โลกในศตวรรษที่ 21 เป็นโลกที่ขับเคลื่อนด้วยพลัง "ปัญญามนุษย์"


เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งครับ คณะผู้ก่อตั้งมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ เข้าใจปัญหาที่กล่าวมา จึงได้จัดตั้งมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ขึ้นมาตั้งแต่ปี 2555 เพื่อบูรณาการการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาทุนมนุษย์ให้มีประสิทธิภาพ เสริมสร้างศักยภาพของประเทศไทย คณะกรรมการมูลนิธิฯใช้เวลาร่วม 8 ปี เพื่อศึกษาเรียนรู้โดยการทำกิจกรรมต่างๆเพื่อหาแนวทางและการดำเนินการ ให้เป็นไปตามเป้าหมายของมูลนิธิฯ ขณะนี้ทุกอย่างพร้อมแล้วครับ มูลนิธิฯจะเปิดตัวภายในเร็วๆนี้เพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมของมูลนิธิฯอย่างเป็นรูปธรรมอย่างต่อเนื่อง ร่วมกับทุกภาคส่วน ขอเชิญท่านที่สนใจมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาทุนมนุษย์ของประเทศชาติ ติดต่อของรายละเอียดหรือเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ โปรดติดต่อ หม่อมหลวง ชาญโชติ ชมพูนุท ที่เบอร์ 089-1381950 หรือ ทาง e-mail address : [email protected]

ดร. สุวิทย์ เมษินทรีย์ Dr. Suvit Maesincee

17 มกราคม เวลา 07:54 น.  · โลกเปลี่ยน|คนปรับเตรียมคนไทยสู่โลกที่หนึ่งเป็นที่ทราบกันว่า โลกในศตวรรษที่ 21 เป็นโลกที่ขับเคลื่อนด้วยพลัง “ปัญญามนุษย์” อย่างไรก็ดี ประเทศที่พัฒนาแล้วหลายประเทศต้องเผชิญกับภาวะประชากรสูงอายุ โชคดีที่ประเทศเหล่านี้ มีคุณภาพของทุนมนุษย์และโครงสร้างพื้นฐานทางสังคมที่ดีพอรองรับ ในทางตรงข้าม ประเทศที่กำลังพัฒนาที่ยากจนกลับเผชิญกับประเด็นปัญหาที่กลับกัน กล่าวคือ มีประชากรวัยหนุ่มสาวจำนวนมาก แต่ไม่สามารถสร้างทุนมนุษย์เหล่านี้ให้มีคุณภาพที่ดีพอได้ นับเป็นความโชคร้ายของประเทศไทย ที่ต้องเผชิญทั้งการมีประชากรสูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น พร้อมๆกับ คุณภาพของทุนมนุษย์ที่ถดถอยลง*เตรียมพร้อมรับมือกับสังคมผู้สูงอายุการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเป็นความท้าทายที่หลีกเลี่ยงได้ยากแต่เราสามารถเตรียมความพร้อมได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเตรียมพร้อมด้านสวัสดิการ เช่น การส่งเสริมการออม บำนาญ การดูแลสุขภาพ การมีงานทำ การ Reskilling, Upskilling และ New Skilling แรงงาน การเตรียมความพร้อมทั้งด้านกำลังคน เช่น การเพิ่มกำลังแรงงาน การยกระดับผลิตภาพแรงงาน การบริหารจัดการ Stock & Flow แรงงานทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ ประเทศไทยได้มีการเตรียมรองรับการก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุในระดับหนึ่ง อาทิ การออกพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ กองทุนการออมแห่งชาติ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เป็นต้น อย่างไรก็ดี เรายังไม่มีทิศทางที่ชัดเจนพอ ในการเตรียมความพร้อมด้านระบบสวัสดิการ การวางแผนกำลังคนเชิงรุก หรือการฉกฉวยโอกาสจากสังคมผู้สูงอายุ เช่น ด้านการแพทย์สาธารณสุข ระบบบำนาญ และสวัสดิการทั้งระบบแรงงาน*จาก 7 ข้อบกพร่อง สู่ 7 หลักคิดที่ไม่ถูกต้องควบคู่ไปกับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ประเทศไทยกำลังเผชิญกับคุณภาพของทุนมนุษย์ที่ถดถอยลง ซึ่งเป็นประเด็นปัญหาที่เรื้อรังและรุนแรง ส่วนหนึ่งมาจาก “ข้อบกพร่อง” ในระบบการศึกษาจากอดีตจวบจนปัจจุบัน ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 7 ประการ 1. ยึดตัวผู้สอน มากกว่า ยึดตัวผู้เรียน เป็นศูนย์กลาง2. เน้นการสอน มากกว่า การเปิดโอกาสให้เรียนรู้3. เน้นปรุงสำเร็จ มากกว่า เป็นเชื้อให้ไปคิดต่อ4. เน้นการลอกเลียน มากกว่าความคิดสร้างสรรค์5. เน้นท่องจำทฤษฎี มากกว่าลงมือปฏิบัติ6. เน้นพึ่งพาคนอื่น มากกว่า พึ่งพาตนเอง7. เน้นสร้างความเป็นตน มากกว่า สร้างความเป็นคน“ข้อบกพร่อง 7 ประการ” นี้ได้หล่อหลอมคนไทยให้มี “หลักคิดที่ไม่ถูกต้อง 7 ประการ” ด้วยกัน1. เน้นผลประโยชน์พวกพ้อง มากกว่า ผลประโยชน์ส่วนรวม2. เรียกร้องสิทธิ์ มากกว่า หน้าที่3. เน้นความถูกใจ มากกว่า ความถูกต้อง4. เน้นชิงสุกก่อนห่าม มากกว่า อดเปรี้ยวไว้กินหวาน5. เน้นรูปแบบ มากกว่า เนื้อหาสาระ6. เน้นปริมาณ มากกว่า คุณภาพ7. เน้นสายสัมพันธ์ มากกว่า เนื้องานผลพวงที่เกิดขึ้นคือ คนไทยโดยทั่วไปขาดอุปนิสัยไฝ่หาความรู้ และความเข้าใจในปัญหาที่มีความซับซ้อน จะรับรู้แต่เรื่องง่ายๆ และไม่เอาจริงเอาจังในเรื่องที่ต้องเอาจริงเอาจัง เมื่อความรู้ความเข้าใจต้องอาศัยทฤษฎีหรือหลักปรัชญา คนไทยส่วนใหญ่กลับมองเห็นว่าเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก ซับซ้อน และเสียเวลา ด้วยเหตุนี้คนไทยจำนวนไม่น้อยจึงมีความเอนเอียงที่จะเชื่อ “ข่าวลือ” มากกว่า “ข้อเท็จจริง” ชอบ “วิจารณ์” มากกว่าชอบ “วิเคราะห์” ใช้ “อารมณ์” มากกว่าใช้ “เหตุผล” พฤติกรรมดังกล่าวไม่สอดรับกับพลวัตในโลกศตวรรษที่ 21 ที่ต้องการ “พลเมืองที่ร่วมรับผิดรับชอบ” (Engaged Citizen) และ “ทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ” (Productive Talents) เพียงพอในการนำพาตนเองและประเทศไปสู่ความเป็นปกติสุขและการพัฒนาอย่างยั่งยืน*จาก People for Growth เป็น Growth for Peopleกระบวนทัศน์การศึกษาแบบเดิมเน้น “การตระเตรียมผู้คนเพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจ” (People for Growth)โดยมองคนเพียงแค่ทรัพยากร เป็นเพียงหนึ่งในปัจจัยนำเข้าของการสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ กระบวนทัศน์ดังกล่าวได้สร้างความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมที่เพิ่มมากขึ้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเปลี่ยนกระบวนทัศน์การศึกษาเสียใหม่เป็น “การสร้างการเติบโตเพื่อเติมเต็มศักยภาพของประชาชน” (Growth for People) โดยสร้างการเติบโตเพื่อรองรับผู้คนให้มีโอกาสที่เท่าเทียมกัน ในการพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถของตน พร้อมๆกับการปลูกจิตสำนึกของความรักท้องถิ่น หวงแหนแผ่นดินเกิด เห็นประโยชน์ของชาติเหนือประโยชน์ส่วนตัว ช่วยเหลือเกื้อกูลแบ่งปัน บนรากฐานของความเคารพและไว้ใจซึ่งกันและกัน รวมถึงการปลูกฝังจิตใจแห่งความเป็นประชาธิปไตยกระบวนทัศน์ Growth for People มุ่งสร้างคนไทยให้มีคุณลักษณ์ที่สอดรับกับพลวัตโลกศตวรรษที่ 21 นั่นคือ เป็นคนไทยที่1. “เชื่อมั่นในตัวเอง” (A Confident Person) รู้จักแยกแยะว่า อะไรถูกอะไรผิด รู้จักปรับตัว ล้มแล้วรู้จักลุก มีความคิดความอ่าน และการตัดสินใจที่เป็นอิสระ 2. “สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง” (A Self-Directed Person) มีความไฝ่รู้ มีความมุ่งมั่นที่จะเรียนรู้ เพื่อเติมเต็มศักยภาพ และสร้างประโยชน์จากความรู้ที่เกิดขึ้น3. “ทำประโยชน์ต่อส่วนรวม” (A Public Contributor) ทำงานเป็นทีม มีความคิดสร้างสรรค์ รู้จักประเมินความเสี่ยง และเรียกหาสิ่งที่ดีที่สุดให้กับตนเองและส่วนรวม4. “เป็นพลเมืองที่ร่วมรับผิดรับชอบ” (An Engaged Citizen) มีจิตสำนึกของความเป็นพลเมือง รู้จักสิทธิและหน้าที่เสรีภาพและความเสมอภาค มีจิตสำนึกต่อส่วนรวมและต่อประเทศ*4 X 4 เป้าหมายและกระบวนการเรียนรู้ชุดใหม่การแปลงกระบวนทัศน์ “People for Growth” สู่การปฎิบัติ จะเริ่มจากการกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ชุดใหม่ ประกอบไปด้วย1. “เรียนรู้อย่างมีความมุ่งมั่นและเป้าหมาย” (Purposeful Learning) เป็นเป้าหมายที่เกิดจากแรงบันดาลใจ ความสนใจ หรือความมุ่งมั่นของแต่ละคน เปิดโอกาสให้แต่ละคนนิยามอนาคต กำหนดเป้าหมายในชีวิตที่ยิ่งใหญ่ ที่ก้าวข้ามการง่วนอยู่กับการทำเพื่อตนเอง ไปสู่ความมุ่งมั่นที่จะทำให้เกิด Better Self, Better Society & Better World2. “เรียนรู้อย่างสร้างสรรค์” (Generative Learning)ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้เพื่อให้เกิดการใช้ความคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการประยุกต์ใช้ มีความยืดหยุ่นทางความคิดและอารมณ์ เปิดมุมมองใหม่ๆ ก้าวข้ามข้อจำกัด ค้นหาแนวทางปลดล็อกข้อจำกัดแบบเดิมๆ เพื่อให้เกิดการรังสรรค์นวัตกรรม3. “เรียนรู้แบบมีส่วนร่วมและแบ่งปัน” (Collective Learning) ปลูกฝังให้ผู้คนร่วมกันคิด ร่วมกันสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ มากกว่าการฉายเดี่ยว การเก่งอยู่คนเดียว รวมถึงการปรับเปลี่ยนสิ่งจูงใจ จากการแข่งขันชิงรางวัล เป็นการได้รับรางวัลจากการทำงานร่วมกัน ฝึกให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสภาวะ ”สุขก็สุขด้วยกัน ทุกข์ก็ทุกข์ด้วยกัน”4. “เรียนรู้ที่เน้นผลสัมฤทธิ์” (Result-based Learning) เป็นการเรียนรู้ที่สามารถวัดผลหรือเห็นผลที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม เน้นการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ เน้นการให้ทำโครงการ กิจกรรม และมอบหมายภารกิจ มากกว่าการบรรยายหน้าชั้น โดยเน้นผลสัมฤทธิ์ของงานที่ทุกคนทำงานร่วมกันมากกว่าการทดสอบให้ผ่านจาก 4 เป้าหมายการเรียนรู้ จะถูกถอดรหัส ออกมาเป็นกระบวนการเรียนรู้ชุดใหม่ ที่จะตอบโจทย์การใช้ชีวิต การเรียนรู้ และการทำงานในศตวรรษที่ 21 ประกอบไปด้วย1. “สำรวจสืบค้น” (Exploring) ฝึกนิสัยให้ผู้คนรักการสำรวจสืบค้น เปิดโอกาสให้ท่องไปในโลกกว้างทั้งในโลกจริง และโลกเสมือน รู้จักใช้จินตนาการ รังสรรค์ความคิดใหม่ๆ 2. “ทดลองปฏิบัติ” (Experimenting) เพื่อให้เกิดความคิด และค้นหาทางเลือกใหม่ๆ เปิดโอกาสให้แต่ละคนได้ลองถูกลองผิด เป็นการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง สามารถ “Make any Mistakes” 3. ”เสริมสร้างประสบการณ์”(Experiencing) เป็นเรื่องของการสร้างเสริมประสบการณ์ฝึกให้มีการตัดสินใจด้วยตนเอง คิดเป็นโครงการเพื่อฝึกการผลักดันความคิดให้เกิดผล เก็บเกี่ยวประสบการณ์และนำบทเรียนและประสบการณ์ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในบริบทต่างๆ4. “แลกเปลี่ยนแบ่งปัน” (Sharing) เป็นการแลกเปลี่ยนแบ่งปันประสบการณ์ ความรู้ และข้อมูลข่าวสารกับผู้อื่นด้วยการปลูกฝัง “Free Culture” ที่เน้น Free to Take และ Free to Share รวมถึงการทำงานกับผู้อื่นผ่านกิจกรรมต่างๆในรูปแบบ Creative Collaboration ...ถึงเวลาเตรียมคนไทยเพื่อเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในศตวรรษที่ 21 เป็นพลเมืองที่ร่วมรับผิดรับชอบ เป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพในโมเดลเศรษฐกิจ BCG ที่ตอบโจทย์ความสมดุล ทั่วถึง และยั่งยืน ในโลกหลังโควิด ได้อย่างแท้จริง

หมายเลขบันทึก: 688473เขียนเมื่อ 19 มกราคม 2021 20:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มกราคม 2021 20:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

บทความนี้มองภาพได้ชัดเจนถึงปัญหาและการแก้ไข ที่ผ่านมาเรามองภาพของระบบต่าง ๆ ในสังคมออกและตั้งโจทย์ที่จะแก้ไขปัญหา แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือกระบวนการที่จะทำให้เราสามารถแก้ไขปัญหาได้ ต้องเป็นกระบวนการที่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างแท้จริงและมีความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของไทยและของโลกครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท