รายงานสรุปการให้เหตุผลการรักษาทางกิจกรรมบำบัด Clinical Reasoning



Occupational profile

ชื่อ : นาย เอ (นามสมมติ)

เพศ : ชาย

อายุ : 21 ปี

ระดับการศึกษา : กำลังศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ผลการเรียนอยู่ในระดับดี 3.5X

ศาสนา : พุทธ

General appearance : เพศชายสูง ขาว ผมสั้นสีดำ สีหน้ายิ้มแย้ม อารมณ์ดี

R/O : Burnout syndrome

อาการ : ไม่อยากทำอะไร ไม่กระตือรือร้น ซึม อยากนอนอย่างเดียว เบื่อง่าย รู้สึกไร้ประโยชน์

Interest : ผู้รับบริการมีความสนใจด้านดนตรี การร้องเพลง

Strengths and concerns in relation to performing occupations and daily life activities

จุดแข็ง : เป็นคนคิดบวก มีความตั้งใจในการทำงาน มีความมุ่งมั่นทำตามความฝัน

จุดอ่อน : ไม่รู้สึกภูมิใจในตัวเอง ไม่ได้ให้คุณค่าหรือความสำคัญกับสิ่งใด

Diagnostic Clinical Reasoning    

            R/O Burnout syndrome คือ การเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจที่ส่งผลมาจากความเครียด จนบางครั้งรู้สึกมีความเหนื่อยล้าทางอารมณ์ เบื่อหน่าย ไม่หยิบจับทำอะไร หมดแรงจูงใจ ประสิทธิภาพการทำงานต่ำลง

            การวินิจฉัยทางกิจกรรมบำบัด : Occupational imbalance โดยความเหนื่อยล้าทางอารมณ์ ความรู้สึกหมดเรี่ยวแรง ไม่อยากทำอะไร ส่งผลต่อการทำกิจวัตรประจำวัน ( ADLs ) มีแบบแผนการใช้ชีวิตซ้ำๆ หรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิตเปลี่ยนไป และเมื่อไม่มีแรงจูงใจในการเรียน ประสิทธิภาพการทำงานต่ำลง จะส่งผลอย่างมากในด้าน Education and Work

Procedural Clinical Reasoning

          จากคำบอกเล่าลักษณะอาการของผู้รับริการ จึงได้ใช้ PEO เป็นกรอบอ้างอิงในการวิเคราะห์

Person : ด้าน psychosocial ได้ทำการประเมินจากการสัมภาษณ์ผู้รับบริการ พบว่า ผู้รับบริการ ไม่อยากทำอะไร ไม่กระตือรือร้น ซึม อยากนอนอย่างเดียว เบื่อง่าย รู้สึกไร้ประโยชน์ รู้สึกมืดๆไม่รู้จะทำอะไรดี ทั้งที่ก็มีงานทำ แต่ยังมีความกังวลว่าชีวิตจะพังถ้ายังเป็นแบบนี้อยู่ นักศึกษาจึงได้ให้ผู้รับบริการทำแบบประเมิน Burnout self-test ซึ่งแปลผลออกมาได้เป็นมีความเสี่ยงในระดับกลาง ด้านความเหนื่อยล้าทางอารมณ์ และได้ทำการประเมินวัดระดับความซึมเศร้า (9Q)แปลผลได้ 7 คะแนน อยู่ในระดับภาวะซึมเศร้าเล็กน้อย

Environment : อาศัยอยู่คนเดียว ที่หอพักแห่งหนึ่งในศาลายา เดินทางไปมหาวิทยาลัยโดยรถจักรยานยนต์ส่วนตัว

Occupational :
patterns of daily living

ตื่นนอน                                     08.00 น.

อาบน้ำ                                      08.30 น.

เรียนออนไลน์                            09.00 น.

กินข้าวเช้า                                 12.00 น.

เรียนออนไลน์ / ทำธีสิส               13.00 น.

Free time                                 16.00 น.

กินข้าวเย็น                                18.00 น.

อาบน้ำ                                      21.00 น.

นอน                                         00.00 น.

ประเมินความสามารถผ่านการสัมภาษณ์

            ADL : Independence

            IADL : Independence

            Education : ไม่กระตือรือร้นในการทำงานและอ่านหนังสือ ทำให้ผลการเรียนต่ำลง แต่ผลการเรียนรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับดี

            Leisure : ชอบทำกิจกรรมร้องเพลง เล่นกีต้าร์ แต่ไม่ค่อยได้ทำ

            Rest and Sleep : นอนดึกทุกวัน ถ้าไม่มีเรียนจะตื่น 11 โมง

            Social Participation : มีเพื่อนเยอะ มีกิจกรรมที่ทำร่วมกับเพื่อน เช่น เล่นบาสหรือไปเที่ยว

Interactive Clinical Reasoning

            ในการพูดคุยกับผู้รับบริการได้มีการใช้ Therapeutic relationship (RAPPORT) ฟังอย่างตั้งใจทั้งเนื้อหาและอารมณ์โดยไม่ขัดจังหวะ เพื่อให้ผู้รับบริการรู้สึกสบายใจและพูดคุยกับนักศึกษาอย่างเปิดใจมากขึ้น มีการตั้งคำถามกลับไปเพื่อให้ผู้รับบริการเข้าใจในสิ่งที่ตนเองคิด เป็นประโยชน์ทำให้นักศึกษาได้รับข้อมูลที่เป็นจริงจากผู้รับบริการ และทำให้ผู้รับบริการให้ความร่วมมือในการสัมภาษณ์และประเมิน

Narrative clinical reasoning

          “รู้สึกไม่อยากทำอะไรเลย รู้ว่าควรทำอะไรในตอนนั้นแต่ไม่อยากทำ รู้สึกมืดๆไม่รู้จะทำอะไรดี ไม่กระตือรือร้น อยู่ๆมันก็เป็นเอง ขนาดเล่นเกมยังไม่อยากเล่นเลย เคยอ่านผ่านๆ มีโพสต์นึงในโซเชียลพูดเกี่ยวกับการหมดไฟของเด็กปี 4 แต่ไม่รู้ว่าจะเกี่ยวข้องกับผมแค่ไหนนะ”

            “กังวลว่าจะพัง พังในที่นี้คือชีวิต ถ้าเราไม่ทำอะไรให้มันดีจะทำให้อนาคตป่นปี้แค่ไหนกันนะ เพราะตอนนั้นไม่ทำอะไรเลย เรียนเสร็จก็นอน อาจจะมีไปทำงานบางครั้ง สิ่งที่สนใจมีเยอะแยะเลย แต่ที่ทำมีไม่กี่อย่าง ชอบหมาแมวมากๆเลย”

            “มีเพื่อนสนิทที่คุยเล่นกันได้นะ แต่ปกติไม่ชอบพูดเรื่องตัวเองให้คนอื่นฟัง”

Conditional Clinical reasoning

ปัญหาทางกิจกรรมบําบัดและเป้าประสงค์การรักษา1 : ผู้รับบริการไม่มีแรงจูงใจในการทำกิจกรรม พฤติกรรมการใช้ชีวิตไม่สมดุล โดยเป้าประสงค์ต้องการให้ผู้รับบริการมีแรงจูงใจในการทำกิจกรรม เห็นคุณค่าของตัวเองและปรับพฤติกรรมสร้างตารางการใช้ชีวิตใหม่ให้สมดุล โดยใช้ Motivation Interviews (MI) ในการให้คำปรึกษาเพื่อส่งเสริมให้ผู้รับบริการเกิดแรงจูงใจที่จะทำกิจกรรมที่สนใจและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ชีวิต (Psychosocial rehabilitation FoR.)

ปัญหาทางกิจกรรมบําบัดและเป้าประสงค์การรักษา 2 : ผู้รับบริการมีความเหนื่อยล้า ประสิทธิภาพในการเรียนลดลง ทำการบ้าน อ่านหนังสือน้อยลง โดยเป้าประสงค์ต้องการให้ผู้รับบริการมีประสิทธิภาพการเรียนที่ดีขึ้นและความเหนื่อยล้าลดลง ซึ่งจะให้คำแนะนำแก่ผู้รับบริการเกี่ยวกับ การสงวนพลังงาน (Energy conservation) ให้มีการพักระหว่างการทำงาน การหยุดพักระหว่างอ่านหนังสือ เพื่อไม่ให้เกิดความเครียดและความเหนื่อยล้าสะสม (Biomechanics FoR.)

SOAP NOTE

ครั้งที่ 1

S : ผู้รับบริการเพิ่งตื่น ลักษณะดูนิ่งๆ ไม่ค่อยพูด ดูไม่ค่อยสดชื่น
     “รู้สึกไม่อยากทำอะไร ทั้งๆที่ก็มีงาน มีสอบ แต่รู้สึกมืดๆ ไม่รู้จะทำอะไรดี รู้ว่าควรทำแต่ไม่อยากทำ รู้สึกไร้ประโยชน์  ไม่กระตือรือร้น ไม่อยากทำอะไร อยากนอนอย่างเดียว”

O : จากการสัมภาษณ์

            - อาการนี้ส่งผลให้ทำให้เกรดตก อ่านหนังสือไม่ทัน ซึม รู้สึกไม่ดีต่อตัวเอง

            - ช่วงที่มีอาการจะไม่อยากทำอะไรเลย นอนอย่างเดียวเกือบทั้งวัน  

            - นอกจากไปเรียนยังมีไปทำงานบางครั้ง เป็นงานประเภทถ่ายโฆษณา ไม่มีวันและเวลาที่แน่นอน เวลาว่างชอบฟังเพลงแนวไทยสากล ชอบเล่นเกม เล่นกีตาร์ เล่นกับสุนัขและแมวใต้หอและตามคาเฟ่สัตว์เลี้ยง             

            จากการประเมิน Burnout self-test ได้ 33 คะแนน จากคะแนนเต็ม 75 ผู้รับบริการอยู่ในเกณฑ์ 33-49 แปลผลออกมาได้ว่า มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะหมดไฟในการทำงาน ได้คะแนนสูงในด้านความเหนื่อยล้าทางอารมณ์

A : Occupational imbalanced , Lack of motivation in education and leisure , Emotion exhaustion ,  Negative self-talk ด้าน value , มี Leisure ได้แก่ฟังเพลง เล่นเกม เล่นกีต้าร์

P : การประเมินเพิ่มเกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าโดยใช้ 9Q , สัมภาษณ์เพิ่มเติมเกี่ยวกับสุขภาพ ความเจ็บป่วยและโรคประจำตัว , สัมภาษณ์เกี่ยวกับความสำเร็จและเป้าหมายในด้าน Education และ Work , ใช้ MI เป็นการสนทนากับผู้รับบริการ เพื่อให้เห็นปัญหา เห็นข้อดีข้อเสียของพฤติกรรม สร้างแรงจูงใจและเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้สมดุล กินอาหารให้ตรงเวลา พักผ่อนให้เพียงพอ

ครั้งที่ 2

S : อารมณ์ดี ใบหน้ายิ้มแย้ม ชวนพูดคุยถึงเรื่องไปเที่ยวและเรื่องรับปริญญา
“สิ้นเดือนนี้ว่าจะไปเที่ยวกาญฯ ไปกัน 6 คน เคยไปไหม มีที่แนะนำไหม”
“อีกนิดเดียวก็จะจบแล้ว ดีใจ แต่ไม่รู้งานรับปริญญาปีนี้จะจัดได้ไหม กลัวโควิดระบาด”

O :  จากการสัมภาษณ์

            - ผู้รับบริการไม่ได้ระบายความรู้สึกกับใคร เพราะไม่ค่อยชอบพูดเรื่องของตัวเองให้คนอื่นฟัง พูดไปคนอื่นอาจช่วยอะไรไม่ได้

            - ไม่ได้ให้คุณค่าหรือความสำคัญกับเรื่องใดเป็นพิเศษ

            - รู้สึกยังไม่ประสบความสำเร็จอะไร ไม่รู้สึกภูมิใจในตัวเองเท่าไหร่ เพราะคิดว่าคำว่าประสบความสำเร็จมันดูยิ่งใหญ่ ตัวเองยังไปไม่ถึงจุดนั้นสักอย่าง เป้าหมายในอนาคตคืออยากทำงานที่ได้เงินเยอะๆ เช่น นักบิน นักแสดง

            จากการทำแบบประเมิน 9Q วัดระดับภาวะซึมเศร้า ผู้รับบริการได้ 7 คะแนน อยู่ในระดับมีภาวะซึมเศร้าเล็กน้อย

            จากการทำ MI ครั้งที่1 ผู้รับบริการทราบถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับตัวเอง แต่ยังไม่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมได้ เนื่องจากยังรู้สึกเคยชินกับพฤติกรรมแบบเดิมอยู่และคิดว่าไม่มีคนอื่นได้รับผลกระทบจากพฤติกรรมของตัวเอง จึงไม่ได้รู้สึกอยากเปลี่ยนเพื่อใคร

A : low self-esteem in education and work , Lack of motivation in education and work , mild depression

P : การทำ deep breathing โดย มือวางบนตัก หายใจเข้าทางจมูกช้า ๆ นับ 1-10 แล้วกลั้นลมหายใจ 2-3 วินาทีแล้วจึงหายใจออกทางปากช้าๆ ทำสลับกัน 5-10 ครั้ง (Relaxation technique) , ใช้ MI อีกครั้ง เพื่อให้เกิดการตัดสินใจที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้สมดุล กินอาหารให้ตรงเวลา พักผ่อนให้เพียงพอ (Psychosocial rehabilitation FoR.) , แนะนำให้มีการพักระหว่างการทำงาน โดยใช้เทคนิค Pomodoro คือการอ่านหนังสือหรือทำงาน 25 นาที สลับกับพัก 5 นาที ทำครบ 4 รอบแล้วจึงพัก 15-30 นาที

Pragmatic Clinical reasoning

          จากการได้ปรึกษาอาจารย์ จึงได้ข้อเสนอแนะจากอาจารย์มาว่า

  • - ภาวะดังกล่าวน่าจะส่งผลต่อสุขภาพ ควรซักประวัติเพิ่มเติมในเรื่องของสุขภาพร่างกาย เพราะกิจวัตรประจำวันที่เกี่ยวกับพลังงานที่ร่างกายต้องใช้ไม่สมดุล ซึ่งจะส่งผลต่อภาวะภูมิคุ้มกัน ความวิตกกังวล เบื่ออาหาร ซึมเศร้าได้
  • - เคสนี้ต้องมีการฝึก และปรับพัฒนาตนเองอยู่ตลอด มีผู้สนับสนุน ต้องฝึกซ้ำ สะท้อนเป็นระยะเพื่อพัฒนาและปรับปรุง
  • - ควรชื่นชมด้วยความใส่ใจ (Positive balanced negative reinforcement) ตั้งเป้าหมายที่สมดุลกับความสำเร็จ ความดี ฝึกสติและอารมณ์ที่ไม่คงที่ด้วยวิธี Deep breathing หายใจลึก ปล่อยวาง

Story telling

          จากการได้เป็นผู้สัมภาษณ์ ประเมินและให้บริการทางการรักษาแก่ผู้รับบริการที่มีปัญหาเกี่ยวข้องกับสุขภาพจิตเป็นครั้งแรก ทำให้ยังขาดความมั่นใจในการให้การรักษาและให้ความรู้ต่อผู้รับบริการอยู่บ้าง แต่เมื่อได้รับแนวทางการช่วยเหลือจากอาจารย์ จึงทำให้การประเมินและให้บริการผ่านไปได้ด้วยดี ซึ่งจากการติดตามผล ผู้รับบริการได้นำวิธีและคำแนะนำของนักศึกษาไปปรับใช้ ผู้รับบริการได้ลองเปลี่ยนวิธีการทำงานและอ่านหนังสือติดต่อกันเป็นชั่วโมง มาเป็นการใช้เทคนิค Pomodoro ตามคำแนะนำของนักศึกษา ผลคือสามารถคงช่วงความสนใจได้มากขึ้น ทำให้มีสมาธิในการทำงานและอ่านหนังสือและได้ประสิทธิภาพในการเรียนเพิ่มมากขึ้น โดยตัวผู้รับบริการเกิดความรู้สึกเหนื่อยล้าลดลง และผู้รับบริการเริ่มมีการปรับตารางเวลาการใช้ชีวิตใหม่ได้เล็กน้อย เช่น ปรับเวลานอนให้เร็วขึ้นได้ 1 ชั่วโมง ใช้เวลาว่างไปกับการออกกำลังกาย

           

หมายเลขบันทึก: 689124เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2021 13:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2021 10:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท