วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช

การเขียนโครงร่างวิจัยเพื่อขอทุนสนับสนุนจากภายนอก ครั้งที่ 1


การเขียนโครงร่างวิจัยเพื่อขอทุนสนับสนุนจากภายนอก

โดย ดร.จันทิมา นวะมะวัฒน์

………………………………

1. บันไดขั้นแรกที่ต้องก้าวข้าม ด้วยการสร้างหรือมีความตั้งใจอย่างแน่วแน่ในการจะแสวงหาทุนจากภายนอก ดังนี้

    1.1 ชอบความท้าทาย ก็แค่ลองทำในสิ่งที่ไม่เคยทำ

    1.2 ไม่กล้า กลัวไม่สำเร็จ ให้ตั้งเป้าหมายสั้น ๆ เช่น “แค่เขียนให้เค้ารับข้อเสนอเราก็พอแล้ว อย่างอื่นค่อยว่ากัน”

2. รู้เขา รู้เราเพื่อหาช่องทาง

    2.1 รู้เรา ทบทวนตนเองในประเด็นเหล่านี้

  1) เป้าหมายของการทำวิจัย (วิทยาลัยผ่านตัวชี้วัดการประกันคุณภาพ (QA)) หรือผลงานวิชาการ (การเลื่อนระดับของตำแหน่งทางวิชาการ)

          2) ความชอบ ความเชี่ยวชาญของเรา (อย่าคิดว่าตนเองไม่มี พวกเรามีกันทุกคน แต่อาจไม่มั่นใจที่จะแสดงออก)

          3) กัลยานิมิตเราอยู่ตรงไหน เครือข่ายเราเป็นใคร ช่วยเราได้ประเด็นไหน

          4) แรงฮึดในการทำสิ่งที่ตั้งใจให้สำเร็จ

    2.2 รู้เขา (รู้แหล่งทุน)

          2.2.1 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อววน.) เป็นเป็นกระทรวงที่รวมหน่วยงานกระทรวงวิทยาศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เพื่อให้มีการบูรณาการทำงานในด้านการวิจัยและการสร้างบุคลากรร่วมกัน โดยมียุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาร่วมกันดังนี้

            1) การพัฒนากำลังคนและสถาบันความรู้

            2) การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ท้าทายของสังคม

            3) การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน

            4) การวิจัยและสร้างรวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ

          หน่วยงานให้ทุนภายในกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อววน.) มีดังนี้

            1) สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ให้ทุนในประเด็น ดังนี้

                - ความท้าทายและเรื่องสำคัญของประเทศ (Grand Challenges)

                - งานวิจัยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

                - งานวิจัยพื้นฐานที่มี strategic direction

                - เส้นทางอาชีพนักวิจัย นวัตกรรม และรางวัล

                - ฐานข้อมูลและดัชนี

                - มาตรฐานและจริยธรรม

            2) หน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)

              - ชุมชนที่ยั่งยืน

              - นวัตกรรมชุมชน

              - ขจัดความยากจน

              - Micro enterprise

              - เมืองและพื้นที่

            3) หน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยด้านการพัฒนากำลังคน (บพค.)
              - สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่และวิจัยพื้นฐาน

              - Brainpower & Manpower

              - Institutional Development & Capacity

              - Research infrastructure

              - Frontier Research

            4) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)

              - Bio-Circular-Green Economic Model (BCG)

              - Industrial Tech. Research

              - PPP projects

            5) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA)

              - Innovation Ecosystem

              - Startup

          หน่วยงานให้ทุนภายนอกกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.) ดังนี้

            1) สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร องค์การมหาชน (สกว.)

                - งานวิจัยและนวัตกรรมด้านการเกษตรและอาหาร

                - ตอบนโยบายกระทรวงเกษตร

            2) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)

                - งานวิจัยและนวัตกรรมด้านระบบสาธารณสุข

                - งานวิจัยสร้างความสามารถด้านการแพทย์เพื่อสุขภาพประชาชน

หมายเหตุ: กระบวนการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมแบบใหม่ ที่ตอบโจทย์ประเทศ มุ่งเน้นเป้าหมาย (Focus) เกิดผลกระทบสูง (High Impact)

3. วางแผนการทำงานอย่างแยบยล

    3.1 หาทีม โดยทีมที่ดีคุณสมบัติ ดังนี้

          - คุยกับเรารู้เรื่อง

          - มีภูมิรู้ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ศึกษา

          - สหวิชาชีพยิ่งดี

          - กำหนดบทบาท: PI, co-researcher

    3.2 ศึกษารายละเอียดทุน

          - วัตถุประสงค์ของแหล่งทุน

          - timeline

          - แบบฟอร์ม/ระเบียบ

     3.3 ลงมือเขียนโครงร่าง

          - ร่างเค้าโครงของโครงร่างวิจัย

          - แบ่งงานกันเรียบเรียง

          - ตรวจสอบความสมบูรณ์ ความว้าวของโครงร่าง

     3.4 ส่งโครงร่างให้ทันเวลา

4. รักษาความสมดุลของความตั้งใจอย่างแน่วแน่

หมายเลขบันทึก: 687831เขียนเมื่อ 22 ธันวาคม 2020 13:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2021 16:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (44)

จากการร่วมฟังในเวทีแลกเปลี่ยนรู้ครั้งนี้ทำให้เกิดแรงบันดาลใจและมีมุมมองใหม่ในการเขียนขอทุนวิจยภายนอก เห็นด้วยกับการที่ต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนและมีทีมที่เข้มแแข็ง กัลยาณมิตรที่ดี พร้อมเรียนรู้ไปด้วยกัน แบบไม่กั้ก จริงใจ และรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย

อาจารย์วิทยากรเสนอสิ่งที่ทำการวิจัยเพื่อขอทุนมีขั้นตอนง่ายๆและเป็นแนวทางปฏิบัติที่สามารถปฏิบัติได้

ได้มองเห็นทิศทางการหาทุนวิจัย

ได้มองเห็นแนวทางการหาทุนวิจัย

ได้รับความรู้และแนวทางในการขอรับทุนวิจัย เป็นประโยชน์มากค่ะ

ได้ความรู้ในการหาแหล่งทุนวิจัย

ได้กำลังใจ แนวทางในการเขียนงานวิจัยเพื่อขอทุน รวมทั้งการพิจารณา/ สรรหาแหล่งทุนในการทำวิจัยค่ะ

ได้กำลังใจ แนวทางในการเขียนงานวิจัยเพื่อขอทุน รวมทั้งการพิจารณา/ สรรหาแหล่งทุนในการทำวิจัยค่ะ

การเขียนโครงร่างวิจัยเพื่อขอทุนสนับสนุนจากภายนอก เห็นด้วยกับท่านวิทยากรที่ว่าจุดเริ่มต้นของการจะเขียนโครงร่างเพื่อขอทุนฯ เป็นสิ่งที่สำคัญมากๆๆๆๆ ทั้งนี้ต้องมองเป็นความท้าทาย มองเป็นการเรียนรู้กรณีที่ยังไม่เคยขอทุนที่ใดเลย และควรคิดว่าจะได้ทุนหรือไม่ได้ไม่เป็นไรเพราะสิ่งที่เราจะได้คือประสบการณ์และการคิดสร้างสรรค์งานวิจัยภายใต้บริบทของเจ้าของทุนแน่นอน จึงต้องรู้เขาตามที่วิทยากรบอก การรู้เขาจะช่วยให้เราเขียนโครงร่างฯในประเด็นที่เจ้าของทุนต้องการ การศึกษาแบบฟอร์มของเขาเพื่อให้เขียนโครงร่างได้ตามที่ผู้ให้ทุนต้องการเช่นกัน และการรู้เราก็คือต้องคิดโครงร่างฯที่สอดคล้องกับสาขาความเชี่ยวชาญหลักของเรา(ผู้ทำวิจัย) จากนั้นจะได้ทุนหรือไม่ก็รอฟังผลขณะเดียวกันก็ต้องวางแผนบริหารจัดการชีวิตและยอมรับว่าหากได้ทุนต้องทำให้ได้ตามที่เจ้าของของทุนกำหนดก็ถือเป็นประสบการณ์การทำงานวิจัยที่คุ้มค่ามากสำหรับนักวิจัย ขอบคุณค่ะ

วิทยากรและทีม แลกเปลี่ยนความรู้ทำให้ตระหนักถึงความสำคัญของทีมวิจัยมากๆ งานจะไปได้ดี ทีมต้องสามัคคี ช่วยกันคิดและปิดจุดอ่อน เสริมความแข็งแกร่งของแต่ละคน ประทับใจมากค่ะ จะไปเริ่มหาทีม “กัลยานิมิต (2.1..3)” 5555 เชื่อว่าเกิดจากพิมพ์ผิดนะคะ แซวเล่น ผู้ใดสนใจ ความสุข/ คุณภาพชีวิต ในโรคเรื้อรังบ้างคร้าา..เรามาเป็นทีมกัลยานิมิตกันเถอะ

ขอบคุณสำหรับความรู้และประสบการณ์ตรงที่วิทยากรมาถ่ายทอดให้กับพวกเราชาววพบ.พุทธชินราชมากนะคะ “แค่ลองทำในสิ่งที่ไม่เคยทำ”

ขอบคุณความรู้และประสบการณ์ที่อาจารย์นำมาถ่ายทอด หากมีโอกาสจะพยายาม และกล้าที่จะเขียนขอทุนวิจัย สนับสนุนจากภายนอกคะ

ได้แนวทางการเขียนขอทุนวิจัยสนับสนุนจากภายนอก จะพยายามที่จะเขียนขอทุนในโอกาสข้างหน้าค่ะ

วิทยากรสามารถถ่ายทอดเรื่องยากๆ ให้เป็นเรื่องง่ายๆได้ ฟังแล้วทำให้เกิดแรงบันดาลใจที่ดีมากค่ะ ขอบคุณวิทยากรที่มาถ่ายทอดประสบการณ์ดีๆ ให้กับพวกเรา และขอบคุณทีมงานผู้จัดค่ะ

ได้แนวทางการเขียนขอทุนภายนอกที่ชัดเจนค่ะ..อาจารย์สามารถถ่ายถอดรายละเอียด และเล่าจากประสบการณ์ตรง ทำให้มีแรงบันดาลใจค่ะ..ขอขอบคุณอาจารย์ที่มาสร้างพลังให้พวกเรานะคะ..จะพยายามเขียนงานให้ท้าทายต่อไปค่ะ

ได้แนวทางในการเขียนขอทุนภายนอกค่ะ ขอบคุณวิทยากรในการเสนอแนวทางค่ะ

การเขียนขอทุนให้ประสบความสำเร็จ ต้องรู้จักเครือข่ายหลากหลายสาขา ทีมวิจัยต้องเป็นคนที่มุ่งมั่น ขยัน และรับผิดชอบสูง ถ้าได้ทีมที่มีความรู้เรื่องการเงินจะดีมาก

ได้เห็นแนวทางการเขียนขอทุนภายนอกแบบมืออาชีพ ขอบคุณวิทยากรที่มากระต้นให้เกิดแรงบันดาลใจค่ะ

ได้แนวทางในการเขียนขอทุนภายนอกจากวิทยาการ​ เทคนิคการบริหารเวลาในการทำวิจัย​ และแนวทางเขียนงานวิจัยให้ประสบความสำเร็จ

วิทยากรเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการขอทุนภายนอก จึงมีเทคนิควิธีการมาแลกเปลี่ยน ทำให้ได้เห็นแนวทางในการขอทุนสนับสนุนการวิจัยจากภายนอก

  • วิทยากรมีประสบการณ์ในการขอทุนภายนอก ทำให้ได้เห็นแนวทางในการขอทุนสนับสนุนการวิจัยจากภายนอก และการฟังในวันนี้ทำให้เกิดแรงบันดาลใจและมีมุมมองในการเขียนขอทุนวิจยภายนอก ทำให้เกิดแรงบันดาลใจในการทำวิจัยต่อไป

สิ่งที่ประสบผลสำเร็จในการข้อทุนภายนอกที่ได้เรียนรู้จากเวทีนี้ คือความมุ่งมั่นตั้งใจในการทำงานอย่างมากซึ่งเป็นแรงบันดาลใจที่ดีค่ะ

การเขียนโครงร่างวิจัยเพื่อให้ได้รับการตอบรับในการสนับสนุนทุนเป็นเรื่องสำคัญที่นักวิจัยจำเป็นต้องศึกษาถึงแนวโน้มของประเด็นการวิจัยที่เป็นที่ต้องการการศึกษาในปัจจุบัน ทั้งนี้ การเข้าใจถึงเทคนิคการเขียนโครงร่างที่จะทำให้เห็นถึงแนวควาคิดใหม่ๆ และสอดคล้องกับนโยบายของผู้สนับสนุนทุนก็เป็นเรื่องสำคัญเช่นเดียวกัน การเริ่มต้นฝึกฝนในการส่งโครงร่างวิจัยเพื่อรับการพิจารณาทุนภายนอกจึงเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งที่ควรต้องเริ่มต้นทดลองทำ!!!!

เป็นแนวทางในการเขียนขอทุนวิจัยได้ดีมากคะ และเป็นแรงบันดาลใจในการทำวิจัยต่อไป

ได้ความรู้และแรงบันดาลใจในการขอทุนภายนอกจากท่านวิทยากรมากๆ ความมุ่งมั่นตั้งใจจะทำให้เกิดความสำเร็จ นอกจากนี้กัลยาณมิตรที่ดีมีส่วนสำคัญมากให้ประสบความสำเร็จในการทำวิจัย

ขอบคุณวิทยากร ทำให้เกิดแรงบัลดาลในการในการเขียนโครงร่างวิจัยขอทุนภายนอกค่ะ

ได้รับความรู้และแนวทางในการขอรับทุนวิจัย เป็นประโยชน์มากครับ

ได้ความรู้ และเป็นแนวทางในการขอทุนวิจัย เป็นประโยชน์มาก

การเขียนโครงร่างวิจัยเพื่อขอทุนสนับสนุนจากภายนอกเป็นสิ่งที่ท้าทาย ขอบคุณวิทยากรและทีมงานที่ให้ความรู้ในการนำไปขอทุนภายนอกเพื่อนำไปปรับใช้ต่อไป

สร้างแรงบันดาลใจ และเห็นแนวทางในการเขียนโครงร่างวิจัยเพื่อขอทุนสนับสนุนจากภายนอกมากขึ้นค่ะ

วิทยากรถ่ายทอดประสบการณ์การขอทุนภายนอกมาได้ชัดเจนมาก แต่สิ่งที่ต้องมีคือ ใจต้องมาก่อนเพราะความอึดในการเขียนต้องมีเหมือนท่านวิทยากรกล่าวนะคะ

วิทยากรถ่ายทอดประสบการณ์ได้ดีมาก และเป็นแรงบัลดาลใจในการเขียนงานวิจัยค่ะ

ได้กำลังใจ แนวทางและแรงบันดาลใจในการพัฒนาตนเองเพื่อขอทุนภายนอก ขอบคุณวิทยากรที่มาให้ความรู้และแนวทางคะ

ดีมากค่ะได้ เห็นถึงความพยายามของแต่ละท่านค่ะ

ดีมากคะได้รับฟังแนวทางในการขอทุนภายนอก ซึ่งแต่ละท่านมีช่องทางที่แตกต่างกัน

วิทยากรเก่งมากค่ะ มีการทำงานเป็นทีม แบ่งงานตามความถนัด และเลือกเรื่องที่มีผลกระทบต่อประชากรทั้งประเทศ ส่วนลีลาการเขียนขอทุนยังไม่มีโอกาสได้อ่านงานฉบับเต็ม ซึ่งน่าจะเป็นแนวทางการเขียนขอทุนภายนอกได้ค่ะ

รู้เทคนิคการเขียนขอทุน และการสร้างเครือข่ายทางวิชาการ

เป็นเรื่องที่ดี และมีความน่าสนใจมากค่ะ รู้สึกว่ามันไม่ได้ยากเหมือนที่เราคิด อยากจะพัฒนาผลงานวิจัย ในอนาคตต่อไป

ขอบคุณวิทยากร ทำให้เข้าใจแนวทางการเขียนโครงร่างวิจัยขอทุนภายนอก และเห็นด้วยกับการมีกัลยาณมิตรที่ดีนั้นเป็นส่วนสำคัญมากๆ ที่จะทำให้ประสบความสำเร็จในการทำวิจัย

การบรรยายของวิทยากร ทำให้มีแนวทางการเขียนโครงร่างวิจัยเพื่อขอทุนภายนอก และรู้จักหน่วยงานให้ทุนภายในกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อววน.) ขึ้นมากค่ะ

ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่นค่ะ

ได้แรงบัลดาลใจในการหาทุนวิจัยจากภายนอกมากขึ้นครับ

ได้ความรู้และเทคนิกในการเขียนโครงร่างวิจัยเพื่อขอทุนสนับสนุนขอทุนภายนอก และวิทยากรบรรยายสนุกและเข้าใจง่ายมากค่ะ

วิทยากรเป็นผู้มีประสบการณ์ ทำให้เกิดแรงบันดาลใจในการขอทุน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท