ประชุมนักวิจัยเพื่อท้องถิ่นนัดแรก...บนดอยสูงอินทนนท์


เริ่มก้าวนำเสนอตัวตัวต่อสังคม ในรูปแบบของ องค์กรการท่องเที่ยวโดยชุมชนแห่งประเทศไทย หลังจากเราเคลื่อนงานท่องเที่ยวมาในระยะหนึ่งแล้ว

 

องค์กรการท่องเที่ยวโดยชุมชนแห่งประเทศไทย  กำลังจะเกิดขึ้นและเริ่มเป็นจริงเป็นจัง ภายใต้การผลักดันของนักวิจัยเพื่อท้องถิ่น ที่ทำงานวิจัยประเด็นการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่ อุทยานแห่งชาติ น้ำตกหมอกฟ้า เชียงใหม่ เราได้ประชุมกันในครั้งล่าสุด

ผมได้พูดคุยกับ คุณไกรสิทธิ์ (จากเชียงราย) สมาคมอาข่าเชียงราย และ พ่อหลวงพรมมินทร์ (เชียงใหม่)การท่องเที่ยวโดยชุมชนแม่กำปอง  เราหารือกันที่จะเริ่มก้าวนำเสนอตัวตัวต่อสังคม ในรูปแบบของ องค์กรการท่องเที่ยวโดยชุมชนแห่งประเทศไทย หลังจากเราเคลื่อนงานท่องเที่ยวมาในระยะหนึ่งแล้ว ที่ประชุมได้หารือกันถึงแนวทางในการขับเคลื่อนงานต่อในเชิงเครือข่ายฯ โดยการระดมความคิดเห็นในการจัดตั้ง องค์กรการท่องเที่ยวโดยชุมชนแห่งประเทศไทยโดยเป็นการสร้างความร่วมมือร่วมกันระหว่างคนวิจัย ชุมชนวิจัยในการดำเนินการขับเคลื่อนเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม การดำเนินการดังกล่าวนั้นจึงได้นำมาหารือกันต่อเนื่องในการประชุมเชิงปฏิบัติการ องค์กรการท่องเที่ยวโดยชุมชนแห่งประเทศไทยในวันที่ 3 มกราคม  2550 ณ บ้านแม่กลางหลวง ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อร่วมกันกำหนดทิศทาง การจัดตั้ง แนวทางการรวมตัวกัน รวมทั้งร่วมกันกำหนดยุทธศาสตร์ในการดำเนินการของ องค์กรการท่องเที่ยวโดยชุมชนแห่งประเทศไทย ความเป็นไปได้และแนวทางการดำเนินงานต่อเนื่องร่วมกัน เพื่อให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมร่วมกันต่อไป                

เสียงโทรศัพท์แจ้งเรื่องการประชุมเวทีนี้จาก น้องภา สุภาวิณี ทรงพรวาณิชย์ ผู้ประสานงานเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน สกว.ภาค  ในรายละเอียดของเวทีวันที่ ๓ มค.๕๐ นับว่าเป็นการเปิดเวทีแรกของผมในพุทธศักราช  เป็นเรื่องดีที่จะถือเอาฤกษ์งามยามดี คุยกัน โดยกำหนดสถานที่บนบ้านแม่กลางหลวง ดอยสูงอินทนนท์ ที่ว่ากันว่าวันนี้ยอดดอยอุณหภูมิติดลบ ๑ องศา นึกไม่ออกว่าจะหนาวขนาดไหน  เพราะที่ปายบ้านผม ๖ องศาก็ทรมานอย่างที่สุด(คนโสดทรมานมากว่าปกติ ๒ เท่า)          

ผมโทรไปหาผู้พันปิยวุฒิ โลสุยะ (พ.ท.ปิยวุฒิ) หารือเกี่ยวการประชุมในวันที่๓ กลางคืนน่าจะมีการเลี้ยงฉลองปีใหม่แบบนักวิจัยเพื่อท้องถิ่น ทราบข่าวลับๆว่าพี่น้องกระเหรี่ยงเตรียมการต้อนรับอย่างดี มีการแสดงที่หลากหลาย มีเรื่องเซอร์ไพร์สหลายๆเรื่อง และไม่บอกด้วย ต้องรอให้ขึ้นไปเจอวันที่๓ มค. เอง...         

ผมโทรแจ้งวานให้ท่าน นายก อบต.ตับเต่า (ภูชี้ฟ้า) เชียงราย นำเอากีตาร์ขึ้นไปด้วย ท่านเป็นลูกช้างรุ่นพี่ที่ มช. ฝีมือการบรรเลงเพลงกีตาร์หาตัวจับยาก         

ผู้พันปิยวุฒิ บอกผมว่า จะเอาเมาท์ออแกน ขึ้นไปด้วยมั้ย พี่จะเตรียมขึ้นไปนะน้องนะ   

เอ...เรากำลังจะไปประชุมหรือ ไปปาร์ตี้ปีใหม่กันนะครับนี่ 555  แต่ก็เถอะปกติการประชุมของพวกเราเฮฮา ประชุมแบบธรรมชาติกันอยู่แล้ว... 

ใครว่างๆ เชิญเข้าร่วมประชุม องค์กรการท่องเที่ยวโดยชุมชนแห่งประเทศไทย ที่ บ้านแม่กลางหลวง ดอยอินทนนท์ ด้วยกันครับ

รายละเอียดการประชุมพร้อมภาพสวยๆจะนำมาลงใน Blog ในไม่ช้าครับ

หมายเลขบันทึก: 68930เขียนเมื่อ 23 ธันวาคม 2006 08:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)
ขอร่วมเป็นเครือข่ายองค์กรการท่องเที่ยวโดยชุมชน ด้วยแนวคิดที่ว่าสิ่งดีๆในชุมชนชนบทมีมากมาย การใช้ต้องสร้างคุณค่าให้สิ่งที่ถูกใช้ การท่องเที่ยวควรตั้งบนฐานของสังคม การศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ใช้สิ่งเหล่านี้นำสู่การกระทำ ไม่ใช่ทำวันนี้แล้วพรุ่งนี้รวยเหมือนการพัฒนาในห้วงเวลาที่ผ่านมา

อาจารย์ศักดิ์พงษ์

ทางอิสาน ก็มีชุมชนที่จัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน และมีระบบการบริหารจัดการที่เกิดขึ้นในชุมชนเอง ผมคิดว่าในอนาคตน่าจะได้เชื่อมต่อกันทั้งหมดนะครับ

การท่องเที่ยว จะถูกใช้เป็นเครื่องมือเรียนรู้ชุมชน ยกระดับความรู้ชุมชน เป็นการจัดการความรู้แบบหนึ่งที่น่าสนใจ

ยินดีครับอาจารย์ที่แลกเปลี่ยนกันครับ

รออ่านค่ะ น่าสนุกดีนะค่ะไปประชุมที่ไม่เหมือนประชุม น่ะค่ะ คลายเครียดดี

                             

คุณ Wannaporn

ประชุมครั้งนี้ ผมจะนำเรื่องราวมาบันทึกครับ มีทั้งภาพและความประทับใจแน่นอนครับ ...

เป็นการพบปะกันครั้งใหญ่ในรอบปี หลังจากที่ทุกคนตั้งหน้าตั้งตาทำงานตามภารกิจ...

ประชุม+ความสุข = การประชุมที่มีความสุข ครับ

  • แวะเข้ามาเยี่ยมเยียนครับ
  • ที่แม่กลางหลวงผมเคยแวะหลายครั้ง (นานมาแล้ว) คงจะหนาวพอๆ กับปายครับ เพราะความสูงก็ไม่น่าจะต่างกันมากนัก
  • จากแม่กลางหลวงไปยอดดอยน่าจะมากกว่า 20 กม.(สบายใจเรื่องอากาศหนาวไปได้)
  • และที่แม่กลางหลวงเป็นพี่น้องปากญอครับ เขาเลือกทำเลที่ใกล้น้ำและอยู่สบายอากาศไม่เย็นมากนัก
  • ที่แม่กลางหลวงถ้าจำไม่ผิดจะมีการแสดงของศิลปินพื้นบ้านด้วยนะครับ
  • หากได้ขึ้นไปยอดดอย ช่วยหันไปทางทิศตะวันตก (ทางแม่ฮ่องสอน) มองไปในรัศมี 100 กม.จากยอดดอย  เมื่อเกือบ 20 ปีก่อน ผมเดินวนเวียนอยู่แถวๆ นั้นแหละครับ
  • จะรออ่านบันทึกและชมภาพสวยๆ นะครับ

พี่ วีรยุทธ

ขอบคุณครับ ที่แวะเยี่ยมครับ

แม่กลางหลวงเป็นหมู่บ้านหนึ่งที่ได้ทำงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นประเด็น การท่องเที่ยวโดยชุมชน และจัดการได้ดีครับ

ด้วยวิถีของพี่น้องปกาเกอญอ ที่เรียบง่าย บวกกับอากาศ บรรยากาศที่สวยงาม แม่กลางหลวง เป็นหนึ่งในหมู่บ้านท่องเที่ยวที่เราคุยถึงบ่อยๆ

คิดว่าผมมีโอกาสที่จะเดินขึ้นยอดดอยด้วยครับ (กำหนดการมีแบบนั้นด้วย)เวทีปาร์ตี้ช่วงค่ำคาดว่าจะมีอะไรดีๆให้เหล่าพวกเรา นักวิจัยได้สัมผัส สนุกสนานถ้วนทั่ว ผมเชื่อแบบนั้น

พี่วีรยุทธรออ่านบันทึกและชมภาพสวยๆนะครับ

comming soon!!!!

  • น่าจะเป็นการประชุมที่สนุกและมีความสุขนะค่ะ
  • จะรอดูภาพสวยๆ และฟังเรื่องเล่าบรรยากาศด้วยนะค่ะ
  • เมื่อเช้าดูข่าว TV บอกว่าที่ภาคเหนือบนยอดดอยที่เกล็ดน้ำแข็งแล้ว สงสัยที่ๆคุณ จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร จะไปก็คงจะมีด้วย ถ่ายภาพมาฝากด้วยนะค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ 

อาจารย์ paew 

ก็กำลังคิดฝันเรื่อง "บรรยากาศ" ของการประชุมอยู่ ที่สำคัญที่สุดคือ การที่ได้พบพี่ๆน้องๆนักวิจัยครับ บรรยากาศดีที่อบอุ่นคือ การได้พบกันนี่หละครับ

อากาศเย็นมากครับ ที่บ้านผมวันนี้ ๔- ๖ องศา ครับ(อากาศหนาวมาก)  

แล้วจะเอารูปและเรื่องราวดีๆมาฝากครับ

เข้ามาอ่าน  มาทักทาย    ติดตามถามข่าวพี่ชายครับ

 

คนโสดทรมานนนน...กว่าปกติ 2 เท่า ๆ ๆ ๆ
(ย้ำเพื่อความสะใจ)

..................................

หนาวเนื้อห่มเนื้อจึงหายหนาววว.....

หนาวร้างอกร้าว โอ้ อกหาย

หนาวรักห่มรักอุ่นรักสบาย

หนาวกายก็หนาวต่อไปนะเอยเอง...

เพลงจากข้างขวดยามสิ้นปี

ขอให้ท่านมีความอบอุ่นเร็วๆ เน้อ

สหายที่ร้างราไปนาน

 

  • ผมชอบคำว่านักวิจัยเพื่อท้องถิ่นมาก
  • เห็นด้วยกับกระบวนการที่ชุมชนจะมีส่วนในการดูแลจัดการด้านท่องเที่ยวของตนเอง ผมเห็นต่างประเทศเข้มแข็งมาก แต่เมืองไทยก็มีแบบฉบับของเราที่ไม่ด้อยไปกว่าต่างชาติ
  • เอาใจช่วยทุกกระบวนการ และส่งใจไปประชุมด้วยอีกคนนะครับ

น้องชาย "ขุนเดช" สิทธิเดช กนกแก้ว

รอคอยมานานครับ...ห่างหายไปจนผมใจคอไม่ค่อยดี เกรงว่าจะไม่ได้อ่านบทกวีที่สวยงามอีก

ขอบคุณครับที่มาทักทายในวันหนาว...อบอุ่นขึ้นทันตาครับผม

ขอบคุณครับ

..................................

คุณ "จันทร์เมามาย"จันทร์เมามาย

อากาศหนาวเย็น..ทำให้ต้องย้ำบ่อยๆว่า คนโสดนี่หนาวมากกว่าปกติ ๒ เท่า (นี่เรื่องจริง)

จริงๆก็พูดประชดอากาศหนาวอย่างนั้นหละครับ

คณจันทร์ก็เหมือนกันนะ ขอให้ได้อบอุ่นเร็วๆ ก่อนผมก็ได้นะครับ ไม่ว่ากันอยู่แล้ว

คุณ "แผ่นดิน" แผ่นดิน

การสร้างสรรค์ปัญญา เพื่อพัฒนาท้องถิ่น ได้นัน ต้องเริ่มจากการพัฒนาศักยภาพคน ที่เป็นท้องถิ่น โดยใช้ "กระบวนการวิจัย" เป็นเครื่องมือ

กระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม จะเป็นการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติด้วยชุมชนเอง นักวิจัยเพื่อท้องถิ่น ทำวิจัยชีวิต แก้ปัญหาชุมชน ด้วยชุมชน

ผมเขียน บันทึกเกี่ยวกับ "การท่องเที่ยวโดยชุมชน" ล้วนๆ ใน blog การท่องเที่ยวโดยชุมชน :CBT ครับ ไปเยี่ยมได้นะครับ แลกเปลี่ยนกัน

ขอบคุณ คุณแผ่นดินเป็นกัลยาณมิตร ทางปัญญาของผมครับ

 

     อ.จตุพร พี่ขอสมัครเป็นสมาชิกองค์กรการท่องเที่ยวโดยชุมชนแห่งประเทศไทยด้วยคนค่ะ อ่านหลักการคร่าวๆที่เขียนในบล๊อกชอบค่ะ แต่ที่นัดประชุม ในวันที่3 มกราคม 2550 พี่ไปไม่ได้จริงๆ ปีใหม่นี้ พี่วางแผนจะขับรถไปปลีกวิเวกอยู่วัดที่ อ.บ้านผือ สัก3วัน อยู่กรุงเทพฯ1วัน กลับ กพ. วันที่ 2มกราคม วันที่ 3 มกราคมหิ่งห้อยหมดแรงบินขึ้นดอยอินทนนท์แน่  ครั้งต่อไปคงไม่พลาดโปรแกรม ที่ได้อรรถรสหลายมิติ น่าสนุกค่ะ เสียดายจริง จริ๊ง ... มีอะไร ส่งข่าวมาบ้างนะคะ ขอบคุณค่ะ

อาจารย์ หิ่งห้อย ครับ

ยินดีครับ สำหรับสมาชิก "องค์กร CBT.Thai" คาดว่าเราคงได้คุยกันในเวทีย่อยๆอีกหลายเวทีครับ ความคืบหน้าเป็นเช่นไร ผมจะแจ้งให้อาจารย์ทราบนะครับ

ขอบคุณอาจารย์มากครับผม

สวัสดีค่ะ

 อาจารย์ค่ะ จะรอดูรูปและรายงานการประชุม ดุท่าทางแล้วน่าสนใจ....อยากเข้าร่วมประชุมกับเรื่องนี้

ถึงว่าง...ก็คงไม่มีโอกาส (เส้นทางดูไกลเหลือเกิน)

สวัสดีครับ คุณ Chah

หลังปีใหม่...ผมจะเก็บรายละเอียดทั้งภาพและรายละเอียดการประชุมมาฝากนะครับ

สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๐

ขอบคุณครับ

วิจัยท้องถิ่น ควรเริ่มที่ท้อง ในท้อง มีอาหาร หรือมีน้ำเหลืองในใส้ ต่อจากนั้นจึงขยับไปเรื่องอื่นๆ

ไม่มีใครสามารถวิจัยในขณะที่กำลังจะอดตาย

เรียนท่าน ครูบา สุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์

เป็นเรื่องจริงที่ปฏิเสธไม่ได้...ครับท่าน จังหวะและการก้าวเดินของงานพัฒนาชุมชนที่เน้นการสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่เราเรียกว่า "งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น" ส่งที่สำคัญที่สุด คือ "ความพร้อม" ทุกองคาพยพ อะไรที่พร้อมก็คงรักษาไว้ ที่ไม่พร้อมก็พูนพลังต่อ ทุกอย่างจึงมีปัจจัยเวลาเข้าเกี่ยวข้อง

ส่วน CBT.Thai ที่เราคิด ทางนักวิจัยเพื่อท้องถิ่นภาคเหนือ เรามองว่า เราพร้อมกันระดับหนึ่งในส่วนของพื้นที่(ส่วนหนึ่ง ไม่เยอะ) แต่ผ่านการศึกษา วิจัยและผ่านกาลเวลาที่ AAR. มาส่วนหนึ่ง อยู่เดี่ยวก็อยู่ได้ แต่ก็โดดเดี่ยวสุ่มเสี่ยงต่อความเข้มแข็งที่ยั่งยืน เพราะเรากำลังอยู่ในโลกที่นาฬิกาเดินเร็วกว่าปกติ ๒ เท่า เรามาคุยเรื่องของ "เครือข่าย" เพื่อสร้างความเข้มแข็ง เป็นพลังต่อการก้าวเดินของพวกเรา "เครือข่าย CBT.thai" จึงเริ่มต้นด้วยเหตุนี้

ที่เหนือเรายึดคำว่า "ปี้ฮู้สอง น้องฮู้หนึ่ง" แปลว่า พี่รู้สองน้องรู้หนึ่ง เอื้อเฟื้อ เกื้อหนุนกันไปครับ

ขอขอบพระคุณท่านครูบา เป็นอย่างยิ่งครับ ที่มาหยอดคำที่เตือนใจ และถือว่าเป็นมงคลต่อปีใหม่ที่มาถึง

ขอให้ท่านครูบา มีความสุข สดชื่น สุขภาพแข็งแรง ทั้งกาย-ใจ เป็นร่มไทรของพวกเราต่อไปครับ

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท