เรือไททานิคล่มเพราะประมาทหรือน​้ำแข็งเปลี่ยนเหล็ก


เรือไททานิคล่มเพราะประมาทหรือน​้ำแข็งเปลี่ยนเหล็ก

 
เรือไททานิคล่มเพราะ
 

:evil:

 1. ความประมาท
 

:whistle:

 2. น้ำแข็งเปลี่ยนเหล็ก

 

https://www.thairath.co.th/new...

:cheer:

     การล่มของเรือไททานิค ในปี ค.ศ. 1912 อาจเกิดจากการประเมินที่ผิดพลาดของผู้ควบคุมเรือ ที่ต้องการชนะสถิติโลกมากจนเกินไป ต้องการเป็นเรือที่เร็วที่สุดในการข้ามฝั่งยุโรปอเมริกา แม้จะมีคำเตือนแล้วก็ตาม ส่วนด้านวิศวกรก็ภาคภูมิใจที่ต้องการพิสูจน์ว่าเป็นเรือที่ทำจากเหล็กใหญ่ที่สุดในโลก จนมีคำกล่าวว่าเป็นเรือที่ไม่มีวันจม 

     แต่เมื่อค่ำคืนที่มีอากาศหนาวเหน็บ ทำให้น้ำกลายเป็นน้ำแข็งแล้วเรือก็ชนภูเขาน้ำแข็ง การประเมินผิดพลาดนี้ไม่ควรถึงเรือล่มและมีคนตายมหาศาล เพราะว่าไททานิคใหญ่มาก
 

:woohoo:

    แต่อยากบอกว่าค่ำคืนนั้น น้ำแข็งเปลี่ยนเหล็กได้ (คุณภาพเหล็กสมัยนั้น) เรือไททานิคที่ทำจากเหล็กกล้าเป็นวันวัสดุแบบเหนียว (Ductile material) ถ้าอยู่ในสภาวะอากาศร้อนแบบที่ในอ่าวไทย การชนก้อนน้ำแข็งของเรือไททานิคจะชนก้อนน้ำแข็งกระจุยแน่นอน หรือไม่ก็อาจเกิดการเสียหายไม่มากนัก อาจเป็นแค่เกิดการบุบของผนังเท่านั้น แต่เมื่ออยู่ภายใต้สภาวะอุณหภูมิต่ำมาก ประมาณ -2 องศาเซลเซียสหรือต่ำกว่า วัสดุจึงเปลี่ยนสภาพคล้ายกับแบบแข็งเปราะ (Brittle material) มีการดูดซับพลังงานการกระแทกได้น้อย เกิดการแตกหักของเหล็กเหนียวภายใต้สภาวะอุณหภูมิต่ำ ดังกราฟด้านล่าง เมื่อชนก้อนน้ำแข็งจึงเกิดการแตกหักรูปแบบกะทันหัน ซึ่งเป็นผลจากกรรมวิธีการผลิตเหล็กในช่วงเวลาดังกล่าวจะมีปริมาณธาตุฟอสฟอรัส และกำมะถัน อยู่ในปริมาณที่มาก การเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติเหล็กกล้าเนื่องจากผลของอุณหภูมิ (Transition temperature) จึงเกิดขึ้นได้ง่าย เหมือนภาพของการแช่ก้านผักคะน้าในช่องฟรีซเมื่อนำออกมาสามารถหักได้เปาะ

Transition temperature
 

http://www.materials.unsw.edu....

      แต่กรรมวิธีการผลิตเหล็กกล้าในปัจจุบัน ได้มีการลดปริมาณธาตุดังกล่าวลงมาก เช่น Phosphorus, P ลดให้น้อยกว่าหรือ = 0.040% กำมะถัน Sulfur, S ลดให้น้อยกว่าหรือ = 0.050% และได้เพิ่มปริมาณธาตุโคบอลต์ Cobalt, Co 3.75 - 12 % ทองแดง Copper, Cu 0.10 - 1.5 % ธาตุแมงกานีส Manganese, Mn 0.10 - 0.30 % ธาตุโครเมียม Chromium, Cr 0.13 - 5.5 % ธาตุต่างๆเหล่านี้ให้สูงขึ้น จึงทำให้สามารถใช้งานที่อุณหภูมิต่ำได้ดีกว่าในอดีต 

      แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ควรประมาทในสิ่งที่เห็นว่าเล็กน้อย เช่นเดียวกับสภาวะอุณหภูมิที่ต่ำมากๆครับ
 

หมายเลขบันทึก: 688268เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2021 16:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2021 14:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขออนุญาตินะค่ะ ปกติเขาใช้คำว่า “เรือร่ม” หรือ “เรือล่ม” ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท