18 มิถุนายน 2564
: ทีมงานหญ้าแห้งปากคอก(ท้องถิ่น) [1]
แต่เดิมพลังงานไฟฟ้าหลักอาศัยจากน้ำมัน “ปิโตรเลียม” หรือพลังงานถ่านหิน หรือก๊าซธรรมชาติ หรือ เรียก “พลังงานฟอสซิล” (Fossil Fuel) [2] ที่ทำให้ทรัพยากรหมดไปแถมก่อให้เกิดมลพิษและภาวะโลกร้อน (Global Warming) ต่อมาช่วงวิกฤติน้ำมันแพงมีการเคลื่อนไหวถึง พลังงานทางเลือกอื่น (Alternative Energy) [3] ในอนาคตเพื่อทดแทนการผลิตไฟฟ้าที่มีอยู่เดิม หรือเรียกว่า “พลังงานหมุนเวียน/พลังงานทดแทน” (Renewable Energy) [4] ที่มีอยู่เหลือเฟือ นำมาใช้ได้ง่าย ใช้แล้วก็ไม่มีวันหมด หรืองอกใหม่ขึ้นมาแทนที่ตนเองได้ (replace itself) ตรงกันข้ามกับพลังงานฟอสซิล รวมทั้งพลังงานทางเลือกอื่น เช่น นิวเคลียร์ที่ใช้แล้วหมดไป
ที่สำคัญได้แก่ พลังงานไฟฟ้าจาก “โซล่าเซลล์” หรือเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cell) พลังงานน้ำ (Hydro Power, Water Power) พลังงานลม (Wind Turbine, Wind Mill) และ พลังชีวมวลหรือไบโอแมส (Biomass Energy) ซึ่งพลังงานทดแทนดังกล่าวเป็นพลังงานที่สะอาด (Clean Energy) [5]
ตามแผนพลังงานทดแทน 15 ปี (พ.ศ.2551-2565) [6] ไทยมีเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนทดแทน จากพลังงานน้ำ จากพลังงานแสงอาทิตย์ จากพลังลม และจากพลังชีวมวล ทั้งไบโอเอธานอลและแก๊ซโซฮอลล์ เป็นร้อยละ 10.6 ภายในปี 2554 (จากเดิมร้อยละ 8) และร้อยละ 14.1 ในปี 2565 โดยมีเป้าหมายสำหรับพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์เพิ่มจาก 32 เมกะวัตต์ (MW) เป็น 55 MW ในปี 2554 และ 500 MW ภายในปี 2565 ตามลำดับ
เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจโดยฉายภาพการใช้งานใช้ประโยชน์ ข้อสังเกต ตัวอย่างบกพร่องล้มเหลวสังเขปบางแง่มุม ฯลฯ เป็นต้น เกี่ยวกับพลังงานทางเลือกทดแทนดังกล่าว ยกเว้นพลังงานแสงอาทิตย์
พลังงานน้ำผลิตกระแสไฟฟ้า
ในอีกมิติหนึ่งที่ถือว่า น้ำที่ไหลเป็นพลังงานจลน์ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้นั้น เนื่องจาก “น้ำที่ไหล” เป็นพลังงานจลน์หรือพลังงานกล [7] คือ การใช้พลังงานกลจากแรงไหลของน้ำตก เพื่อไปหมุนกังหันน้ำซึ่งต่อเพลากับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Electric Generator) ผลิต “ไฟฟ้าพลังน้ำ” (Hydroelectricity, Hydropower, Water Power, Hydroelectric Power) โดยโรงไฟฟ้าพลังน้ำ (Hydro Power Plant or Hydroelectric Power Plant) เช่น โรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดใหญ่ เช่น ปี 2507 เปิดเขื่อนภูมิพล จ.ตาก ปี 2525 เปิดเขื่อนรัชชประภา(เชี่ยวหลาน) จ.สุราษฎร์ธานี ปี 2534 เปิดเขื่อนศรีนครินทร์ จ.กาญจนบุรี เป็นต้น
ตัวอย่างโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กในพื้นที่ภูมิประเทศป่าเขามีลำธารน้ำตกที่การไฟฟ้าเข้าไปไม่ถึงในภาคเหนือ เช่น ที่หมู่บ้านแม่กำปอง อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ [8] มีการตั้งโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้ามาตั้งแต่ปี 2525 และจดทะเบียนสหกรณ์ไฟฟ้าโครงการหลวงแม่กำปอง จำกัด ในปี 2529 มีเครื่องปั่นไฟ 2 เครื่องส่งแยกกันไปเป็นสองสาย ขายไฟฟ้าให้แก่สมาชิกชุมชน อัตราเท่ากับ กฟภ. และหมู่บ้านมีบริการท่องเที่ยวโฮมสเตย์ด้วย ต่อมา กฟภ.เดินสายไฟเข้ามาถึงหมู่บ้าน บ้านแต่ละหลังจึงติดตั้งไฟฟ้าสองระบบ คือไฟฟ้าของ กฟภ.และไฟฟ้าพลังน้ำของสหกรณ์ฯ ซึ่งพบว่าไฟฟ้าของ กฟภ.แรงกว่า ชาวบ้านจึงหันมาใช้ไฟฟ้า กฟภ.แทน ทำให้สหกรณ์มีรายได้ลดลง เป็นตัวอย่างที่ล้มเหลวหนึ่งในการผลิตพลังงานทดแทนไฟฟ้าในระดับชุมชนหมู่บ้าน
พลังงานลมผลิตกระแสไฟฟ้า (Electric Wind Turbine)
ลมพัดถือเป็น “พลังงานกล” โดยอาศัยลมธรรมชาติไปพัดหมุนกังหันลมที่ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า กังหันลม คือ เครื่องจักรกลอย่างหนึ่งที่สามารถรับพลังงานจลน์จากการเคลื่อนที่ของลมให้ เป็นพลังงานกลได้ จากนั้นนำพลังงานกลมาใช้ประโยชน์โดยตรง เช่น การบดสีเมล็ดพืช การสูบน้ำ หรือในปัจจุบันใช้ผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า การพัฒนากังหันลมเพื่อใช้ประโยชน์มีมาตั้งแต่ชนชาวอียิปต์โบราณและมีความต่อ เนื่องถึงปัจจุบัน โดยการออกแบบกังหันลม
จึงมีกังหันลมที่รับพลังงานจลน์จากการเคลื่อนที่ของลมและเปลี่ยนให้เป็น พลังงานกล เพื่อสูบน้ำ (Wind Turbine for Pumping) หรือ อาจใช้กังหันลมมาปั่นเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้าได้เช่นกัน โดยเฉพาะในพื้นที่มีร่องลมพัดผ่าน ที่สามารถติดกังหันลมยักษ์ได้
กังหันลม 2 ประเภท คือ (1) กังหันลมแนวแกนตั้ง (Vertical Axis Turbine : VAWT) เป็นกังหันลมที่มีแกนหมุนและใบพัดตั้งฉากกับการเคลื่อนที่ของลมในแนวราบ (2) กังหันลมแนวแกนนอน (Horizontal Axis Turbine : HAWT) เป็นกังหันลมที่มีแกนหมุนขนานกับการเคลื่อนที่ของลมในแนวราบ เป็นกังหันลมที่มีแกนหมุนขนานกับทิศทางลม โดยมีใบพัดเป็นตัวตั้งฉากรับแรงลม
ในมิตินี้จึงมี “กังหันลมเพื่อผลิตไฟฟ้า” (Wind Turbine for Electric) เป็นกังหันลมที่รับพลังงานจลน์จากการเคลื่อนที่ของลมและเปลี่ยนให้เป็นพลังงานกล เพื่อไปหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้ เช่น ในอาคารก่อสร้างมีร่องหรือ “หลืบ” ที่ติดกังหันให้ลมพัดธรรมชาติ [9] หรือ กังหันลมที่ทุ่งกังหันลมไฟฟ้าห้วยบง อำเภอด่านขุนทด ขนาดใหญ่ 3 ใบพัด โครงการเวสต์ห้วยบง 2-3 (2556) [10] โดยบริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) แต่ กฟผ.รับซื้อไฟฟ้า ซึ่งมีกำลังการผลิตสูงที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ กังหันลมที่เขายายเที่ยง (ลำตะคอง, 2555) [11] อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา โดย กฟผ. ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวจุดชมวิว ด้วยขนาดสูง 68 เมตร พร้อมใบพัดขนาดยักษ์เส้นผ่านศูนย์กลาง 60 เมตร เป็นกังหันลมไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีการประยุกต์ใช้ นำพลังงานกลจากลมมาผลิตเป็น “พลังงานไฟฟ้า” และปัจจุบันมีการนำ “พลังงานไฟฟ้า” ที่ได้จากลมมาใช้งาน “กังหันลมสูบน้ำโดยตรง” (สูบน้ำปั๊มน้ำด้วยพลังงานลม) ทั้งกังหันลมขนาดเล็ก (Small Wind Turbine) และ กังหันลมขนาดใหญ่ (Large Wind Turbine) เป็นต้น ที่นอกเหนือจาก นำพลังงานไฟฟ้าโซล่าเซลล์มาใช้กับเครื่องสูบน้ำ ปั๊มน้ำ (สูบน้ำปั๊มน้ำด้วยกระแสไฟฟ้าโซล่าเซลล์) ซึ่งเหล่านี้ถือเป็นการใช้พลังงานทดแทนที่มีอยู่อย่างเหลือเฟือทั้งสิ้น
พลังงานชีวมวล หรือไบโอแมสผลิตกระแสไฟฟ้า (Biomass Energy)
คือ สารอินทรีย์ที่เป็นแหล่งกักเก็บพลังงานจากธรรมชาติและสามารถนำมาใช้ผลิตพลังงานได้ เช่น เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร หรือกากจากกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมการเกษตร หรือ ซังข้าวโพด ที่เหลือจากการสีเมล็ดข้าวโพดออก มาเป็นเชื้อเพลิงพลังงานชีวมวล ซังข้าวโพดสามารถเผาทำเป็นถ่านอัดแท่งได้ หรือ แกลบ ได้จากการสีข้าวเปลือก หรือ ชานอ้อย ได้จากการผลิตน้ำตาลทราย หรือ หญ้าแห้งเศษไม้ขยะฯ หรือ จากไม้กระถินณรงค์ หรือ จากหญ้าเนเปียร์ (Napier Grass) [12]ในฐานะพืชพลังงาน ที่รัฐส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเพื่อขายให้โรงไฟฟ้าชีวมวลตามภูมิภาคต่างๆ
“โรงไฟฟ้าสะอาดชีวมวล” หรือ “โรงไฟฟ้าพลังงานสะอาด” (Clean Energy) หรือ “โครงการไฟฟ้าสีเขียว” (Green Station) [13] ของเอกชนเป็นธุรกิจโรงงานขนาดเล็กมาก “โรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวล” (VSPP-Biomass) เช่น ดำเนินการที่จังหวัดนครราชสีมาตั้งแต่ปี 2556 [14]หรือ โรงไฟฟ้าขยะชุมชน (VSPP-MSW : Very Small Power Plant - Municipal Solid Waste) หรือแม้แต่ โรงงานหีบน้ำมันมะพร้าว หรือ โรงน้ำมันปาล์มดิบ (Crude Palm Oil) [15] ซึ่งมีความเกี่ยวเนื่องกันที่เกี่ยวกับเกษตรกร ที่สะท้อนให้เห็นถึงเศรษฐกิจในระดับรากหญ้า
ตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก AEDP 2015 กำหนดให้มีการผลิตไฟฟ้าจากขยะรวม 400 MW และความร้อนรวม 200 ktoe มีคำเรียกต่างๆ ในความหมายพลังงานชีวมวล เช่น การผลิตพลังงานจากขยะที่ไร้มลพิษ (Waste to Energy or Biomass Community Waste or Energy from Waste : EfW) หรือ เชื้อเพลิงจากขยะ (Refuse Derived Fuel : RDF)
กฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดการพลังงานไฟฟ้า
ประเด็นที่สำคัญมากที่เป็นอุปสรรค คือกฎหมายหรือข้อตกลงระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กับผู้ผลิต ไฟฟ้ารายย่อยที่ผลิตจากเชื้อเพลิงก๊าซชีวมวล เช่น จากขี้หมู ชานอ้อย ด้วยกฎหมายนี้จึงส่งผลให้กิจการดังกล่าว ไม่สามารถขยายตัวได้ตามศักยภาพที่ควรจะเป็น [16]
ปัจจุบันรัฐมีมาตรการสนับสนุนธุรกิจและส่งเสริมการใช้พลังงานแสงอาทิตย์โดยการยกเว้นภาษีนำเข้าวัตถุดิบ และการให้ส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (ค่า adder) ในอัตรา 8 บาทต่อหน่วย (2535) เป็นระยะเวลา 10 ปี ในมาตรการตามสูตรค่า Ft หรือ ค่าไฟฟ้าผันแปร (Automatic Adjustment Mechanism) ภายใต้การกำกับดูแลของ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เกิดขึ้นจากการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2534 [17] เป็นต้น
ในเยอรมนีรวมหลายประเทศกลุ่มสหภาพยุโรป (EU : European Union) มีกฎหมาย “ฟีดอินลอ (Feed in Law)” [18] หรือ "Law on Feeding Electricity into the Grid" 1990 มีสาระสำคัญคือ (1) ไฟฟ้าจากกังหันลม แผงโซล่าเซลล์ ก๊าซชีวมวล หรืออื่นๆ ผู้ประกอบกิจการไฟฟ้าต้องรับซื้อกระแสไฟฟ้าทั้งหมด (2) พื้นที่ลมไม่แรงแต่มีศักยภาพผลิตไฟฟ้าได้จะรับซื้อไฟฟ้าในราคาแพงกว่าพื้นที่ลมพัดแรง และในช่วง 5 ปีแรกของสัญญาจะรับซื้อไฟฟ้าในราคาที่สูงกว่าช่วง 15 ปีสุดท้าย นับว่าเป็นกฎหมายที่เอื้อต่อการเกิดขึ้นของกังหันลม และเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคาบ้านนับหลายแสนราย และเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างก้าวกระโดด สำหรับในอเมริกามีมาตรการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนมาตรการการกระตุ้นเศรษฐกิจ [19] อาทิ การให้เปลี่ยนเงินลดหย่อนภาษีเป็นเงินสดสำหรับโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานโซล่าและพลังงานลม
ปรากฏการณ์ความขัดแย้งด้านพลังงานระหว่างชุมชนและภาครัฐ
เป็นปรากฏการณ์ที่สำคัญ ที่มีความรุนแรงล้วนเกี่ยวข้องกับโครงการด้านพลังงานกระแสหลัก ไม่ว่าจะเป็นเขื่อน โรงไฟฟ้าถ่านหิน เหมืองแร่ หรือแม้แต่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ซึ่งมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างกว้างขวาง หากแต่ในส่วนของการพัฒนาพลังงานหมุนเวียน ต้องมีส่วนร่วมของชุมชนตามหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) [20] เพื่อเป็นหนทางรอดของสังคมไทยในยุคน้ำมันแพง ตามหลักความโปร่งใสและรู้เท่าทันผลประโยชน์ทับซ้อน ผลกระทบจากพลังงานทางเลือกในโครงการพลังงานไบโอแมสขนาดใหญ่ด้านสังคม เพราะการนำแกลบหรือวัสดุอื่นๆ มาเผาจะทำให้มีฝุ่นละอองฟุ้งกระจาย ชาวบ้านเดือดร้อนต่อต้าน โครงการถูกตีกรอบจากส่วนกลาง ทำให้ชุมชนขาดการมีส่วนร่วม ทั้งภาครัฐไม่สนับสนุนด้านงบประมาณ เช่น ข่าวปี 2553 ชุมชนทับสะแกลงขันตั้งโรงงานหีบน้ำมันมะพร้าว 5 ล้านบาท [21] แต่บริหารจัดการไม่ดี โรงงานจึงไม่ได้ใช้งาน
พลังงานที่สะอาด (Clean Energy) มีรัฐเป็นผู้ริเริ่มและให้ทุนสนับสนุน แต่ในขณะเดียวกันมีแนวร่วม NGO ด้านสิ่งแวดล้อมออกมาต่อต้านการผลิตพลังงานอื่นที่ได้ผลตรงข้าม เช่น การต่อต้านการสร้างเขื่อน โรงงานไฟฟ้าถ่านหิน โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เป็นต้น [22] ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้พลังงานจากแกลบ กากอ้อย หรือ กะลาปาล์ม รวมไปถึงการหมักก๊าซชีวภาพต่างๆ
เครื่องกลกังหันลมระหัดวิดน้ำ และสูบชักน้ำเข้า-ออก รวมเครื่องปั๊มน้ำ
ขอแถมความรู้เพื่อเป็นฐานความรู้พื้นบ้านของชนบทแบบรากหญ้าในเรื่อง “พลังงานน้ำ” ทั้งในฐานะที่น้ำไหลเป็นพลังงานกลในตัวเองได้ ที่ไหลเป็นพลังงานจลน์ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ปั่นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้ หรือในขณะเดียวกัน “น้ำ” ก็ถือเป็นทรัพยากรที่สามารถ “วิดน้ำ” นำไปใช้ประโยชน์ต่างๆ การอุปโภคบริโภค การเกษตรได้ หรือในทางกลับกันมีการวิดน้ำออกทิ้งเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วม หรือให้น้ำงวดแห้ง เป็นต้น จึงมีเครื่องมือนำน้ำเข้าออกที่มีวิวัฒนาการเครื่องมือวิดน้ำสูบน้ำ [23] ขึ้นมาแต่โบราณแล้ว
ในมิตินี้ จึงมีสิ่งประดิษฐ์พื้นบ้าน คือ แบบที่ (1) “เครื่องระหัดวิดน้ำ” (Noria) หรือ “เครื่องชักน้ำ” ใช้พลังงานกลจากลมธรรมชาติในการวิดน้ำ หรือ ใช้แรงไหลของน้ำเองในการเคลื่อนระหัดวิดเพื่อส่งน้ำได้ เป็นเครื่องมือทางการเกษตรสำหรับเกษตรกรชาวสวน ชาวนาเกลือ ที่ใช้วิดน้ำหรือดูดน้ำเข้าสวน วิดน้ำหรือดูดน้ำออกจากสวน เพื่อใช้ในการชลประทาน การกสิกรรม การเกษตร หรืออื่นๆ ในพื้นบ้านอีสาน เรียกชื่อหลายอย่าง คือ เรียก “กงพัด” (ระหัดวิดน้ำเข้านา) หรือ เรียก “หลุก” (เครื่องมือวิดน้ำ) หรือ เรียก “กะโซ่” หรือ กันโซ้, คันโซ่, ข้องโซ้ เป็นเครื่องมือจักสานด้วยไม้ไผ่ใช้วิดน้ำเข้านา หรือวิดน้ำในนาให้งวด แยก 2 แบบ คือ (1.1) ระหัดแบบราง และ (1.2) ระหัดวงหรือหลุก พ่วงกังหันลม ซึ่งต่อมาจะติดแผงโซล่าเซลพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการวิดน้ำก็ได้ สามารถประยุกต์ระหัดวิดน้ำใส่โซ่เพื่อใช้แรงถีบจักรยานให้ระหัดทำงาน หรือ ระหัดวิดน้ำพ่วงกังหันลม หรือ ระหัดวิดน้ำติดแผงโซล่าเซลพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นพลังงานจากธรรมชาติเช่นกัน
และ แบบที่ (2) เป็น “เครื่องแบบสูบชัก” ในการปั๊มน้ำขึ้นมาใช้ หรือการปั๊มน้ำออก สำหรับสิ่งประดิษฐ์ “เครื่องปั๊มน้ำ” (Water Pump) [24] นั้น คือเครื่องมือกลเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมัน หรือ ใช้กระแสไฟฟ้าขับมอเตอร์ช่วยในการส่งน้ำ หรือสูบน้ำ ประเภทของปั๊มน้ำมีหลายประเภท ตามประเภทการใช้งาน เช่น แบ่งตามงานอุตสาหกรรม หรือ แบ่งตามอาคารที่อยู่อาศัย หรือแบ่งตามประโยชน์ที่ใช้ในครัวเรือนที่มีจำหน่ายตามท้องตลาด เป็นต้น
หากแบ่งประเภทตามอาคารที่อยู่อาศัย 4 ประเภท [25] ได้แก่ (1) ปั๊มสูบน้ำเก็บบนอาคาร (Transfer) (2) ปั๊มเสริมแรงดัน (Booster Pump) (3) ปั๊มดับเพลิง (Fire Pump) สำหรับอาคาร และ (4) ปั๊มจุ่มหรือปั๊มแช่
หรือ แบ่งตามความนิยมในตลาด 4 ประเภท [26] ได้แก่ (1) ปั๊มน้ำอัตโนมัติ (Automatic Water Pump) (2) ปั๊มน้ำกึ่งอัตโนมัติ (Semi-automatic Water Pump) โดยเปิด-ปิดสวิตซ์เอง (3) ปั๊มหอยโข่ง หรือปั๊มแบบแรงเหวี่ยง(Centrifugal pump) และ (4) ปั๊มจุ่มหรือปั๊มแช่ (Submersible pump or Driver)
ปั๊มที่สำคัญมากประเภทหนึ่ง คือ “ปั๊มซับเมอร์ส” (Submersible Pump) [27] เป็นชื่อที่คนส่วนใหญ่ใช้เรียก “ปั๊มน้ำบาดาล” นอกจากนี้ยังหมายรวมถึง ปั๊มจุ่ม(แช่ลงไปในน้ำ), ปั๊มไดรโว่ (Driver), ปั๊มดูดโคลน, ปั๊มแช่, เครื่องสูบน้ำแบบจุ่ม, ปั๊มแช่สูบน้ำสะอาด-น้ำเสีย ฯลฯ ที่ต้องมีข้อมูลรายละเอียดของบ่อน้ำบาดาลประกอบด้วย เช่น บ่อเปิด หรือบ่อปิด, ขนาดของบ่อบาดาล เช่น บ่อ 4 นิ้ว หรือบ่อ 6 นิ้ว, ความลึกของบ่อบาดาล เป็นต้น
เป็นเพียงการฉายภาพเบื้องต้น ให้เห็นถึงแนวทางและข้อมูลเบื้องต้นในการพัฒนาพลังงานทางเลือกที่นอกเหนือจากพลังงานโซล่าเซลล์ ซึ่งจะขอแยกเอาไว้กล่าวถึงในอีกบทหนึ่งต่างหาก เพราะมีความสำคัญมาก
[1]Phachern Thammasarangkoon & Watcharin Unarine, ทีมงานหญ้าแห้งปากคอก(ท้องถิ่น), สยามรัฐออนไลน์, 18 มิถุนายน 2564, https://siamrath.co.th/n/253664
[2]การเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิล (Fossil Fuel) ได้แก่ น้ำมันเชื้อเพลิงยวดยานฯ รวมทั้งการเผาผลาญต่างๆ ที่ก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และก๊าซพิษอื่นๆ อันเป็นสาเหตุที่เกิดภาวะโลกร้อน (Global Warming) ที่ถือเป็น “วาระสำคัญหนึ่งของโลก” (Global Agenda) ตามที่รองประธานาธิบดีอัล กอร์ (Al Gore) และ สาวน้อยเกรต้า ธันเบิร์ก (Greta Thunberg) รณรงค์เรียกร้อง
ภาวะโลกร้อน (Global Warming)หมายถึงการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศใกล้พื้นผิวโลกและน้ำในมหาสมุทรตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 และมีการคาดการณ์ว่าอุณหภูมิเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง : วิกิพีเดีย
[3]แหล่งพลังงานใหม่และพลังงานทดแทน (Alternative Energy) หรือเรียกว่าพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy : RE)
[4]พลังงานทดแทน (Alternative Energy) หรือ พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy : RE)
กระทรวงพลังงานมีนโยบายที่จะส่งเสริมทั้งพลังงานทดแทนและพลังงานหมุนเวียน โดยเลือกใช้คำว่าพลังงานทดแทน ในแผน เพื่อที่จะสื่อสารให้ประชาชนเข้าใจว่าเป็นประเภทพลังงานที่จะมาทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล (ก๊าซ น้ำมัน ถ่านหิน) ทั้งที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า ความร้อน และเป็นเชื้อเพลิงในภาคการขนส่ง ซึ่งได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานจากขยะ ชีวมวล (ไบโอแมส) ก๊าซชีวภาพ(ไบโอแก๊ส) พลังงานน้ำ ทั้งเขื่อนขนาดใหญ่และเขื่อนขนาดเล็ก พลังงานจากคลื่นในทะเล พลังงานจากความร้อนใต้พิภพ และเชื้อเพลิงชีวภาพ คือ เอทานอล ไบโอดีเซล ทั้งนี้ในมุมของต่างประเทศพลังงานทดแทนนั้นหมายรวมถึง พลังงานนิวเคลียร์ด้วย ส่วนของประเทศไทยนั้น พลังงานนิวเคลียร์ ยังไม่นำมารวมอยู่ในแผน AEDP
ที่ผ่านมากระทรวงพลังงาน มีการจัดทำเป็นแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (Alternative Energy Development Plan : AEDP2015) ที่ใช้ระหว่างปี 2558-2579
[5]โลกในยุคเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ Clean Energy พลังงานสะอาดหรือพลังงานทดแทนที่จะเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ และมีโอกาสที่จะเปลี่ยนเป็นพลังงานหลักในอนาคต ถือเป็นหนึ่งในธีม Global Megatrends ที่น่าลงทุน อย่างกองทุนใหม่ กองทุนเปิดพรินซิเพิล โกลบอล คลีน เอ็นเนอร์จี Principal Global Clean Energy Fund (PRINCIPAL GCLEAN) ที่ลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวกับพลังงานสะอาด พลังงานสำคัญแห่งอนาคต
พลังงานทดแทน หรือ พลังงานสะอาด (Clean Energy) คือพลังงานไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือเกิดมลภาวะที่เป็นพิษอย่างน้อยที่สุดในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การผลิต แปรรูป การนำไปใช้งาน จนถึงการจัดการของเสีย ซึ่งพลังงานสะอาดนั้นสามารถนำมาใช้ทดแทนพลังงานแบบเดิมได้อย่างไม่จำกัด และมีหลากหลายชนิดด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ พลังงานลม พลังงานความร้อนใต้พิภพ พลังงานเชื้อเพลิงชีวมวล และแหล่งพลังงานอื่นที่ยังรอการสำรวจและศึกษาวิจัยเพิ่มเติม
: อ้างจากเฟซบุ๊ก บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน พรินซิเพิล จำกัด, Principal International, Principal Thailand, 24 มีนาคม 2564, https://www.facebook.com/principalthailand/posts/285811106247862
[6]แผนพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปี พ.ศ. 2551 - 2565, กรมพัฒนาพลังงานทดแทน กระทรวงพลังงาน, http://www.efe.or.th/pdf/RenewableEnergy-15years.pdf
ประเภทพลังงานไฟฟ้า ตามแผนพัฒนาพลังงาน 15 ปี ได้แก่ แสงอาทิตย์, พลังงานลม,ไฟฟ้าพลังน้ำ, ชีวมวล, ก๊าซชีวภาพ, พลังงานขยะ, ไฮโดรเจน
มาตรการส่งเสริม ได้แก่ R&D, Adder cost, BOI/เงินทุนหมุนเวียน, ESCO Fund (บริษัทจัดการพลังงาน : Energy Service Company - ESCO, ESCO Revolving Fund : มูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม ตามโครงการส่งเสริมการลงทุนด้านอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน, 2535), กลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism: CDM)
[7]พลังงานจลน์ (Kinetic Energy)คือพลังงานที่เกิดกับวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ เช่น รถยนต์กำลังแล่น เครื่องบินกำลังบิน พัดลมกำลังหมุน น้ำกำลังไหลหรือน้ำตกจากหน้าผา ธนูที่พุ่งออกจากคันศร จักรยานที่กำลังเคลื่อนที่ เป็นต้น จึงกล่าวได้ว่า พลังงานจลน์ล้วนเป็นพลังงานกลที่สามารถเปลี่ยนรูปกลับไปกลับมาได้ : วิกิพีเดีย
พลังงานจลน์ ในทางฟิสิคส์ คือ พลังงานที่เกิดขึ้นขณะวัตถุกำลังเคลื่อนที่เนื่องจากมีแรงมากระทำต่อวัตถุและมีค่าเปลี่ยนแปลงตามอัตราเร็วของวัตถุเคลื่อนที่ เช่น รถยนต์กำลังแล่นเครื่องบินกำลังบิน พัดลมกำลังหมุน เป็นต้น ปริมาณของพลังงานจลน์ในวัตถุจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับมวล(m)และความเร็ว(v)ของวัตถุนั้น
พลังงานกลเป็นพลังงานที่เกี่ยวข้อง กับการเคลื่อนที่โดยตรง เช่น ก้อนหินที่อยู่บนยอดเนินจะมีพลังงานศักย์กล (Potential mechanical energy) อยู่จำนวนหนึ่ง ขณะที่ก้อนหินกลิ้งลงมาตามทางลาดของเนิน พลังงานศักย์จะลดลง และเกิดพลังงานจลน์กลของการเคลื่อนที่ (Kinetic mechanical energy) ขึ้นแทน สิ่งมีชีวิตอาศัยพลังงานรูปนี้ในการทำงานที่ต้องมีการ เคลื่อนไหวเป็นประจำ เช่น การเดิน การขยับแขนขา การหยิบวัตถุ เป็นต้น
พลังงานกล (Mechanical Energy) ประกอบด้วย พลังงานศักย์ (Potential Energy : Ep) คือ พลังงานที่สะสมอยู่ในวัตถุหรือสสารที่หยุดนิ่งอยู่กับที่ และ พลังงานจลน์ (Kinetic Energy : Ek) : สสวท.
[8]รายงาน: "แม่กำปอง" เมื่อน้ำยังไหล ไฟก็สว่าง ปฐมบทการผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำเพื่อชุมชน, โดย คิม ไชยสุขประเสริฐ, ประชาไท, 7 มีนาคม 2551, https://prachatai.com/journal/2008/03/15973 & จะทำอย่างไรดี กับแผงโซล่าเซลล์ที่เสียหาย 20-30% ในโครงการรัฐบาลที่แล้ว, โดย ว่าที่ร้อยตรี ประวิทย์ สุดประเสริฐ, 18 กุมภาพันธ์ 2553, https://www.gotoknow.org/posts/337824
[9]ไอเดีย อาคารพลังงานลม-แสงแดด โดย นพ. วัลลภ พรเรืองวงศ์, ฐานเศรษฐกิจรายสัปดาห์ ฉบับวันที่ 13-16 พฤษภาคม 2550 อาคาร “เพิร์ล ริเวอร์ ทาวเวอร์” เมืองกวางเจา มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน, https://www.gotoknow.org/posts/95996
[10]เช่น วินด์ฟาร์ม ของ บริษัท Demco ที่ อ.ด่านขุนทด หรือ โครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานลม “เวสต์ ห้วยบง 2-3”, โดย บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน), RATCH Group นครราชสีมา, 16 กุมภาพันธ์ 2556, https://www.ratch.co.th/th/news/company-news/328
[11]กังหันลม ปอดใหญ่ลำตะคอง, คมชัดลึก, 9 กันยายน 2555, https://www.komchadluek.net/news/lifestyle/139588
[12]หญ้าเนเปียร์/หญ้าเนเปียร์ปากช่อง1 ประโยชน์ และการปลูกหญ้าเนเปียร์ โดย puechkaset, 13 กันยายน 2559, https://puechkaset.com/หญ้าเนเปียร์/ & หญ้าเนเปียร์ พลิกผืนดินอีสาน เขียวขจีอย่างยั่งยืน, Green Network, 4 กุมภาพันธ์ 2563, https://www.greennetworkthailand.com/หญ้าเนเปียร์-โรงไฟฟ้า/
[13]โรงไฟฟ้าพลังงานสะอาดของเรา แบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่ โรงไฟฟ้าชีวมวล (Biomass) โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ (Co-generation) โรงไฟฟ้าขยะชุมชน (MSW) และโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar)
[14]โครงการโรงไฟฟ้าขยะชุมชน (VSPP-MSW) อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา (AAPP VSPP : ชีวมวล) โดย บริษัทแอ๊บโซลูทคลีนเอ็นเนอร์จี้จำกัดมหาชน (Absolute Clean Energy :ACE) และ โรงไฟฟ้าพลังงานสะอาดเมืองโคราช หรือโรงไฟฟ้าชีวมวล บ้านโพธิ์ อ.เมือง จ.นครราชสีมา โดย บริษัท แอ๊ดวานซ์ เอเชีย เอ็นเนอร์จี้ จำกัด กลุ่มบริษัท แอ๊บโซลูท คลีน เอ็นเนอร์จี้ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนรายใหญ่ของประเทศ และเป็นผู้นำด้านพลังงานสะอาดของไทย (The Clean Energy Leader)
[15]การสกัดน้ำมันปาล์ม (Mill Processing) จังหวัดกระบี่ มีโรงงานสกัด น้ำมันปาล์มดิบ (Crude Palm Oil : CPO) จำนวน 21 โรง ดู ปาล์มน้ำมัน (Oil Palm) โดยสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์กรมหาชน), Agricultural Research Development Agency : ARDA, 2552, https://www.arda.or.th/kasetinfo/south/palm/used/01-02.php
[16]โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทย, สุรศักดิ์ ราษี, 21 ธันวาคม 2552, https://www.gotoknow.org/posts/321988
[17]ดู เตรียมตัดส่วนเพิ่มค่าไฟฟ้าADDER ต้นทุนโรงไฟฟ้าลดหวั่นถูกสวมรอยขายต่อโครงการ, โดย มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.), ข่าวประชาชาติธุรกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 4218, 14 มิถุนายน 2553, https://www.consumerthai.org/consumers-news/consumers-news/public-society/945-adder.html & ค่า Ft.คืออะไร, กฟภ.แม่สอด PEA.MAESOT, 2559, https://sites.google.com/site/peamstkom/khawsar-prachasamphanth/chicaeng-kha-ft
[18]ดู โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทย, สุรศักดิ์ ราษี, 21 ธันวาคม 2552, อ้างแล้ว
[19]สภาสูงสหรัฐฯผ่านร่างกฎหมายปฏิรูปภาษี ลดอุดหนุนพลังงานลม แดด, การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.), 13 ธันวาคม 2560, https://www.egat.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=2288:2017-12-13-01-50-10&catid=49&Itemid=251
& การลงทุนด้านพลังงานทดแทนในสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้น, ในข่าวเด่นประจำสัปดาห์จากสหรัฐอเมริกา (Weekly News from USA): Thai Trade Center - Miami, วันที่ 13 – 17 มกราคม 2563, https://www.ditp.go.th/contents_attach/582060/582060.pdf
[20]ดู คอรัปชั่นเชิงนโยบาย: กรณีศึกษาการบริหารจัดการกิจการพลังงานแห่งชาติในโครงการโซล่าฟาร์ม (Policy Corruption: A case study of The National Energy Management in Solar Farm Project), โดย อัครพงศ์ มาปรีดา และ บุญสม เกษะประดิษฐ์, วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษา ในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2562, https://rsujournals.rsu.ac.th/index.php/jrgbs/article/download/465/348/.
& การบริหารนโยบายพลังงานของไทยยังมีจุดอ่อนด้านธรรมาภิบาล โดย กลุ่มปฏิรูปพลังงานเพื่อความยั่งยืน ERS,Fellowship of Energy reform for Sustainability : ERS, แนวทางปฏิรูปพลังงานเพื่อความยั่งยืน ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3 วันที่ 28 ตุลาคม 2563 , 24 มีนาคม 2564, https://www.ers.or.th/การบริหารนโยบายพลังงาน/
[21]จะทำอย่างไรดี กับแผงโซล่าเซลล์ที่เสียหาย 20-30% ในโครงการรัฐบาลที่แล้ว, ว่าที่ร้อยตรี ประวิทย์ สุดประเสริฐ, 18 กุมภาพันธ์ 2553, อ้างแล้ว
[22]ปัญหาประการฯหนึ่งคือองค์กรเอ็นจีโอพลังงานทดแทนมักเป็นผู้ต่อต้านขัดขวางโครงการสร้างโรงไฟฟ้าของรัฐ และการมีผลประโยชน์ทับซ้อนในเจ้าหน้าที่ของรัฐและกลุ่มทุนผูกขาด รวมทั้งระบบกฎหมายที่ไม่เอื้ออำนวย
ดู
รู้หรือยัง กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง มีไว้ทำอะไร, ผู้จัดการออนไลน์, 7 กันยายน 2561, https://mgronline.com/daily/detail/9610000089707
& พ.ร.บ.กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง กระทืบซ้ำอ้อย+ปาล์ม+มันฯ, ชาติชาย ศิริพัฒน์, ไทยรัฐฉบับพิมพ์, 28 สิงหาคม 2562, https://www.thairath.co.th/news/local/1646998
& ฟังเสียงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ‘โรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่’ เอา-ไม่เอา-ทำไม? โดย เขมภัฏ ห้วยลึก TCIJ School รุ่นที่ 5: 27 ก.ค. 2561, https://www.tcijthai.com/news/2018/27/scoop/8188
& ปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ในประเทศไทย โดย ชาณิกา ปัญจพุทธานนท์ และรัตพงษ์สอนสุภาพ, วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, ปีที่11 ฉบับที่ 3 (กันยายน – ธันวาคม 2559), https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdihsjournal/article/download/73509/59166/
ภาครัฐควรกำหนดแผนและวางเป้าหมายการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในระยะยาวที่ชัดเจน และมีเสถียรภาพ การกำหนดมาตรการส่งเสริมและการจูงใจรับซื้อไฟฟ้าในอัตราเพิ่มพิเศษ เช่น FiT หรือAdder ต้องคำนึงถึงปริมาณไฟฟ้าที่รับซื้อให้เหมาะสมในแต่ละประเภทเพื่อไม่สร้างภาระต่อผู้บริโภคที่สูงเกินไปขจัดความไม่ชัดเจนและข้อทับซ้อนของกฎหมายเกี่ยวกับพลังงานทดแทนที่กระจัดกระจายอยู่ตามหน่วยงานต่างๆ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ประกอบการให้เกิดการยอมรับในการประกอบกิจการด้านพลังงานให้มากขึ้น
[23]ระหัดวิดน้ำแบบต่างๆ, thecityedu ดร. ธนสาร บัลลังก์ปัทมา, 3 มกราคม 2561, https://www.gotoknow.org/posts/643744
[24]ปั๊มน้ำ หรือปั๊มสูบน้ำ หรือเครื่องสูบน้ำ (Water Pump) คือ อุปกรณ์สำหรับส่งน้ำหรือถ่ายเทของเหลวจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง หรือหมุนเวียนน้ำหรือของเหลวให้ผสมกันในบริเวณที่จำกัด เช่น centrifugal pump(ปั๊มแบบแรงเหวี่ยงหรือเรียกปั๊มหอยโข่ง),เครื่องสูบน้ำไว้รดน้ำผัก ในสมัยก่อนการใช้ระหัด (rahat) ในการสูบน้ำ ซึ่งเรียกว่า การชักน้ำหรือวิดน้ำ ด้วยแรงคน แรงสัตว์ หรือแรงกลจากลม : วิกิพีเดีย
แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ ปั๊มบาดาล สำหรับสูบน้ำบาดาล และปั๊มแบบหอยโข่ง สำหรับสูบน้ำผิวดิน มีทั้งปั๊มน้ำแรงดันปกติและปั๊มน้ำแรงดันสูง ประยุกต์ใช้กับงานเกษตรกรรมหรือเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภคได้ สูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ทางเลือกพลังงานที่ดีของเกษตรกร ซึ่งมีทั้งระบบปั๊มน้ำพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับน้ำแรงดันปกติและแรงดันสูง
ปั๊มน้ำ คือเครื่องมือที่ช่วยในการส่งน้ำ ประกอบด้วย mechanic และ Electricity / engine มี 2 ส่วน มีหัวปั๊มและมอเตอร์ มอเตอร์ทำหน้าที่หมุนให้ตัวปั๊มเคลื่อนที่เพื่อผลักน้ำจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งไปโดยแรงดันและปริมาณน้ำ ตามการออกแบบของแต่ละการใช้งาน ช่วยเสริมน้ำให้แรงขึ้นไปถึงอีกจุดหนึ่งได้พร้อมกับปริมาณน้ำที่เพิ่มมากขึ้น ถ้าเราต้องการปริมาณน้ำมาก แรงดันจะน้อย ถ้าเราต้องการปริมาณน้ำน้อย แรงดันจะมาก
ดู ปั๊มน้ำคืออะไร, โดยบริษัท ยูโร-โอเรียนเตล เทรดดิ้ง จำกัด (EURO – ORIENTAL TRADING CO., LTD), 1 พฤษจิกายน 2562, https://www.eurooriental.co.th/ปั๊มน้ำคืออะไร/
& 10 อันดับ ปั๊มน้ำ ยี่ห้อไหนดี ฉบับล่าสุดปี 2021 แรงดันสูง ทำงานอัตโนมัติ สำหรับใช้งานในบ้าน, โดย mybest บริการแนะนำข้อมูลสินค้า DIY อุปกรณ์, https://my-best.in.th/49967
[25]ปั๊มน้ำคืออะไร, โดยบริษัท ยูโร-โอเรียนเตล เทรดดิ้ง จำกัด (EURO – ORIENTAL TRADING CO., LTD), 1 พฤษจิกายน 2562, อ้างแล้ว
[26]ดู 4 ประเภทของปั๊มน้ำ ความรู้เบื้องต้นของปั๊มน้ำแต่ละประเภท, wongtools บริษัท วงศ์นภัส ค้าเหล็กและวัสดุก่อสร้าง จำกัด, https://www.wongtools.com/content/18143/-4-ประเภทของปั๊มน้ำ-ความรู้เบื้องต้นของปั๊มน้ำแต่ละประเภท
[27]ความรู้พื้นฐานการเลือกปั๊มซับเมอร์ส (ปั๊มบาดาล), โดย Franklin Electric, KTW Group เกรียงไทยวัฒนากรุ๊ป, 11 พฤษภาคม 2558, http://franklinthailand.com/ความรู้พื้นฐานการเลือกปั๊มซับเมอร์ส-ปั๊มบาดาล
ปั๊มซับเมอร์ส (ปั๊มน้ำบาดาล) จะทำงานได้จะต้องประกอบไปด้วยส่วนที่สำคัญ 2 ส่วน คือส่วนปั๊ม และส่วนมอเตอร์
ไม่มีความเห็น