สะท้อนความรู้ Telehealth Occupational Therapy


" Perspective on health practice in Occupatinal Therapy during the COVID-19 pandemic "

          เมื่อวันจันทร์ที่ 11 มกราคม 2564 นักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 3 ได้มีโอกาสร่วมฟังการอภิปรายมุมมองทางกิจกรรมบำบัดในการบำบัดรักษาทางไกล (Telehealth conference) จากพี่ๆศิษย์เก่าที่เป็นทั้งนักกิจกรรมบำบัดและอาจารย์จำนวน 3 ท่าน ได้แก่ พี่แนน พี่กี และอาจารย์โม 

         • ช่วง OT และ Telehealth ในเด็ก ได้รับความรู้มากมายจากพี่แนน เช่น Telehealth คืออะไร มีกระบวนการอย่างไร, ตัวอย่างเคสเด็กที่บำบัดด้วยวิธีการ Telehealth, ข้อดีข้อเสียของTelehealth และเทคนิคการทำ Telehealth อย่างไรให้ประสบความสำเร็จ หลังจากได้ฟังพี่แนนอธิบายทำให้เข้าใจความหมายของ Telehealthมากขึ้น ตั้งแต่การวางแผน จะต้องตั้งgoal ร่วมกับผู้ปกครองเด็ก เขียนแผนการรักษาเป็นsessionต่างๆ ว่าแต่ละครั้งจะทำอะไรใช้อุปกรณ์อะไร ที่บ้านเด็กมีหรือไม่ ควรซื้อเพิ่มหรือไม่หรือสามารถหาสิ่งอื่นมาทดแทนได้ ซึ่งวิธีการทำTelehealth สามารถทำได้หลายกระบวนการแล้วแต่ความเหมาะสมของเคส เช่น

- Parent coaching คือ การทำความเข้าใจร่วมกับผู้ปกครองเกี่ยวกับกิจกรรมที่เด็กจะต้องทำ ในเคสเด็กที่ผู้ปกครองจะต้องคอยดูอยู่ข้างๆเด็กด้วย ผู้บำบัดจะคอยชี้นำผู้ปกครองให้ช่วยสอนเด็ก โดยให้เด็กทำเองให้มากที่สุดคอยดูในจุดที่ทำไม่ได้

- Teletherapy คือ ระหว่างทำกิจกรรมจะมีแค่เด็กและผู้บำบัด ทำไปด้วยกันพร้อมๆกัน มักจะทำในเด็กที่ high function สามารถใช้งานอุปกรณ์ต่างๆได้เอง ไม่มีปัญหาด้านสมาธิ จดจ่อในระดับนึง

- Counseling คือ การให้คำปรึกษาผู้ปกครองแล้วให้ผู้ปกครองไปสอนเด็กเอง ว่าควรจะคอยช่วยเหลือเด็กอย่างไร จะแตกต่างกันไปตามแต่ละเคส 

        จากที่ได้ฟังที่พี่แนนบรรยายก็ทำให้มองเห็นภาพการทำ Telehealth ในแต่ละวิธีการได้ชัดเจนมากขึ้น พี่แนนได้ยกตัวอย่างเคสที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนมา 4 เคส ทั้งเด็กASD ADHD และ Delayed ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบให้เห็นว่าแต่ละเคสควรจะใช้วิธีการใด จึงจะเหมาะสม ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ดีมากช่วงท้ายพี่แนนได้พูดถึงข้อดีข้อเสียของการทำ Telehealth ดิฉันเห็นด้วยว่าการทำ Telehealth ในช่วง COVID-19 ถือเป็นวิธีการที่ดีที่จะช่วยให้เด็กได้รับการฝึกอย่างต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตามดิฉันคิดว่าการบำบัดผ่านหน้าจอ ก็ไม่สามารถให้ผลลัพทธ์ได้เท่าเทียมกับการบำบัดตัวต่อตัวที่คลินิก ดิฉันมองว่าการจะประสบความสำเร็จในการรักษาได้ต้องใช้ความร่วมมือจากหลายฝ่ายทั้งอุปนิสัยลักษณะเฉพาะของเด็กแต่ละคน ความร่วมมือจากผู้ปกครอง และความน่าสนใจของกิจกรรมที่ใช้บำบัด มีส่วนสำคัญอย่างมาก 


     • ช่วงต่อมาเป็นการบรรยายจากพี่กี ซึ่งมีเทคนิคหลายประการที่จำเป็นในการทำ Telehealth เช่น ต้องคิดแผนสองไว้เสมอ overplan+preplan, ศึกษาแอพพลิเคชั่นต่างๆก่อนใช้งานจริง, สร้างสัมพันธภาพกับผู้ปกครองในการสัมภาษณ์

      สิ่งที่ได้เรียนรู้ว่าตนเองจะต้องพัฒนาให้มากยิ่งขึ้น นั่นคือทักษะต่างๆที่จำเป็นต่อการสัมภาษณ์ เช่น ทักษะการฟังเพื่อจับประเด็นระหว่างสัมภาษณ์, ทักษะการตั้งคำถามเพื่อให้ได้ข้อมูลตรงตามที่ต้องการ, ทักษะการพูดการใช้ภาษาเพื่อให้ผู้ปกครองรู้สึกไว้วางใจและเชื่อมั่นในการรักษา, ทักษะการสะท้อนความรู้สึกระหว่างการสัมภาษณ์เพื่อให้ผู้ปกครองรู้สึกว่าผู้บำบัดพร้อมที่จะช่วยเหลืออยู่


     • ช่วงสุดท้ายเป็นการบรรยายโดยอาจารย์โม ซึ่งจะเกี่ยวกับการทำ Telehealth in community เน้นไปที่ Health promotion, Healthcare และ Teleconsultation อาจารย์ได้แนะนำแอพพลิเคชั่น "Care4caregiver" ที่จะเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพสามารถใช้ได้กับคนในชุมชน มีการสร้างเครือข่ายระหว่างแพทย์ อสม. รพสต. และสหวิชาชีพอื่นๆ เพื่อให้การช่วยเหลืออย่างรอบด้าน แต่เนื่องด้วยข้อจำกัดหลายๆอย่างทั้งด้านเศรษฐกิจ, การขาดการเข้าถึงเนื่องจากความซับซ้อนและพื้นฐานความรู้ที่ไม่เท่ากัน ดิฉันมองว่าการใช้แอพพลิเคชั่นในการช่วยเหลือก็เป็นทางเลือกที่ดีอย่างหนึ่ง แต่อาจจะไม่สามารถนำมาใช้ได้จริงในบริบทประเทศไทยมากนัก อย่างไรก็ตามการพัฒนาเทคโนโลยีในอนาคตอาจช่วยให้คนในชุมชนเข้าถึงการรักษาได้มากขึ้น


      ความรู้สึกเมื่อฟังการอภิปรายจบ ดิฉันรู้สึกเข้าใจและเห็นภาพการทำ Telehealth ที่กว้างขึ้น เห็นบทบาทของตนเองชัดเจนขึ้น ขอขอบคุณพี่แนน พี่กี และอาจารย์โม เป็นอย่างสูงที่มาร่วมให้ความรู้แลกเปลี่ยนมุมมองในการบำบัดแบบ Telehealth ดิฉันจะนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้กับการบำบัดรักษาของตนเองเมื่อเป็นนักกิจกรรมบำบัดในอนาคตต่อไป

  ผนินทร แช่มเดช OT 6123026

คำสำคัญ (Tags): #telehealth#Teletherapy#occupational therapy
หมายเลขบันทึก: 688432เขียนเมื่อ 17 มกราคม 2021 23:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มกราคม 2021 23:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท