การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนวัดนอก อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฏร์ธานี


บทสรุปสำหรับผู้บริหารชื่อผลงาน : รายงานการประเมินโครงการระบบดูแล่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนวัดนอก อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 ปีการศึกษา 2563 ผู้ประเมิน : นางสาวจิราภรณ์ หมานพัฒน์ตำแหน่ง : ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดนอก ปีการศึกษา : 2563 รายงานการประเมินโครงการระบบดูแล่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนวัดนอก อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต1 ปีการศึกษา 2563 มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อประเมินบริบทของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนวัดนอก 2)เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าในการดำเนินงานของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนวัดนอก 3)เพื่อประเมินกระบวนการดำเนินงานของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนวัดนอก 4) เพื่อประเมินผลผลิตที่ได้จากโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนวัดนอก ปีการศึกษา 2563 โดยการประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิป (CIPP Model) มาใช้ในการประเมิน โดยใช้แบบสอบถามตามที่ผู้ประเมินได้สร้างขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คณะกรรมการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนวัดนอก อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มตัวอย่าง มีจำนวน 172 คน ประกอบด้วย 1) คณะกรรมการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำนวน 14 คน แบ่งออก เป็นครูผู้สอน จำนวน 7 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (ไม่นับรวมผู้อำนวยการโรงเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาที่เป็นตัวแทนครู) จำนวน 7 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 14 คน 2) นักเรียนระดับชั้นอนุบาล 1-ประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดนอก ปีการศึกษา 2563 จำนวน 104 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตารางของเครซีและมอร์แกน (Krejcie and Morgan.1970:608) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 80 คน 4) ผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นอนุบาล 1-ประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดนอก ปีการศึกษา 2563 จำนวน 104 คน (กำหนดเท่ากับจำนวนนักเรียน) กำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตารางของเครซีและมอร์แกน (Krejcie and Morgan.1970:608) จำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นแบบสอบถาม จำนวน 2 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1ผู้ตอบแบบสอบถาม คือ คณะกรรมการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .821 และฉบับที่ 2 ผู้ตอบแบบสอบถาม คือ นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .866สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Arithmetic Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการประเมินพบว่า
1. การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของคณะกรรมการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนวัดนอก อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย คือ ด้านผลผลิตของโครงการ รองลงมา ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านบริบท และด้านกระบวนการ ตามลำดับ ผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนวัดนอก อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี ภาพรวมและรายด้าน เมื่อเทียบกับเกณฑ์การประเมิน พบว่า ค่าเฉลี่ยการประเมิน เห็นว่ามาก มีค่า 3.51 ขึ้นไป ถือว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า1.1 ด้านบริบท โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ความเป็นไปได้ของโครงการ รองลงมา คือ ความต้องการจำเป็นของโครงการ และ รองลงมา คือ วัตถุประสงค์ของโครงการ ตามลำดับ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดใน ประเด็นความเป็นไปได้ของโครงการ คือ โรงเรียนสามารถบริหารจัดการโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบ ประเด็นความต้องการจำเป็นของโครงการ คือ โครงการมีการดำเนินงานที่สอดคล้องกับนโยบายของ สพฐ.และประเด็นวัตถุประสงค์ของโครงการ คือ นักเรียนทุกคนได้รับการดูแลช่วยเหลืออย่างเป็นระบบและเท่าเทียมกัน แต่ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ผู้บริหารมีนโยบายชัดเจนในการดำเนินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน1.2 ด้านปัจจัยนำเข้า โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย คือ ความพร้อมของบุคคลที่เกี่ยวข้อง รองลงมา คือ ความพอเพียงด้านทรัพยากรต่าง ๆ ตามลำดับ โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ในประเด็นความพร้อมของบุคคลที่เกี่ยวข้อง คือ ผู้บริหารโรงเรียนให้ความสำคัญและเป็นผู้นำในการอำนวยการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างต่อเนื่อง ครูมีเจตคติที่ดีในการให้ความรัก ความเอื้ออาทรและความเข้าใจธรรมชาติของนักเรียน และผู้ปกครองร่วมมือกับโรงเรียนในการส่งเสริมป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน ประเด็นความพอเพียงด้านทรัพยากรต่าง ๆ คือ มีงบประมาณในการดำเนินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่เพียงพอ แต่ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ครูประจำชั้นมีความรู้ความเข้าใจ มีเจตคติที่ดีในบทบาทหน้าที่การดูแลช่วยเหลือนักเรียน และนักเรียนมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน1.3 ด้านกระบวนการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย คือ กิจกรรมการดำเนินงานตามโครงการ รองลงมา คือ ช่วงเวลาดำเนินงานตามโครงการ ตามลำดับ โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ในประเด็นกิจกรรมการดำเนินงานตามโครงการ (กิจกรรมส่งเสริมนักเรียน) คือ โรงเรียนมีการจัดกิจกรรมแก้ไขปัญหาของนักเรียนกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยงและนักเรียนกลุ่มมีปัญหา ประเด็นช่วงเวลาดำเนินงานตามโครงการ คือ มีการประเมินรายงานผลการดำเนินงานโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามระยะเวลาที่กำหนด แต่ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ โรงเรียนจัดกิจกรรมให้นักเรียนรู้จักจุดเด่น จุดด้อยและการพัฒนาปรับปรุงตนเอง1.4 ด้านผลผลิตของโครงการตามความคิดเห็นของคณะกรรมการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนมีพัฒนาการด้านน้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐานของเด็กไทย และนักเรียนสามารถหลีกเลี่ยงและป้องกันตนเองให้ห่างจากสิ่งเสพติด แต่ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดตามความคิดเห็นของคณะกรรมการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน คือ นักเรียนมีความมั่นคงทางอารมณ์และมีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น1.5 ด้านผลผลิตของโครงการตามความคิดเห็นของ นักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนมีความรู้ ความสามารถ ความสนใจ จุดเด่น จุดด้อย พร้อมที่จะปรับปรุงและพัฒนาตนเองตลอดเวลา แต่ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ นักเรียนสามารถหลีกเลี่ยงและป้องกันตนเองให้ห่างจากสิ่งเสพติด1.6 ด้านผลผลิตของโครงการตามความคิดเห็นของผู้ปกครอง โดยรวมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนมีความมั่นคงทางอารมณ์และมีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น แต่ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ นักเรียนมีค่าใช้จ่ายที่เพียงพอในการศึกษาเล่าเรียนข้อเสนอแนะทั่วไป การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดนอก มีข้อเสนอแนะดังนี้ 1. ผู้บริหารมีนโยบายชัดเจนในการดำเนินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ควรกำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการประจำปี และให้เป็นโครงการต่อเนื่องเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน
2.ควรมีการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานอย่างถูกต้อง ชัดเจน ให้แก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรม 3. ควรมีการพัฒนาครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้ ความเข้าใจ มีความพร้อมและเจตคติที่ดีในบทบาทหน้าที่การดูแลช่วยเหลือนักเรียนทุกปี โดยเฉพาะเมื่อมีการหมุนเวียนระดับชั้นที่สอนเพราะครูต้องรับผิดชอบนักเรียนที่มีความแตกต่างจากเดิม 4.โรงเรียนควรจัดเงินงบประมาณอุดหนุนโครงการให้เพียงพอต่อการจัดกิจกรรมต่าง ๆ 5.ครูประจำชั้นควรให้เวลากับนักเรียนเพื่อปรึกษาปัญหาต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม อาจเป็นทั้งในเวลาและนอกเวลาเรียนก็ได้ขึ้นอยู่กับสภาพปัญหาของนักเรียนที่เกิดขึ้นในขณะนั้น 6. ควรมีการพัฒนานักเรียนให้สามารถเรียนรู้ได้ตามศักยภาพและมีความสุขในการเรียน และนักเรียนมีสุขภาพกายที่ดีข้อเสนอแนะสำหรับการศึกษาครั้งต่อไป 1. ควรศึกษาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชนตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน2. ควรศึกษาความพึงพอใจของครูและผู้ปกครองต่อระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

หมายเลขบันทึก: 690008เขียนเมื่อ 12 เมษายน 2021 22:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 เมษายน 2021 22:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท