Clinical reasoning (เกณิกา นาคอุดม 6123017)


Occupational profile

- ข้อมูลทั่วไปของผู้รับบริการ
ชื่อ : อิ่มใจ จิตต์ปฐมวณิช
อายุ : 79 ปี
อาชีพ : เกษียณ (รับบำนาญ)
โรคประจำตัว : ความดันโลหิต
ยาที่ได้รับ : ยาความดันโลหิต
ประวัติการเจ็บป่วย/การรักษา : มีประวัติการล้ม สะโพกขวาทรุด
- General appearance : ผู้หญิงวัยสูงอายุ นั่งรถเข็น ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมดี ทำกิจกรรมได้ตั้งแต่ต้นจนจบ สามารถร่วมทำกิจกรรมกับผู้อื่นได้ พูดคุยสื่อสารได้เข้าใจดี
- ความต้องการของผู้รับบริการ : ต้องการทำกิจกรรมทำอาหารง่ายๆ
การให้เหตุผลทางคลินิก
-Scientific reasoning
-diagnostic reasoning
การวินิจฉัยทางการแพทย์ : ผู้รับบริการได้รับการวินิจฉัยทางการแพทย์ คือ เป็นโรคความดันโลหิตสูง
การวินิจฉัยทางกิจกรรมบำบัด : ผู้รับบริการสามารถทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตส่วนใหญ่ได้ด้วยตัวเอง แต่จะมีการอาบน้ำที่ต้องมีการช่วยเหลือเล็กน้อย เนื่องจากมีความกลัวต่อการลื่นล้ม
-procedural reasoning
ผู้บำบัดได้มีกระบวนการประเมิน โดยมีการสัมภาษณ์ความต้องการของผู้รับบริการ, ประเมินความคิดความเข้าใจ (cognitive) โดยใช้แบบประเมิน MMSE, ประเมินด้านสุขภาพจิตใจ โดยใช้แบบประเมิน 9Q, ประเมินทักษะการเคลื่อนไหว โดยให้ผู้รับบริการลองเดินให้ดูและทดสอบ balance โดยให้ผู้รับบริการลองเอื้อมมือหยิบสิ่งของที่อยู่สูง ได้สรุปประเด็นปัญหา ดังนี้
1. ผู้รับบริการมีความกลัวต่อการล้ม ทำให้ต้องนั่งทำกิจกรรมบนรถเข็น
2. ผู้รับบริการมีปัญหาเรื่องความจำในระยะสั้นเล็กน้อย
3. ผู้รับบริการไม่มีโอกาสได้ทำกิจกรรมยามว่างที่สนใจ
หลังจากทราบปัญหาและความต้องการ จากการประเมินและสัมภาษณ์ ผู้บำบัดได้มีการวางแผนการให้กิจกรรมการรักษา ดังนี้
1. จัดกิจกรรมทำอาหาร เพื่อให้ผู้รับบริการได้ทำกิจกรรมยามว่างที่สนใจ และในกิจกรรมทำอาหารได้มีการฝึกการจดจำขั้นตอนต่างๆและวัตถุดิบด้วย
2. ให้ความรู้เกี่ยวกับการล้มและการป้องกันการล้ม พร้อมทั้งเสริมสร้างแรงจูงใจให้กับผู้รับบริการให้มีความมั่นใจในการเดินด้วยตัวเองมากขึ้น
-Narrative reasoning
จากการสัมภาษณ์ผู้รับบริการ
“อยู่ที่นี่ไม่ค่อยมีอะไรทำ”
“นั่งรถเข็นก็สบายดี ไม่ต้องกลัวจะล้ม”
“ชอบทำอาหารง่ายๆ”
มีการเล่าเกี่ยวกับการไปทำกายภาพบำบัด การฝึกเดิน ว่าพอทำได้แต่ต้องมีราวเกาะ ถึงจะมั่นใจในการเดิน
-Interactive reasoning
ผู้บำบัดมีการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้รับบริการ โดยมีการใช้น้ำเสียงที่นอบน้อมและท่าทีสุภาพ ชวนผู้รับบริการพูดคุยถึงปัญหาร่วมกัน มีการวาวแผนกิจกรรมร่วมกัน เช่น ในการคิดกิจกรรมยามว่างที่ผู้บริการสนใจ คือ การทำอาหาร เนื่องจากผู้รับบริการบอกว่า “ชอบทำอาหารง่ายๆ”
-Conditional reasoning
ผู้รับบริการเป็นผู้สูงอายุที่มีความเสื่อมของร่างกายตามวัย และมีความต้องการที่จะทำกิจกรรมยามว่าง คือ ทำอาหารง่ายๆ ผู้บำบัดจึงเลือกใช้กรอบอ้างอิง Physical rehabilitation FoR โดยใช้เทคนิค teaching and learning ในการสอนขั้นตอนการทำอาหาร และมีการใช้การให้ education ในการให้ความรู้กับผู้รับบริการเกี่ยวกับปัญหาการล้มและการป้องกันการล้ม
-Pragmatic reasoning
ผู้บำบัดได้มีการปรึกษากับอาจารย์และได้รับคำแนะนำเพิ่มเติม เช่น ในการเดิน ควรจะสร้างความมั่นใจและความเชื่อมั่นให้กับผู้รับบริการด้วย เพื่อให้ผู้รับบริการมีความพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงด้วยตัวเอง
-Ethical reasoning
ผู้บำบัดมีความเห็นว่าในการฝึกการเดิน น่าจะส่งต่อให้มีการฝึกร่วมกับนักกายภาพบำบัด

SOAP NOTE ครั้งที่ 1
S : เพศหญิง อายุ 79 ปี ยิ้มแย้ม สามารถเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มได้ดี สื่อสารเข้าใจ ผู้รับบริการนั่งรถเข็น เนื่องจากเคยล้มและไม่กล้าเดิน “นั่งรถเข็นก็สบายดี ไม่ต้องกลัวจะล้ม” ,ผู้รับบริการ บอกว่า “อยู่ที่นี่ไม่ค่อยมีกิจกรรมอะไรให้ทำ”
O : ประเมินด้วยแบบประเมิน MMSE ผู้รับบริการมีปัญหาในการจดจำข้อมูลระยะสั้น หัวข้อ recall, ทดลองให้ผู้รับบริการเดินให้ดู ผู้รับบริการสามารถเดินได้ระยะทางสั้นๆ แต่ไม่ค่อยมีความมั่นใจในการเดิน
A : ผู้รับบริการไม่มีโอกาสได้ทำกิจกรรมยามว่างที่สนใจ, ผู้รับบริการมีปัญหาในการจดจำข้อมูลระยะสั้น, ผู้รับบริการมีความกลัวต่อการล้ม
P : ให้ผู้รับบริการได้ทำกิจกรรมยามว่างตามที่สนใจ (ผู้รับบริการเลือกทำอาหาร) โดยในกิจกรรมมีการฝึกทักษะการจำขั้นตอน (working memory), สร้างความมั่นใจในการเดินให้กับผู้รับบริการ เสริมสร้างแรงจูงใจและประเมินความพร้อมในการเดิน
SOAP NOTE ครั้งที่ 2
S : ผู้รับบริการ บอกว่า “มากันอีกแล้ว วันนี้จะได้ทำอาหารใช่มั้ย?” ผู้รับบริการมีการพูดคุยสื่อสาร เกี่ยวกับกิจกรรมที่ทำได้อย่างเหมาะสม
O : ผู้รับบริการสามารถทำกิจกรรมทำอาหารได้ต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มจนจบกิจกรรม สามารถมีส่วนร่วมในขั้นตอนการทำอาหารได้ทุกขั้นตอน สามารถใช้มือสองข้างร่วมกันได้เป็นอย่างดี สอบถามเกี่ยวกับความมั่นใจเกี่ยวกับการเดินของผู้รับบริการ ผู้รับบริการ บอกว่าไม่ค่อยมั่นใจ ผู้รับบริการเล่าว่า มีไปทำกายภาพบำบัด ก็สามารถฝึกเดินได้ เนื่องจากมีราวจับ จะทำให้มั่นใจมากขึ้น
A : ผู้รับบริการยังไม่มีความมั่นใจในการเดิน เนื่องจากมีความคิดว่าไม่จำเป็นต้องเดิน เนื่องจากสามารถเคลื่อนย้ายตัวบนรถเข็นได้ และมีความกังวลว่าจะล้ม
P : ให้ความรู้เกี่ยวกับการล้มในผู้สูงอายุ สาเหตุ และการป้องกัน เพื่อเพิ่มองค์ความรู้ให้กับผู้รับบริการ ,แนะนำท่าออกกำลังกายป้องกันการล้ม โดยจัดทำเป็นแผ่นพับแสดงท่าการออกกำลังกาย

Story telling  

 จากการเรียนการสอนในวิชาการให้เหตุผลทางคลินิกและได้มีการหากรณีศึกษาเพื่อมาแสดงถึงการให้เหตุผลทางคลินิก ในสถานการณ์ COVID-19 ทำให้มีความยากลำบากในการหากรณีศึกษาและด้วยรูปแบบการเรียนที่เป็นแบบออนไลน์ ยิ่งเพิ่มความท้าทายในกระบวนการเรียนรู้และทำงาน ตัวนักศึกษาจึงได้เลือกผู้รับบริการที่เคยได้ไปพบที่บ้านพักผู้สูงอายุคามิลเลียน และจากการทำงานครั้งนี้ทำให้ได้มีการถกประเด็นของกรณีศึกษาที่เคยทำไปแล้วกับเพื่อนๆและอาจารย์ในกลุ่ม ได้กลับมาทบทวนตัวเอง ว่าทำไมตอนนั้นเราถึงคิดกิจกรรมอย่างนั้น มีเหตุผลอะไรที่เลือกกิจกรรมการรักษาแบบนั้น และจากประสบการณ์และคำแนะนำของอาจารย์และเพื่อนๆในกลุ่ม ทำให้มีการปรับปรุงและแก้ไข รวมถึงประมวลผลความคิดใหม่ วางแผนที่มีความเหมาะสมกับกรณีศึกษาแบบครอบคลุมมากขึ้น กระบวนการเรียนในครั้งนี้เป็นโอกาสที่ดีในการเรียนรู้การให้เหตุผลและการทบทวนเหตุผลที่ผ่านมาของตัวเองในกรณีศึกษาที่เคยทำไปแล้ว และได้มีการเรียนรู้ ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง เพื่อเป็นการพัฒนาตัวเองต่อไปในอนาคตข้างหน้า 

คำสำคัญ (Tags): #clinical reasoning#occupational therapy
หมายเลขบันทึก: 689153เขียนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2021 19:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2021 19:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท