ปรัชญาการใช้ชีวิตตามทัศนะของพระพุทธศาสนา ตอนที่๑


บันทึกจาก แอพพ์ ZOOM : รัชญาการใช้ชีวิตตามทัศนะของพระพุทธศาสนา ตอนที่๑  

โดย พระครูปลัดธันรบ โชติวํโส (วงศ์ษา)

เรื่องที่จะมาชวนท่านผู้ฟังมาพูดคุยและวันนี้เนี่ย เราตั้งหัวข้อเอาไว้กลางๆว่า จริยศาสตร์โดยทั่วๆไปของพระพุทธศาสนานะครับ ฟังหลวงพี่อธิบายให้ฟังสักนิดหน่อยเพื่อให้จะได้เข้าใจว่าทำไม ผมถึงชวนสนทนากันด้วยเรื่องที่ว่านี้นะครับ คือจุดตั้งต้นแนวคิดที่เป็นอุดมการณ์ของพระพุทธศาสนา ที่เป็นแรงขับการออกบวชของเจ้าฟ้า เจ้าชายรูปหนึ่งในภารตะประเทศ แสวงหาแก่นสาร สาระบางอย่างในความหมายของการเป็นมนุษย์ กับคำถามว่าชีวิตที่ดีชีวิตที่ประเสริฐเป็นยังไง คนสมัยนั้นเขามีความเข้าใจมีแนวทางยังไง แล้วพระพุทธเจ้าท่านมีแนวทางหรือหลักปฏิบัติอย่างไร ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นรากฐานที่สำคัญเลยก็ว่าได้ จนเราทุกคนได้มาสวดมนต์บทๆหนึ่งเป็นล้านๆรอบ ทุกวันนี้ บทธรรมจักรฯ เดิมทีเนี่ย มันมีเค้าร่าง มีแนวคิดมีปรัชญามายังไง ก็จะมาชวนคุยกัน ฟังกันสบายๆ

เรื่องมันเป็นอย่างนี้ครับ มีสองสิ่งที่มนุษย์เราเกี่ยวข้องด้วยในฐานะความรู้ สิ่งแรกคือ ความรู้ว่า “อะไรเป็นอะไร” สิ่งที่สอง คือ ความรู้ว่า “อะไรควรเป็นอะไร” วิทยาศาสตร์เป็นตัวอย่างของความรู้แบบแรก ส่วนศาสนาเป็นตัวอย่างของความรู้แบบที่สอง ถ้าจะพูดอย่างที่ไม่ต้องเคร่งมาก ให้เข้าใจง่ายๆ เราก็อาจจะพูดได้ว่า ความแตกต่างที่สำคัญอย่างหนึ่ง ระหว่างงวิทยาศาสตร์กับศาสนาคือ วิทยาศาสตร์นั้นเน้นศึกษา “โลกภายนอก” ส่วนศาสนานั้น ศึกษา “โลกภายใน” โลกภายนอกนั้นหมายถึงคือจักรวาลทั้งหมด ส่วนโลกภายในก็คือ จิตใจหรือความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์  เนื่องจากโลกภายนอกเป็นสสาร ทุกอย่างที่เกิดกับมันจึงเป็นสิ่งที่มันไม่ได้เลือก  แต่มนุษย์นั้นมีจิตใจ และคุณสมบัติที่สำคัญอย่างหนึ่งของจิตใจก็คือ การเลือก เพราะรู้จักเลือก จึงเกิดคำถามที่ว่า “ควรเลือกอะไร” และคำถามนี้เองที่นำไปสู่การเกิดขึ้นของระบบ “คุณค่า” เช่น ศาสนา หรือจริยธรรมที่ไม่ได้อยู่ในรูปแบบของศาสนา

พระพุทธเจ้านั้นตามประวัติพระองค์ทรงเป็นเจ้าชาย และตามประวัติอีกเช่นกัน ที่เราทราบว่าพระองคืทรงได้รับการปรนเปรอความสุขทางโลกียะ ต่างๆนานาโดยเสด็จพ่อ พระบิดาของพระองค์เท่าที่จะทรงจัดสรร สรรหามาให้ได้ เพียงเพื่อผูกมัดเจ้าชายเอาไว้ในราชสำนัก พระพุทธศาสนาคงจะไม่เกิดและตกทอดมาถึงพวกเรา ถ้าหากวันหนึ่งเจ้าชายพระองค์นี้ ไม่ทรงตั้งคำถามเกี่ยวกับสถานะความเป็นไปของชีวิต ซึ่งคำถามนั้นพุ่งตรงไปหาความเป็นไปตามธรรมชาติที่ว่า... คนเรานั้นเมื่อเกิดแล้วก็ต้องแก่ ต้องเจ็บต้องตายในที่สุด ไม่มีใครได้รับการยกเว้น “ชีวิตตามที่เป็น” จึงไม่ต่างจากสิ่งต่างๆ หรืออะไรก็ตามที่ธรรมชาติบงการ ดำรงอยู่ระยะหนึ่ง แล้วก็ต้องละลายหายไป ดังนั้นชีวิตของพวกเราในแง่นี้ ก็เล็กนิดเดียวเมื่อเทียบกับสิ่งที่ใหญ่กว่านั้น เช่น แผ่นดิน และดวงดาวต่างๆ  การครุ่นคิดไปในทิศทางแบบนี้ ท้ายที่สุดก็นำไปสู่การถามหา ความหมายของคำว่า “ชีวิตที่ควรจะเป็น” จนเป็นภาวะที่ทำให้เกิดความรู้สึกบีบคั้นแรงกล้า ที่ต้องการละจากราชสำนัก ออกบวชเพื่อแสวงหาชีวิตอันควรจะเป็นนั้นในท้ายที่สุดนั่นเอง หรืออาจจะบอกได้ว่า อะไรคือชีวิตที่ดี ชีวิตที่ประเสริฐ ในความหมายของเจ้าชายพระองค์นั้น แล้วภายหลังพระองค์ก็ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าและค้นพบ ความหมายนั้น ถ่ายทอดมาเป็นแก่นสารและแนวทางให้กับผู้ที่เลื่อมใสและต้องการค้นหาคำตอบจากคำถามในใจอย่างพระองค์  คนส่วนใหญ่ในโลกนั้นใช้ชีวิต “ตามที่เป็น” มีน้อยคนที่ใช้ชีวิต “อย่างที่ควรเป็น” การใช้ชีวิตอย่างที่ควรเป็น จึงดูเหมือนการสวนกระแสโลกมากๆ ไม่ใช่แค่ในอดีตกับปัจจุบันเท่านั้น อนาคตมันก็ยังต้องเป็นต่อไป

ขอเล่าอย่างนี้ครับย้อนกลับไปในอดีต ในประเทศที่เป็นบ่อเกิดของปรัชญา ๒ ที่นะครับ ประเทศอินเดีย และประเทศกรีซ (กรีก) นักคิดใน๒ประเทศนี้เนี่ย เขาตั้งข้อสังเกตว่า ในการใช้ชีวิตประจำวันเนี่ย มันจะมีคำบางคำที่ เราใช้ระบุถึงคุณสมบัติของ คนก็ได้ ของวัตถุสิ่งของก็ได้ ซึ่งคำเหล่านี้เนี่ยเนื่องจากเป็นคำที่มีความหมายสำคัญและเราก็ใช้กันมากเนี่ย นักคิดเหล่านี้ก็เลยคิดว่าเป็นหน้าที่ของพวกเขาที่จะต้องหาคำนิยาม เพื่อให้เข้าใจว่าเวลาที่เราพูดคำๆนี้เนี่ย ตกลงมันแปลว่าอะไรแน่ ก็คือคำว่า คุณค่า เนี่ย หมายถึงคุณสมบัติที่ไม่สามารถจะตรวจจับ หรือว่าจะชั่งวัดได้เหมือนกับคุณสมบัติที่เรียกว่าข้อเท็จจริงนะครับ ขอยกตัวอย่างครับ เวลาเราบอกว่า แตงโมลูกนี้หนัก ๓ กิโล คุณสมบัติคือน้ำหนัก๓กิโล มันวัดได้ใช่มั้ยครับ ก็คือ เราเอาแตงโมลูกนั้นเนี่ยไปวางบนตาชั่ง พอเข็มบนตาชั่ง มันชี้ไปที่เลข ๓ กิโล ทุกคนก็จะเห็นตรงกันว่า เออมันใช่ มันหนัก ๓ กิโลฯจริงๆ  ความขัดแย้ง..เกี่ยวกับเรื่องคุณสมบัติในเชิงข้อเท็จจริงของสิ่งต่างๆเนี่ยแก้ง่ายครับ  เพราะว่ามันวัดได้ เช่น เอาแตงโม หรือของไปชั่งอย่างที่บอกเมื่อสักครู่นี้  ที่นี้พอเรามาพิจารณาถึงคุณสมบัติของ อะไรดีล่ะ อ่ะ.. เอาแตงโมก็ได้ครับ  แต่ว่ามันเป็นคุณสมบัติอีกอย่างหนึ่งเนี่ย เวลาที่คนมีความเห็นแตกต่างกันเกี่ยวกับคุณสมบัติใหม่เนี่ย เรื่องนี้ก็จะยาก ที่จะวินิจฉัยว่าตกลงใครผิดใครถูกนะครับ  ผมขอยกตัวอย่างแตงโมลูกเดิม ๓กิโลนี่นะครับ สมมุติเราเอาไปผ่าแล้ว แล้วแบ่งให้คน ๓-๔คนกิน แล้วถามว่าอร่อยมั้ย ผมเข้าใจว่า อาจเป็นไปได้นะครับว่าในบรรดาจำนวนคน ๓-๔ คนเนี่ย นาย ก. อาจจะบอกว่า โอ้ อร่อยมาก แล้วคนอื่นๆก็อาจบอกว่าอร่อย แต่อาจจะไม่ได้บอกว่าอร่อยมากเหมือนกับนาย ก. แต่อาจจะมีบางคน คืออาจจะ นาย ฉ. นายจ.  อาจจะบอกว่า “ไม่อร่อยเลย” เห็นมั้ยครับ ทีนี้มีคำถามว่าเวลามีคน๒คนพูดถึงคุณสมบัติคือความอร่อยของแตงโม ลูกนี้เนี่ย คนหนึ่งบอกอร่อย อีกคน บอกไม่อร่อย คำถามคือเราจะมีวิธีตัดสินอย่างไร แน่นอนครับว่า ความอร่อย หรือไม่อร่อยเนี่ยมันชั่งออกมา เหมือนน้ำหนัก๓กิโลฯไม่ๆได้  คุณค่าแบบนี้แหละครับที่วิชาปรัชญาเนี่ยสนใจ  ตะกี้คุณค่าของแตงโมเนี่ยมันเป็นคุณค่าอีกแบบหนึ่ง  ซึ่งผมขอเรียกง่ายๆว่า คุณค่าแบบที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องทางศีลธรรม คุณค่าแบบนี้เนี่ยตามที่เราพบ ส่วนมากมักเป็นคุณค่า เรื่องทางความงาม คุณค่าทางศิลปะ... ถ้าเราจะถือว่าคุณค่าเรื่องรสชาติของแตงโมเนี่ยมันเกี่ยวข้องกับเรื่องทางสุนทีรยศาสตร์ก็ได้นะครับ นี้ก็เป็นตัวอย่างว่ามันมีคุณค่าของสิ่งต่างๆในโลกที่ไม่ใช่คุณค่าทางด้านจริยธรรม... 

ตัวอย่างเรื่องของคุณค่าทางด้านจริยธรรม ซึ่งเป็นเรื่องหลักที่ผมจะชวนท่านผู้ฟังสนทนากันในวันนี้เนี่ย  ก็เช่น เราพูดว่า คนนั้นเป็นคนดี  คนคนนี้เป็นคนดีนะ.. ควรจะเลือกให้เป็นกำนันผู้ใหญ่บ้านของเรา เลือกให้เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด เลือกให้เป็น ส.ส. หรือแม้แต่ในสมัยก่อนในระบบที่ประชาชนสามารถที่จะเลือกหรือว่าแต่งตั้งกษัตริย์ได้เนี่ย ก็จะมีคำพูดแบบนี้ครับว่า คนคนนี้สมควรที่จะเป็นกษัตริย์ของเรา ที่นี้คำว่าดีเนี่ยผมอยากให้ท่านผู้ฟังสังเกตนะครับ  มันคล้ายๆกับเรื่องอร่อย ไม่อร่อยเมื่อสักครู่เนี่ย... คือเวลาที่มีคนเห็นต่างกัน แล้วเราต้องการวินิจฉัยว่า เอ๊ะความต่างนี้เนี่ย ใครกันแน่ที่ผิดที่ถูก ซึ่งมันไม่ง่ายนะครับ ไม่เหมือนกับชั่งแตงโมหนัก๓ กิโลฯ นะครับ

ที่เกริ่นมานั้นจัดว่าเป็นศาสตร์แขนงหนึ่ง เราเรียกชื่อว่าวิชาจริยศาสตร์นะครับ  วิชาจริยศาสตร์เนี่ยเป็นวิชาที่เกิดขึ้น เพราะว่านักปรัชญาสมัยโบราณเนี่ยสนใจและอยากจะหาความหมายของคุณสมบัติ ที่เรียกว่า”ดี” เนี่ยนะครับ ทีนี้นักปรัชญาเวลาที่เขาพูดถึงเรื่อง”ดี”เนี่ย เขาได้แยกประเด็นเรื่องของความดีนั้นออกเป็น ๒ หมวดหลักๆ แล้วประเด็นเรื่องของความดี๒หมวดหลักๆที่ว่านั้นต่อมาก็กลายเป็นเนื้อหา ๒ สาขาของวิชาจริยศาสตร์นะครับ ประเด็นที่๑ก็คือจะมีการตั้งคำถามกันว่า ชีวิตที่ดี ชีวิตที่ประเสริฐนั้นเป็นยังไง อันนี้คือเรื่องหนึ่งนะครับ อีกประเด็นที่มีการตั้งขึ้นแล้วก็ศึกษา มีคำตอบมากมายพอๆกับประเด็นที่๑ ก็คือประเด็นที่ว่า การกระทำที่ดีคือการกระทำแบบไหน มีองค์ประกอบยังไงถึงจะเข้าข่ายว่าเป็นการกระทำที่ดี... ซึ่งเท่าที่ฟังมาท่านผู้ฟังก็คงแยกออกนะครับว่า ประเด็นที่๑เนี่ยมันเกี่ยวข้องกับเรื่องชีวิตของคน   ชีวิตที่ประเสริฐชีวิตที่ดีนั้นเป็นยังไงเนี่ย เนื้อหามันจะเกี่ยวข้องกับชีวิตคน ส่วนเนื้อหาส่วนที่๒ที่ถามว่า เวลาที่มีคนคนหนึ่งจะเป็นเราก็ได้เป็นเพื่อนเราก็ได้ ทำบางสิ่งบางอย่างแล้วมีคนบอกว่า เอ๊ะนี่คือการกระทำที่ดีนะ แต่ว่าบางคนอาจจะบอกว่า ไม่ๆ การกระทำนี้ไม่ถือว่าเป็นการกระทำที่ดีเลย  เราจะมีเกณฑ์วินิจฉัยอย่างไร เนื้อหาส่วนที่สองนี่จะเกี่ยวข้องกับการกระทำของคน...  เนื้อหาส่วนที่สองนี่มันเป็นเรื่องย่อยกว่านะฮะ เนื้อหาส่วนที่หนึ่งนี่มันเป็นเรื่องหลัก เป็นเรื่องซึ่งพูดถึงคนคนนั้น..ทั้งคน อาจจะทั้งชีวิตเลยก็ได้ถ้าพิจารณาตั้งแต่ต้นจนจบเพื่อพิจารณาวินิจฉัยชั่งน้ำหนักว่า ในท้ายที่สุดเนี่ยคนคนนี้เป็นคนยังไงในทัศนะของเรา ใช่มั้ยครับ แต่ว่าเนื้อหาส่วนที่สองเนี่ยมันเกี่ยวข้องกับการกระทำของคน.เป็นครั้งๆไป   อาจจะเป็นไปได้ครับว่า คนคนหนึ่งเนี่ย การกระทำหนึ่งอาจจะเรียกว่าดี  การกระทำที่สองที่สามที่สี่ อาจจะไม่ดีก็ได้ แต่ทั้งหมดนี่การที่เราจะรู้ว่าดี หรือไม่ดีนั้น มันจะต้องมีหลักเกณฑ์การตรวจสอบในการวินิจฉัย นะครับ  ที่นี้วันนี้เราจะใช้เวลาทั้งหมด ซึ่งผมเข้าใจว่าอาจจะสักประมาณ ๔๐นาทีนะครับ   ในการพิจารณาเนื้อหาส่วนที่ ๑ ก็คือเนื้อหาที่ว่า ชีวิตที่ประเสริฐในทัศนะของพระพุทธศาสนาเป็นยังไงนะครับ   แต่ว่าก่อนที่จะเข้าไปที่ประเด็นรายละเอียดว่าศาสนาพุทธได้เสนอคำตอบว่าชีวิตที่ประเสริฐนั้นเป็นอย่างไรเนี่ย ผมอยากชวนท่านผู้ฟัง คุยเรื่องเบื้องต้นนิดหน่อยนะฮะ.. จะใช้เวลาไม่มาก คือก่อนที่จะไปดูว่าศาสนาพุทธคิดเรื่องนี้ยังไงเนี่ย ผมคิดว่าจะเป็นการดีถ้า เราไปดูว่าคนอื่นๆในวงการปรัชญา เท่าที่เคยมีมาในอดีตจนกระทั่งปัจจุบันเนี่ยเขาพูดเรื่องนี้ไว้ว่าอย่างไร ผมจะจำกัดไปที่อินเดียในสมัยพุทธกาลนะครับ เพราะว่าคำตอบมันมีมาก เราไม่สามารถจะตอบเรื่องนี้โดยไปพิจารณาความคิด ของนักคิดหรือสำนักความคิดทางปรัชญาทุกอย่างได้ จะขอเจาะจงไปที่อินเดียสมัยพุทธกาลเท่านั้นนะครับ

คืออย่างนี้ครับ คนอินเดียที่เป็นนักคิดสมัยก่อนเนี่ย เขาบอกว่าคนเราเกิดมาแล้ว ชีวิตมันเป็นของชั่วคราว โดยเฉลี่ยเราก็มีอายุกันประมาณสัก ๗๐- ๗๕ ปีอ่ะ เอาสัก๗๐ปีก็แล้วกัน ๗๐ปีเนี่ย คูณด้วย ๓๖๕วัน มันก็ไม่กี่หมื่นวันนะฮะ ผมเคยลองคำนวณดูละลืมไปละ อาจจะประมาณสัก๓หมื่นไล่ๆไป๔หมื่น เด่วลองกดเครื่องคิดเลขดูก็ได้   อ่ะท่านผู้ฟังลองคำนวณดูก็แล้วกันนะฮะ  เอาเป็นว่า ในแต่ละวันเนี่ย พอพระอาทิตย์ขึ้น เราตื่นนอน นาฬิกาเดิน เราก็ทำกิจกรรม พอพระอาทิตย์ตก เราก็กลับบ้าน กินข้าวกินปลา พักผ่อน แล้วเราก็นอนหลับ  เพื่อที่จะอะไรครับ เพื่อที่จะรอให้พระอาทิตย์ขึ้น แล้วก็ทำเหมือนเดิมในวันถัดไป ทุกครั้งที่ดวงอาทิตย์ขึ้น ดวงอาทิตย์ตกเนี่ย เราก็เสียหนึ่งวันไป  ลองนึกภาพนะครับ ท่านผู้ฟังมีเหรียญอยู่ในกระเป๋า ๓-๔หมื่นเหรียญเนี่ย ในแต่ละวันเราก็ต้องควักออกมาใช้วันละหนึ่งเหรียญ ทุกวัน แน่นอนครับ สักวันเหรียญเหล่านี้มันก็ต้องหมด วันที่เหรียญหมดก็คือวันที่เราตายนะครับ...

คำถามคือ เมื่อเรามีเวลาจำกัดเช่นนี้ เราควรจะเอาเวลาชีวิตในแต่ละวันไปทำอะไร จึงจะถือว่าคุ้มค่าที่สุด นี่คือคำถามที่นักคิดอินเดียในสมัยนั้นเขาถามนะครับ ทีนี้พอมีคำถาม แน่นอนครับนักคิดเหล่านี้เขาพยายามตอบ คำตอบที่หนึ่งเนี่ย อันนี้น่าสนใจครับท่านผู้ฟังลองฟังดูนะครับ แนวคิดแบบที่๑เนี่ย บอกว่าการที่เราจะรู้ว่าชีวิตที่เราจะใช้ไปทำอะไรจึงจะถือว่าคุ้มค่า เราจะตอบลอยๆโดยไม่พิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับชีวิตไม่ได้หรอก   เออ ผมถือว่าแนวคิดที่จะเล่าให้ฟังสั้นๆต่อไปนี้เนี่ยเป็นแนวคิดแบบธรรมชาตินิยม ชนิดหนึ่งในอินเดียสมัยโบราณ ซึ่งศาสนาพุทธเนี่ยในแง่หนึ่งก็มีความคิดแบบธรรมชาตินิยม แต่เนื่องจากธรรมชาตินิยมก็มีได้หลายแบบนะครับ ก็ไม่จำเป็นว่าธรรมชาตินิยมของสำนักที่ผมจะพูดถึงนี้เนี่ย จะเป็นธรรมชาตินิยมแบบเดียวกับที่พระพุทธเจ้าท่านสอนนะครับ...

ย้อนกลับมาที่นักปรัชญาพวกธรรมชาตินิยมกลุ่มนี้... พวกนี้เขาบอกว่าอย่างนี้นะครับ ถ้าสังเกตดูชีวิตเราเนี่ย ธรรมชาติสร้างให้เราชอบบางอย่าง ไม่ชอบ หรือเกลียดบางอย่าง ชอบบางสิ่งแล้วในขณะเดียวกันก็เกลียดบางสิ่ง บางอย่าง...  ที่นี้ถ้าจะพูดโดยประมวลเนี่ย สิ่งที่เราชอบก็คือ สิ่งที่ทำให้เรามีความสุข นะฮะ.. สิ่งที่เราไม่ชอบก็คือสิ่งที่ทำให้เรามีความทุกข์  ถ้าถามท่านผู้ฟังว่า สมมุติเราไปเช่าห้อง อ่ะไปนอนโรงแรมก็ได้ ไม่ได้เช่าห้องเนาะ เสร็จแล้วเนี่ย พนักงานก็บอกว่า โรงแรมเขาเนี่ยราคามันเท่ากันหมด เขามีห้องให้เลือก สองประเภท ห้องประเภทที่๑ เขาเรียก ห้องร้อน ก็คือไม่มีแอร์ ห้องประเภทที่สองก็คือ ห้องเย็น ก็คือมี เครื่องปรับอากาศ สมมุติว่า ค่านอนในโรงแรมนั้น ราคาคืนละ ๑,๐๐๐ บาท ถามครับว่าท่าน

จะเลือกนอน ห้องร้อนๆ หรือว่า ห้องเย็นๆ ราคาเท่ากันหนึ่งพันเนี่ย  ผมไม่คิดว่าจะมีใครเลือกนอนห้องร้อนครับ ถามว่าทำไม ก็เพราะว่า ร้อนแล้วมันทุกข์ครับ ทำไมเราถึงชอบนอนห้องเย็นก็เพราะว่า เย็นพอเหมาะพอดี นี่มันทำให้เกิดความสุขไงฮะ อันนี้ก็เป็นตัวอย่างใช่มั้ยครับ อ่ะลองคิดเรื่องอื่นๆนะครับ สมมุติว่าเราไปกินอาหาร แล้วแม่ค้าบอกว่า ราคาอาหารร้านนี้ทุกจานเท่ากันหมด มีอาหารสองชนิดคือ อร่อย กับไม่อร่อย อ่ะแน่นอน เราก็ต้องเลือกอาหารที่มันอร่อยใช่มั้ยครับ  เพราะสังเกตแบบนี้แหละครับ นักปรัชญากลุ่มนี่ก็เลยบอกว่า ชีวิตเราเนี่ย ไม่ว่าเราจะพยายามหาว่า ชีวิตประเสริฐเป็นยังไง คิดไปเหอะครับ แต่ท้ายที่สุดแล้วเนี่ย  ธรรมชาติมันจะบงการเราเองครับ  เพราะฉะนั้นคนเหล่านี้เนี่ยก็เลยบอกว่า ในทัศนะของพวกเขาเนี่ย ชีวิตของคนเรานี่ควรใช้เพื่อที่จะแสวงหาความสุข และก็หลีกเลี่ยงความทุกข์ ไม่มีเหตุผลที่จะไปหาอย่างอื่นที่ไม่ใช่ความสุข อ่ะอันนี้คือเหตุผลของเขานะครับ  แนวคิดแบบนี้เนี่ยภายหลังในทางปรัชญา เรากำหนดชื่อเรียกแนวคิดแบบนี้ว่า แนวคิดแบบ สุขนิยม หรือนิยมความสุขน่ะ คิดอย่างนั้นก็ได้ ความสุขในทัศนะของกลุ่มนี้เนี่ย เนื่องจากฐานความคิดของพวกเขาคือธรรมชาติของชีวิตเราใช่มั้ยครับ ซึ่งมันเป็นข้อเท็จจริง ที่วัดได้ จับต้องได้ เพราะฉะนั้นความสุขในทัศนะของคนกลุ่มนี้ก็คือ ความสุขที่สามารถวัดได้ จับต้องได้  ซึ่งก็เริ่มต้นจากความสุขทาง อายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น แล้วก็กาย ส่วนความสุขทางใจ ถ้ามันเป็นสิ่งที่วัดได้ จับต้องได้ คนเหล่านี้ก็ถือว่า ก็จัดอยู่ในความสุขที่พวกเขาหมายถึงนะครับ ทีนี้โดยรวมๆเนี่ย ทฤษฎีจริยศาสตร์ของสำนักนี้เสนอว่า คนเราเกิดมาแล้วเนี่ย มันเป็นคล้ายๆกับเป็นหน้าที่ของชีวิตเลยนะครับ ที่ว่าเราจะต้องหาความสุขให้กับตนเอง งั้นการหาความสุขนั้นมันก็จะต้องมีเครื่องมือครับ เครื่องมือที่ดีที่สุดเท่าที่ประวัติศาสตร์มนุษย์ได้แสดงให้เราเห็นว่าใช้หาความสุขได้ดีที่สุด ก็คือความรู้ ครับ เพราะฉะนั้นคนเราเกิดมาก็ต้องรู้จักเรียนหนังสือ เรียนหนังสือจะทำให้เรามีความรู้ พอมีความรู้แล้วเนี่ยก็จะทำให้เราเป็นคนที่บริหารจัดการ คัดเลือกว่าอะไรคือสุข ที่มีคุณภาพดีกว่าให้กับชีวิตได้  และยิ่งเป็นสมัยนี้นะครับ คนที่มีความรู้ก็จะเป็นคนที่หาเงินได้ง่ายกว่าคนที่มีความรู้น้อยนะฮะ..  เอ่อ ความสุขที่ว่าเนี่ยมันต้องเอาเงินไปแลกใช่มั้ยครับ เช่นเราจะมีอาหารดีๆกิน  มีบ้านดีๆอยู่ มีรถดีๆขับ เราก็ต้องมีเงิน เราจะหาเงินได้ลำบากถ้าเราไม่มีความรู้ ดังนั้นถ้าอยากจะมีความสุข ก็ต้องใส่ใจ ร่ำเรียนหนังสือ ตระเตรียมตนเองให้เป็นคนที่มีมีวิชาความรู้ติดตัว เพื่อที่จะได้หาเงินแล้วก็เอาเงินนั้นมาซื้อ ความสุข

เนื่องจากว่า ความสุข มันมีได้สูงขึ้นไปเรื่อยๆ เพราะงั้นความสุขที่มนุษย์เราหาในระยะแรกๆ มันก็อาจจะเป็นความสุขเกี่ยวข้องกับ การที่มีอาหารดี มีบ้านดีๆอยู่ มีรถดีๆขับ แต่ พอถึงจุดหนึ่งมนุษย์ทุกคนก็จะเรียนรู้ได้เองครับว่า ความสุขบางอย่าง มันอาจจะไม่ได้ เป็นตัวเป็นตนเป็นเนื้อเป็นหนัง วัตถุใดๆ ที่กินได้สัมผัสได้ แบบนี้แต่ว่าคุณภาพมันดีในอีกแบบหนึ่ง อาจจะเรียกว่าดีกว่าความสุขที่ปรากฏอยู่ใน ของกิน ของใช้ อย่างที่ผมพูดเมื่อสักครู่นี้นะครับ  ตัวอย่างความสุขในแบบที่๒ ซึ่งสูงกว่าความสุขที่อยู่ในวัตถุ ก็เช่น ความสุขที่เกิดจากการมีครอบครัวที่ดี มีภรรยาสามี มีลูกที่เข้าใจกัน รักกัน มีครอบครัวที่ดี มีเพื่อฝูงที่ดี มีมิตรภาพ เห็นมั้ยครับ อ่า มิตรภาพ ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคนในครอบครัว อันนี้ก็เป็นความสุข ซึ่งทั้งหมดเนี่ยมันเป็นสิ่งที่ ปรัชญาสำนักนี้ เขาเสนอว่าเราจะต้องหาให้ได้  ทีนี้วันหนึ่งเราก็ต้องตายครับท่านผู้ฟัง แต่ว่าก่อนตายเนี่ย ถ้าในอดีตเราเป็นคนที่เรียนหนังสือมา มีความรู้ แล้วก็ได้ใช้ความรู้นั้น สร้างตัวสร้างฐานะ จับจ่ายใช้สอย ซื้อฐานะซื้อหาความสุขมา มีเพื่อนมีฝูงที่ดี  มีครอบครัวที่อบอุ่น แล้ววันหนึ่งถ้าเราจะต้องตายไปจากโลกนี้เนี่ย นึกภาพเราอยู่บนเตียง เรากำลังจะสิ้นใจ ญาติมิตรพี่น้องเพื่อนฝูงมาเยี่ยม สั่งลากัน แล้วเราก็ตายไปอย่างสงบ ที่การตายไปอย่างสงบเนี่ย การแพทย์ก็มีส่วนช่วยนะครับ  และที่การตายการตายไปอย่างสงบเพราะว่าการแพทย์ช่วยได้เนี่ยก็เพราะเราเป็นคนมีเงินพอสมควรไงครับ เราก็จากโลกนี้ไปอย่างสงบ ไม่มีชีวิตอะไรที่จะดี ที่จะประเสริฐเท่ากับชีวิตแบบนี้อีกแล้ว... อันนี้ก็คือความคิดแบบที่หนึ่งนะครับ ซึ่งในทัศนะผมเนี่ยมันก็เป็นความคิดที่เข้าท่านะ มีเหตุผล น่าสนใจ และผมก็เข้าใจว่าในอินเดียสมัยพุทธกาล แนวคิดแบบนี้เป็นแนวคิดที่มีพลัง มีคนนับถือมากพอสมควรเลยทีเดียว แล้วผมก็เข้าใจว่าในปัจจุบันโลกทั้งโลกเนี่ยน่าจะเกินครึ่งนะครับ ที่คนโดยทั่วๆไปนะครับน่าจะเข้าใจว่าชีวิตแบบนี้คือชีวิตที่ประเสริฐ นะครับซึ่งผมจะชวนให้ไม่โต้เถียง ก็ฝากท่านผู้ฟังลองไปพิจารณาและไปคิดโต้เถียงเอง ตัวใครตัวมันนะครับ

ทีนี้แนวคิดประเภทที่๒ เป็นแนวคิดอีกกลุ่มหนึ่ง คือแนวที่ที่พูดเมื่อสักครู่นี้เนี่ยเป็นแนวคิดแบบเดี่ยวๆ สำนักเดี่ยว แต่ว่าแนวคิดแบบที่สองที่ผมจะชวนคุยต่อไปนี้เนี่ย เป็นกลุ่ม แน่นอนครับในกลุ่มนี้ก็มีความคิดที่แตกต่างหลากหลายกัน แต่ว่าทั้งกลุ่มเนี่ยที่จัดเอามาไว้ในกลุ่มเดียวกันเนี่ย ก็เพราะว่าเป็นแนวคิดที่ ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดที่๑ ที่ผมพูดไปเมื่อครู่นี้  แนวคิดอย่างที่๒เนี่ยภายหลังในทางปรัชญาเราขมวดเป็นกลุ่มเดียวใหญ่ๆก่อน แล้วเรียกชื่อแนวคิดกลุ่มนี้ว่า อสุขนิยม  อ. แปลว่าไม่ ก็คือแนวคิดที่ไม่เห็นด้วยกับ สุขนิยม นะครับ เออ แนวคิดเหล่านี้เขาเริ่มต้นด้วยการ วิภาก์วิจารณ์แนวคิดแบบสุขนิยมก่อน  คือเขาบอกว่า จริง จริง เวลาที่พวกนี้บอกว่า ธรรมชาติทำให้เราชอบสุข เกลียดทุกข์ อันนี้เป็นความจริง แต่ปัญหามันอยู่อย่างนี้ครับ ชีวิตที่ประเสริฐนี่มัน มันน่าจะเป็นคนละเรื่องกับการใช้ชีวิตตามธรรมชาติอ่ะ คือนักคิดกลุ่มนี้เนี่ยเขายกตัวอย่างง่ายๆนะครับว่า  สัญชาติญาณในการรักสุข เกลียดทุกข์เนี่ย หมูหมาเป็ดไก่ มันก็มีอ่ะ เออ เวลาที่ เออ เอานกก็ได้ เวลาที่นกมันบินอยู่ แล้วฝนตกเนี่ย มันก็รู้จักหลบฝนน่ะ เพราะอะไร เพราะว่าฝนตกมันหนาว มันเป็นทุกข์ ถ้ามันไปหลบในถ้ำในต้นไม้เนี่ย ถ้ำ หรือต้นไม้ให้ความอบอุ่น ทำให้เกิดความสุขใช่มั้ยครับ เพราะงั้นนกมันก็รู้จักเลี่ยง ทุกข์ แสวงหาความสุข ปัญหาก็คือถ้าหากว่าการใช้ชีวิตแบบนี้เนี่ย เป็นชีวิตที่ประเสริฐเนี่ย ชีวิตมนุษย์ก็ไม่ต่างไปจากชีวิตของสัตว์เดรัจฉาน คือรู้จักหลีกเลี่ยงทุกข์ หาสุข เท่ากัน แต่นักคิดกลุ่มหลังนั้นเขาคิดว่า เวลาที่เราตั้งคำถามว่าคนเราควรใช้ชีวิตแบบไหน จึงจะถือว่าได้ใช้ชีวิตอย่างประเสริฐเนี่ย คำว่าชีวิตประเสริฐเนี่ยมันต้องมีความหมายสูงกว่าชีวิตของสัตว์เดรัจฉานไงครับ เพราะอะไรครับ เพราะว่าเรามีปัญญามากว่า มีความคิดอ่านมากว่า พอคิดอย่างนี้นะครับ คนเหล่านี้ เขาก็เลยคิดว่า ที่พวกแรกบอกชีวิตที่ประเสริฐ สูงส่ง คือชีวิตที่รู้จักหาความสุขเนี่ยน่าจะมีปัญหา ใช้ไม่ได้ แล้วนักคิดกลุ่มหลังเนี่ยก็ยังวิเคราะห์นะครับว่า ลึกๆเนี่ยมนุษย์ทุกคนต่อให้เกิดมาแตกต่างกันยังไงก็ตาม แต่ว่าท้ายที่สุดเนี่ย ความรู้สึกนึกคิดภายในลึกๆนั้นทำให้เราวินิจฉัยเรื่องบางเรื่อง โดยเฉพาะในทางจริยธรรมได้ตรงกัน

นักคิดกลุ่มที่๒ บางคนเนี่ยพูดเลยนะครับว่า ถ้าการรู้จักแสวงหาความสุข เป็นสิ่งที่บอกว่าคนคนนั้น ได้ใช้ชีวิตที่ประเสริฐแล้วเนี่ยมันก็แปลกนะครับว่า ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติเนี่ย มันมีคนบางคนครับ หาเงินหาทองเก่ง แล้วภายหลังด้วยว่าการที่เป็นคนหาเงินหาทองเก่ง ทำให้เขาได้อะไรต่อมิอะไรมา พอกพูนชีวิตเขาอ่ะ ทั้งรวย ทั้งมีเกียรติ และบางคนนี่เขาก็อาจจะมีอำนาจนะครับ  ตัวอย่างของ คนเหล่านนี้ที่นักคิดกลุ่มที่สองคิด ก็เช่น บรรดากษัตริย์ทั้งหลาย ในอินเดียสมัยก่อนนะครับ สมัยพุทธกาล กษัตริย์นี่เป็นคนที่รวยที่สุด มีอำนาจมากที่สุด แน่นอนครับ ความรวยและก็อำนาจเนี่ยทำให้คนเหล่านี้ มีโอกาสที่จะบริโภคความสุขมากกว่าคนอื่นๆ ..นะฮะ แต่น่าคิดนะครับว่า สมมุติว่า ประวัติศาสตร์ของมนุษย์จะมีการบันทึกว่าในบรรดากษัตริย์ทั้งหลายเนี่ย มีกษัตริย์บางองค์ที่ประชาชนรัก และยกย่องเนี่ย ให้ทราบเลยนะครับว่าที่ประชาชน รักและยกย่องกษัตริย์พระองค์นั้น ไม่ใช่เป็นเพราะว่า กษัตริย์พระองค์นั้นเป็นคนที่บริโภคความสุขมากกว่าคนอื่นน่ะ ไม่... ไม่มี นะครับ ที่เรายกย่องเนี่ย เรายกย่องเรื่องอื่น เช่น กษัตริย์พระองค์นั้นเป็นคนที่ เสียสละ กล้าหาญ ทำเพื่อประโยชน์ของมวลชนใช่มั้ยครับ สรุปคือประวัติศาสตร์ไม่เคยบันทึกเอาไว้ว่า นาย ก. นาย ข. นาย ค. เศรษฐี ก. เศรษฐี ข. พระราชา ก. พระราชา ข.  เป็นบุคคลที่เยาวชนควรจะศึกษาเอาตัวอย่าง เพราะว่าเป็นบุคคลที่บริโภคความสุขมากกว่าใครๆในโลก ไม่เคยมี ซึ่งก็แปลว่าการที่เราไม่ยกย่องคุณสมบัติคือการรู้จักหาความสุขเนี่ย มันแปลว่ามนุษย์ทุกคนรู้ว่า สิ่งนี้ต่อให้มันตรงกับธรรมชาติของเรานะครับ เราก็ไม่เคยยกย่องมัน เห็นมั้ยฮะ  ดังนั้น นักคิดกลุ่มที่สองก็เลยบอกว่า อย่าไปทางนั้นเลย ทางที่บอกว่าชีวิตที่ประเสริฐคือชีวิตที่รู้จักหาความสุข เพราะว่าลึกๆเนี่ยการหาความสุขมันไม่ได้มี มันไม่ได้ทำให้เราสูงส่งอะไรหรอกนะครับ ที่นี้ โดยรวมนักคิดกลุ่มที่สองซึ่งผมจะไม่เข้าไปในรายละเอียดนะครับ ก็จะสรุปคล้ายๆกันว่า มีสิ่งอื่นที่มีค่ามากกว่าการหาความสุขทางอายตนะ แล้วแต่ละสำนักแต่ละท่านในบรรดานักคิดเหล่านี้ก็เสนอคำตอบที่แตกต่างกัน ซึ่งผมจะไม่ขอพูดถึงนะครับ

ประเด็นถัดมาที่ผมจะชวนท่านผู้ฟังพิจารณาก็คือว่า... เอาล่ะหลังจากที่เราพิจารณาว่า มีนักคิดอินเดียสมัยพุทธกาล ตอบคำถามเรื่องชีวิตที่ประเสริฐอย่างกว้างๆเอาไว้ยังไงเนี่ย ผมอยากจะชวนพิจารณาว่าศาสนาพุทธตอบเรื่องนี้เอาไว้ยังไง นะครับ...  ผมมีข้อสังเกต ซึ่งผมคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจก็คือ หลังจากที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วเนี่ย ก็ทรงคิดว่าสิ่งที่พระองค์ทรงพบ ในการตรัสรู้เนี่ยเป็นสิ่งที่มีคุณค่า น่าที่..คนอื่นจะได้ยินได้ฟังนะครับ..  เสร็จแล้วพระองค์ท่านตรวจก็หาว่า ใครจะเป็นบุคคลที่จะเสด็จไปหา แล้วก็เล่าว่าทรงพบอะไรบ้างอย่างเงี้ย... ตอนแรกทรงนึกถึงครูสองคนที่เคยสอนพระองค์ แต่ภายหลังก็ทราบว่าครูทั้งสองเนี่ย เนื่องจากท่านก็ชรา ท่านก็ก็สิ้นชีวิตไปหมดละ ก็นึกได้ว่ามีคนห้าคน ซึ่งตอนที่พระองค์ทรงบำเพ็ญทุกข์กาละกิริยา คนห้าคนนี่ก็มาดูแลใกล้ชิด แต่ภายหลังตยเหล่านี้เมื่อเห็นพระองค์ ทรงลับมาบริโภคอาหารเนี่ย ก็เข้าใจว่า ทรงล้มเหลวก็เลยตีจากไป แล้วก็ทรงทราบว่า คนเหล่านี้ก็ยังพักอยู่ในที่ที่ไม่ไกลจากสถานที่ที่พระองค์ทรงตรัสรู้เนี้ย  ก็เลยตัดสินใจเสด็จไปหาคนทั้งห้าที่เราเรียกชื่อในคัมภีร์พระพุทธศาสนาว่า ปัญจวะคีย์ นะครับ  เมื่อพบกัน หลังจากที่ทำความเข้าใจกันพอที่จะทำให้ ทั้งห้าคนเนี่ย ยินยอมที่จะฟัง สิ่งที่จะเล่าเนี่ย เทศนากัณฑ์แรกเลยนะครับ สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระปัญจวคีย์เนี่ย ที่บันทึกในพระไตรปิฎกเนี่ย ชื่อ ธรรมจักรกัปวัตนสูตร นะฮะ.. 

เนื้อหาของธรรมจักรกัปปวัตนสูตรเนี่ย โดยสาระสำคัญ นี้ก็คือ เนื้อหาที่ประกาศเลยนะครับว่า ชีวิตที่ประเสริฐตามหลักของพระพุทธศาสนาเนี่ย คือชีวิตแบบไหน เพราะฉะนั้น ผมจะขอใช้เนื้อหาของธรรมจักรกัปปวัตนสูตรเนี่ย เป็นเครื่องมือในการอภิปรายว่า ชีวิตที่ประเสริฐ ในทัศนะพระพุทธศาสนานั้นเป็นยังไง นะครับ... ธรรมจักรกัปวัตนสูตรเนี่ย คือพระองค์ทรงแสดง เออ..คือจัดลำดับเรื่องดี นะฮะ ลำดับเรื่องอันที่๑ ที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศก็คือ คือๆ ตรัสก่อน หรือประกาศก่อนเลยนะครับว่า หลักประพฤติปฏิบัติตนแบบไหนที่ไม่ใช่แนวทางของพระพุทธศาสนา นะครับ ซึ่งในธรรมจักรกัปวัตนสูตรก็ตรัสไว้ชัดครับ มีสองอย่าง  สองอย่างนี้ทรงใช้คำว่า เป็นแนวคิดที่สุดขั้ว สุดขั้ว สุดขั้วก็คือ ดิ่งไปในทางใดทางหนึ่ง ให้ความสนใจให้ความสำคัญในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นพิเศษ แล้วก็ไม่สนใจพิจารณาเรื่องอื่นซึ่งสมควรจะพิจารณาด้วยนะฮะ...  แนวคิดที่สุดขั้วสุดโต่งอันที่๑ เนี่ยนะครับ ภาษาบาลีเรียกว่า แนวคิดแบบ กามสุขัลลิกานุโยค ถ้าท่านผู้ฟังอยากจะเข้าในคำนี้ง่ายๆนี่ โปรดเข้าใจเลยนะครับว่า แนวคิดทางจริยศาสตร์ แบบที่๑ ที่ผมพูดเมื่อสักครู่เนี่ย ที่บอกว่า เกิดมาแล้วควรจะใช้ชีวิตนี้แสวงหาความสุข นั่นแหละครับ ลัทธิ หรือว่าแนวคิดแบบ กามสุขัลลิกานุโยค นะครับ ซึ่งเนื่องจากผมพิจารณา ชวนพิจารณาเรื่องนี้มาชัดแล้วก็จะไม่พูดซ้ำนะครับ  ดังนั้นคำตอบจากธรรมจักรกัปปวัตนสูตรเนี่ย ก็ชัดนะครับว่า แนวทางที่๑ ที่มีนักคิดบางคนในอินเดียสมัยประกาศว่านี่คือจริยศาสตร์ที่สมควรเอามาใช้กับชีวิตเนี่ย พระพุทธองค์ทรงยืนยันว่า อันนี้ไม่ตรงกับแนวทางของพระองค์นะครับ  ที่นี้แนวคิดที่สุดขั้วแบบที่สองเนี่ย ภาษาบาลีเรียกว่า อัตตกิละมถานุโยค  ผมต้องอธิบายเสริมนิดหน่อยนะ เนื่องจากไม่ได้พูดถึงแนวคิดนี้มาก่อน เมื่อสักครู่นะครับ  คือในกลุ่มที่บอกว่า ชีวิตที่ประเสริฐจะต้องไม่ชีวิตที่แสวงหาความสุขเนี่ย ก็มีหลายกลุ่มหลายคณะที่คิดเห็นต่างกัน แต่ก็มีข้อสังเกตุว่า ไม่ว่าคนเหล่านี้จะเสนออะไรในฐานะที่เป็นเป้าหมายของชีวิตอันประเสริฐเนี่ย  สิ่งนั้นพูดได้เลยครับว่า ไม่ใช่ความสุข

ที่นี้มีนักคิดอินเดียบางคนในสมัยนั้น เสนอว่าคุณค่าของชีวิตเนี่ย มันอยู่ที่การยินดี พร้อมใจ ที่จะเดินเข้าหาความทุกข์ เพื่อที่จะแสดงว่าเราเป็นคนที่เข้มแข็งไง.. ถ้าท่านผู้ฟังได้อ่านพุทธประวัติมาบ้าง จะทราบนะครับว่า ในช่วงแรกๆที่เจ้าชายสิตธัตถะ  ท่านออกบวชแล้วท่านยังไม่ทราบว่าควรจะเริ่มต้นที่ไหนยังไงเนี่ย ก็ทรงไปทดลองศึกษา ประพฤติปฏิบัติตนตามสำนักต่างๆ ซึ่งมันมีอยู่ตอนหนึ่งที่พุทธประวัติบันทึกว่าได้ทรงบำเพ็ญทุกข์กาลกิริยา  เช่น ยืนด้วยขาข้างเดียวตลอดเวลา กำมือเอาไว้ ไม่แบมือ ข้างใดข้างหนึ่ง จนกระทั่งเล็บมันงอก ยางขึ้นยาวขึ้นจนกระทั่งมันทะลุหลังมือไป อย่างเนี้ย... อันนี้ก็คือสิ่งที่นักบวชอินเดียสมัยนั้นเขาทำ  แล้วก็เป้นที่น่าสังเกตนะครับ ว่าแนวคิดแบบเนี้ย คือหลักปฏิบัติแบบนี้ก็ยังปรากฏ อยู่ในสังคมอินเดีย เวลานี้...  คือมีสาธุ หรือว่านักบวช ในศาสนาอินดูบางหมู่บางคณะ โดยเฉพาะอย่ายิ่งหมู่คณะที่นับถือพระศิวะเนี่ย เขายังทรมานตนแบบนี้อยู่นะครับ  ทีนี้พระพุทธเจ้าเนี่ยท่านทรงไปทดลอง ทดลองจนกระทั่งเกือบเอาชีวิตไปทิ้งกับการทดลองอันนี้นะครับ  ภายหลังทรงพิจารณาว่านี่ไม่ใช่หนทาง.. คือการที่เราเดินเข้าชนกับความทุกข์ เพื่อที่จะทำให้..เราพิสูจน์กับตัวเราเองว่า เราเป็นคนที่ไม่หวั่นไหวต่อการเผชิญทุกข์เนี่ย  มันทำให้ชีวิตแกร่งก็จริงนะครับ แต่ว่าพระพุทธเจ้าเนี่ยทรงเห็นว่ามันไม่ค่อยช่วยให้เป็นคนฉลาด..  และทรงเห็นว่า ชีวิตที่ประเสริฐเนี่ยควรจะเป็นชีวิตที่แกร่ง แล้วก็ฉลาด  ปัญหามันอยู่ที่ตรงนี้ครับ ก็คือ แนวคิดแบบอัตกิละมถานุโยคเนี่ย มันทำให้เราเป็นคนเข้มแข็งจริง  แต่ว่ามันไม่ได้ช่วยให้เกิดความสว่างสไวในทางสติปัญญา อันนี้ก็ คล้ายๆกับแนวคิดแบบที่๑นะครับ แนวคิดแบบกามสุขัลลิกานุโยค หรือแนวคิดแบบสุขนิยมเนี่ย  คือการแสวงหาความสุขเนี่ย ต่อให้เป็นความสุขที่ประณีต สูงส่งยังไงท้ายที่สุดแล้ว เนื่องจากความสุขเนี่ยมันเกี่ยวข้องกับเรื่องทางอายตนะ ทางประสาทสัมผัส  มันไม่ค่อยเกี่ยวกับเรื่องทางจิต โดยเฉพาะจิตในความหมายของอำนาจบางอย่างในตัวมนุษย์ที่จะ ฝึกฝนให้ฉลาดได้มากกว่า การใช้ความคิดธรรมดา ธรรมดา เพราะงั้นแนวคิดสองอันนี้คือ กามสุขัลลิกานุโยค และก็อัตกิละมถานุโยคเนี่ย.. ในแง่ที่เป็นกิจกรรมที่ หรือว่าเป็นหลักปฏิบัติที่ไม่ค่อยส่งเสริม ให้เราเป็นคนฉลาดเนี่ย อันนี้ สองแนวคิดนี่เหมือนกันนะครับ และผมก็เข้าใจว่า ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสถึง แนวคิดสองอย่างนี้แล้วก็ตรัสชัดครับว่า ศาสนาพุทธ ไม่เอาทั้งสองแนวนี้เนี่ย เอ็กซ์ตรีมเกินไป มันเกี่ยวข้องกะเรื่องที่ที่สองแนวคิดนี้ ไม่สนับสนุนการเป็นคนฉลาดนะครับ และพระพุทธเจ้าคิดว่าชีวิตที่ประเสริฐเนี่ยจะต้อง เป็นชีวิตที่มีวินัย แข็งแกร่งด้วย แล้วก็ฉลาดด้วย ที่นี้เมื่อประกาศแบบบนี้แล้วเนี่ย ความถัดมาซึ่งเป็นความท่อนที่สอง ของธรรมจักรกัปวัตนสูตร ก็เข้าไปสู่เนื้อหาเลยนะครับ พระพุทะองค์ทรงวิเคราะห์ว่า ชีวิตคนเราเนี่ย มันมีอยู่๔ อย่างที่เราควรจะเข้าใจ  อันที่๑ก็คือชีวิตมันเป็นทุกข์นะฮะ แล้วก็ทรงยกตัวอย่างความทุกข์ของชีวิตเนี่ย  มันก็มีความทุกข์ ที่ติดมากับร่างกายของเรา ตามธรรมชาตินะครับ   เช่นเจ็บป่วย ไม่สบาย แก่แล้วก็ตายนะครับ แต่ว่าความทุกข์ที่ทรงประสงค์ในพระสูตรนี้เนี่ย มันไม่ใช่ความทุกข์ที่ติดมาตามธรรมชาติ แต่หมายถึงการที่มนุษย์มีจิตใจที่ไม่พร้อม ที่จะยอมรับความทุกข์เหล่านี้เนี่ย ยกตัวอย่าง อย่างความแก่เนี่ยนะครับ  ท่านผู้ฟังที่เป็นสุภาพสตรีบางท่านนะครับที่อาจจะ ที่เป็นคนที่อ่อนไหวเกี่วกับเรื่องความแก่ อันนี้เราก็เห็นกันอยู่ทั่วๆไปนะครับ  คือตัวความแก่เนี่ย พระพุทธองค์บอกว่ามันเป็นปัญหาไม่มากหรอก แต่การทำใจรับความแก่ไม่ได้ อันนี้เป็นปัญหามากนะครับ เพราะงั้นสรุปก็คือพระพุทธองค์ตั้งข้อสังเกตว่า มนุษย์เนี่ยเกิดมาพร้อมกับจิตใจที่ไม่ยอมรับสิ่งที่ธรรมชาติกำหนดให้เรา..  และการไม่ยอมรับที่ว่านี้เนี่ย ทรงเรียกมันว่าทุกข์  แล้วก็ทรงวิเคราะห์นะครับว่าอันที่สองที่เราควรจะทราบก็คือ ว่าที่เราทุกข์แบบนี้เนี่ยเป็นเพราะว่าเรายึดมั่นว่าชีวิตนี้เป็นตัวเป็นตนของเรา ส่องกระจกแล้วพบว่าตีนกามันขึ้นมากในปีนี้  ก็เพราะไปยึดว่านั่นคือตีนกาของเราไงฮะ เสร็จแล้วพระพุทธองค์ก็ทรงตั้งคำถามว่า ลองคิดเลื่อนมาเป็นประเด็นที่สามซิ ถ้าไม่รู้สึกว่าตีนกาที่เห็นในกระจกว่านั่นคือตีนกาของข้าพเจ้าเนี่ย  คือการมีตีนกาปรากฎบนหน้านี่มันไม่เจ็บไม่ปวดนะฮะ.. ท่านผู้ฟังครับ พระพุทธองค์ทรงวิเคราะห์อย่างนั้น แต่การทนมันไม่ได้เนี่ย มันเจ็บปวด ดังนั้นถ้าไม่รู้สึกว่านั่นคือตีนกา ของ ผม ของดิฉันเนี่ย ทุกข์มันก็ไม่มี ใช่มั้ยครับ เสร้จแล้วพระพุทธองค์ก็บอกว่า ประเด็นที่สามเมื่อพูดเมื่อสักครู่หนึ่งเนี่ย มันทำให้เกิดได้นะ หมายความว่าคืออยู่ๆจะทำให้คนเรามีความรู้สึกว่า ความแก่ชรา ความเจ็บป่วย หรือแม้แต่ความตายที่เกิดกับเราและคนที่เรารักเนี่ยมันไม่สมควรจะยึดมั่นว่าเป็นของเราเนี่ย มันเกิดเองไม่ได้ครับ เพราะว่า ธรรมชาติสร้างเรามาให้ตรงกันข้ามกัน คือให้ยึดมั่นว่าชีวิตนี้เป็นของเรา เพราะอะไรครับ เพราะว่าธรรมชาติเนี่ยประสงค์จะใช้เราเป็นตัวรักษาเผ่าพันธุ์เอาไว้  คือในทางชีวะวิทยาเนี่ย นักวิทยาศาสตร์เขาก็ทราบนี่ครับว่า กลไกทางชีววิทยาเนี่ยมันทำงานสลับซับซ้อน คือเขามองสิ่งที่มีชีวิตในแง่ที่เป็นเผ่าพันธุ์ เช่นเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ เผ่าพันธุ์ของหมา เผ่าพันธุ์ของแมว คือเผ่าพันธุ์เนี่ยมันใช้สมาชิกในเผ่าพันธุ์นั้นๆเป็นเครื่องมือในการรักษาเผ่าพันธ์ของมันเอาไว้  ในมนุษย์เนี่ยที่ธรรมชาติสร้างให้เรารักตัวเราเองเนี่ย เพราะว่าในตัวเรา มันมีดีเอ็นเอ ของมนุษย์อยู่ ถ้าเราไม่มีความรู้สึกว่าเวลามีอันตราย เราจะต้องหนี และเราจะต้องประคับประคองชีวิตให้อยู่ยืนยาวที่สุดเนี่ย ตัวดีเอ็นเอมันก็จะ หรือเผ่าพันธ์โดยรวมของมนุษย์ก็จะ...เสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ นี่คือเหตุผลที่ธรรมชาติสร้างให้เรายึดมั่นในตัวของเรา

ทีนี้การที่จะทำให้เราไม่ยึดมั่นเนี่ย พูดง่ายๆก็คือมันเป็นการเดินสวนกับข้อเท็จจริงทางชีวะวิทยาที่ธรรมชาติสร้างให้กับเราเนี่ย มันต้องมีหลักปฏิบัติ พระพุทธองค์จึงตรัสเอาไว้ในประเด็นที่๔  ว่าหลักปฏิบัติที่ว่านี้ทรงค้นพบนะฮะ ... ก็ทรงแสดงรายละเอียด เรียกชื่อในคัมภีร์ว่า อริยะมรรคมีองค์๘ หรือถ้าทอนเป็นหลักปฏิบัติ สรุปรวมก็จะเป็นไตรสิกขา ก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ใช่มั้ยครับ... เนื้อหาข้อความสี่ท่อน คือทุกข์ สาเหตุของทุกข์ การดับทุกข์ แล้วก็วิธีปฏิบัติเพื่อให้การดับทุกข์มันเกิดขึ้นเนี่ย เราเรียกกันว่าคำสอนเรื่อง อริยสัจ๔ใช่มั้ยครับ ชีวิตที่ประเสริฐก็คือชีวิตที่วิเคราะห์ สี่ประเด็น แล้วสามารถทำให้ตัวท้ายที่สุดคืออริยมรรคมีองค์๘นี่มันมันเกิดขึ้นได้ อันนี้คือสิ่งที่ ผมคิดว่าเป็นเนื้อหา สาระหลักๆ ของคำตอบที่พระพุทธเจ้าทรงใช้ตอบว่า ชีวิตที่ประเสริฐนี่ควรเป็นชีวิตยังไง

เนื่องจากเนื้อหาของอริยสัจแต่ละข้อนั้นมันก็มีรายละเอียดมากน่ะนะครับ ซึ่งวันนี้ผมก็คงจะไม่ประสงค์ที่จะแจกแจงรายละเอียด แต่ต้องการจะสรุปรวบยอดให้ท่านผู้ฟังเข้าใจนะครับว่า ถ้ามีคนถามเราว่า พระพุทธศาสนาเสนอคำตอบต่อคำถามที่ว่า ชีวิตที่ประเสริฐควรเป็นยังไงเนี่ย ผมคิดว่าเราสามารถตอบได้ครับ ๑. ชีวิตที่ประเสริฐไม่ใช่ชีวิตที่ดำเนินตามหลักที่สุดโต่งสองข้างคือ กามสุขัลลิกานุโยค แสวงหาความสุข แล้วไม่สนใจคุณค่าอื่นๆ โดยเฉพาะไม่สนใจคุณค่าทางจิตใจ แบบที่มีความหมายพิเศษลึกซึ้งกว่าความรู้สึกนึกคิดอันเนื่องมาจากสมอง  พุทธเราไม่เอาแนวนี้ แล้วในขณะเดียวกันพุทธเราก็ไม่เอาแนว ทรมานตน ทำตนให้เป็นทุกข์เพื่อที่จะประกาศให้คนอื่นเห็นว่า เป็นคนที่มีจิตใจแข็งแกร่ง กล้าที่จะเผชิญทุกข์   ทีนี้ถ้าดูรวมๆแล้วผมคิดว่า การที่พระพุทธเจ้าบอกว่าแนวคิดสองแนวคิดนี้เป็นแนวคิดที่สุดโต่งเนี่ย มันไม่ได้แปลว่าสองแนวคิดนี้ไม่มีส่วนที่ดีเลยนะอันนี้เป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกนะครับ  คือแนวคิดที่สุดโต่งนั้นมันก็ยังมีความดีในส่วนของมันอยู่ และถ้าจะพิจารณาดูดีๆแล้วเนี่ย ผมคิดว่าหลักปฏิบัติโดยเฉพาะอย่ายิ่งที่ปรากฏในหมู่พระภิกษุ ที่เราถือว่าเป็นบุคคลหรือกลุ่มคนที่ ..สนใจจะเดินทางไปตามคำแนะนำในเรื่องของชีวิตที่ประเสริฐของพระพุทธเจ้ามากที่สุดในชุมชนชาวพุทธเนี่ย ชีวิตบางส่วนของท่านเหล่านี้เนี่ย ก็จะเป็นชีวิตที่คล้ายๆ กับแนวคิดแบบ อัตตกิลมถานุโยค เช่น พระภิกษุนี่ท่านจะไม่ฉันอาหารหลังเที่ยง  เห็นมั้ยฮะ ท่านจะไม่ ดูหนังฟังเพลง ... บางแบบนะครับ ผมใช้คำว่าบางแบบ แต่ว่างานศิลปะบางชนิดเช่นงานเพลงเนี่ย ในคัมภีร์ก็บอกว่า เป็นสิ่งที่เป็นมงคล อันนี้ผมจะยังไม่พูดในรายละเอียด แต่โปรดเข้าใจนะครับว่า ชีวิตที่ขัดเกลา เพื่อที่จะหลุดพ้นของพระภิกษุเนี่ย มีบางส่วนเนี่ยโน้มไปในทางที่..ซึ่งบางท่านอาจก็บอกว่า  มันก็ไปในทางอัตกิลมถานุโยค ทีนี้เกณฑ์ในการวินิจฉัยว่า การกระทำแบบไหนที่ถือว่าเป็นแบบพุทธ ไม่ใช่แบบทรมานตน เรื่องก็จะย้อนมาสู่ประเด็นเรื่องที่ผมพูด ให้ท่านผู้ฟังฟังเมื่อสักครู่นะครับว่า ถ้าหาก สิ่งนั้นมันเกี่ยวข้องกับการที่ทำให้เรามีจิตใจดีและ ฉลาดขึ้น อันนั้นถือว่าเป็นแบบพุทธนะครับ แต่ถ้าหากเป้นการทรมานตนเพื่อให้ทุกข์หรือลำบากเฉยๆ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องปัญญาหรือฉลาดเนี่ย อันนี้ก็ถือว่าไม่ใช่แบบพุทธ นะครับ เพราะงั้นผมคิดว่า วันนี้เนี่ยเราอาจะคุยกันมาพอสมควรละ ก็สมควรแก่เวลา  ก็ขอสรุปสั้นๆปิดท้ายอีกนิดหนึ่งนะครับว่า ชีวิตที่ประเสริฐแบบพุทธเนี่ย ก็คือชีวิตที่ละเว้น หรือไม่ข้องแวะแนวคิดที่สุดโต่ง เอ็กซ์ตรีมทั้งสองข้างนั้น แล้วก็ใช้ชีวิตตามหลักอริยสัจ๔ ก็คือ วินิจฉัย อ่านชีวิตออก แล้วก็ใช้ชีวิตให้เป็น ให้ฉลาด

ทีนี้ยังมีรายละเอียดซึ่งเราจะพูดกันต่อคราวหน้านะครับว่า. ทั้งหมดที่พุดมาเนี่ยถ้าแปลงให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น พอจะบอกได้มั้ยการใช้ชีวิตแบบไหนเป็นการใช้ชีวิตที่ดี ที่ประเสริฐ ซึ่งผมจะแบ่งเป็นประเด็นพิจารณา เป็นชีวิตของคฤหัสถ์ญาติโยมอันนี้ส่วนหนึ่ง   แล้วก็ชีวิตของพระภิกษุ นี้ก็ส่วนหนึ่ง นะครับ ซึ่งทั้งสองส่วนเนี่ยจริงๆก็เดินไปในทางเดียวกัน แต่ว่า ลำดับความเข้มข้นเอาจริงเอาจังในการปฏิบัติอาจจะต่างกัน ทั้งหมดนี่จะเป็นตัวบอกนะครับว่าคฤหัสถ์คืออุบาสก อุบาสิกา ที่ใช้ชีวิตประเสริฐตามหลักพระพุทธศาสนากระแสหลักดังเดิมนี่เป็นยังไง.. ภิกษุ ซึ่งสมัยนี้ไม่มีภิกษุณีในนิกายเถรวาทแล้ว แต่ว่ายังมีในนิกายมหายานยังมีอยู่เนี่ย  ภิกษุภิกษุณีสงฆ์ ใช้ชีวิตแบบไหนจึงจะถือว่าได้ใช้ชีวิตที่ประเสริฐตามหลักและคำแนะนำของพระพุทธเจ้า เราจะพิจารณากันในคราวหน้านะครับ วันนี้ขอยุติไว้เพียงเท่านี้ 


ธันรบ โชติวํโส (วงศ์ษา)

หมายเลขบันทึก: 689818เขียนเมื่อ 1 เมษายน 2021 17:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 เมษายน 2021 17:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท