STKS
ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี STKS

คิดใหม่ เรียนรู้ใหม่ สร้างแนวปฏิบัติใหม่เพื่อออกแบบพัฒนาระบบงานดิจิทัล


ในการออกแบบพัฒนาระบบงานในกลุ่มจดหมายเหตุ และพิพิธภัณฑ์ หรือ Collections พิเศษใดๆ ที่ผ่านมา มุ่งเน้นกับ “การลงแรงออกแบบฐานข้อมูล” เป็นสำคัญ โดยละเลยในส่วนแนวปฏิบัติที่ดี ละเลยในส่วนระบบจัดเก็บสื่อดิจิทัลที่มีคุณภาพและยั่งยืน แต่ละปีเสียเวลา เสียงบประมาณไปกับการปรับรุ่นของฐานข้อมูลโดยที่ยังคงทำงานซ้ำๆ กับข้อมูลดิจิทัลที่ตนเองดูแล

ถึงเวลาแล้วที่จะต้องหันมาทบทวนคิดใหม่ เรียนรู้ใหม่ สร้างแนวปฏิบัติใหม่เพื่อออกแบบพัฒนาระบบงานดิจิทัล บนพื้นฐานที่มีข้อจำกัดหลากหลาย

การใส่ใจกับ “เนื้อหา” ที่ตนเองดูแลจัดเก็บ ไม่ว่าจะเป็นเอกสารจดหมายเหตุ หนังสือเก่า หนังสือหายาก วัตถุพิพิธภัณฑ์ น่าจะเป็นหัวใจหลักของการดำเนินการมากกว่า “การลงแรงกับระบบหรือฐานข้อมูล"

ด้วยข้อจำกัดต่างๆ หากหันมาทุ่มงบลงไปกับการจัดการ “เนื้อหา” กำหนดแนวปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานเพื่อให้ได้ “ไฟล์ดิจิทัล” ของเนื้อหาที่มีคุณภาพสูง จัดเก็บในอุปกรณ์จัดเก็บ (Storage) ที่มีประสิทธิภาพพร้อมระบบสำเนาที่ดี และแนวปฏิบัติการให้รายละเอียดที่ถูกต้องโดยสนใจ Metadata ในกลุ่ม Content Standard และ Controlled Vocabulary ย่อมส่งผลให้เกิดความยั่งยืนของการดำเนินการมากกว่าที่จะต้องมาแก้ “ฐานข้อมูล” รายปี การที่ต้องมา “ทุ่มงบ” กับฐานข้อมูลที่เก็บ “ไฟล์ดิจิทัล” ได้ด้วยข้อจำกัดทุกอย่าง … ดังภาพตัวอย่างแนวปฏิบัติที่น่าสนใจของ National Palace Museum, Taiwan

หมายเลขบันทึก: 691529เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2021 10:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กรกฎาคม 2021 10:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้าจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท