เรื่องเล่ากามนิตหนุ่ม


 

ใกล้ค่ำวันหนึ่งพระพุทธเจ้ากำลังเดินหาที่พักแรมอยู่นอกเมืองราชคฤห์ในแคว้นมคธและเข้าไปถามนายช่างหม้อชื่อภัคควะว่า ถ้าท่านไม่หนักใจเราขอพักแรมในโรงปั้นหม้อสักคืนได้ไหม นายช่างว่า ไม่หนักใจแต่ในโรงปั้นนั้นมีนักบวชอยู่แล้วถ้าเขายินยอมก็เชิญครับ

แท้จริงเขาคนนั้นคือกามนิตหนุ่ม เมื่อพระพุทธเจ้าเข้าไปพบและถามว่า นักบวชเอ๋ย ถ้าไม่หนักใจเราขอพักสักคืนนะ กามนิตตอบว่า โอ้ห้องกว้างเชิญผู้อาวุโสพักตามสบายครับ 

เมื่อพระพุทธเจ้าจัดแจงที่พักแล้วนั่งทำสมาธิจนดึกเงียบสงัดและพิจารณาเห็นนักบวชหนุ่มนั่งสงบอยู่อย่างนั้น  จึงรำพึงในใจน่าชื่นชมแล้วเอ่ยถามว่า  นักบวชเอ๋ย ท่านบวชเพื่อใคร..? ใครเป็นครูของท่าน..? ท่านชอบใจในธรรมของใครรึ..?

ฝ่ายกามนิตตอบว่า  ท่านผู้อาวุโส กระผมทราบกิตติศัพท์อันดีงามของพระพุทธเจ้าและได้ฟังคำสอนท่านจึงอยากบวชตามพระพุทธเจ้า  พระพุทธเจ้าเป็นครูของกระผม  กระผมชอบใจในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าครับ

พระพุทธเจ้าถามว่า  ตอนนี้พระพุทธเจ้าอยู่ที่ไหนรึ..?

กามนิตตอบว่า  ตอนนี้พระพุทธองค์ทราบว่าอยู่เมืองสาวัตถีครับ

 พระพุทธเจ้าถามว่า  ท่านเคยเห็นพระพุทธเจ้าไหม..? และเมื่อเห็นแล้วท่านจะรู้จักไหม..?

กามนิตตอบว่า  ยังไม่เคยเห็นครับ ถ้าเห็นก็ไม่รู้จักครับ

พระพุทธเจ้ารำพึงในใจว่า  เขาผู้นี้บวชเพื่อเรา  เราจะแสดงธรรมแก่เขา  หลังจากนั้นพระพุทธเจ้าเริ่มสนทนากับเขาและแสดงธรรมตั้งแต่ความจริงแท้สี่ประการเพื่อให้เขาเข้าใจเรื่องความทุกข์ของชีวิตและทางรอดพ้นจากทุกข์นั้นด้วยการเดินทางสายกลางซึ่งทำให้กามนิตหนุ่มได้บรรลุธรรม( ขั้นอนาคามีผล )นับเป็นการสนทนาธรรมตลอดราตรีจนรุ่งสางสว่างมากามนิตหนุ่มได้กล่าวอำลาท่านผู้อาวุโสเพื่อจะรีบไปพบพระพุทธเจ้าด้วยกระหายอยากได้บรรลุธรรมขั้นสูงสุด  พอเขารีบเดินออกมาถึงริมทางเท่านั้นแม่วัวบ้าก็วิ่งมาขวิดปลิดชีพเขา  อนิจจากามนิตหนุ่มตายก่อนได้พบพระพุทธเจ้าที่เขาวาดฝันไว้แล.

แง่คิด 

แท้จริงแล้วผู้ที่เขาคุยอยู่ตลอดคืนนั้นคือพระพุทธเจ้าและเขาได้รับฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าตัวจริงแล้ว แต่เขายังอยากพบพระพุทธเจ้าจึงรีบไปด้วยคิดว่าเดินทางมาใกล้ถึงพระพุทธเจ้าแล้ว แต่แท้จริงทุกก้าวย่างที่ห่างออกไปของเขาก็ยิ่งไกลห่างพระพุทธเจ้านั้นแล.

เรื่องเล่ากามนิตหนุ่มนี้มีเค้าเดิมมาจากเรื่องพระปุกกุสาติ ในพระพุทธศาสนา เมื่อชาวตะวันตกได้ฟังจึงเขียนเป็นนวนิยายอิงพุทธธรรม ในปี ค.ศ. 1906 ชื่อกามนิต โดย คาร์ล อดอล์ฟ เจลเลอร์รุป ชาวเดนมาร์ก เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมในปี ค.ศ. 1917 และท่านเสถียรโกเศศ-นาคะประทีป แปลเป็นภาษาไทยในปี พ.ศ. 2473.

บรรณานุกรม

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖  มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

๑๐. ธาตุวิภังคสูตร (๑๔๐) ที่มา https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=8748&Z=9019 เข้าถึงเมื่อ 21/7/2564.

หมายเลขบันทึก: 691605เขียนเมื่อ 21 กรกฎาคม 2021 17:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 กรกฎาคม 2021 17:45 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณครับ คุณ ศุภณัฐ เจตน์ครองสุข

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท