางสาวยี่ส่าย แสดงคู่กับ ไกรสร แสงอนันต์ และ ท้วม ทระนง

 รางวัล

รางวัลเสาอากาศทองคำทองคำ เพลง "อกสาวเหนือสะอื้น" (ผลงาน - ธีระพล แสนสุข) (2521)

รางวัลกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย ครั้งที่ 1 เพลง "สาวนาสั่งแฟน" ( ผลงาน - วิเชียร คำเจริญ) (2532)

รางวัลกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย ครั้งที่ 2 เพลง "สยามเมืองยิ้ม" (วิเชียร คำเจริญ) (2534)

ยกย่องเชิดชูเกียรติ เป็น "ปริยศิลปิน" ศิลปินอันเป็นที่รักยิ่งของประชาชน 15 ส.ค. 2552

 

อนุสรณ์

อัลบั้มเพลง

          เดือนมิถุนายน 2535 หลังจากที่พุ่มพวงเสียชีวิต ค่ายท็อปไลน์และค่ายอโซน่า ก็นำเอาเพลงชุดต่างๆ ของพุ่มพวงออกวางจำหน่ายอีกครั้ง ท็อปไลน์ได้มีการทำปกขึ้นมาใหม่อีก คือ คิดถึงพุ่มพวง, ส้มตำ, คอนเสิร์ต โลกดนตรี โดยชุด ส้มตำ จัดสร้างขึ้นโดยคณะกรรมการจัดงานพระราชทาน เพลิงศพฯ มีคำบรรยายเกียรติประวัติพุ่มพวง และเพลงอย่าง ส้มตำ, กล่อม, ฉลองวันเศร้า, รักคุด, แล้วจะทนเพื่ออะไร, ของขวัญที่ฉันคืนเธอ, หัวใจทศกัณฐ์, เขานอนบ้านใน, หนูไม่รู้, แฟนพุ่มพวง เป็นต้น[6]

ผลงานอัลบั้มเพลงที่วางจำหน่ายเพื่อระลึกถึงพุ่มพวงเช่น คิดถึงพุ่มพวงและโลกของผึ้ง และยังมีเทปที่ทำเพื่อระลึกถึงการเสียชีวิตอย่างเช่น แหล่ประวัติพุ่มพวง ดวงจันทร์ โดยไวพจน์ เพชรสุพรรณ หนึ่งในดวงใจผลงานของยุ้ย โดยยุ้ย ญาติเยอะ (จริยา ปรีดากูล) เหลือแต่ดวงจันทร์ ที่ครูลพ บุรีรัตน์แต่งให้พุ่มพวง

 งานเพลงของศิลปินที่นำเพลงของพุ่มพวงมาขับร้องใหม่โดยเฉพาะนักร้องปัจจุบัน มีความแตกต่างกันด้วยจังหวะและระยะเวลาที่ต่างกันไป แกรมมีโกลด์นำผลงานของพุ่มพวงโดยเฉพาะทีประพันธ์โดยลพ บุรีรัตน์ ออกมาอยู่เรื่อยๆ มียอดขายประสบความสำเร็จอย่างดี มีผลงานออกมาอย่าง ดแค้นแ พุ่มพวง ในดวงใจ ชุดที่ 1 – 4 โดย ใหม่ เจริญปุระ , อัลบั้ม เพชร สรภพ - เพลงของแม่ ชุดที่ 1 (ชุดเดียว) กับเพลงเปิดตัว "โลกของ ผึ้ง" โดยดัดแปลงเนื้อร้องบางส่วนให้เหมาะสมกับการถ่ายทอดบทเพลง[9] อัลบั้ม ดวงจันทร์ ... กลางดวงใจ พุ่มพวง ดวงจันทร์ โดยมีศิลปินนักร้องลูกทุ่งสาวนำเพลงมาทำใหม่ ได้แก่ สุนารี ราชสีมา (เขานอนบ้านใน, นอนฟังเครื่องไฟ, ฉันเปล่านา เขามาเอง), คัฑลียา มารศรี (สาวนาสั่งแฟน, อายแสงนีออน, หัวใจทศกัณฐ์), ฝน ธนสุนทร (สุสนรัก, คิดถีงบ้างเน้อ, ขอให้โสดทีเถอะ), แมงปอ ชลธิชา (รักคุด, เงินน่ะมีไหม, อื้อฮือหล่อจัง) , หลิว อาจารียา (กระแซะ, หนูไม่รู้, ผู้ชายในฝัน), เอิร์น เดอะสตาร์ (พี่ไปดู หนูไปด้วย, นัดพบหน้าอำเภอ, โลกของผึ้ง), ต่าย อรทัย (แก้วรอพี่, นักร้องบ้านนอก, คืนนี้เมื่อปีกลาย) และตั๊กแตน ชลดา (ดาวเรืองดาวโรย, ตั๊กแตนผูกโบว์, อนิจจาทิงเจอร์) นอกจากนี้ทรูแฟนเทเชีย มีผลงานชุด 7 สาวสะบัดโชว์ ก็มีเพลงของพุ่มพวง ดวงจันทร์ คือ ผู้ชายในฝัน, อื้อฮือหล่อจัง อยู่ในอัลบั้มนี้

 

ภาพยนตร์และละคร

           ในปี พ.ศ. 2535 มีภาพยนตร์รำลึกถึงพุ่มพวง ดวงจันทร์กับเรื่อง บันทึกรักพุ่มพวง กำกับโดยดอกฟ้า ได้พุ่มพวง แจ่มจันทร์ แสดงเป็นพุ่มพวง ดวงจันทร์ โดยเป็นภาพยนตร์ที่เล่าชีวิตส่วนหนึ่งของชีวิตเธอ[10] ต่อมาในปี พ.ศ. 2541 บริษัท เจเอสแอลจำกัดได้ทำละครโทรทัศน์เรื่อง ราชินีลูกทุ่งพุ่มพวง ดวงจันทร์ ออกอากาศทางช่อง 7 ดัดแปลงจากชีวิตจริง ของพุ่มพวง ดวงจันทร์นำแสดงโดย รชนีกร พันธุ์มณี วรวุฒิ นิยมทรัพย์ ธีรเดช วงศ์พัวพันธ์ [11] โดยต้อม รัชนีกรได้รับการเข้าชื่อเพื่อชิงรางวัลโทรทัศน์ทองคำในฐานะดารานำฝ่ายหญิงดีเด่น

 

ในปี พ.ศ. 2554 สหมงคลฟิล์ม ได้สร้างภาพยนตร์เรื่อง พุ่มพวง[12] โดยนำเค้าโครงจากชีวิตจริงของพุ่มพวง ดวงจันทร์และหนังสือเรื่อง ดวงจันทร์ที่จากไป ของ บินหลา สันกาลาคีรี กำกับโดย บัณฑิต ทองดี นำแสดงโดย เปาวลี พรพิมล[13] แสดงเป็นพุ่มพวง ดวงจันทร์ ร่วมด้วย ณัฐวุฒิ สกิดใจ, วิทยา เจตะภัย, บุญโทน คนหนุ่ม

 

สื่อสิงพิมพ์

       ส่วนสื่อสิงพิมพ์ หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายสัปดาห์ เคยนำเสนอแฟชั่นหน้าคู่กลาง ราวปี 2538 เดือนมิถุนายน กับแนวความคิด “ชีวิตพุ่มพวง ดวงจันทร์” ใช้ “งานรำลึกพุ่มพวง ดวงจันทร์” มาเป็นฉากหลังของแฟชั่น มีนางแบบคือ ยุ้ย ญาติเยอะ ที่มีหน้าตาละม้ายพุ่มพวงและยังถือเป็นเงาเสียงของพุ่มพวงในสมัยประกวดคอนเสิร์ตคอนเทสต์ โดยจำลองชีวิตของพุ่มพวงตั้งแต่การออกจากโรงเรียนเพื่อทำงาน การเป็นสาวไร่อ้อย จนถึงนักร้อง โดยมีการใช้ภาพจริงประกอบ

 

หุ่นพุ่มพวง

          สำหรับหุ่นเหมือนพุ่มพวง ดวงจันทร์ ปัจจุบันมีอยู่ 7 หุ่น อยู่ที่วัดทับกระดาน 6 หุ่น ได้แก่ หุ่นที่ 1 ตั้งอยู่บริเวณสระกลางน้ำ แต่งกายชุดสีดำ เป็นหุ่นอภินิหาริย์ที่สร้างขึ้นหลังพระราชทานเพลิงศพ หุ่นที่ 2 อยู่ในตู้กระจก ยุ้ย ญาติเยอะ เป็นผู้สร้างไว้บูชาครูเพลงพุ่มพวง หุ่นที่ 3 สร้างโดยนายณรงค์ รอดเจริญ อดีตบรรณาธิการ เป็นหุ่นแก้บน ทำด้วยขี้ผึ้งแข็ง หุ่นที่ 4 เป็นสีชมพู สร้างขึ้นจากแฟนเพลง ที่เป็นหุ่นปลดนี้ รุ่นนางพญาเสือดาว หุ่นที่ 5 อยู่ในชุดเสวนาธรรม สร้างโดยญาติและกรรมการวัด หุ่นที่ 6 เป็นหุ่นสีทอง สร้างขึ้นโดยใหม่ เจริญปุระ สร้างขึ้นเพื่อบูชาครูเพลง[15] หุ่นพุ่มพวงที่วัดทับกระดานนั้น ยังมีชื่อเสียงเรื่องมีผู้นิยมมาขอหวยอย่างมากมาย[16] ส่วนหุ่นเหมือนพุ่มพวงตัวที่เจ็ดนั้น เป็นหุ่นชุดเสือดาว สร้างโดยพิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งมาดามทุซโซต์ เพื่อจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑ์สาขากรุงเทพ ชั้น 6 และ 7 สยามดิสคัฟเวอรี่เซ็นเตอร์ โดยพิพิธภัณฑ์มีกำหนดเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 4 ธันวาคม 2553 หุ่นเหมือนพุ่มพวงตัวนี้เป็นตัวแรกที่ผู้สร้างส่วนใหญ่เป็นชาวต่างประเทศ และเป็นหุ่นตัวแรกที่ไม่ได้ตั้ง ณ วัดทับกระดาน

 

การเชิดชูเกียรติ

        วันที่ 15 สิงหาคม 2552 กระทรวงวัฒนธรรม โดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิคัดเลือกปริยศิลปิน และปรมศิลปิน มีมติประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติ นายสุรพล สมบัติเจริญ และ พุ่มพวง ดวงจันทร์ หรือรำพึง จิตรหาญ เป็น "ปริยศิลปิน"[8] ศิลปินอันเป็นที่รักยิ่งของประชาชน โดยวันที่16 ส.ค. ซึ่งตรงกับวันเสียชีวิตของนายสุรพล สวช.จะมีพิธีมอบรางวัลยกย่องอย่างเป็นทางการให้แก่ครอบครัวสมบัติเจริญ ที่ศูนย์การค้าอินเดีย เอ็มโพเรียม กรุงเทพฯ หรือ ATM พาหุรัดเดิม ส่วนครอบครัวของพุ่มพวง ดวงจันทร์นั้น สวช.จะจัดพิธีมอบรางวัลยกย่องอย่างเป็นทางการในวันที่ 30 ส.ค.2552

  

กรณีข้อพิพาทหลังเสียชีวิต

         ไกรสรและญาติของพุ่มพวงเกิดความขัดแย้งกันอย่างหนัก มีการกล่าวหากันไปมาทั้งสองฝ่าย มีข้อมูลระบุว่า ไกรสรกลับไปคืนดีกับอดีตภรรยา ส่วนอีกฝ่ายหาว่าเรื่องทั้งหมดเกิดขึ้นเพราะทางฝ่ายญาติพุ่มพวงต้องการได้ส่วนแบ่งมรดกตกทอดทั้งหมด 80 ล้านบาท ต่อมานางเล็กยื่นขอเป็นผู้จัดการมรดกทั้งหมด แต่ต่อมาไกรสรยื่นคำร้องต่อศาลคัดค้าน และต่อมานายสำราญ (พ่อของพุ่มพวงซึ่งหย่าจากนางเล็กแล้ว) คัดค้านอดีตภรรยาเนื่องจาก นางเล็ก อ่านเขียนไม่ออก แต่ต่อมาถอนคำร้อง และศาลได้สั่งให้ไกรสรและนางเล็กเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกัน โดยทรัพย์สมบัติแบ่งออกเป็น 2 ส่วนเท่ากัน ส่วนแรกเป็นของไกรสร อีกส่วนเป็นกองกลาง ซึ่งมีเจ้าของ 4 คนคือ นายสำราญ นางเล็ก ไกรสร และลูกชาย สันติภาพ ทุกคนจะได้รับเท่ากันในส่วนนี้ แต่หากพบว่าสมบัติใดพบหลังการแบ่งแล้ว จะยกให้สันติภาพเพียงผู้เดียว

 

แหล่งข้อมูล

https://bit.ly/3p0e1PI

 

 

 

 


 


 

 

โพสต์เมื่อ 25th November โดย การให้วิทยาทาน คือการให้สูงสุด

หมายเลขบันทึก: 693553เขียนเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2021 04:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2021 04:31 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท