สะท้อนการเรียนรู้ในหัวข้อ Perspective on health practice in occupational therapy during the COVID-19 pandemic


สิ่งที่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ที่ได้ถ่ายทอดโดย พี่แนนพี่กีรติและพี่โม ในหัวข้อ Telehealth Occupational therapy นั่นก็คือ Telehealth เป็นการให้การรักษาโดยใช้สื่อ application ในการบำบัดรักษากับผู้รับบริการ ในบริบทที่ผู้รับบริการไม่สามารถมารักษากับผู้บำบัดได้โดยจะมีวิธีการและขั้นตอน ในบริบทต่างๆ ได้แก่

  • จากประสบการณ์และมุมมองจาก พี่แนน นักกิจกรรมบำบัด มีดังนี้

ในขั้นตอนแรก ต้องได้รับการยินยอมจากผู้รับบริการในการรักษา เช่น ก่อนจะทำ Telehealth ต้องติดต่อผู้ปกครองและเด็ก เพื่ออธิบายให้เข้าใจถึงขั้นตอนและวิธีการรักษาแบบโดยรวม , ต้องอยู่ในห้องที่ปิดมิดชิด , ไม่มีการบันทึกวิดีโอขณะทำการรักษา

ในขั้นตอนการรักษา ผู้บำบัดจะมีรูปแบบในการรักษาดังนี้ ได้แก่ 1. Parent coaching :เป็นการสอนให้ผู้ปกครองเข้าใจวิธีการสอนเพื่อนำมาสอนกับเด็กได้ 2. Teletherapy :เป็นการให้การรักษาจากนักบำบัดผ่านการสื่อสารบนคอมพิวเตอร์ โดยจะต้องมีพ่อแม่ให้การช่วยเหลืออยู่ข้างๆและบริบทในสภาพแวดล้อมต้องเหมาะสม 3. Counselling :เป็นการให้คำแนะนำในการทำกิจกรรมโดยผู้บำบัดจะเป็นผู้อธิบายขั้นตอนในการทำกิจกรรม ซึ่งผู้บำบัดจะเป็นผู้เลือกตามความเหมาะสมในการให้การรักษา ก่อนจะให้การรักษาเราจะต้องส่ง e-mail ไปหาผู้รับบริการหรือผู้ดูแล เพื่อแจ้งให้ทราบถึงแผนในการรักษาและอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ระหว่างการรักษา การเริ่มให้การรักษาจะต้องทำความคุ้นเคยกับผู้รับบริการก่อนแล้วจากนั้นทำการประเมินความสามารถของเด็ก เพื่อนำมาตั้ง goal และวางแผนการรักษาเมื่อทำการรักษาเสร็จ ต้องให้การ monitor แก่ผู้รับบริการ เช่น ในสัปดาห์หน้า เราจะทำแป้งโดว์เป็นรูปวงกลมและให้ feedbackกับผู้ดูแล โดยการพูดชมเชิงบวกและบอกถึงสิ่งที่ต้องแก้ไขในตอนท้ายการรักษา

  • จากประสบการณ์และมุมมองจาก พี่กีรติ นักกิจกรรมบำบัด มีดังนี้

กระบวนการทำ Telehealth จะประกอบไปด้วย การประเมิน , การให้การรักษา , การให้ monitor แก่ผู้รับบริการและตั้งเป้าหมายในการรักษา 

  ขั้นตอนสำหรับการทำ Telehealth

- มีการวางแผนก่อนที่จะให้การรักษา

- อุปกรณ์ที่ใช้ : ควรสอนผู้ดูแลในการใช้อุปกรณ์ เช่น การใช้โทรศัพท์ในการถ่ายวิดีโอขณะผู้รับบริการทำกิจกรรม

- การให้การรักษา : มีการจัดตารางในการวางแผนการรักษา,อธิบายรูปแบบการรักษาแบบภาพรวม,อธิบายการเตรียมตัวและให้ feedback หลังจากการทำการรักษา

- การจัดการกับพฤติกรรมของเด็กขณะทำ Telehealth ได้แก่ ให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครองในการปรับสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม,ใช้การสื่อสารเชิงบวกเช่น อย่าระบายสีออกนอกกรอบ ไหนลองระบายสีไม่ให้ออกนอกกรอบสิจ้ะ , มีการปรับกิจกรรมจากง่ายไปหายากและวางแผนการทำกิจกรรมให้มีความสอดคล้องกัน

  • จากประสบการณ์และมุมมองจาก พี่โม นักกิจกรรมบำบัด มีดังนี้

การให้รักษาในชุมชนมีรูปแบบการรักษา โดยใช้วิธีการ Teleconsultation ซึ่งเป็นแอพพลิเคชั่นที่ไว้สำหรับเก็บข้อมูลและสื่อสารระหว่างผู้บำบัดและผู้รับบริการ ในแอพพลิเคชั่นจะมีการบันทึก รายการยา,การขับถ่าย,ชีพจร,โภชนาการ ในการให้ Teleconsultation นั้นจะสามารถเข้าถึงผู้รับบริการในชุมชนได้ เพราะว่า จะประกอบด้วยข้อดี ได้แก่ ประหยัดเวลา,ลดการติดเชื้อและญาติสามารถติดต่อบุคลากรทางการแพทย์ได้ ส่วนข้อเสีย ได้แก่ ผู้ดูแลหรือผู้รับบริการขาดความรู้และความซับซ้อนของแอพพลิเคชั่น อย่างไรก็ตามวิธีการรูปแบบ Teleconsultation เป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถให้การรักษากับผู้รับบริการในชุมชนได้โดยไม่ต้องมาพบผู้บำบัดโดยตรง

                                                                                                                                                      

                                                                                                                                                  นางสาว อธิยา มุตฟัก 6123035

คำสำคัญ (Tags): #telehealth#COVID-19
หมายเลขบันทึก: 688431เขียนเมื่อ 17 มกราคม 2021 21:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มกราคม 2021 16:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

จากการอ่านบทความข้างต้น ในประเด็นการสื่อสารเชิงบวกดิฉันเห็นด้วยที่มีการยกตัวอย่างคำพูดประกอบ เพื่อให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น และในประเด็นข้อดี ข้อเสียของการทำ teleconsultation มีการอภิปรายได้ดี และผู้เขียนสามารถสรุปความรู้ที่เรียนได้อย่างครบถ้วน

เห็นด้วยในประเด็นเรื่องการให้ teleconsultation จะช่วยให้ผู้รับบริการเข้าถึงเข้าถึงการรับบริการในชุมชนได้และการทำ teleconsultation เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน

ดิฉันมองว่าการใช้ Teleconsultation ในชุมชนเป็นเรื่องที่ดีเพราะประหยัดเวลาในการเข้าถึงบริการสุขภาพ แต่อย่างไรก็ตามปัจจุบันยังมีข้อจำกัดในหลายๆด้าน เช่น ความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยี เศรษฐานะ อายุ หากจะทำให้ประสบความสำเร็จคงต้องใช้การสร้างเครือข่ายกับอสม.และรพ.สต.ที่เหนียวแน่นมาก ถึงกระนั้นดิฉันก็เชื่อมั่นว่าการให้ Teleconsultation อาจสัมฤทธิ์ผลได้ในอนาคต

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท