908. บทความ “เรียนการค้นหาความหมายของชีวิตจาก Netflix"ตอน “One Take


One Take เป็นอะไรที่ผมอยากดูมานาน เพราะในฐานะอาจารย์ MBA ผมเจอคนหลายคนรอบตัวที่เป็นอาจารย์และลูกศิษย์ เป็นโอตะวง BNK48 หลายคนเป็นมืออาชีพ เป็นคนดีมากๆ มีปรัชญาชีวิต เลยอยากรู้ว่าวงนี้มีอะไรดี แต่เนื่องจากไม่ได้เป็นโอตะด้วย หนทางที่จะทำความเข้าใจ น่าจะได้จากการดูเรื่อง One Take นี่เอง หนังเรื่องนี้เป็นที่มาและความเป็นไปของวง ตั้งแต่ถือกำเนิด จนไปถึงการคัดนักร้องรุ่นใหม่ ที่เรียกว่า Gen 2 สุดท้าย คือให้คนดูตัดสินว่าใครจะได้อยู่ในวงต่อ ใครต้องออก และที่สุดของที่สุดคือการประกวดว่าใครได้ลำดับ 1-7


ถามว่าผมประทับใจอะไรเรื่องนี้ ก็ตั้งแต่แรก พอดีผมศึกษาเรื่องอิคิไก จุดประสงค์ (Purpose) ซึ่งอิคิไกแปลว่าการมีเหตุผลที่เราตื่นมาต่ละวัน การมีอิคิไกทำให้ชีวิตเรามีความหมาย (Meaning) รู้สึกอยากไปทำงานทุกวัน ไม่อยากเลิก ถ้าจะวิเคราะห์ก็พูดได้เลยตัวละครทุกตัวดูมีอิคิไก ไม่ว่าจะเปิดดูจากตำราใด แต่เรื่องที่สะกิดใจมมีนิดหนึ่งคือ ตัวน้องๆในวง ดูจะแบ่งเป็นสามกลุ่ม กลุ่มแรกคือกลุ่มที่ถูกปฏิเสธ กลุ่มสองคือกลุ่มกลางๆสุดท้ายคือกลุ่ม Super Starทั้งหมดมีความดีใจและหวั่นไหวในชีวิตแตกต่างกันไปกลุ่มที่ถูกปฏิเสธ ลองคิดดูคุณรักการร้องการเต้นมาตั้งแต่จำความได้ และคุณฝันที่จะได้โลดแล่นเป็นนักร้อง แต่อยู่ดีๆ ไม่มีใครเลือกคุณ คุณถูกปฏิเสธ อยู่ดีๆ ความฝันคุณก็สูญสลาย ผมเห็นน้ำตา การร้องให้กลุ่มที่ได้ประมาณกลางๆ ก็ออกมาเปรยๆ ว่ากลุ่มเขาเหมือนถูกลืม เพราะคนดูจะให้ความสนใจกับอันดับ 1-2-3 มากกว่า และก็ไปสงสารคนท้ายๆส่วนที่ 1 ก็ออกมาร้องให้ ว่าจริงๆ แล้วไม่รู้ว่าเพื่อนร่วมวงรู้สึกอย่างไรกับเขาอีก


ว๊าวดูเรื่องนี้แล้วใช่เลย มันคือชีวิตมนุษย์ทำงาน ที่เราเจออยู่ทุกวัน เราต่างเจอการปฏิเสธ การถูกละเลย แต่แม้กระทั่งสำเร็จมากๆ แต่แล้วก็อิหยังวะ เอาไงต่อก็มี เราไม่มีค่าเลยคำถามคือเราจะก้าวข้ามความรู้สึกแบบนี้ไปได้อย่างไร เพราะเราอาจจะรู้สึกไม่ดีกับตัวเอง กับสิ่งแวดล้อมที่เราอยู่ คือเรารู้สึกว่าเราไม่มีค่ากับที่นั่นแล้ว ทั้งๆ ที่เราประสบความสำเร็ต หรือเรากำลังทำอะไรอยู่ สิ่งที่เราทำเราทำไปทำไมเมื่อไม่มีใครยอมรับ เราเลิกคิดฝันแล้วไปทำอย่างอื่นไหม ความรู้สึกนี้เท่าที่อ่านมาเป็นความทุกข์ที่เกิดจากความรู้สึกว่าชีวิตไม่มีความหมาย ไม่รู้สึกว่าสำคัญอีกต่อไปถ้าน้องๆ หรือใครก็ตามกำลังเผชิญความรู้สึกนี้ 


ลองดูหนังสือนี้ครับ Prisoner of Our Thoughts มีคนแปลเป็นไทย อาจเป็นคำตอบ เรื่อง “แหกคุกความคิดปลดปล่อยความคิดจากกรงขังที่มองไม่เห็น ก้าวผ่านอุปสรรคของใจเพื่อมุ่งสู่ความสุขและความสำเร็จ ผู้เขียน Alex Pattakos, Dr. (อเล็กซ์ แพตทาคอส, ดร.) หาซื้อได้ที่ SE-ED แต่เก่ามากแล้วเล่มนี้ดร.อเล็กซ์ ผู้ที่เป็นนักจิตวิทยาแนว Logotherapy จิตวิทยาสาขาหนึ่งที่สร้างขึ้นมาโดยคุณหมอวิกเตอร์ แฟรงเคิล ที่เคยถูกกักกันในค่านาซี Logo แปลว่าจิตวิญญาณ หรือพลังชีวิต เน้นการรักษาที่ทำให้คนค้นพบความหมายของการมีชีวิตอยู่ ซึ่งรวมไปถึงการค้นพบ Purpose หรือจุดประสงค์ของชีวิต ถ้าทางญี่ปุ่นจะเรียกว่าอิคิไก หนังสืออาจารย์อเล็กซ์ นี่ไม่ธรรมดาเพราะคนเขียนคำนำคือ Stephen Covey คนเขียน 7 Habit of Highly-effective People


อาจารย์อเล็กซ์ก็เรียนรู้มาจากคุณหมอวิคเตอร์ แฟรงเคิลอีกทีท่านบอกว่า Logotherapy นั้น มีแนวคิดคือคนเราไม่ว่าจะเผชิญสถานการณ์บีบคั้นเพียงใด อาจไม่มีอะไรเหลือเลย แต่ที่เรามีอยู่ทุกคน ไม่มีอะไรพรากจากเราไปได้ นั่นคืออิสรภาพในการเลือกที่จะมีทัศนคติต่อสถานการณ์นั้นๆ นี่ครับ เป็นแก่นของการรักษาแบบนี้ คุณลองอ่านดูเป็นหนังสือที่ทรงพลังมากๆ ยิ่งไปอ่านหนังสือ Man's Search for Meaning ของวิคเตอร์ แฟรงเคิลก็จะสุดยอดมากๆ แต่ถ้าจะแปลงมาเป็นกิจกรรมที่เอาไปใช้ในการโค้ช หรือการพัฒนาองค์กร ก็แนะนำหนังสืออาจารย์อเล็กซ์ที่ผมอ่านอยู่นี้สำหรับกรณีข้างบน ไม่ว่าคุณจะได้ที่ 1 กลางๆ หรือถูกปฏิเสธ บางทีคุณอาจสับสน คุณอาจสงงสัย ที่หนึ่งก็ ok ไม่น่าจะมีปัญหา ไม่แน่ครับผมเจอลูกศิษย์ประเภทที่หนึ่งประเทศ มาหาผมเพราะรู้สึกอยากเลิกทำงานที่ทำอยู่สักที เพราะที่เรียนจนมาเป็นหมอนี่เรียนตามใจคุณพ่อ ตอนนี้รู้สึกแปลกแยกขึ้นทุกที บางคนในภาคธุรกิจ “อาจารย์คะ ตอนนี้สับสนเพราะเพิ่งลาออก” “ทำไมลาออกล่ะ” "ก็หนูทำงานจนได้ที่หนึ่งในวงการ ได้รางวัล แต่พอถึงจุดสูงสุดแล้ว มันก็ว่างเปล่าดูไม่มีอะไรเลย หนูเลยออก นี่ลาออกมาสองที่แล้ว ไม่อยากออกอีก”


นี่ครับไม่ว่าจะตรงไหน เราอาจเกิดรู้สึกถึงความว่างเปล่า รู้สึกไม่มีค่าไม่มีความหมายได้พอๆ กัน 


แล้วทำอย่างไร ลองดูเทคนิคในหนังสือนี้ โดยตั้งคำถามกับตัวเองว่า“ประโยชน์อะไรที่ได้จากการเผชิญกับสถานการณ์นี้”โดยให้เขียนประโยชน์ที่ได้รับ 10 ข้อ เขียนให้ครบนะครับ


เช่นผมลองจำลองสถานการณ์อย่างคนที่ได้ 1 กลางๆ และถูกปฏิเสธ เอาที่ถูกปฏิเสธก่อน

1. “ถูกปฏิเสธ” สำหรับผมความรู้สึกเดิมคือกลัวๆ รู้สึกไม่มั่นใจ กลัวไปไม่รอด คราวนี้ลองถามตัวเองดูว่า “ถ้าไม่ได้ไปต่อในอาชีพอาจารย์มหาวิทยาลัยอาจเกิดประโยชน์อย่างไร” ผมลอง list มาสิบข้อ แต่ผมไม่เอามาลงทั้งหมด ผมได้ที่โดนๆ ข้อหนึ่งที่ผมเอามาโชว์ในนี้ครับ ได้ออกไปขณะร่างกายแข็งแรง ใครจะรู้ตอนนี้มหาวิทยาลัยกำลังถูก disrtupted อาจพลิกตัวไม่ทัน ออกไปตอนนี้จะมีโอกาสปรับตัวทัน

2. “คนเฉยๆ กับสิ่งที่เราทำ” สำหรับผมความรู้สึกเดิมคือเสียหน้ารู้สึกเราเป็นตัวตลก อยากเลิกทำ เลยลองตั้งคำถามว่า “สิ่งที่ทำอยู่มีประโยชน์อย่างไรบ้าง” ของผม Appreciative Inquiry คือสิ่งที่ผมสอน ถ้าที่ทำงานก็ไม่เอาเลยผมตั้งคำถามว่า Appreciative Inquiry มีประโยชน์อย่างไรสิบข้อ ผมได้เอามาโชว์สองสามข้อประมาณนี้ครับ คือ “เห็นคนแชร์ความรู้และร่วมกันทางออกของปัญหาอย่างมีความสุข ไม่ blame ไม่บ่น อย่างที่หาไม่ได้ในวิธีการอื่น”

3. “ถ้าเราเป็นที่หนึ่ง” แต่ก็เกิดงง ว่างเปล่าอีก ไม่เห็นมีอะไรเลย ถ้าเกิดสถานการณ์นี้ลองตั้งคำถามว่า “การเป็นที่ 1 ของเรานี่เกิดประโยชน์อย่างไรบ้าง” แน่นอนบางวงก็บอกผมเป็นที่หนึ่งในเรื่องที่ผมทำ แต่ถ้าผมเกิดรู้สึกว่างเปล่าขึ้นมา ก็อาจลองตอบคำถามนี้ ผมก็ตอบจริงๆ ผมเลือกเอามาโชว์ข้อหนึ่งคือ “มีโอกาสที่จะไปสร้างคุณค่าให้แวดวงไหนก็ได้ เช่น บัณฑิตผู้พิการ เพราะผู้นำในองค์กรเชื่อถือฝีมือเรา”

วิจารณ์


ว๊าวววววววว

ทัศนะคติเดิมที่ผมแว๊บๆ ในใจมาหลายครั้งเวลาจิตตก มันค่อนๆข้างลบๆ ตันๆ แต่พอลองมาตอบคำถาม ที่ตั้งขึ้น มันปลดล๊อกมาก สว่างกว่าเดิม มันทำให้เราเห็นทางเลือก เล่นตอนนี้ก็เลือกได้แล้ว ถ้าจะออก ก็ดีได้ตั้งต้นชีวิต disrupt ตัวเองก็ถูก disrupt ไป คนเฉยๆ ก็รู้สึกว่างานของเราดีนี่ มันทำให้คนแชร์ความรู้และแก้ปัญหาอย่างมีความสุข ส่วนถ้าเป็นที่ 1 ก็ยิ่งดีเราได้เอาองค์ความรู้นี้ไปเสริมช่วยคนในหลายแวดวง เช่นเคยไปทำให้บัณฑิตผู้พิการได้รู้สึกเลยไม่ว่าเราจะเจอสถานการณ์อะไรเราจะไม่หดหู่ไม่ติดกับอยู่กับความรู้สึกแย่ๆ ชีวิตจะรู้สึกมีความหมายขึ้นมาทันที แล้วไงต่อ


ถ้าได้ทัศนคติใหม่ อาจารย์บอกว่าคุณก็ใช้อิสรภาพน้นให้มันสุดๆ ด้วยการพัฒนาเป็นจุดประสงค์ในชีวิตเลย เพราะอาจารย์บอกว่า อิสรภาพจะสูงขึ้นอีกถ้าเราก้าวข้ามตัวตนตัวเองออกไป พูดง่ายๆคือไปช่วยทำให้คนอื่น สังคม โลกดีขึ้น ลองมาดูคำตอบเรื่องสิ่งที่คุณทำ คืองานของคุณมีประโยชน์อย่างไรเช่นจากงานของผม Appreciative Inquiry มันทำให้เห็นชัดๆ ว่า“เห็นคนแชร์ความรู้และร่วมกันทางออกของปัญหาอย่างมีความสุข ไม่ blame ไม่บ่น อย่างที่หาไม่ได้ในวิธีการอื่น” รู้สึกเลยอยากให้คนไทยทุกคนได้ทำ Appreciative Inquiry เขาจะได้มีชีวิตอยู่อย่างมีความสุข เพราะเวลาทำงาน จะแชร์และหาทางออก ไม่บ่นไม่ตำหนิกัน”  นี่อาจพัฒนาเป็นหมุดหมายของชีวิต หรือ Purpose ถ้าญี่ปุ่นก็เป็นอิคิไกได้เลย 

แล้วเราก็ทำมันอย่างเต็มที่ไม่คิดชีวิต เราก็จะมีชีวิตที่มีความหมาย อิสรภาพมากกว่าเดิม หรือถ้าไปไกลถึงที่ 1 แล้วก็จะยิ่งเอาความรู้ไปช่วยคนต่างๆ โดยเฉพาะวงการทีเข้าต้องการความรู้แนวนี้เช่น SMEs ครู หมอ ข้าราชการ ที่อาจจะเข้าไม่ถึงบริการที่ปรึกษาแพงๆ แต่ถ้าเขาได้ความรู้เรื่อง Appreciative Inquiry ชีวิตเขาจะสนุกมากขึ้น นี่อาจเป็นอิคิไกหรือ Purpose ของผมอีกตัวก็ได้ 

แล้วแต่จะเอาแบบไหน หรือทำทั้งสองอย่างก็ได้ ไม่ต้องมีตัวเดียวคำถามว่าสิ่งที่คุณเผชิญอยู่ประโยชน์อะไรประยุกต์ใช้ได้หลายอย่างครับ ไม่ใช่เรื่องงานอย่างเดียว อาจเป็นความสัมพัน์ก็ได้ ผมลองตอบดูก็ได้ประโยชน์มากๆ มันทำให้เราหายหมกมุ่นก้าวข้าม Move on ไปเลย สุดยอดมาก

นี่ครับอิสรภาพที่ผมเลือกให้ตัวเอง 

เราจะทำงานทุกวันอย่างมีความสุข มีความหมาย

แล้วอิสรภาพของคุณล่ะคืออะไร

คำถามวันนี้คุณกำลังเผชิญกับสถานการณ์อะไร

แล้วสิ่งนั้นจริงๆ มีประโยชน์อะไรกับคุณสิบเรื่อง

รู้สึกอย่างไรกับประโยชน์ที่ค้นพบ

และสำหรับเช้านี้ก็คงไม่มีอะไรไปกว่าการขอบคุณคนทำหนังเรื่องนี้ และน้องๆ วง BNK ที่ผมแม้ไม่ใช่โอตะ แต่ก็ขอสนับสนุนอยู่ห่างๆ ให้กำลังใจน้องๆ ทุกคน ขอให้เจอเส้นทางดีงามในชีวิต มีชีวิตที่ดีตลอดไปนะครับ


ด้วยรักและปรารถนาดีดร.ภิญโญ รัตนาพันธู์

Purpose Story

หมายเลขบันทึก: 688304เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2021 10:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มกราคม 2021 10:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท