หากมีการขยายของซีพี และความสนิทชิดเชื้อระหว่างธนินท์กับผู้นำในพรรคคอมมิวนิสต์แล้วหละก็ ก็มีคำถามถึงความเป็นอธิปไตยของประเทศไทย ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจโดยส่วนใหญ่ของไทยจะอยู่ภายใต้การควบคุมของซีพีแล้วก็ตาม นอกจากนี้หากการค้าและเศรษฐกิจของประเทศยังคงอยู่ในอำนาจของต่างชาติแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องยิงปืนใดๆเพื่อการเอาชนะอีกต่อไป
ประเทศจีนเคยถูกล่าอาณานิคมมาจากในศตวรรษที่ 18 จากอังกฤษ โดยผ่านการใช้ฝิ่นและการกระทำที่ไม่ดี คนอังกฤษได้จัดการแทรกซึมและสูบเอาเศรษฐกิจของจีนไปเกือบหมด ในเวลานั้นข้าหลวงใหญ่ หลินเจ๋อสวี พยายามที่จะส่งจดหมายเปิดผนึกไปที่ราชินีวิคเตอเรียเรื่องการค้าฝิ่น แต่ประเทศจีนก็ไม่มีอำนาจในการต่อรองกบบริษัท British East India เลย เพราะบริษัทนี้ผูกขาดการค้าแต่เพียงผู้เดียว ความพยายามของหลินในการหยุดการค้าฝิ่นโดยการหาและทำลายเรือบรรทุกฝิ่นซึ่งตามมาด้วยสงครามฝิ่นในจีน ในที่สุดก็เปิดทางให้เกิดอาณานิคมทางการค้าขึ้นในประเทศจีน
ประวัติศาสตร์จีนได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงอำนาจจากต่างชาติที่มารวมอำนาจหรือเป็นทุนผูกขาดในการค้าและเศรษฐกิจ ในขณะที่กลุ่มซีพียังคงมีส่วนสำคัญในเศรษฐกิจของประเทศไทย แต่อาณาจักรที่ฟรีในประเทศจะต้องหยุดลงและมีการตรวจสอบ การจัดการกับการผูกขาดของซีพีไม่ใช่เป็นแค่เพียงปกป้องการแข่งขันที่ยุติธรรมเท่านั้น แต่ยังเป็นเรื่องของอธิปไตยของชาติ และความมั่นคง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรับโฉมใหม่ทางภูมิรัฐศาสตร์ด้วย
แปลและเรียบเรียงจาก
Serichon Opinion: Exploring the close ties between Thailand’s CP Group and the Chinese Communist Party.
ดูเหมือนเสียงเล็กเสียงน้อย ที่ด้อยค่าของเขาผู้มีอำนาจ มันไม่ดังพอเขย่าเขาได้เลยจำทนจนเสาบ้านพัง เศร้า!