ล้างสมอง


โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า Thammasat Secondary School เป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา ม.1 - ม.6 ที่มีแนวทางในการจัดการเรียนรู้ที่โรงเรียนมุ่งให้เด็กๆ ตั้งคำถามและทำความเข้าใจกับปรากฏการณ์ต่างๆ อย่างรอบด้าน ไม่ด่วนสรุปด่วนตัดสิน ฝึกให้ใช้การคิดวิเคราะห์ รู้สาร เท่าทันสื่อ .แน่นอน เมื่อเป็นโรงเรียนระดับมัธยม เด็กนักเรียนระดับนี้เกิดมาพร้อมเทคโนโลยี หรือ digital native ถือเป็นชาวดิจิทัลโดยกำเนิด จากการศึกษาข้อมูลน่าจะหมายถึงผู้ที่เกิดในยุคดิจิทัล ซึ่งปัจจุบันมีอายประมาณ 10-29 ปีโดยประมาณ
.คนกลุ่มนี้จะคุ้นเคยกับการใช้คอมพิวเตอร์ หรืออินเทอร์เน็ตเพื่อเล่นเกม ทำการบ้าน ค้นหาช้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและกิจกรรม ตลอดจนติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นผ่านทางโซเชียลมีเดียต่าง ๆ .นอกจากนั้น digital native ยังอาจหมายถึงผู้ที่เข้าใจคุณค่าของเทคโนโลยีดิจิทัล แสวงหาโอกาสที่จะนำเทคโนโลยีนั้นๆ ไปใช้ให้เป็นประโยชน์ ต่อยอดเป็นอาชีพ หรือสร้างรายได้อย่างสุจริตได้ .อีกฟากหนึ่งก็มีคำว่า digital immigrant หรือผู้อพยพสู่โลกดิจิทัล หรือหมายถึงผู้ที่เกิดก่อนยคุ ดิจิทัล (อายปุ ระมาณ 30-60 ปี ) ไม่ได้เกิดมาพร้อมเทคโนโลยี แต่สนใจและมองเห็นประโยชน์จึงหันมาศึกษา ฝึกหัด เรียนรู้และใช้งานเทคโนโลยีใหม่นี้บ้าง บางคนพัฒนาจนสามารถต่อยอดได้ไกลทีเดียว บางคนก็อยู่ในระดับผู้ใช้งาน บางคนไม่คุ้นเคยแต่ต้องใช้ การเรียนรู้ ไม่มีวันสาย เมื่อต้องใช้่ก็เรียนรู้สิ่งใหม่ ที่พอใช้ๆไป เออ มันทำให้ชีวิตง่ายขึ้นดีเหมือนกันนะ .อย่างไรก็ตาม เนื่องจากไม่ได้เป็นชาวดิจิทัลโดยกำเนิด หลายคนจึงยังไม่ค่อยสามารถก้าวออกจากโลกใบเดิมได้อย่างเต็มตัว ยังถนัดอเะไรที่จับต้องได้ เห็นได้ด้วยตา มือจับได้ ต้องมีรูปธรรม เราจึงเห็นผู้อพยพสู่โลกดิจิทัลบางคนสั่ง print เอกสารจากคอมพิวเตอร์ลงบนกระดาษเพื่อแก้ไขแทนที่จะแก้ไขที่หน้าจอเครื่อง หรือโทรศัพท์ บางคนที่ว่า คือตัวผู้เขียนเอง ฮ้าๆๆๆ เพราะว่าจับกระดาษมันถนัดมือกว่า และเห็นรูปธรรมขีดฆ่าแก้ไขได้ เป็นตัวอย่างน่ารักๆ ของชาว digital immigrant.ด้วยความว่องไวของโลกเทคโนโลยีนี่เอง ทำให้การเข้าถึงสารสนเทศออนไลน์ที่มีอยู่อย่างหลากหลาย มากมาย เกลื่อนกลาด เชื่อถือได้บ้างไม่ได้บ้าง .เราบังเอิญไปพบข้อมูลออนไลน์ว่ามีคนปล่อยข่าวลือว่า “มธ.ล้างสมอง นร.ให้ไม่รักชาติตั้งแต่ม.1” อ่านแล้วตีตีความได้ว่าน่าจะหมายถึงโรงเรียนสาธิตฯมธ นี่แหละ.จากการเข้าไปสังเกตลักษณะของข้อมูล จับความได้ว่าพูดต่อๆ กันมาและผู้ปล่อยข่าว เขากล่าวอ้างว่าเขาเป็นเพื่อนกับผู้ปกครองที่โรงเรียนฯ.ท่านใดพบเห็นข้อความลักษณะนี้ โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์เปราะบางช่วงนี้ “โปรดอย่าด่วนเชื่อข่าวลือโคมลอย” .การด่วนตัดสินอะไรเร็วไป อาจทำให้เราพลาดอะไรที่ก้าวมาไว และต้องเรียนรู้ไปด้วยกัน อาจพลาดโอกาสในการปิดประตูหัวใจการเรียนรู้โลกในยุค disruption ที่ทุกอย่างจะเข้ามาปะทะกับสิ่งที่เราเคยเชื่อ เคยให้ความหมาย เคยมั่นคงอย่างรวดเร็ว จนอาจทำให้สูญเสียความมั่งคงภายในบางอย่าง และมีผลกระทบต่อความรู้สึก วิธีคิด และพฤติกรรมในการใช้ชีวิต .ถึงจะไม่อยากให้สิ่งใหม่ๆ ที่เข้ามาปะทะหรืออาจรวดเร็วถึงขั้นพุ่งชนกับความไม่คุ้นชิน แต่ไม่มีใครปฏิเสธความจริงของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็๋ว ฉับพลัน และ เปลี่ยนวิถีของมนุษย์โลกไปตลอดกาล ไม่มีสิ่งใดเหมือนเดิมตลอดไป เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นเช่นนี้ วนเวียนไป เกิด ดับ เกิด ดับ ตัวอย่างที่ชัดที่น่าจะได้รับผลกระทบกันทั่วทั้งโลก เช่น การถูก disruption ด้วยโรคระบาด Covid-19 ที่ทำให้เราต้อง เปลี่นยรพฤติกรรมสุขภาพกันใหม่ทั้งระบบ ทุกสถานที่ อาจส่งผลให้ธุรกิจบางประเภท ปิดกิจการแบบไม่ตั้งตัว … รูปธรรมแบบนี้ เกิดกับความคิด อุดมการณ์ ความเชื่อ เช่นกัน เกิด ดับ เกิด ดับ เป็นนิรันดร์
. สำหรับโรงเรียนสาธิตฯ มธ นอกจากบรรยากาศการเรียนรู้ที่ทำให้นักเรียน วางใจ และปลอดภัยพอที่ทำให้นักเรียน กล้าถาม กล้าสงสัย กล้าแสดงความคิดเห็นก็เป็นเพราะไม่ถูกตัดสินจากครูว่าผิดหรือถูกแล้ว สิ่งที่เราอยากเห็นในตัวเด็กก็คือ การรักเพื่อนมนุษย์ การเข้าใจความแตกต่างหลากหลาย และเคารพในความต่างของผู้คน (กำลังพยายามบ่มเพาะอยู่ ก็ได้บ้างขาดบ้างเกินบ้างตามเหตุปัจจัย) ...นอกจากความรู้ที่เป็นเนื้อหาความรู้ที่จำเป็น บางคนเรีนยกว่า วิชาการแล้ว เรายังเชื่อว่าการเติบโตของเด็กต้องอาศัยทั้งนิเวศ อาศัยทั้งชุมชน โรงเรียนมุ่งหมายให้เกิดรูปแบบความสัมพันธ์ ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของทุกคน เป็น “สังคมแห่งการเคารพและเรียนรู้ร่วมกัน” .ประเด็นที่หยิบยกมาเล่าวันนี้ เป็นหนึ่งประเด็นการเรียนรู้ ที่เรียนรู้จากปรากฏการณ์สังคม ที่ค่อนข้างอ่อนไหวและอาจสงผลกระทบต่อความรู้สึก วิธีคิด มุมมอง ทัศนคติ และพฤติกรรมของคนในสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้.อาจสร้างความกังวลใจให้กับผู้ปกครองหลายท่านแต่ไม่กล้าสนทนาสอบถามกับคุณครู อย่างตรงไปตรงมา . เลยถือโอกาสสื่อสารกับท่านผู้ปกครอง ที่เป็นนิเวศที่มีความหลากหลายทางความคิด ความเชื่อ ความแตกต่างหลากหลายเป็นต้นทุนที่ดีของการเรียนรู้การอดทนอดกลั้น การรับฟัง การฝึกการสื่อสารที่ยึดแนวทางสันติวิธี มีเหตุมีผล .ผู้ปกครอง นักเรียน โรงเรียน เราเลือกกันและกัน นี่คงไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่เราได้ ร่วมกันเป็นนิเวศการเรียนรู้ที่าำคัญสำหรับการเติบโตของเด็กๆ
.เราอยากสื่อสารตรงนี้ว่า โรงเรียนสาธิตฯ เชื่อเรื่องการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่หลากหลายและเชื่อมโยงสู่ความของชีวิตของนักเรียน เห็นความเป็นปัจจุบันขณะที่มีความหมาย มีลมหายใจ .เราจึงพยายามจัดการเรียนรู้จากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นใกล้ตัว อาทิ COVID -19 ความหลากหลายทางชีวิภาพ (ประเด็นยิงเสือดำ) เรื่องขยะ เรื่องการกลั่นแกล้งกันทางโลกออนไลน์และในห้องเรียน การทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม เรื่องเพศและความสัมพันธ์ มีมที่อยู่ในเกม ปรากฏการณ์สังคมที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนั้นๆ มันทรงพลัง เพราะเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้น เห็นและสัมผัสจริง ไม่ได้อยู่แต่ในตำรา ร้่อยเรียงเชื่อมโยงกับเนื้อหาที่เกี่ยวข้องได้ .ด้วยท่าทีของครูในการรับฟังนักเรียน ไม่ด่วนตัดสินว่าผิดหรือถูก หรือชี้นำว่าต้องอย่างนั่นอย่างนี้ ตั้งคำถามถึงสิ่งที่นักเรียนสัมผัส รู้คิด รู้สึก รู้เหตุ รู้ผล
.สายตาที่ว่องไวของครูต้องช่างสังเกต และยกระดับปรากฏการที่เกิดขึ้นในกระบวนการเรียนการสอนเนื้อหานั้นๆ เป็นการเรียนรู้คุณภาพใหม่ๆ ที่ต่อยอดเพิ่มพูนปรากฏขึ้นมาอย่างเป็นธรรมชาติ เชื่อมโยงกับศาสตร์เนื้อหาของกลุ่มประสบการณ์นั้นๆ ที่เป็นไปตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง Learning Outcome [LO / EO] .เราค้นพบว่าท่าทีของการเคารพความคิดเห็นที่แตกต่างหลากหลาย การไม่ตัดสินชี้ผิดถูก คววามกล้าแสดงความคิดเห็น กล้าโต้แย้งอย่างมีเหตุมีผล คุณภาพการเรียนรู้เหล่านี้ที่มุ่งหวังให้เกิดขึ้นกับนักเรียน มาจากบรรยากาศการทำงานร่วมกันของทีมคุณครูที่ทำงานร่วมกันด้วยการเคารพความหลากหลาย และมาจากแนวทางการบริหารโรงเรียนที่เปิดโอกาสให้คุณครูออกแบบการเรียนรู้สร้างสรรค์ได้เต็มที่ตามเนื้อหาและความถนัด แต่คงรักษาแนวทางของประสบการณ์การเรียนรู้นั้นๆ
.เมื่อครูได้มีโอกาสสร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการจัดกระบวนการเรียนการสอน เวลาไปสอนนักเรียน ครูก็จะเอื้อให้เกิดพื้นที่ หรือความเป็นไปได้ใหม่ๆ แก่นักเรียนเช่นกัน บรรยากาศที่มีอิสระทางวิชาการของครู ส่งผลให้ครูให้พื้นที่นักเรียนได้มีอิสระในการเรียนรู้ จนนักเรียนได้ลองอะไรตามที่สนใจ ในม.ต้น ที่เน้นหลากหลาย ม.ปลายเน้นลงลึก นักเรียนเลือกที่จะเติบโตในแบบฉบับของตัวเอง ครูเป็นผู้ตระเตรียมสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้เท่านั้น คุณภาพของนิเวศการเรียนรู้เรื่องหนึ่งคือ การออกแบบความสัมพันธ์ระหว่างครูนักเรียนให้เป็นธรรมชาติ ทำให้เกิดบรรยากาศมที่ไว้วางใจ .อีกหนึ่งนิเวศการเรียนรู้ที่สำคัญ มากๆ คือ ที่บ้าน คุณพ่อคุณแม่ เราเชื่อว่า ความสัมพันธ์ที่ดี ความเข้่าใจที่ดีของพ่อแม่ของลูกวัยทีน จะช่วยทำให้เมื่อเราเจอโจทย์ยากร่วมกัน เราจะกลับไปที่พื้นฐานของความเข้าใจ เห็นใจ เท่าทัน สื่อสาร รับฟังกัน ด้วยความเคารพ . อีกทั้งเอื้อโอกาสให้คุณพ่อคุณแม่กลับมาเรียน เครื่องไม้เครื่องมือใหม่ๆ เป็นพื้นที่ที่ดูแลใจให้คล่ี่คลาย เกิดความสัมพันธภาพที่แน่นแฟ้นขึ้นในครอบครัว สื่อสารแล้ไปถึงหัวใจของลูก เรียนรู้ ผ่านคอร์สห้องเรียนพ่อแม่ TSS .นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่ ยังมีกิจกรรมสะท้อนการเรียนรู้ คือคุยกับคุณครู อย่างน้อยเทอมละ 1-2 ครั้ง บางอย่างสงสัย คาใจ ก็คุยกันสื่อสารกัน .. คุณภาพของนิเวศการเรียนรู้ ที่มีความสัมพันธ์ มีความเข้าใจเป็นพื้นฐาน ถือเป็นต้นทุนที่ดี ในการเป็นชุมชนที่โอบอุ้มการเติบโตของลูก .และด้วยพัฒนาการช่วงวัยแล้ว วันทีนวันซ่า วัยฝัน เด็กสมัยนี้ไม่ได้ “ล้างสมอง” กันได้ง่ายๆ เขาเข้าถึงสื่อและข้อมูลต่างๆได้รวดเร็วยิ่งกว่าผู้ใหญ่หลายคนเสียอีก หลายครั้งเขามีข้อมูลใหม่มาถามคุณครูในห้อง เขามีเหตุผลในการโต้แย้งที่น่าสนใจ และหลายครั้งครูก็ได้เรียนรู้จากเด็กๆ ด้วยท่าทีที่ไม่ตัดสิน รับฟัง และสอบถามเหตุผลว่าอะไร อย่างไร ทำไม เพื่ออะไร .ครูเป็นเพียงหนึ่งในนิเวศการเรียนรู้ของนักเรียน อณาเขตของนิเวศการเรียนรู้ ของเด็กๆ อาจขยายขอบเขตไปถึงพื้นที่ออนไลน์ ที่มีการปฏิสัมพันธ์กันอย่างเสมือนจริง ฉนั้นการเข้าถึงข้อมูลในประเด็นหนึ่งๆ นักเรียนจะเข้าไปตรวจสอบโดยนำข้อมูลแต่ละเว็บมาเปรียบเทียบกัน เพื่อประมวลผลก่อนที่จะเลือกเชื่อตามตั้งแต่เห็นทีแรก นี้เป็นคุณสมบัติหนึ่งของ ชาว digital native ที่หาข้อมูลจากหลายที่เพื่อประเมินความนี่เชื่อถือของข้อมูล ก่อนเลือกมาใช้.เราตั้งข้อสังเกตหลังจากได้เห็นข้อความของผู้ใหญ่ที่ปล่อยข่าวลือเขียนแบบเหมารวม และคอมเมนท์ต่างๆ ที่เออออไปในทางเดียวกัน (อยู่ในbubble ข้อมูลชุดเดียวกัน) ก็ไม่แปลกใจที่เด็กสมัยนี้ต้องลุกขึ้นมาเรียกร้องทำอะไรๆ ด้วยตัวเอง เพราะเขาคงหวังพึ่งผู้ใหญ่อาจจะไม่ทันใจ อนาคตเป็นของเขา วันหนึ่งผู้ใหญ่อย่างเราก็ต้องตายจากไปอยู่ดี ไม่ว่าเราจะชอบหรือไม่ชอบในแนวคิดของคนรุ่นใหม่ ถึงที่สุดแล้วเขาคือคนที่จะดูแลโลกนี้ต่อไป .ท่ามกลางสถานการณ์บ้านเมืองขัดแย้งรุนแรง อารมณ์คนดุเดือดเลือดพล่าน ต่างฝ่ายต่างเสพข้อมูลข่าวสารตามที่ตัวเองเชื่อ มีพลังมากพอที่จะทำให้เกิดการแปะป้าย เหมารวม หรือเรียกว่า Hate Speech ที่หมายถึงวาจาที่สร้างความเกลียดชัง ซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่ในรูปแบบของถ้อยคำเท่านั้น แต่อาจมาจากภาพวาดการ์ตูนล้อเลียน ภาพถ่าย คลิปวิดีโอ บทกวี คำให้สัมภาษณ์ของบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ถูกตัดทอนเนื้อหามาอย่างจงใจ ฯลฯ
.เจตนาของการสื่อสารในเชิง Hate Speech จะต้องเป็นการแสดงความเกลียดชังต่อบุคคล หรือกลุ่มบุคคลอย่างชัดเจน โดยพุ่งเป้าไปยังสิ่งที่เป็นอัตลักษณ์ร่วมของกลุ่ม ไม่ว่าเชื้อชาติ ศาสนา สีผิว สถานที่เกิด ที่อยู่อาศัย อุดมการณ์ทางการเมือง อาชีพ เป้าหมายก็เพื่อการแบ่งแยกทางสังคม และขจัดคนอีกกลุ่มออกไป มีระดับเบาสุดไปจนถึงหนักสุด ไล่ตั้งแต่การตั้งใจแบ่งแยก กีดกัน สร้างความเป็นเขา-เรา ยั่วยุให้เกิดความเกลียดชัง ถึงขั้นยุยงให้ใช้ความรุนแรงต่อกลุ่มเป้าหมาย
.❤️ฉนั้น ข่าวลือโคมลอย ที่ใช้คำว่า “ล้างสมอง” เป็นการกล่าวหาที่ถือเป็น Hate Speech ที่อาจจะต้องนำเรียนทุกท่าน และสื่อสารถึงแนวทางหรือจุดยืนในการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนดังที่กล่าวไปแล้ว.นอกจากตรวจสอบความน่าเชื่อถือของสื่อที่รับมา อาจจะต้องตรวจสอบเครื่องรับของเรา นั่นคือ สติและหัวใจของเรา เราเท่าทันอารมณ์ คววามรู้สึก ความคิดที่มาจากประสบการณ์ใด ว่าทำไมเราถึงเชื่อ ทำไมเราถึงรู้สึก เชื่อเชิญทุกท่านมาสร้างนิเวศการเรียนรู้ เชิงบวก ให้กับลูกหลานของเรา สันติภาพในการเรียนรู้ในวัยเยาว เป็นทุนในการสร้างสังคมที่สันติต่อไป .การแยกแยะของเรา อาจจะมีตัวช่วยด้วย การลองตอบคำถามเหล่านี้ เพื่อตรวจสอบการเท่าทันสื่อของตัวเอง พินิจด้วยสติ ตรงไปตรงมาตามสิ่งที่รู้สึก สิ่งที่น่าจะเป็น ดังนี้
.5 คำถาม เพื่อรู้เท่าทันสื่อ เบื้องต้น
1.สื่อนี้ใครทำ หรือ ใครเป็นเจ้าของสื่อนี้
2.ใช้กลวิธีใดในการโน้มน้าวให้เชื่อตาม แล้วเชื่อหรือไม่ ทำไมถึงเชื่อ
3.คิดว่าคนอื่นจะเข้าใจสื่อนี้แตกต่างจากเราหรือไม่ อย่างไร
4.สื่อนี้นำเสนออะไรประเด็นอะไร และคิดว่าประเด็นใดที่น่าจะไม่ได้ถูกนำเสนอ (พูดไม่หมด)
5.สื่อนี้หวังผลอะไร หรือมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดอะไร
.หรือศึกษาเพิ่มเติม ที่ลิงค์นี้1. https://www.youtube.com/watch?v=wccma3FtEDs.ป.ล. “มองมุมกลับ”. รัฐเองก็พยายามจะ … “คำเดียวกัน” เราให้เชื่อฟังโดยไม่ต้องสงสัย มายาวนานผ่านระบบการศึกษาและช่องทางต่างๆ พยายามควบคุมสื่อสารพัดวิธี มีทั้งหน่วยข่าวกรอง หน่วยปล่อยข่าวลือ หน่วย IO เอยอะไรเอย อำนาจก็มี เงินก็มี อาวุธก็มี กฎหมายก็มีทุกอย่าง ยัง “คำเดียวกัน” เด็กรุ่นใหม่ไม่สำเร็จเลย รัฐคงต้องทบทวนตัวเองแล้วแหละว่าพลาดตรงไหน .ร่วมสร้าง #สังคมแห่งการเคารพและเรียนรู้ร่วมกัน ด้วยจิตรคารวะ #TSSLearning #MediaLiteracy

หมายเลขบันทึก: 689812เขียนเมื่อ 1 เมษายน 2021 02:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 เมษายน 2021 02:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท