“ปาฏิหาริย์พระคุณแม่”


ท่านยกตัวอย่างคำว่า “แม่” บางคนได้ยินคำนี้นี่น้ำตาไหลเลย คนไหนที่ครอบครัวเลี้ยงมาดี อีกตัวเองก็มีความรักผูกพันกตัญญูรู้คุณแม่มากๆ ได้ยินคำว่าแม่ปั๊บนี่ คำสั้นๆแต่ซาบซึ้งใจมาก พอได้ยินคำว่าแม่ปุ๊บ ตัวเองไม่กล้าทำอะไรนอกลู่นอกทางเลย

วันก่อนฟังพอดแคสต์ธรรมมะทันโลกของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตโต) ตอน ตั้งศูนย์ให้ดุลไว้ อย่าให้เลยเถิดเตลิดไป มีอยู่ช่วงหนึ่ง ท่านพูดถึงคำว่า ปาฏิหาริย์

ที่ท่านยกคำว่า ปาฏิหาริย์มานี่ เพราะท่านเล่าให้เห็นถึง การที่คนเราเคว้งคว้าง เสียสมดุลชีวิตไปเพราะแห่กันไปสนใจปาฏิหาริย์ที่อยู่นอกตัว

ปาฏิหาริย์ก็คือการกระทำที่ให้บังเกิดผลเป็นอัศจรรย์

ท่านเล่าว่าปาฏิหาริย์มีอยู่หลายแบบ ในทางศาสนาพุทธ แบ่งปาฏิหาริย์เป็นสามประเภท

1.อิทธิปาฏิหาริย์ อันนี้เป็นเรื่องการแสดงฤทธิ์ได้เป็นอัศจรรย์ — marvel of psychic power เสกเป่าคาถา เหาะเหินเดินอากาศ อยู่ในแบบนี้

2.อาเทศนาปาฏิหาริย์ ปาฏิหารย์แบบล่วงรู้ความคิด จิตใจ อุปนิสัยของผู้อื่นได้ถูกต้อง เป็นอัศจรรย์ — marvel of mind-reading)

3.อนุสาสนีปาฏิหาริย์ อันนี้เป็นปาฏิหารย์ที่เกิดจากการสอนให้เห็นจริง นำไปปฏิบัติได้ผลสมจริง — marvel of teaching)

ปาฏิหาริย์สองประเภทแรก มักนำไปสู่ลาภสักการะต่างๆ ไม่เป็นทางหลุดพ้น และบ่อยครั้งนำไปสู่อวิชชา กิเลสตัณหา ที่เพิ่มพูนมากขึ้น พระพุทธเจ้าจึงไม่ยกย่อง และบอกให้ระงับสำรวมไว้ถึงที่สุด เพราะอาจมีผลข้างเคียงในทางลบอยู่มาก

ต่างจากอนุสาสนีปาฏิหาริย์ อันเป็นปาฏิหาริย์ที่เกิดจากการสั่งสอนผู้คนแล้วคนนั้นได้นำไปใช้ จริงๆดูเหมือนธรรมดา เพราะเป็นไปตามเหตุปัจจัย แต่นั่นก็คือความอัศจรรย์ เพราะแต่แรกผู้ปฏิบัตินึกไม่ถึงว่าจะเกิดผลได้มหาศาลเช่นนี้ แต่ผลก็เกิดขึ้นจริงเกิดความคาดหมาย นั่นคือความอัศจรรย์ ซึ่งพระองค์สรรเสริญ ปาฏิหาริย์แบบนี้ว่าเป็นเยี่ยม

ทีนี้มาถึง คำว่า “ปาฏิหารย์พระคุณแม่”

ท่านเจ้าคุณสมเด็จสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ท่านยกตัวอย่าง ปาฏิหารย์ในชีวิตประจำวันมากมาย อย่าง โทรศัพท์มือถือนี่ก็เป็นปาฏิหารย์แบบหนึ่ง เป็นปาฏิหารย์ ที่เป็นฤทธิ์จากวิทยาศาสตร์ รถยนต์ รถไฟฟ้า การแพทย์ผ่าตัด ยารักษาอะไรต่อมิอะไรนี่ก็เป็นปาฏิหารย์ทางวิทยาศาสตร์สร้างขึ้น ก็น่าอัศจรรย์ แต่ก็มักถูกใช้ให้เป็นไปในทางเสพ ในทางวัตถุนิยม

ก็ต้องรู้จักใช้อย่างมีปัญญาเพราะมันทีโทษแฝงมาอยู่ด้วยมาก

ในขณะที่ปาฏิหาริย์ทางจิต ที่อยู่ในชีวิตประจำวันเรา อย่าง อนุสาสนีปาฏิหาริย์ ที่มาจากการสอนแล้วคนนำไปทำตามแล้วเกิดผลอันอัศจรรย์ เหล่านี้เป็นปาฏิหารย์ทางจิต จะเรียกว่าเป็นวิทยาศาสตร์ทางจิตก็ว่าได้ อันนี้คนเรามักมองข้าม

ท่านยกตัวอย่างคำว่า “แม่” บางคนได้ยินคำนี้นี่น้ำตาไหลเลย คนไหนที่ครอบครัวเลี้ยงมาดี อีกตัวเองก็มีความรักผูกพันกตัญญูรู้คุณแม่มากๆ ได้ยินคำว่าแม่ปั๊บนี่ คำสั้นๆแต่ซาบซึ้งใจมาก พอได้ยินคำว่าแม่ปุ๊บ ตัวเองไม่กล้าทำอะไรนอกลู่นอกทางเลย

หรือ บางคน ยามเกิดเหตุคับขัน ไม่รู้จะเรียกใครมา พอพูดว่า “แม่ ช่วยด้วย” หรือ “สู้ เพื่อแม่” อันนี้ก็เกิดกำลังกายกำลังใจมาจากไหนไม่รู้ ก็เกิดแรงฮึดเอาชนะปัญหาได้

นี่ก็เป็นปาฏิหาริย์ที่มาจากพระคุณแม่ ที่คนสมัยก่อนถือเป็นภูมิปัญญาไว้

 

 

ผมยังพบว่า ในชนบทหรือต่างจังหวัดไกลๆ ไปไหนมาไหน บางคนก็เอาผ้าซิ่นแม่ รูปแม่ใส่กรอบกันน้ำห้อยคอไว้ เศรษฐีบางคนก็เลี่ยมทองห้อยคอไว้ ทำอะไรก็นึกถึงแม่ เป็นกุศโลบายในการครองตนครองชีวิต ขัดเกลาตนเอง อันนี้ก็ถือเป็นการสร้างปาฏิหาริย์ เป็นอนุสาสนีปาฏิหาริย์

เหมือนกับเราจะทำงาน ทำอาชีพอะไรเราก็มีครู จะใช้วิชาก็มีการไหว้ครูหรืออย่างน้อยก็ระลึกถึงครูอยู่เสมอ จะทำดีทำชั่วก็นึกถึงแม่ถึงพ่อ

ใครอาจจะว่าล้าสมัย แต่วิทยาศาสตร์ทางจิตก็ยอมรับสิ่งเหล่านี้ว่าเป็นพลังสำคัญ ที่สำคัญ พระพุทธเจ้าเองก็ทรงสรรเสริญฤทธิปาฏิหารย์ “พระคุณแม่” พ่อ ครูบาอาจารย์เหล่านี้ ว่าเป็นสิ่งประเสริฐกว่าปาฏิหารย์อันมาจากอิทธิฤทธิ์ รวมถึงเทคโนโลยีสารพัดในโลกนี้มากมาย

คนสมัยใหม่เองมักจะลืมคิดไป จริงๆ “ปาฏิหาริย์พระคุณแม่” นี่เป็นของดีคู่ควรต่อมนุษย์เรามาทุกยุคทุกสมัย บางทีเราใช้โดยที่ไม่รู้ หรือรู้แต่ก็ไปติดอคติแบบสมัยนิยมที่มุ่งเอาความรู้สมัยใหม่ไปหักล้างความเชื่อของคนโบราณเสียหมด น่าเสียดายที่คนจำนวนมากมองข้ามไป

 

วันนี้ผมเลยเอามาลงไว้ เพื่อขยายแนวคิดของท่านสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(ป.อ.ปยุตโต) ตลอดจนสอนใจตนเองญาติพี่น้อง รวมถึงอนุชนรุ่นลูกหลาน เชิญชวนกันรังสรรค์ปัญญาอันแยบคายนี้สืบไป

#กุศโลบายสร้างพลัง

#ปาฏิหารย์พระคุณแม่

#สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์

#พุทธศาสนาในชีวิตประจำวัน

cr.ภาพจาก google.com และ www.thousandreason.com

หมายเลขบันทึก: 692204เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2021 15:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กันยายน 2021 15:04 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท