จากการได้เข้าร่วมฟังการเสวนาวิชาการฯ ในครั้งนี้ ทำให้ผู้เขียนได้เรียนรู้หลักการ เป้าหมาย ยุทธศาสตร์ และแผนการดำเนินงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบหลักของประเทศ และการทำงานเพื่อสนับสนุนของภาควิชาการเพื่อขับเคลื่อน SDGs ของประเทศไทยมากยิ่งขึ้น ได้รู้จักภาคีเครือข่ายที่เป็น Key Stakeholder ของการขับเคลื่อน SDGs ของประเทศไทยเพิ่มเติม
แต่ความท้าทายสำคัญ คือ แม้ภาคส่วนหลักจะให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อน SDGs ในระดับพื้นที่มากขึ้น ปัจจุบันภาครัฐใช้กลไกระดับจังหวัดเป็นตัวเชื่อมประสานในระดับพื้นที่ ซึ่งอยู่ในกลไกโครงสร้างของภาครัฐเป็นหลัก แต่ด้วยระบบ โครงสร้างของภาครัฐ ที่อาจจะเป็นข้อจำกัดของการทำงานกับพื้นที่/ชุมชน และเป็นการทำงานเชิงรับมากกว่าเชิงรุก จะทำให้ภาคส่วนพื้นที่/ชุมชนที่มีเรื่องราวการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่มีคุณค่าและเข้มแข็ง ถูกละเลย หรือเข้าไม่ถึงได้ และแม้ภาคส่วนหลักจะมีช่องทางในการให้ภาคชุมชน/พื้นที่ หรือภาคส่วนอื่น ๆ สามารถนำเสนอเรื่องราวการขับเคลื่อน SDGs ในพื้นที่/ชุมชนมานำเสนอเผยแพร่ได้ แต่ก็ยังเป็นวิธีการเชิงรับที่อาจจะไม่ได้มีแรงจูงใจมากพอ ดังนั้น ภาคส่วนหลักหรือหน่วยงานกลางต้องมีการสร้างเครือข่ายหรือ Node ที่มีศักยภาพในระดับพื้นที่ให้มากและหลากหลายรูปแบบ หลากหลายกลไกมากยิ่งขึ้น เช่น สมัชชาสุขภาพจังหวัด สถาบันการศึกษาในพื้นที่ อาสาสมัคร กลุ่มเด็กและเยาวชน ภาคประชาสังคม เป็นต้น
นอกจากนั้น ผู้เขียนคิดว่า เรื่องสำคัญอีกประเด็นหนึ่งคือ หากต้องการความร่วมมือของทุกภาคส่วนภาครัฐหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบควรมีการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ SDGs ที่ง่าย โดยเฉพาะมิติที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับทุกคน ทุกกลุ่ม ทุกชุมชน/พื้นที่อย่างชัดเจน ผ่านกรณีศึกษาที่น่าสนใจและเป็นรูปธรรม ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนจึงจะเกิดขึ้นด้วยเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในทิศทางเดียวกัน
ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม
http://www.wongkarnpat.com/vie...
https://resources.unsdsn.org/s...
https://static1.squarespace.co...https://sdgs.un.org/2030agenda
https://sustainabledevelopment...
นภินทร ศิริไทย
ไม่มีความเห็น