พุทธเศรษฐศาสตร์ : หัวใจแห่งการให้ การเสียสละ



ทุกอย่างเกิดแต่เหตุ เกิดแต่ปัจจัย พุทธเศรษฐสาสตร์นั้นไซร้จะเกิดขึ้นได้จากหัวใจที่มีแต่การให้ การเสียสละ



รูปภาพหัวใจนำมาจาก : http://www.morsengworld.com/ar...


--------------------------------------------------------------------------------

จุดเริ่มต้นตามหลักเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก คือการนำเข้าซึ่งวัตถุดิบ  (Input) แล้วผ่านกระบวนการผลิต (Process) เพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้า (Output) แล้วจึงนำไปแลกเปลี่ยนให้ได้มาซึ่ง "เงินตรา (Money)"

เศรษฐศาสตร์กระแสหลัก (Main stream economics)


อุปสงค์ คือ เงิน 

อุปทาน คือ อะไรก็ได้ที่สามารถนำกลับมาได้ซึ่ง "เงิน"

อะไรก็ได้นี้หมายถึง การทำทุกวิถีทางที่คนเราจะได้ "เงิน" เป็นสิ่งตอบแทน

ผู้ที่มาทำงานกับเรา (พนักงาน) มาทำงานก็หวัง "เงิน"

ผู้บริหารที่สร้างองค์การ บริการจัดการก็หวัง "เงิน"

ระบบการจัดการแบบนี้จึงเรียกได้ว่า เป็นการจัดการแบบนักลงทุน ทำทุกอย่างเพื่อให้ได้ ให้มี ให้เป็น...

----------------------------------------------------------------------------------

พุทธเศรษฐศาสตร์ (Buddhist Economics)

อุปสงค์ คือ การให้

อุปทาน คือ จิตใจของผู้ให้ ร่างกายของผู้เสียสละ

เราจะทำธุรกิจอะไรก็ได้ แต่เบื้องต้น เราตั้งองค์กรขึ้นมาเพื่อเพื่อนมนุษย์ได้รับความสุข

ผู้ที่มาทำงานกับเราจุดมุ่งหวังคือมาทำความดี มาเสียสละ ส่วนเงินเดือน รายได้ ถือว่าเป็นผลพลอยได้จากการทำความดี

เราเป็นผู้ให้ เราทำความดี เราจึงจะมีความสุข

เรามีความสุข เราเป็นผู้ให้ เราถึงจะมีปัญญา

เรามีปัญญา เราก็นำปัญญานั้นมาให้ มาเสียสละ

เมื่อให้ เมื่อเสียสละ เราก็จะได้พบความสุขอย่างแท้จริง...

จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว

เราต้องมีความเห็นถูกต้อง เข้าใจถูกต้อง การปฏิบัตินั้นถึงจะถูกต้อง

ความเห็นถูกด้อง คือ เราต้องเป็นผู้ให้

ความเข้าใจถูกต้อง คือ เราต้องเป็นผู้เสียสละ

การปฏิบัติถูกต้อง คือ เราต้องขยันและอดทน

เริ่มต้นง่าย ๆ แค่นี้ แล้วเราจะพบวิถีแห่งพุทธะ

ผู้รู้ : รู้ที่จะให้ เสียสละ

ผู้ตื่น : ตื่นจากความหลงในทรัพย์สินเงินทอง ทรัพย์สมบัติ ลาภยศสรรเสริญ

ผู้เบิกบาน : เบิกบานด้วยธรรมะ คือ ธรรมชาติที่มนุษย์ต้องมีความเมตตาซึ่งกันและกัน

หมายเลขบันทึก: 688426เขียนเมื่อ 17 มกราคม 2021 17:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มกราคม 2021 17:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท