เรามาฝึกคิดแบบ Three-track Mind กัน


สวัสดีค่ะผู้เข้าชมทุกท่าน วันนี้เราจะมาลองตั้งคำถามง่ายๆเพื่อนำไปสู่การคิดแก้ปัญหาด้วยหลักการคิดอย่างเป็นระบบ 3 ข้อเท่านั้น 

เรามาดูตัวอย่างนี้กันเลยย

จากภาพข้างต้นแสดงถึงประชากรในประเทศสหรัฐอเมริกาที่ติดอันดับ 10 ของฆ่าตัวตาย และเราจะนำข้อมูลนี้มาใช้ในหลักการ TTM กัน วันนี้ทางผู้เขียนได้ฝึกการคิดตามหลักการซึ่งได้ทั้งหมดมา 3 หัวข้อดังนี้

  1. Interactive reasoning(Why)ทำไมคนอเมริกา 90% ถึงฆ่าตัวตายสำเร็จจากปัญหาสุขภาพทางจิต
  2. Conditional reasoning(Because of) เพราะความเครียดสะสมจนเกิดโรคซึมเศร้าซึ่งในแต่ละวันพบว่ามีการฆ่าตัวตายสำเร็จ 132 คนและอีก 1.4 ล้านคน มีความคิดที่พยายามฆ่าตัวตายซึ่งทั้ง 2 มีความสัมพันธ์กัน จากการศึกษาพบว่า 1 ใน 3 ของคนที่ฆ่าตัวตายสำเร็จมาจากกลุ่มที่มีความคิดพยายามฆ่าตัวตายมาก่อน  ดังนั้นเราควรมีวิธีจัดการกับปัญหาความเครียดสะสมเพื่อลดการลดปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้ดังนี้
  3. Procedural reasoning(How to) จะทำอย่างไรเมื่อเรามีความเครียดนี้ขั้นแรกให้เราวิเคราะห์หาสาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียด ดูว่าสามารถแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุได้หรือไม่ หากแก้ไขไม่ได้อาจต้องขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นเพื่อแก้ไขปัญหา เพราะบางครั้งปัญหานั้นอาจไม่ได้เกิดจากเราเพียงคนเดียว อาจขอคำปรึกษาจากคนที่ไว้ใจ ขั้นที่สองทำการผ่อนคลายทางร่างกาย เช่น การหายใจลึกๆ การออกกำลังกาย การนวด การพักผ่อนให้เพียงพอ การรับประทานอาหารครบ 5 หมู่ หรือการอาบน้ำอุ่น ขั้นที่สามจขัดความตึงเครียดทางจิตใจ เช่น การดูภาพยนตร์ ฟังเพลง การหัวเราะสร้างอารมณ์ขันให้ตัวเอง การคิดในแง่บวก การทำสมาธิ การระบายความเครียดด้วยการพูดคุยกับคนที่สนิท เป็นต้น

ลองอีกข้อน้าา

Why

  ทำไมในปี 2017ทหารผ่านศึกในอเมริกาจึงมีอัตราการฆ่าตัวตายสูง

Because of

  เพราะสุขภาพจิตของทหารผ่านศึกมีความเสี่ยงต่อการป่วยทางจิตมากที่สุด การได้รับแรงกดดันจากการสู้รบ ชีวิตที่เสี่ยงเป็นเสี่ยงตาย หากทหารเหล่านั้นไม่สามารถปรับตัวจากสถานการณ์เหล่านี้ได้ มักจะเกิดอาการทางจิตที่เรียกว่า Shell Shock เป็นอาการทางจิตที่เกิดจากการสะสมความเครียด ความกดดันในสงคราม ซึ่งมักเกิดกับทหารใหม่ที่มีประสบการณ์น้อยหรือบุคคลที่จิตใจไม่แข็งแรงพอ และจากการศึกษาเพิ่มเติมพบว่าการที่ทหารผ่านศึกของอเมริกาฆ่าตัวตายด้วยอาวุธปืนเนื่องจากทหารเหล่านั้นไม่ได้เข้ารับคำปรึกษาความเครียด การตรวจสุขภาพจิตหรือดูแลบำบัดด้านจิตเวชจึงใช้อาวุธปืนปลิดชีพตัวเอง

How to

  ดังนั้นในการป้องกันเบื้องต้นให้เริ่มจากตัวบุคคล หากพบว่าตนเองมีอาการทางจิตให้รีบปรึกษาทีมสุขภาพจิตโดยเร็ว เพื่อจะได้รับการเสริมสร้างสุขภาวะทางกายที่ดีแล้วยังควบคู่ไปกับการเสริมแรงด้านจิตใจด้วย เริ่มรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ความหวังเพิ่มขึ้น และสามารถเป็นเหตุผลของการมีชีวิตอยู่ด้วยสร้างความสุขด้วยตัวเองได้ตามบริบทที่เป็นอยู่ และในส่วนของภาครัฐจัดให้มีระบบบริการดู ช่วยเหลือฟื้นฟูจิตใจอย่างต่อเนื่อง จากการศึกษาพบว่า หลังจากในปี 2017 ที่ทหารผ่านศึกฆ่าตัวตายเยอะขึ้นทำให้รัฐบาลสหรัฐฯพยายามแก้ปัญหานี้ด้วยการทุ่มงบประมาณเพื่อการรักษาและจัดตั้งหน่วยงานช่วยเหลือทหารผ่านศึก รวมถึงใช้กลยุทธ์ดึงองค์กรต่างๆ ตั้งแต่ระดับชุมชน องค์กรด้านศาสนา โรงเรียน สถานที่ทำงานและหน่วยงานสาธารณสุขเข้ามามีส่วนร่วมช่วยเหลือเยียวยาสภาพจิตใจของเหล่าทหารผ่านศึกซึ่งได้รับการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นและอัตราการฆ่าตัวตายของเหล่าทหารผ่านศึกก็ลดลงเล็กน้อย 

จากภาพคือขั้นตอนการเข้าหาผู้ที่มีความคิดฆ่าตัวตายที่ควร/ไม่ควรปฎิบัติ

  1. ทำไมเราต้องรู้จักวิธีการพูดกับคนที่มีความคิดจะฆ่าตัวตาย
  2. เพราะบางประโยคที่ปลอบใจมันอ่อนไหวต่อหัวใจคนฟังเนื่องจากคนที่คิดจะฆ่าตัวตายพื้นเดิมมีอาการโรคซึมเศร้าหรือโรคทางอารมณ์ซึ่งอาการของโรคมักเริ่มจากอาการเล็กน้อย สะสมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆหรืออย่างรวดเร็วได้โรคนี้เกิดจากการแปรปรวนของสารสื่อนำประสาท ที่สามารถแก้ไขได้ด้วยยารักษาโรคซึมเศร้า  ร้อยละ 80 หายได้เหมือนคนปกติเมื่อได้รับยาร่วมกับการรักษาทางจิตใจ
  3. สำหรับวิธีการพูดกับผู้ที่มีความคิดจะฆ่าตัวตาย โดยถามคนๆ นั้นโดยตรงว่าเขา (1)มีความคิด/ความคิดฆ่าตัวตาย (2) มีแผนที่จะทำเช่นนั้นอย่างไร และ (3) วิธีการที่ทำให้เกิดการตายได้
  • "คุณกำลังคิดฆ่าตัวตายหรือไม่"
  • "คุณเคยพยายามทำร้ายตัวเองมาก่อนหรือไม่"
  • "คุณคิดว่าคุณจะพยายามทำร้ายตัวเองในวันนี้หรือไม่"
  • "คุณเคยคิดหาวิธีทำร้ายตัวเองบ้างไหม"
  • "คุณมีสารเสพติด/อาวุธในบ้านหรือไม่"

จากคำถามข้างต้นนี้จะไม่ไปเพิ่มความคิดฆ่าตัวตายของบุคคลนั้น  แต่มันจะทำให้ทราบถึงความต้องการของบุคคลนั้นที่คิดจะฆ่าตัวตายมากน้อยเพียงใด

จากหลักการของ TTM นี้ทำให้เราได้เกิดหลักการความคิดอย่างมีเหตุมีผลและทราบถึงปัญหาของเหตุได้อย่างชัดเจนซึ่งแบบบันทึกนี้ทางผู้เขียนจัดทำขึ้นเพื่อ reflection จากการเรียนวิชา 229 การสังเกตทางคลินิกในสาขาวิชากิจกรรมบำบัด หากผิดพลาดประการใดขออภัยมา ณ ทีนี้ด้วย ขอบคุณค่ะ ^_^

อ้างอิง
 https://www.goodtherapy.org/blog/talking-and-writing-about-suicide-why-it-matters-what-to-say-0529177

https://afsp.org/suicide-statistics/

 

หมายเลขบันทึก: 692231เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2021 22:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 กันยายน 2021 17:33 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท