902. เรียนอิคิไกจาก Blackpink


บทความตอน "เรียนอิกิไกจาก Blackpink"

ตอนที่ 902 มอบเป็นของขวัญปีใหม่ให้คนไทยโดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ Ikigai School

ช่วงนี้ผมตามอ่าน และดูอะไรเกี่ยวกับญีปุ่นล่าสุดได้คำคมของ..ศาสตราจารย์ชิยะ นามานากะ ผู้ได้รับรางวัลโนเบลเรื่อง Stem Cell ที่ผมเชื่อว่าท่านมีอิกิไกสุดๆ..พูดไว้ว่า..
คนชั้นสาม ไม่ฟังสิ่งที่คนอื่นพูดคนชั้นสอง ฟังสิ่งที่คนอื่นพูดคนชั้นหนึ่ง ฟังสิ่งที่คนอื่นพูด แล้วเอาไปทำคนชั้นยอด ฟังสิ่งที่คนอื่นพูด แล้วเอาไปประยุกต์
(อ้างอิง..ความสำเร็จสร้างได้ด้วยสมาธิโดย Totoshi Nagata)

คำพูดของอาจารย์เกิดเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดงานเขียนตอนนี้
ผมประทับใจที่อาจารย์ท่านนี้พูดไว้มาก ทำให้ผมรู้สึกเปิดสมองที่จะศึกษาเรื่องอิคิไก ต่อ และเขียนบทความเรื่องอิคิไกพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้คนไทยอีกบทความ โดยผมได้แรงบันดาลใจมาจากหนังสือเรื่อง IKIGAI Giving Everyday Meaning and Joyโดย Yukari Mitsuhashi อาจารย์ Yukari บอกว่า


ลักษณะร่วมของอิคิไกมีเจ็ดข้อคือ

1.เน้นปัจจุบัน (Everyday life > Lifetime)

เน้นในห้วงขณะปัจจุบัน  มากกว่าจะมัวห่วงฝันถึงอนาคต และแม้ว่าอิกิไกของคุณจะเป็นเรื่องของอนาคต เช่นเป็นในระดับ Purpose แต่ก็ต้องมีสติ สนใจในห้วงขณะปัจจุบัน

2. เชื่อมโยงกับโลกภายนอก (External World>Internal World)

การที่จะมีชีวิตชีวิต เราต้องสัมพันธ์ตัวเองกับโลกภายนอก งานอดิเรกหรือจิตอาสาก็ควรเชื่อมโยงกับคนในโลกภายนอกเราจะมีความสุขกว่า

3. ให้มากกว่ารับ (Giving>taking) 

มีการพูดถึงเกาะโอกินาว่าที่คนให้มากกกว่ารับ ..ประมาณงานอาสาสมัครไปเลยก็ได้

4. เปลี่ยนได้ (Fluid/Fix)

ปรับเปลี่ยนได้ ไม่ใช่ติดยึด เช่นคนมีลูกก็ใช้ชีวิตเพื่อลูก พอลูกโตก็อาจเปลี่ยนไปเน้นจุดอื่น

5. อารมณ์มากกว่าเหตุผล (Emotional >Rationale) 

เป็นเรื่องอารมณ์มากกว่าเหตุผล ประมาณว่าอย่าให้เงินมาครอบงำ

6. เฉพาะเจาะจง (Specific/Abstract)

ต่อให้อิกิไกของคุณจะประมาณเกิดมาเพื่อทำให้โลกไม่ต้องหิวกระหายอีกต่อไป ก็สามารถเริ่มได้ใกล้ๆ ตัว ที่ชุมชนของคุณ พูดง่ายๆ ทำอะไรให้เป็นรูปธรรม

7. เน้นลงมือทำ (Active/Passive)

ตรงตัวครับ ไม่ใช่มีอิกิไกแล้วนั่งเฉย ต้องกระโดดลงไปลุยเลย 

อาจารย์บอกอีกว่า..เวลาเรามีอิคิไกแล้ว 


เราจะรู้สึกว่ามีความสุข 

รู้สึกเติมเต็ม 

มีสภาวะจิตใจที่มั่นคง 

สามารถควบคุมชีวิตในแต่ละวันได้ดีกว่าเดิม 

เติบโตและก้าวหน้าในชีวิต 

ค้นพบจุดประสงค์ในชีวิต (Purpose) มีแรงจูงใจ 

กระตือรือร้น ไม่ต้องให้ใครบังคับ 

ทำอะไรในเชิงรุก 

มีชีวิตชีวา

ก้าวไปข้างหน้า

ไม่จำเป็นต้องเป็นงาน แต่หากเป็นงานก็ทำได้ คือ อาจารย์บอกว่า..ถ้าคุณจะเปลี่ยนงานของคุณเป็นอิคิไก คุณต้องค้นพบความหมาย (Meaning) ของงานของคุณโดย คุณต้องเปลี่ยนมุมมองกับมัน เปลี่ยนกรอบความคิดเกี่ยวกับงาน โดยดูว่างานของเราสร้างผลกระทบอะไร (Impact)..แล้วเราจะค้นพบความหมายของมัน นี่เป็นวิธีหนึ่ง

มาดูกันครับ ผมลองทำตามอาจารย์ดู...

ผมมีงานหนึ่งคือการเป็น Positive Psychology Coach ก็คือโค้ชที่ใช้วิชาจิตวิทยาเชิงบวกมาเป็นเครื่องมือในการทำให้คนค้นพบศักยภาพตัวเอง หรือนำไปแก้ปัญหาต่างๆ ตั้งแต่เรื่องส่วนตัวและธุรกิจ...ผมภูมิใจกับอะไรที่ผมทำครับ ..ระยะหลังยิ่งผมเรียนและปฏิบัติมากขึ้น มีคนจำนวนมากค้นพบกับดับที่ตัวเองจงใจเอาตัวเองไปติดกับ นั่นคือ “ความไม่รู้” ความไม่รู้นี้น่ากลัวครับ ..ในเชิงจิตวิทยาเชิงบวก เราค้นพบว่ามนุษย์เรามีจุดแข็งเฉพาะตัว ไม่มีใครเหมือนกัน ถ้าคุณเอาไปใช้อย่างถูกกาละเทศะ คุณจะมีความสุข ความสัมพันธ์คุณจะดีขึ้น และผลงานก็จะดีขึ้น...
เพราะฉะนั้นคุณต้องหาจุดแข็งคุณให้เจอ หาอย่างไรก็ใช้แบบสอบถามได้ครับ เขาเรียกว่า VIA Character Strengths and Virtues ทำเสร็จคุณจะเห็นจุดแข็งของคุณ 24 ข้อ 5 ข้อแรก คือจุดแข็ง Signature Strengths นี่เลยครับ ตัวตนคุณ ถ้าเอาไปใช้ก็จะได้ทั้งความสัมพันธ์และผลงาน... ถ้าไม่ใช่ก็จะพังๆ ..ส่วน 5 ข้อท้ายเราเรียกว่า..จุดแข็งที่มีน้อย (Lesser Strengths) ..จะเรียกว่าจุดอ่อนก็ไม่เชิง...
ปัญหาของมนุษยคือ เรามักไม่ค่อยใช้จุดแข็งหลักของเรา 5 ข้อแรก..ทำให้ชีวิตไม่ค่อยเปล่งประกาย.. แต่มักไปหมกมุ่นพัฒนาจุดแข็งท้ายๆ ที่พัฒนายากมาก (แต่มีวิธี วันหลังจะมาเล่าให้ฟัง) ... และน่ากลัวมาก คือเรามักใช้จุดแข็ง 5 ข้อแรกของเราไปเป็นมาตรฐานวัด และกีดกันคนอื่น... เช่นบางคนมีจุดแข็งหลักคือความคิดสร้างสรรค์ ก็มักใช้ผิดที่สมัยก่อน ผิดกาละเทศะ จนคนอื่นบบอกว่า Nerd เลิกคบไปก็มี แถมในใจผู้นันยังชอบไปตัดสินลูก เมีย เพื่อนว่าโง่ ไม่คิดอะไรนอกกรอบ...พังหมด ครับ

พอรู้เรื่องนี้หลายคนปลดล๊อกตัวเอง เพราะติดกับดักจุดแข็งตัวเองมานาน หลายคนเก่งแต่ไปไม่ได้ ไม่เข้าใจถึงมีอุปสรรคมากนัก..พอผมให้เขาทำเรื่องนี้... . . “อาจารย์ หนูเข้าใจแล้ว ตอนแรกเกือบละทิ้งความเป็นตัวเองออกให้หมด.. เลิกคิดสร้างสรรค์ซะ เพราะใครๆ ก็ไม่ยอมรับ ..ไม่ใช่นี่ คนอย่างหนูสำคัญต่อองค์กร ไม่งั๊นพากันตกโลกหมด เข้าใจตัวเองแล้ว ...และก็เข้าใจคนอื่นมากขึ้น คนบางคนไม่อ่านหนังสือ เขาก็ดูถ่อมตัวเก่งนี่อาจารย์ เขาไม่มีจุดแข็งคือรักการเรียนรู้อย่างหนู แต่การถ่อมตัวของเขาที่มีต่อทุกคน โดยเฉพาะกับคนเก่งๆ เขาก็เก่งขึ้น เพราะคนเก่งสอนให้”

ว๊าวๆๆๆๆๆ นี่การเป็น Positive Psychology Coach ของผมมันช่างมีความหมาย จริงๆ พอนึงถึง impact แบบนี้ การเป็นโค้ชของผมมันมีพลังขึ้นมาทันที รู้สึกสนุก ใช่เลย

ลองคิดดูสิถ้าคนในสังคมไทย เห็นจุดแข็ง ลดการตัดสินคนอื่น.. เห็นคุณค่าที่แท้จริงของตนเอง..เอาไปใช้มากๆ ความสัมพันธ์ ความสุข Performance สูงขึ้น.. ..จะเกิดอะไรขึ้น ประเทศไทยไปไกลแน่ๆๆๆๆ

เรื่องจุดแข็ง Character Strengths นี่ทำให้ผมนึกถึงเรื่องที่ผมดูเมื่อคืนทาง Netflix นั่นคือเรื่อง Blackpink สารคดีที่เจาะเรื่องราวของ Blackpink ที่มีคนไทยระดับโลกคือลิซ่าด้วย..ในนั้นพูดถึงที่มาของวงได้อย่างน่าสนใจ ผมเจาะไปที่ลิซ่าก็แล้วกัน ลิซ่าชอบเต้น ร้อง ตั้งแต่ยังพูดไม่ชัด...เต้นไปเต้นมา แม่เลยพาประกวด ที่สุดก็มีคนแนะนำไป Audition... ชัดมาก... ถ้ามองจากมุมมองจิตวิทยาบวก ..คุณแม่ลิซ่าเป็นคนมองเห็นจุดแข็งของลูกออก และส่งเสริม ลองดูถ้าเกิดแม่ลิซ่า มองว่าลิซ่าไร้สาระเต้นกินรำกิน แล้วพยายามทำให้ลิซ่าทำอะไรเหมือนๆ ลูกคนอื่น..จะเกิดอะไรขึ้น 

.
...ไม่พอครับ..ทีมที่เกาหลี ก็ส่งเสริมให้ใช้จุดแข็งอย่างเต็มที่กลายเป็นความสำเร็จระดับโลกขึ้นมา.
เท่าที่ดูสารคดี ทุกคนในนั้นจะบอกลิซ่าจริงจัง แต่ก็เป็นคนมีอารมณ์ขัน (Humor) ซึ่งเป็นจุดแข็งของลิซ่า... Humor ไม่ใช่แค่ตลก แต่มีเซ๊นท์ของการ “ทำให้เรื่องใหญ่เป็นเรื่องเล็ก”... แน่นอนการฝึกเพื่อไปเป็นคนระดับโลก..ไม่ง่ายเครียด การมีคนขำขันอยู่ในทีมก็ทำให้บรรยากาศดี.. เรื่องใหญ่เป็นเรื่องเล็ก...ลองมีใครสักคนในนั้นบ้าจี้ บอกว่า... อย่าตลกสิลิซ่า .. 

ผมว่าเราอาจไม่เห็น Blackpink ในวันนี้ก็ได้..

นี่ครับ การพัฒนา การส่งเสริม การทำให้คนรู้จักจุดแข็ง จึงสำคัญมากๆ...ย้อนกลับมาที่งานของผม..ผมรู้สึกการทำ Positive Psychology Coaching นี่มันช่างดีจังเลย.. ยืนยันโดยวง Black Pink ครับ...สำหรับตัวคุณผมอยากเชิญชวนคุณให้ค้นหาความหมายในงานของคุณ..ด้วยวิธี

การของอาจารย์ยูคาริ..


และผมขอประยุกต์นิด ตามแนวคิดของศาสตาจารย์..ที่กล่าวว่า..คนชั้นยอด ฟังสิ่งที่คนอื่นพูด แล้วเอาไปประยุกต์ ...สร้างเป็นชุดคำถามง่ายๆ ที่ทำให้คุณค้นพบความหมายของงานได้ดีขึ้น คือคำถามดังนี้

“ตั้งแต่ทำงานมาภาคภูมิใจงานของคุณตอนไหนมากที่สุด เอาเป็นเหตุการณ์เฉพาะเจาะจง ใครทำอะไร เกิดขึ้นที่ไหนอย่างไร.. “
ลองเขียนออกมา คุณจะเจออะไรบางอย่าง ที่อาจทำให้รู้สึกว่า...ว๊าววว งานเราดีแบบนี้เอง คราวนี้มันส์ไปเลย

จากนั้นถ้าจะบ่มเพาะให้เกิดความสุข เกิดทิศทาง มีความหมายในทุกวันก็เอากติกาของอิคิไกเจ็ดข้อของยูคาริมากางดูแล้วลองทำตาม... แล้วดูมันเกิดความรู้สึกแบบอิคิไกที่อาจารย์บอกไหม...

นี่คือการประยุกต์แบบผม..

ที่ผมเชื่อว่าจะทำให้คุณค้นพบอิคิไกจากงานของคุณ..

ปีใหม่แล้ว อย่าลืมใช้เวลานิด..ถามตัวเองว่า.. อิคิไกของคุณคืออะไร...

VIVA Blackpink

Ref: 

ความสำเร็จสร้างได้ด้วยสมาธิโดย Totoshi Nagata)

Mitsuhashi, Yukari. Ikigai: Giving everyday meaning and joy . Octopus. Kindle Edition.

คำสำคัญ (Tags): #blackpink#appreciative inquiry#yukari#ikigai
หมายเลขบันทึก: 688035เขียนเมื่อ 2 มกราคม 2021 13:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มกราคม 2021 18:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณแนวทางที่ชัดเจนค่ะ กระตุ้นให้ไปเพิ่มเป็นจิตอาสาช่วยค้นหาจุดแข็งของเพื่อนๆ น้องๆ เชื่อมโยงจุดแข็งกับกิจกรรมที่ทำแล้ว ล้วงลึก ขยี้ลงไปว่ามีปฏิกิริยาใดใดที่เกิขึ้นในขณะทำกิจกรรม มีความสุขหรือไม่ FLOW หรือไม่ คิดแล้ว ไม่ต่างจาก ค้นหา Competency ของผู้สมัครงานการสัมภาษณ์แบบ Structeral Interview ขอบคุณความรู้ใหม่ที่มาเชื่อมโยงกับความรู้เดิม เกิน อ่างการเรียนรู้ ด้วยตนเอง ขอบพระคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท