การยกระดับคุณภาพผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ


ครูต้องเชี่ยวชาญ เชื่อว่านักเรียนทุกคนจะเรียนรู้ได้

เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2549

มีโอกาสได้เป็นประธานเปิดการประชุมอบรมครูสอนภาษาอังกฤษ จัดโดยสถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พ.ว.) โดยบังเอิญ เลยได้โอกาสพูดเรื่องถนัด คือการยกระดับคุณภาพการศึกษา

วิชาคณิตศาสตร์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำที่สุดมาหลายปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2533 ที่ดิฉันได้ศึกษามา ปีที่แล้วมีการเปลี่ยนตำแหน่งเป็นภาษาอังกฤษต่ำสุด

 2planes_kids_md_wht.gif

การเรียนการสอนภาษาอังกฤษมีปัญหาหลายประการ 

โรงเรียนถูกบังคับให้สอนภาษาอังกฤษตั้งแต่ชั้น ป. 1 ในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมาก่อนนั้นให้สอนตั้งแต่ประถมปลาย ช่วงชั้นที่ 2   ...โรงเรียนประมาณ 50 % ขาดแคลนครูที่มีวุฒิตรง ถึงมีวุฒิตรงก็ไม่ได้สอนตรง เพราะระดับประถมศึกษาครูสอนประจำห้อง ครูวิชาเอกอะไรก็ต้องสอนหมด กลุ่มสาระ: ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์....>ครูไม่เชี่ยวชาญ  ครูมีงานมากจากที่มีการปฏิรูป ครูขาดแคลนเนื่องจากการลดอัตรากำลังภาครัฐ  ยังรวมถึงการเปิดสอนระดับอนุบาลเพิ่มอีก 2 ชั้น อ.1 อ.2 ทำให้ครูมีภาระเพิ่ม โรงเรียนเล็ก ครู 6 คน สอน 8 ชั้น อ.1-ป.6

นักเรียนไม่เก่ง ไม่ตั้งใจเรียน ลงโทษไม่ได้ ให้สอบตกไม่ได้ นักเรียนเลยมาตรฐานต่ำลงเรื่อยๆ

ขาดสื่อการเรียนการสอน หลักสูตร 2544 เน้นให้ครูสร้างบทเรียนเอง เพื่อให้นักเรียนมีความรู้หลากหลาย แต่ครูชี่ยวชาญมีน้อย พ.ว. เองก็บอกว่าทำหนังสือเรียนเสนอแล้วไม่อนุมัติหรือช้าไม่ทันใช้ต้องสั่งจากต่างประเทศ

แนวทางแก้ไข

ครูต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญ พัฒนาตนเองอยู่เสมออย่างที่สมัครมาเข้าอบรม  เนื่องจากวิชาชีพครูเป็นวิชาชีพชั้นสูง ครูต้องเชี่ยวชาญทันสมัย จึงจะทำงานสำเร็จ ใช้สื่อช่วย เช่น ซีดี ที่สพท.แจกให้ ใช้สื่อจากอินเตอร์เน็ต ร่วมมือกันพัฒนาการเรียนการสอนเป็นทีม หาวิทยากรจากภายนอก บางโรงเรียนหาชาวต่างประเทศมาช่วยสอนได้

ครูต้องเชื่อว่านักเรียนทุกคนเรียนรู้ได้ ถ้าครูเชื่อครูก็จะพยายามหาวิธีการมาสอนจนได้ ถ้าครูไม่เชื่อว่าสอนได้ก็จะไม่พยายามสอน ควรกระตุ้นให้กำลังใจนักเรียน จูงใจให้นักเรียนอยากรู้อยากเรียน ช่วงชั้นที่ 1 อาจสอนไม่มากให้รู้จักทักทาย แนะนำตัวได้ ก็พอ ค่อยมาเข้มที่ช่วงชั้นที่ 2 (ไปโรงเรียนบ้านมะค่ามาเด็ก ป. 2 ทักทายแนะนำตัวได้แจ๋ว)

เสนอให้ใช้รูปแบบการเรียนการสอน ซึ่งเป็นวิธีสอน ขั้นตอนการสอนที่ผ่านการวิจัยมาแล้วว่าใช้ได้ดี มาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน  การเรียนรู้จากโครงงานพัฒนานักเรียนได้ดี มีการนิเทศภายใน เพื่อช่วยเหลือครูให้ประสบความสำเร็จในการสอน อย่างที่การอบรมวันนี้ พ.ว. เสนอให้ใช้ BBL และ 4PS

ลดงานของครูลง เช่น รวมห้องสอน บูรณาการงานให้เป็นเรื่องเดียวกันทำทีเดียวได้หลายงาน งานที่โรงเรียนได้รับมอบหมายบูรณาการเป็นงานตามโครงสร้างของโรงเรียน แบ่งเวลาให้ถูก รู้จักเลือก ปฏิเสธ บางงานต้องดีเลิศ บางงานพอใช้ได้ ไม่ต้องดีที่สุดทุกงาน ครูก็จะมีความสุขมากขึ้น

หมายเลขบันทึก: 68927เขียนเมื่อ 23 ธันวาคม 2006 08:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อาจารย์คะ ในฐานะที่เป็นหัวหน้าศน. ลอง ทำ CoP ของผู้สอนภาษาได้ไหมคะ  ลองทำชั้นแรกเรียนก่อนว่าเด็กจะต้องเรียนอะไรแล้วจับกลุ่มครูที่เก่งมาทำให้ เพื่อว่าครูที่ยังไม่ชำนาญ หรือไม่ได้เรียนมาโดยตรง จะได้นำบทเรียนที่เตรียมไว้แล้ว ไปใช้ได้เลย  อีกประการหนึ่งคือ น่าจะมีการจัดทำคำอ่านคำศัพท์ที่ถูกต้องไว้ให้ครูได้ฝึกบ่อยๆ  เพราะถ้าสอนผิดแก้ยากมากกก ค่ะ   สมัยที่ยังสอนอยู่จะให้นักศึกษามาอ่าน ตัว h  ถ้าอ่านไม่ถูกก็จะไม่ให้สอบค่ะ

เรียน อาจารย์ทัศนีย์

เปิดแล้วค่ะ planet englishclub  แต่คนเข้ามาน้อย

แต่ยังมีความหวังค่ะ

ขอบพระคุณอาจารย์นะคะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท