บทบาทนักกิจกรรมบำบัดในการให้คำปรึกษา ผู้ป่วยกลัวการกลืนใน 21 วัน โดย น.ศ.กิจกรรมบำบัดอยุทธ์เจตน์


      นักกิจกรรมบำบัดนั้นมีหน้าที่และเทคนิคในการบำบัดผู้เข้ารับบริการหลากหลายรูปแบบรวมถึงการให้คำปรึกษาแก่ผู้เข้ารับบริการในการคลายความกังวลหรือร่วมกันคิดหาวิธีแก้ปัญหาที่กำลังเผชิญ แต่ไม่ว่าในทางใดเป้าหมายสูงสุดของนักกิจกรรมบำบัดนั้นก็คือการช่วยเหลือให้ผู้รับบริการมีสุขภาวะที่ดีมีความสุขในการดำเนินชีวิตประจำวันด้วยตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และในบทความนี้จะกล่าวถึง “บทบาทนักกิจกรรมบำบัดในการให้คำปรึกษาผู้ป่วยกลัวการกลืนใน21วัน”

         ความกลัวนั้นคือความรู้สึกไม่ดี วิตกกังวล หรือไม่สบายใจโดยเกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง ในผู้รับบริการที่ถึงแม้จะสามารถทำการฝึกกลืนได้แล้วแต่ยังคงมีความกลัวในการกลืนอยู่นั้นอาจเกิดจากจิตที่ป่วยเพราะผู้รับบริการกำลังรับรู้สึกนึกคิดจำอารมณ์ให้ยึดติดกับชีวิต เช่น
ยึดติดจำอารมณ์ความไม่สบายกายในตอนที่กลืนแล้วสำลัก ความรู้สึกอึดอัดหายใจไม่ออก ส่งผลให้มีความกลัวและไม่กล้าในการกลืนผู้บำบัดต้องส่งเสริมให้ผู้รับบริการควบคุมและระบายอารมณ์ออกมาให้หมด กล้าที่จะเรียนรู้ ทดลองสิ่งใหม่ๆ มองข้อผิดพลาดเป็นบทเรียน ละทิ้งอดีต และให้ภาวนา ป่วยแต่กาย ใจไม่ป่วยจะช่วยบรรเทาความกลัวในใจของผู้รับบริการ

       ในครั้งแรกที่ผู้บำบัดได้พบกับผู้รับบริการนั้นควรสร้างสัมพันธภาพที่ดีด้วยความรักและเข้าใจ สบตาผู้รับบริการอยู่เสมอตามหลักกิจกรรมการดพเนินชีวิตจิตเมตตานำพาสุขภาวะ จากนั้นนำพาความคิดบวกด้วยท่าทาง สีหน้า น้ำเสียง 
พูดกับตัวเองในจิตใจให้เชื่อมั่นว่าตนเองสามารถออกแบบกิจกรรมความสุขด้วยตัวเองเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับผู้รับบริการได้จากนั้นทำการพูดคุยให้คำปรึกษาผู้รับบริการและทำการประเมินเพื่อหาสาเหตุเเห่งความกลัวนั้นด้วยความเข้าใจอย่างมีเมตตากรุณาผ่านการสัมภาษณ์ด้วยเทคนิคMI (Motivational interviewing)จะช่วยให้ผู้บำบัดและผู้รับบริการสามารถค้นหาสาเหตุของปัญหาที่กำลังเผชิญ ส่งผลให้ผู้รับบริการลดความกลัว เพิ่มความกล้าเนื่องจากเห็นถึงต้นเหตุของความกลัวนี้ นอกจากนี้ผู้บำบัดยังใช้การสัมภาษณ์ในการสร้างแรงจูงใจและค้นหาคุณค่าภายในตัวผู้รับบริการเอง
หากผู้รับบริการยังคงหมกหมุ่นอยู่กับความกลัวจากในอดีต ให้ผู้บำบัดแสดงบทบาทเป็นผู้ให้คำปรึกษา COUNSELLOR เพื่อช่วยแยกแยะปัญหาชีวิตและรับฟัวรวมถึงชี้นำให้ผู้นับบริการแก้ไขปัญหาด้วยตัวเองอย่างชัดเจน ตั้งแต่เริ่มต้นจัดการปัญหาได้, เข้าใจความรู้สึกของตนเองในปัจจุบัน, เห็นอกเห็นใจผู้อื่น, นำพาชีวิตตนให้ดีขึ้นได้และแก้ปัญหาด้วยตนเองโดยที่ผู้บำบัดไม่ได้ช่วยเหลือโดยตรงและอาจมีการใช้เทคนิคสัมภาษณ์แบบCBT(Cognitive Behavior Therapy)ร่วมด้วยเพื่อเป็นการcognitive restructingซึ่งจะใช้การประเมินทักษะเพื่อเน้นการแสดงออกแห่งตน(Self expression)ผ่านกิจกรรมวาดภาพอย่างมีเเก่นเรื่อง(Thematic drawing) เพื่อรับรู้แนวทางการประเมินโดยสื่อความหมายแบบอวัจนภาษา
มีขั้นตอนดังนี้
1.ผู้บำบัดแนะนำตัวและถามชื่อผู้รับบริการด้วยความสุภาพจากนั้นเชิญผู้รับบริการทำกิจกรรมสื่อสารด้วยการวาดภาพ ถ้าหากผู้รับบริการพูดว่า วาดไม่ได้ กลัวไม่สวย ให้ผู้บำบัดบอกว่าให้ลองวาดดูก่อน ไม่สวยไม่เป็นไร วาดภาพตามที่บอก
 

2.ผู้บำบัดวางกระดาษขนาดA4พร้อมดินสอให้ผู้รับบริการและบอกว่า ให้ใช้ดินสอวาดภาพสิ่งที่ประทับใจ เช่น ตัวผู้รับบริการที่มีความสุข หรือ สถานที่ที่ชอบ และอื่นๆ
 

3.เมื่อผู้รับบริการหยุดวาดให้ถามว่า เสร็จแล้วหรือ ถ้าใช่ให้ผู้รับบริการลงชื่อวันที่และเวลาที่ใช้ในการวาดรูป ถ้ายังไม่เสร็จให้ผู้รับบริการวาดต่อไปจนเสร็จ
 

4.ขอให้ผู้รับบริการเล่าเกี่ยวกับภาพว่าสิ่งที่อยู่ในภาพนี้คืออะไร อยู่ที่ไหนในช่วงเวลาใด และที่สำคัญคือภาพนี้ทำให้คุณคิดถึงอะไร
 

5.ผู้บำบัดขออณุญาตผู้รับบริการในการจดบันทึกคำสำคัญระหว่างการเล่าเรื่องจากภาพของผู้รับบริการและประเมินกระบวนการคิด รับรู้ คำพูดโดยอ้างอิงจากMeta modelได้แก่ เรื่องที่ผู้รับบริการเล่านี้นมีภาพรวมคิดถึงอะไรมากกว่าระหว่างตนเองหรือผู้อื่น สะท้อนปัญหาชีวิตที่พบเจอหรือไม่ คำพูดย้อนคิดบวกหรือคิดลบตามโจทย์ พูดถึงนิสัยส่วนตัวหรือไม่ โดยที่ผู้รับบริการต้องสังเกตุสีหน้าท่าทางการให้ความร่ววมือของผู้รับบริการตลอดการทำกิจกรรม
ซึ่งถ้าหากผู้รับบริการไม่ชอบการวาด สามารถใช้การปนะเมินผ่านกิจกรรมปั้นดินอย่างอิสระได้
ซึ่งทั้งนี้การพูดคุยให้คำปรึกษาและสัมภาษณ์ตั้งแต่การพบเจอกันครั้งแรกของผู้บำบัดและผู้รับบริการนั้นควรให้ความสำคัญกับความเข้าใจในตัวของผู้รับบริการเป็นอย่างมากให้เกิดเป็นEmpathy ก็จะช่วยให้ผู้บำบัดมองเห็นสาเหตุของปัญหาที่ผู้รับบริการเผชิญอยู่ในปัจจุบันได้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยที่ในกรณีนี้จะขอระบุว่าหลังจากการประเมินผู้รับบริการมีความกลัวในการกลืนนี้มีสาเหตุจากความรู้สึกกลัวในการสำลักเนื่องจากการฝึกกลืนในช่วงแรกหลังจากการฟื้นฟูสมรรถภาพนั้นเคยสำลักครั้งนึงแล้วหายใจไม่ออกรู้สึกเหมือนจะตาย จึงก่อให้เกิดเป็นความกลัวในการกลืนขึ้นมา

ผมจึงได้จัดตาราง “บทบาทนักกิจกรรมบำบัดในการให้คำปรึกษาผู้ป่วยกลัวการกลืนได้ใน21วันทำอย่างไร” โดยให้คำปรึกษารวมถึงHome program(มีการพบนักกิจกรรมบำบัดสัปดาห์ละ3ครั้งในการฝึกกระตุ้นการกลืน, ฝึกความแข็งแรงองค์ประกอบของกล้ามเนื้อต่างๆที่ใช้ในการกลืนและการDesensitizationในกรณีhypersense) ดังนี้

ในทุกๆวันในตอนเช้าก่อนมื้ออาหารให้ผู้รับบริการหลับตา หายใจเข้าออกอย่างช้าๆ สงบจิตใจให้นิ่งคิดหาคำตอบในใจของตนเองว่า“เรากังวลเรื่องอะไร ถ้าไม่ได้กังวล เรามั่นใจอะไร”เป็นเวลา 3นาที จากนั้นลืมตาขึ้นให้เขียนตอบปัญหาที่คิดและวิธีเรียนรู้แก้ไขปัญหานั้นอย่างไรเป็นเวลา 5นาที ถ้าหากหาคำตอบของปัญหาไม่ได้ ให้ผู้รับบริการทำกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวร่างกายทุกๆ 30นาทีตลอดวัน เช่น  เดิน เต้น วาดรูป
และทุกวันหลังจากเสร็จสิ้นมื้ออาหารเย็นผู้บำบัดจะทำการติดต่อสนทนากับผู้รับบริการผ่านทางแชทไลน์ การโทรคุย หรือการวิดีโอคอล เพื่อประเมินผู้รับบริการจากทาง การเลือกใช้คำพูดสีหน้า ท่าทาง น้ำเสียง และให้เทคนิคหรือข้อมูลเพิ่มเติมจากการฟีดแบคจากผู้รับบริการเอง
และเก็บข้อมูลนำมาประเมินซ้ำว่าเทคนิคที่ใช้อยู่นั้นส่งผลประโยชน์หรือไม่หรือควรลดเทคนิคใด

วันที่1-วันที่3                                                                                                                                                        ก่อนมื้ออาหารทั้ง3มื้อ 
เช้า กลางวัน เย็น
ผู้บำบัดส่งเสริมการ “กายป่วยแต่ใจไม่ป่วย”ให้กับผู้บำบัดด้วยการให้ผู้รับบริการภาวนากับตัวเองว่า 

“ป่วยแต่กาย ใจไม่ป่วย” สงบนิ่งเป็นเวลา3 นาที ผู้รับบริการอาจสอบถามผู้บำบัดว่า
ทำอย่างไรถึงจะลดความตื่นกลัวได้?
ให้ผู้บำบัดแนะนำว่า ให้ผู้รับบริการมองตรง หายใจเข้าลึกๆให้เต็มปอดจนถึงท้อง จากนั้นกลั้นหายใจ นับถอยหลังในใจตั้งแต่10จนถึง1 และออกเสียงกับตัวเองดังๆว่า มั่นใจ ทำได้ จากนั้นหลับตาทำสมาธิ มือสัมผัสการเต้นหัวใจของตัวเองเป็นเวลา 30วินาที 
ที่ให้เทคนิคนี้เพราะในช่วงแรกของการคลายความรู้สึกกลัวของผู้รับบริการนั้นยังคงเป็นไปได้ลำบากเนื่องจากมีความรู้สึกกลัวนั้นสะสมอยู่มากมาเป็นเวลานานในช่วงวันที่1-วันที่3จึงควรเน้นให้ผู้รับบริการสามารถรับรู้อารมณ์ของตัวเองและผ่อนคลายอารมณ์ให้ได้มากที่สุด

วันที่4-วันที่6                                                                                                                                                        ก่อนมื้ออาหารทั้ง3มื้อ
เช้า กลางวัน เย็น 
ให้ผู้รับบริการทำการฝึกทักษะการจัดการความกังวลด้วยการขยับร่างกายให้เดินเร็วและช้าสลับกันเป็นเวลา3-6นาที จากนั้นพักหายใจเข้า-ออกยาวๆ 20 ครั้ง ต่อด้วยหายใจเข้าลึกและหายใจออกเปล่งเสียง อา ยาวๆดังๆ เมื่อรู้สึกสดชื่นและมีความกังวลลดลงแล้วจึงเริ่มกิจกรรมการทานอาหาร
ที่ใช้เทคนิคการจัดการความกังวลนั้นเพราะว่าหลังจากที่จัดการกับความกลัวได้นั้นภายในใจลึกๆมักจะมีความกังวลที่ค้างคาใจอยู่ อาจอยู่ในรูปของคำถามในหัวผู้รับบริการว่า “จะไม่เป็นอะไรแล้วจริงหรือ” วนเวียนอยู่ในหัวซ้ำไปมา
ซึ่งจะขัดขวางการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมใหม่ไปในทางที่ดีของผู้รับบริการ จึงต้องใช้เทคนิคจัดการความกังวลหลังจากที่จัดการความกลัวได้แล้ว

วันที่7-วันที่9                                                                                                                                                          หลังมื้ออาหาร
เช้า กลางวัน เย็น
ให้ผู้บำบัดติดต่อสนทนากับผู้รับบริการเพื่อประเมินการคิดเชิงระบบโดยอ้างอิงMoHo และMeta model เพื่อลดความคิดเชิงลบและให้ผู้รับบริการค้นหาแรงจูงใจภายในจิตสำนึกของตนในการทำกิจกรรมใหม่ๆด้วยคำถามเพื่อประเมินระบบย่อยเจตจำนงค์และพฤตินิสัย ตัวอย่างคำถามเช่น
คุณคิดอย่างไรเมื่อทำสิ่งใหม่ จะประสบผลสำเร็จมั้ย? หรือ ในเวลาว่างคุณทำอะไรเป็นประจำโดยที่ผู้ประเมินอาจปรับกระบวนการสัมภาษณ์ไม่ให้น่าเบื่อจากการพูดคุยเพียงอย่างเดียวโดยเปลี่ยนเป็นการเขียนตอบบางคำถามเช่น ให้เขียนกิจกรรมที่คุณต้องทำกับอยากทำแต่ไม่ได่ทำสำหรับตัวคุณเอง
ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจให้ผู้รับบริการพร้อมที่จะฝึกการทำกิจกรรมการกลืนในระดับที่สูงขึ้น
 

และในวันที่7,14 (ทุกๆ1สัปดาห์ในช่วง21วันของการให้คำปรึกษาเพื่อการบำบัด)
หลังจากมื้ออาหารเย็นในวันนั้นผู้บำบัดจะทำการนัดหมายผู้รับบริการในการโทรแบบวิดีโอเพื่อการพูดคุยแลกเปลี่ยนปรึกษาเทคนิคและความเป็นไปของชีวิตในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาผู้บำบัดขออณุญาติจดบันทึกคำสำคัญในบทสนทนากับผู้รับบริการและสังเกตุสีหน้า น้ำเสียง ท่าทางระหว่างการสนทนา และให้ผู้รับบริการทำการฟีดแบคตนเองในช่วง1สัปดาห์ที่ผ่านมาว่า รู้สึกเป็นอย่างไรบ้าง เทคนิคที่ผู้บำบัดสอนหรือแนะนำให้ผลเป็นอย่างไร ตนเองรู้สึกว่าสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้อย่างไรบ้าง

วันที่10-วันที่12 
ก่อนมื้ออาหาร
เช้า กลางวัน เย็น
ให้ผู้รับบริการใช้นิ้วโป้งสัมผัสข้อต่อของขากรรไกร ดันนิ้วชี้ไปยังปลายคาง ขยับนิ้วโป้งและนิ้วชี้ ก้มคอเล็กน้อยกลอกตาลงมองพื้น กลืนน้ำลายจากนั้นเงยหน้าตรง ทำการกระตุ้นน้ำลายต่อด้วยการใช้ช้อนสแตนเลสจุ่มน้ำอุ่น 5วินาที
นำหลังช้อนมาแตะนวดปลายลิ้นจากซีกถนัดไปยังอีกซีกหนึ่ง นำช้อนออก แลบลิ้นแตะริมฝีปากล่าง ปิดปาก กลืนน้ำลาย แลบลิ้นแตะริมฝีปากบน ปิดปาก กลืนน้ำลาย จากนั่นเป่าลมแรงๆออกจากปากสามครั้ง ช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองกับจิตทำให้บริโภคอย่างมีสติสัมปชัญญะ
โดยใช้กิจกรรมนี้เพื่อลดภาวะเครียดสะสมที่ส่งผลให้ร่างกายและจิตใจอ่อนล้าที่อาจมาจากชีวิตประจำวันหรือการฝึกในช่วง9วันที่ผ่านมาอีกทั้งยังช่วยกระตุ้นน้ำลายในการช่วยในการกลืนอีกด้วย

วันที่13-วันที่15
หลังมื้ออาหาร
เช้า กลางวัน เย็น
ผู้บำบัดพูดคุยกับผู้รับบริการโดยประเมินผู้รับบริการผ่านการตั้งคำถามให้ผู้รับบริการเกิดการเรียนรู้ระบบย่อยความสามารถของตนเอง(Performance subsystem)อ้างอิงจากMoHo modelและMeta model
ตัวอย่างคำถามเช่น
คุณเคลื่อนไหวตัวเองหรือวัตถุในกิจวัตรประจำวันได้ดีเยี่ยมหรือไม่? อะไรคืออุปสรรคที่คุณอยากฝืนหรือสู้เพื่อการพัฒนาศักยภาพในตนเอง? ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้อนกลับข้อมูลในจิตใต้สำนึกและสะท้อนคิดจิตใต้สำนึกของตัวผู้รับบริการที่หลากหลายให้เกิดการกระทำที่จัดระบบที่ไหลลื่น ส่งเสริมให้สมรรถนะ4ระบบของร่างกาย ได้แก่ กระดูกกลัามเนื้อ, ประสาท, หัวใจปอด และ จินตภาพหรือสัญลักษณ์ที่ตั้งใจพัฒนาศักยภาพแห่งตน ทำงานร่วมกันอย่างสมดุล
โดยใช้เทคนิคการประเมินผ่านการถามคำถามนี้เพราะต้องการให้ผู้รับบริการรับรู้ถึงศักยภาพของตนเองรวมถึงความตั้งใจช่วยเสริมให้ระบบร่างกายทำงานอย่างสมดุลและมีความพร้อมสำหรับการฝึกในช่วงท้ายนี้เพื่อพัฒนาศักยภาพของตนเองในการกลับไปดำรงชีวิตด้วยตนเองอย่างอิสระ

วันที่16-20
ก่อนมื้อเช้า
หลังตื่นนอนให้ผู้รับบริการทบทวนรูปแบบการดำเนินชีวิตที่ได้ใช้เมื่อวานว่ามีความกังวลเยอะหรือไม่ที่ทำให้พูดกับตัวเองว่ากลัวทำไม่ได้ถ้าหากทำแล้วอาจแย่ลง ถ้าหากมีให้ผู้รับบริการหายใจเข้าลึกและหายใจออกแรงได้ยินเสียง
และพูดกับตัวเองอย่างชัดเจนว่า
“ความกลัวเป็นเรื่องธรรมชาติ มนุษย์หยุดกลัวไม่ได้ แต่เราสามารถเอาชนะความกลัวนั้นได้”
ให้ประเมินตนเองว่ามีความกลัวหรือกังวลนั้นอยู่ที่ระดับเท่าไหร่จาก1-10
จากนั้นให้เป่าลมหายใจออกทางปากยาวๆเป็นจำนวนรอบเท่ากับระดับความกลัวนั้น
เช่น กลัวระดับ7 ให้เป่าลมหายใจออกทางปากยาวๆ7รอบ

หลังมื้อเที่ยง
ให้ผู้รับบริการทำสิ่งง่ายๆที่ทำแล้วมีความสุขหรือสิ่งที่ถนัด เช่น เล่นดนตรี เล่นกีฬา รดน้ำต้นไม้ จัดสวน ให้ทำอย่างน้อย2-3กิจกรรม 
โดยให้ทำกิจกรรมที่ตนทำแล้วมีความสุขนี่อย่างช้าๆเพื่อเป็นการผ่อนคลายใช้เวลาประมาน 90นาทีหรือ 1ชั่วโมงครึ่ง

หลังมื้อเย็น
ให้ผู้รับบริการกล่าวขอบคุณตนเองที่สามารถดำเนินการใช้ชีวิตในวันนี้ได้ตามแผนที่วางไว้
จากนั้นให้ผู้รับบริการนั่งอยู่ในท่าที่สบายกระพริบตาช้าๆ20ครั้ง หายใจเข้าทางจมูกลึกๆแล้วกลั้นหายใจค้างไว้ นับเลขในใจตั้งแต่เลข1-10และหายใจออกทางจมูกยาวๆ ช่วยให้รู้สึกสดชื่นผ่อนคลาย

ที่ใช้เทคนิคเหล่านี้ในช่วงวันดังกล่าวเพราะนี่ถือเป็นช่วงสุดท้ายก่อนที่จะครบกำหนด21วันในการให้คำปรึกษาของนักกิจกรรมบำบัดซึ่งในช่วงนี้ผู้รับบริการน่าจะสามารถก้าวผ่านความกลัวการกลืนของตนเองเองได้แล้วและมีทักษะในการทำกิจกรรมการกลืนได้ใกล้เคียงสมบูรณ์ผมจึงอยากจะมุ้งเน้นส่งเสริมความเป็นระเบียของสภาพจิตใจของผู้รับบริการให้มีจิตใจและอารมณ์ที่สงบความคิดเป็นธรรมชาติมีชีวิตชีวาและดำเนินชีวิตประจำวันนด้วยตนเองอย่างเป็นระบบ

วันที่21
หลังมื้อเช้า
ให้ผู้รับบริการลองหากิจกรรมใหม่ๆที่ไม่เคยทำมาก่อนและลงมือทำให้จบทีละหนึ่งงาน
จากนั้นหาเวลาว่างคิดทบทวนตนเองมองหาข้อปรับปรุงแก้ไขเปลี่ยนคำพูดลบให้กลายเป็นบวก และพูดเตทอนกับตนเองเช่น ยากหรือทำไม่ได้เป็น “ฉันทำได้”
เกิดการมีสติมั่นใจในตนเอง

หลังมื้อเที่ยง
ให้ผู้รับบริการฝึกการคิดวิเคราะห์ประโยชน์และโทษของอารมณ์ลบด้วยการจินตนาการเอาใจเขามาใส่ใจเรา คิดสลับตัวเองเป็นผู้อื่นจากนั้นคิดทบทวนเพื่อลดความหวังที่มีมากไปที่นำมาซึ่งความผิดหวังและความโกรธกับคนรอบตัวเรา เปิดใจยอมรับในข้อผิดพลาดของตัวเองและผู้อื่น
เป็นการเสริมสร้างเมตตาจิตฟื้นฟูให้กลับมาดูแลจิตใจของตนเอง

หลังมื้อเย็น
ผู้บำบัดโทรติดต่อผู้รับบริการด้วยวิธีวิดีโอคอล
พูดคุยทักทายอย่างสุภาพสอบถามความเป็นอยู่ของผู้รับบริการ ความรู้สึกและปัญหาที่พบจากนั้นให้ผู้รับบริการฟีดแบคตนเองในช่วง21วันที่ผ่านมาว่ามีพัฒนาการเป็นอย่างไรบ้างพบอุปสรรคอะไรและใช้วิธีใดในการจัดการกับอุปสรรคนั้นหากผู้รับบริการมีเรื่องต้องการปรึกษาเพิ่มเติมให้ผู้บำบัดให้คำปรึกษารวมถึงเทคนิคช่วยในการจัดการอุปสรรคนั้นๆ
เมื่อให้คำแนะนำเสร็จแล้วผู้บำบัดจะสอนเทคนิคเพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตของตัวผู้รับบริการอีกหนึ่งวิธี ดังนี้
1.หายใจเข้าออกทางจมูกแบบคิดน้อยๆจนกระทั่งหยุดคิดเป็นเวลา 3นาที
2.ใช้มือซ้ายคลุมนิ้วโป้งขวาแล้วถามตอบในใจ กำลังกังวลอะไร
3.คลุมนิ้วชี้ขวา กำลังกลัวอะไร
4.คลุมนิ้วกลางขวา กำลังหงุดหงิดอะไร
5.คลุมนิ้วนางขวา กำลังเสียใจอะไร
6.คลุมนิ้วก้อยขวา กำลังทำอะไร เพื่ออะไร
7.หายใจเข้าลึกๆอย่างช้าๆนับ1จากนั้นหายใจออกยาวๆนับ2 จนนับถึง10
8.จากนั้นทำการนับย้อนหลังคือ หายใจเข้าลึกๆอย่างช้าๆนับ10 และหายใจออกยาวๆนับ9 จนนับถึง1
เป็นวิธีการที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพจิตช่วยให้ผ่อนคลายลดความเครียดวิตกกังวล
ซึ่งในวันสุดท้ายนี้เลือกใช้เทคนิคเหล่านี้เพราะ
เป็นวันสุดท้ายในการให้คำปรึกษาผู้รับบริการรายนี้จึงมุ่งเน้นส่งเสริมความเป็นธรรมชาติของการเป็นมนุษย์ซึ่งสามารถเข้าร่วมใช้ชีวิตอย่างคล่องแคล่วด้วยการไม่ยึดติดกับความสุข
และให้เทคนิคผ่อนคลายความเครียดส่งเสริมสุขภาพจิตที่สามารถทำได้ง่ายๆไม่ซับซ้อนซึ่งผู้รับบริการสามารถจำไปทำในชีวิตประจำวันได้

และนี่คือบทบาทนักกิจกรรมบำบัดในการให้คำปรึกษาผู้ป่วยกลัวการกลืนได้ใน21วันทำอย่างไร
ในความเข้าใจของผมโดยการอ้างอิงข้อมูลและเนื้อหาจากหนังสือกิจกรรมการดำเนินชีวิตจิตเมตตา                                 โดย ผศ.ดร.ก.บ. ศุภลักษณ์ เข็มทอง
ในบทสมดุลสมองเพื่อการบำบัดและการเอาใจใส่เพื่อการบำบัด
ขอขอบคุณสำหรับข้อชี้แนะและหากผิดพลาดประการใดขออภัยไว้ ณ ที่นี้ ขอบคุณครับ

หมายเลขบันทึก: 692229เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2021 21:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 กันยายน 2021 11:27 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท