สะท้อนการเรียนรู้ในหัวข้อ Perspective on health practice in occupational therapy during the COVID-19 pandemic


จากการเรียนรู้ในครั้งที่ผ่านมา ซึ่งได้มีทั้งรุ่นพี่ศิษย์เก่าและนักกิจกรรมบำบัดอย่างพี่ปวีณา พี่กีรติ และอาจารย์โมที่มาร่วมแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ในการทำ Telehealth ในช่วงสถานการณ์ที่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งการนำ Telehealth มาเป็นสื่อกลางในการรักษาก็เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจที่จะทำให้ผู้รับบริการได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากการเรียนรู้ที่ผ่านมา ดิฉันสามารถสรุปและสะท้อนความรู้ที่ได้มา คือ

โดย Telehealth เป็นการใช้สื่อเทคโนโลยีรูปแบบต่าง ๆ และอินเทอร์เน็ต ในการสื่อสารและส่งต่อข้อมูลเพื่อการบริการด้านการบำบัดฟื้นฟู โดยก่อนที่ผู้บำบัดและผู้รับบริการจะทำการบำบัดผ่านสื่อกลางอย่าง Telehealth นั้นก็ควรจะมีการทำข้อตกลง consent form กันก่อน คือการเซ็นยินยอมในการบำบัดรักษา โดยจะมีรักษาความเป็นส่วนตัว ไม่มีการบันทึกหน้าจอและห้องที่ใช้จะเป็นห้องปิด และจะต้องมีการคุยกับผู้ปกครองหรือเด็กก่อนเสมอเพื่อทำความเข้าใจร่วมกันถึงเป้าประสงค์ในการบำบัดว่าจะดำเนินต่อจากเป้าหมายเดิมหรือตั้งเป้าหมายใหม่ เพื่อให้เด็กสามารถใช้ชีวิตประจำวันที่บ้านได้สะดวกมากขึ้น โดยจะมีรูปแบบการบำบัดรักษาที่แบ่งได้เป็น 3 ประเภท

1. Parent coaching เป็นการที่ผู้บำบัดจะสอนหรือแนะนำผู้ปกครองเกี่ยวกับวิธีการฝึกหรือสอนเด็กในขณะที่อยู่บ้าน โดยเริ่มแรกผู้บำบัดจะมีการตกลงร่วมกันกับผู้ปกครองเรื่องเป้าหมายที่จะทำในวันนี้ แล้วให้ผู้ปกครองและเด็กทำกิจกรรมร่วมกัน โดยมีผู้บำบัดคอยสังเกต จากนั้นเมื่อจบกิจกรรมผู้บำบัดจะคุยกับผู้ปกครองและคอยแนะนำวิธีการที่เหมาะสมต่อไป

2. Teletherapy เป็นการที่ผู้บำบัดจะทำกิจกรรมร่วมกับเด็กโดยตรง จะมีผู้ปกครองคอยดูอยู่ข้าง ๆ

3. Counseling เป็นการให้คำปรึกษาและคำแนะนำแก่ผู้ปกครองทุก ๆสัปดาห์ มีการ feedback ถึงกิจกรรมที่ได้ทำไป

ก่อนที่จะเริ่มทำการบำบัด ผู้บำบัดควรทำความคุ้นเคยตัวเด็กและผู้ปกครอง เพื่อประเมินความสามารถและประสิทธิภาพของทั้งตัวเด็กและผู้ปกครอง เพื่อนำไปวางแผนในการบำบัดรักษาและควรเตรียมตัวมาก่อน คือ มีการวางแผนและคิดกิจกรรมมาก่อน รวมทั้งควรเตรียมพร้อมและเตรียมตัวผู้ปกครองและเด็กก่อนว่าในครั้งต่อไปที่จะเจอกันจะทำอะไร ใช้อุปกรณ์อะไร และควรเตรียมตัวอย่างไร ปละเมื่อทำกิจกรรมเสร็จควรมีการ feedback กับผู้ปกครองว่าควรปรับการช่วยเหลืออย่างไร และควรชมในสิ่งที่ดี

ทั้งนี้การใช้ Telehealth เป็นสื่อในการบำบัดก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งในส่วนของข้อดีนั้น คือ ปลอดภัยสำหรับช่วง COVID-19 และผู้รับบริการที่อยู่ห่างไกลจากโรงพยาบาลสามารถได้รับการฝึกจากที่บ้านได้ ไม่ต้องเดินทางไกล มีตารางเวลาที่ยืดหยุ่นสามารถปรับเปลี่ยนได้ ประหยัดเงินและเวลา นอกจากนี้ผู้บำบัดยังสามารถมองเห็นการใช้ชีวิตประจำวันจริง ๆ ที่บ้านของผู้รับบริการ ได้เห็นถึงสภาพแวดล้อมว่าเอื้อหรือเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิตอย่างไร รับรู้ได้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจริง

และข้อเสีย คือ มีข้อจำกัดทางการประเมิน เนื่องจากไม่สามารถประเมินตัวต่อตัวได้ อาจทำให้ผู้บำบัดไม่สามารถประเมินความสามาถที่แท้จริงของผู้รับบริการออกมาได้ และเครื่องมือเทคโนโลยีที่ใช้ได้มีจำกัด ไม่เหมือนกับบำบัดที่โรงพยาบาล และอาจจะมีเรื่องสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย มีสิ่งเร้าหรือสิ่งรบกวน

        ทางตัวดิฉันเห็นว่าในสถานการณ์ COVID-19 การนำเอา Telehealth มาเป็นสื่อกลางในการบำบัดก็ถือเป็นวิธีที่จะช่วยให้ผู้รับบริการส่วนนึงสามารถได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นผลดีต่อตัวผู้รับบริการเอง แต่ก็ต้องมีการปรับตัวและเตรียมความพร้อมเป็นอย่างมาก ทั้งด้านอุปกรณ์ที่ใช้ สถานที่ สื่อและอินเทอร์เน็ต แต่นักกิจกรรมบำบัดก็ควรมีความยืดหยุ่นและปรับตัวได้เพื่อก้าวให้เท่าทันในสถานการณ์ปัจจุบัน

นางสาวฑุลิกา บุญมน  6123022

หมายเลขบันทึก: 688434เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2021 00:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มกราคม 2021 00:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ดิฉันเห็นด้วยกับผู้เขียนว่าการนำ Telehealth มาเป็นส่วนนึงในการบำบัดรักษาผู้รับบริการในช่วยนี้เป็นสิ่งที่ดี แต่ก็ต้องคำนึงถึงความพร้อมของผู้รับบริการในหลายๆด้านด้วย และเห็นด้วยว่าผู้บำบัดควรมีทักษะความคิดความยืดหยุ่นสูงเพื่อเตรียมรับมือกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท