วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช

การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (transformative learning) ครั้งที่ 1


การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning)

โดยผศ.ดร.อัจฉรา ศรีพันธ์

แนวคิดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning)

  การเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อก้าวข้ามวิธีการแสวงหาความรู้ที่ให้ความสำคัญเฉพาะตัวเนื้อหาและ กระบวนการเรียนรู้แบบเดิม โดยเปลี่ยนแปลงให้เห็นถึงเป้าหมายและคุณค่าของการพัฒนาการเรียนรู้ที่แตกต่าง ครอบคลุมบริบททางสังคมและวัฒนธรรมด้วยวิธีการเปลี่ยนแปลงมโนทัศน์ (Perspective Transformation) หรือกรอบความคิด (Paradigm) หรือ กรอบอ้างอิง (Frame of Reference) อันเป็นพื้นฐานของชีวิต ให้เกิดเป็นมโนธรรมสำนึกใหม่บนหลักการที่ถูกต้อง  (Principle -based Conscientization) ด้วยการสะท้อนภายในตนเองเชิงวิพากษ์อย่างใคร่ครวญ (Critical Self-reflection) ผ่านการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในเชิงเปรียบเทียบ ตามบริบทและประสบการณ์เดิมที่ตนมีและประสบการณ์ใหม่ที่รับเข้ามา (Discourse/Dialogue Interaction)เพื่อนําไปสู่ความเข้าใจในความเป็นตัวตนของตนเอง (Individuation) เกิดเป็นความเชื่อมั่น ความมั่นคงภายใน (Self-esteem) อย่างเห็นคุณค่าและความหมาย ของชีวิต (Meaning Perspective) หรือเป็น กระบวนการสร้าง “ความหมายใหม่” ให้แก่ประสบการณ์เดิมเพื่อชี้นําการกระทำของตนในอนาคต

องค์ประกอบโดยทั่วไปของการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning)

          1) ประสบการณ์ (experience)

          2) การใคร่ครวญด้วยวิจารณญาณ (critical reflection)

 3) วาทกรรม (รูปแบบ หรือ กรอบแนวคิด) ที่เกิดจากการใคร่ครวญ (reflective discourse)

 4) การกระทำ (action)

กระบวนการของการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning)

กระบวนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงประกอบด้วย 10 ขั้นตอนดังนี้ (Mezirow, 1991; Mezirow, 2000)

1) การเผชิญและตระหนักถึงภาวะวิกฤต

2) การวิเคราะห์ตรวจสอบตนเอง

3) การประเมินสมมติฐานตนเองเชิงวิพากษ์

4) การตระหนักว่าตนและบุคคลอื่นๆ ก็มีการปรับเปลี่ยนกรอบความคิดในทํานองเดียวกัน

5) การค้นหาทางเลือกของบทบาท ความสัมพันธ์และแนวทางการปฏิบัติใหม่

6) การพัฒนาแผนปฏิบัติการ

7) การศึกษาหาความรู้และทักษะเพื่อการดำเนินการตามแผน

8) การทดลองปฏิบัติตามแผน

9) การพัฒนาขีดความสามารถและความเชื่อมั่นในตนเองตามบทบาทใหม่

10) การบูรณาการมโนทัศน์ใหม่ให้เข้ากับวิถีการดำเนินชีวิตอย่างเป็นหนึ่งเดียว

แนวทางในพัฒนาการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง  (Transformative learning network, 2017)

          1) ผู้เรียนตระหนักถึงกรอบแนวคิดของตนเอง เข้าถึงข้อมูล คิดอย่าง Active และสามารถเปลี่ยนแปลงความคิดหรือจุดยืนของตนเองเมื่อมีข้อมูลที่สนับสนุนมากเพียงพอ

          2) สนับสนุนให้นักศึกษาเกิดจินตนาการเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีใหม่ ฯ

          3) จัดบรรยากาศการเรียนการสอนแบบ Active learning มีการเสวนา อภิปราย การสะท้อนคิดอย่างสร้างสรรค์ โดยเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น ยอมรับความแตกต่างหลากหลาย สามารถทำงานเป็นทีมร่วมกับผู้อื่นได้ และยินดีให้ความช่วยเหลือผู้อื่น

          4) วิธีการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง ได้แก่ การเรียนรู้แบบโครงงาน บทบาทสมมติ กรณีศึกษา สถานการณ์/ห้องเสมือนจริง การศึกษาประวัติชีวิตจริง

          5) สื่อการสอน ต้องสามารถท้อนประสบการณ์จริงของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถประเมินสถานการณ์ได้ตามความเป็นจริง มองหาหลักฐานที่เกี่ยวข้องได้ และตัดสินใจแก้ไขปัญหาตามวิธีการที่ผ่านการใคร่ครวญแล้ว

การประยุกต์ใช้การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงในการศึกษาทางการพยาบาล

เยาวลักษณ์  มีบุญมาก, รุ่งทิพย์ ไชยโยยิ่งยงค์ และวิริยา โพธ์ขวาง (2560) นำกระบวนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง 10 ขั้นตอนของเมซิโรว์ไปใช้พัฒนานักศึกษาให้เกิดอัตลักษณ์สถาบันคือการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ดังนี้

          1) การเผชิญและตระหนักถึงภาวะวิกฤตมอบหมายให้นักศึกษานักศึกษาสัมภาษณ์ชีวิตของผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมดูแลสุขภาพไม่เหมาะสม ให้ครอบคลุม 4 ประเด็นได้แก่ การดำเนินชีวิตก่อนป่วย การดำเนินชีวิตหลังป่วย การทำงาน และการดูแลตนเอง จากนั้นเขียนรายงานการชีวิตผู้ป่วย และแผนการพยาบาล จากนั้นครูอ่านรายงานแล้วจับประเด็นสำคัญที่จะอภิปรายกับนักศึกษาโดยใช้คำถาม “อะไร” “อย่างไร” “เพราะเหตุใด” เพื่อให้นักศึกษาได้คิดทบทวน ซึ่งเป็นการให้นักศึกษาคิดหาวิธีการเผชิญปัญหาโดยใช้ประสบการณ์เดิม

          2) การวิเคราะห์ตรวจสอบตนเอง ครูชี้ชวนให้นักศึกษาพิจารณาข้อมูลชีวิตจริงของผู้ป่วย ว่าสอดคล้องกับแผนการพยาบาลที่นักศึกษาวางไว้หรือไม่ เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาประเมินสมมติฐานของตนเอง การที่นักศึกษาคิดตอบคำถามเป็นการสะท้อนคิดตนเอง (self-reflection)

          3) การประเมินสมมติฐานตนเองเชิงวิพากษ์ ครูใช้คำถามให้นักศึกษาได้ประเมินแผนการพยาบาลของตนเองเหมาะสมกับบริบทชีวิตหรือข้อมูลของผู้ป่วยหรือไม่ และสามารถนำไปใช้ปฏิบัติได้จริงหรือไม่

          4) การตระหนักว่าตนและบุคคลอื่นๆ ก็มีการปรับเปลี่ยนกรอบความคิดในทํานองเดียวกัน หากมีประเด็นของแผนการพยาบาลที่ไม่สอดคล้องกับชีวิตของผู้ป่วย ครูชี้ประเด็นให้นักศึกษาพูดแสดงความคิดเห็น ทัศนคติ

และความรู้สึกที่มีต่อประเด็นการพยาบาลที่ถูกต้องเหมาะสม และเปิดใจยอมรับการเปลี่ยนแปลง รูปแบบการพยาบาลที่ที่ตนยึดถือมา

          5) การค้นหาทางเลือกของบทบาทความสัมพันธ์และแนวทางการปฏิบัติใหม่ ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิดเพื่อให้นักศึกษาพิจารณาข้อมูลของผู้ป่วยที่มีอยู่ว่าการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยสามารถทำอย่างไรได้บางนอกเหนือจากวิธีการเดิมที่นักศึกษาพบเห็นแต่ไม่เหมาะสมกับผู้ป่วยรายนี้ และเปิดโอกาสให้เพื่อน ๆ ในกลุ่มได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น โดยมีความคิดเห็นที่ขัดแย้งได้ แต่ไม่วิพากษ์วิจารณ์ รับฟังเพื่อนอย่างตั้งใจ บรรยากาศปลอดภัยที่จะแสดงความรู้สึกที่แท้จริง หรือความคิดเห็นที่แตกต่างที่ไม่เคยทำมาก่อน

          6) การพัฒนาแผนปฏิบัติการ ครูกระตุ้นให้นักศึกษารวบรวมความคิดเห็นที่ได้รับจากเพื่อน ๆ ในกลุ่ม รวมกับการคิดวิเคราะห์ของคนเองแล้ววางแผนการพยาบาลที่สอดคล้องกับปัญหาและบริบทของผู้ป่วย ในบางประเด็นที่นักศึกษายังมองไม่ออกเพราะขาดประสบการณ์ ครูต้องช่วยเพิ่มข้อมูลให้

          7) การศึกษาหาความรู้และทักษะเพื่อการดำเนินการตามแผนครูให้คำแนะนำนักศึกษาในการแสวงความรู้หรือแหล่งประโยชน์ที่จำเป็นต่อการแก้ไขปัญหาของผู้ป่วยที่แตกต่างไปจากเดิม รวมทั้งชื่นชมนักศึกษาเมื่อนักศึกษาเกิดการเปลี่ยนแปลง (ครูต้องมีความเป็นมิตร ยอมรับความแตกต่างของนักศึกษา เพราะบรรยากาศที่เป็นมิตรช่วยให้นักศึกษากล้าแสดงความคิดเห็น

          8) การทดลองปฏิบัติตามแผน ครูเปิดโอกาสให้นักศึกษานำแผนการพยาบาลที่ปรับใหม่ซึ่งสอดคล้องกับบริบทและชีวิตของผู้ป่วยไปปฏิบัติ

          9) การพัฒนาขีดความสามารถและความเชื่อมั่นในตนเองตามบทบาทใหม่ ครูให้นักศึกษาได้มีการอภิปราย แสดงความรู้สึก ความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำแผนการพยาบาลใหม่ไปปฏิบัติ และชื่นชมนักศึกษาในความสำเร็จ เพื่อสนับสนุนให้นักศึกษาเปลี่ยนแปลงตนเองเรื่องการวางแผนการพยาบาล

          10) การบูรณาการมโนทัศน์ใหม่ให้เข้ากับวิถีการดำเนินชีวิตอย่างเป็นหนึ่งเดียว นักศึกษาอาจยังไม่สามารถสะท้อนการพัฒนาการคิดใคร่ครวญ และความตระหนักรู้ในตนเองได้อย่างเต็มที่ ครูจึงมีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นให้นักศึกษาคิด เช่น เมื่อก่อนนักศึกษาคิดอย่างไร ตอนนี้คิดอย่างไร และนักศึกษาอยากปฏิบัติอย่างไรในอนาคต

เอกสารอ้างอิง

เยาวลักษณ์  มีบุญมาก, รุ่งทิพย์ ไชยโยยิ่งยงค์ และวิริยา โพธ์ขวาง. (2560). การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง: การนำไปใช้ในการศึกษาพยาบาล. วารสารการเฉลิมกาญจนา, 4(1), 58-67.

         

หมายเลขบันทึก: 687826เขียนเมื่อ 22 ธันวาคม 2020 09:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2021 16:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (49)

การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (transformative learning) ในความคิดของตนเองไม่น่าจะใช่เรื่องใหม่ และก็มีการใช้อยู่เป็นปกติในการดำเนินชีวิตของแต่ละคน แล้วแต่ว่าสามารถเรียนรู้กับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับตนเองหรือไม่ ซึ่งบางคนอาจเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีเจริญก้าวหน้า แต่ในขณะที่อีกคนอาจเปลี่ยนแปลงไปในทางที่แย่ลง ทั้งสองกรณีล้วนเกิดจากตัวตนภายในของตนเองที่พบหรือประสบกับเหตุการณ์หรือสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมือนกัน จึงก่อให้เกิดแรงบันดาลใจ หรือเป้าหมายที่จะให้บรรลุสิ่งที่ตนเองปรารถนา แล้วจึงพัฒนา ปรับ หรือเปลี่ยนแปลงตนเองเพื่อให้ไปสิ่งที่ตนเองตั้งเป้าหมายไว้ การที่เรา(ครู)จะทำให้ใครสักคนเกิดการเปลี่ยนแปลงได้อย่างถาวร ตัวเราเองต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองก่อน ทำความเข้าใจคนที่อยู่ตรงหน้าตามความเป็นจริง ไม่ตัดสินตามสิ่งที่ปรากฎ ต้องค้นหาแบบแผนหรือโครงสร้างที่มาของพฤติกรรมคนๆนั้น ในที่นี้อาจหมายถึงนักศึกษาของเรา ถ้าเราเข้าใจเขาตามความเป็นจริงที่เขาเป็น เราก็น่าจะมองออกว่าควรใช้กระบวนการหรือวิธีการใดที่การที่จะเข้าไปปรับวิธีคิด สร้างเป้าหมายการเปลี่ยนแปลง และออกแบบการพัฒนาไปด้วยกัน ซึ่งต้องใช้เวลา จึงจะเห็นผล และสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือการประเมินผลการพัฒนาที่ทำให้ครูรู้ว่านักศึกษาเกิดการเปลี่ยนแปลงซึ่งคงไม่ใช้แบบสอบถามที่เป็นเชิงปริมาณเพียงอย่างเดียว

ควรเพิ่มการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผลการดำเนินไปใช้แล้วมีผลให้ชัดเจนอาจมองเห็นแนวทางนำไปปฏิบัติได้ชัดเจยนิ่งขึ้น

ควรเพิ่มการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผลการดำเนินไปใช้แล้วมีผลให้ชัดเจนอาจมองเห็นแนวทางนำไปปฏิบัติได้ชัดเจยนิ่งขึ้น

การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (transformative Learning) ควรเพิ่มการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผลการดำเนินไปใช้แล้วมีผลให้ชัดเจนอาจมองเห็นแนวทางนำไปปฏิบัติได้ชัดเจนนิ่งขึ้น

ขอบพระคุณ​อาจารย์ที่แชร์ความรู้ แนวทางในกระตุ้นให้ผู้เรียน นศ. เกิดการพัฒนา เปลี่ยนแปลวตนเอง เป็นสิ่งที่ผู้สอนต้องวิเคราะห์ภาวะของู้เรียนแต่ละคน ว่าควรใช้วิธีการส่งเสริมอย่างไร เพราะลักษณะผู้เรียนแต่ละคน มีความคิด ทักษะ การเรียนรู้ที่ต่างกัน

ทำให้ได้รับความรู้เพิ่มมากขึ้นค่ะ

แนวคิดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง ( Transformative Learning)ครั้งนี้เป็นประโยชน์ต่อผู้สอนดีมากในแง่ของการช่วยให้ผู้สอนได้ทบทวนว่าวิธีการสอนที่ใช้อยู่สอดคล้องกับแนวคิดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงในขั้นตอนใดบ้าง และยังขาดขั้นตอนใดก็สามารถเพิ่มเติมได้ ทั้งนี้วิทยากรได้อธิบายพร้อมยกตัวอย่างในแต่ละขั้นให้เห็นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนดีมาก ทำให้ผู้สอนสามารถนำไปปฏิบัติให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นได้ ขอบคุณค่ะ

ได้แลกเปลี่ยนแล้วเกิดการตระหนักรู้ตนเพิ่มขึ้น และน่าจะเข้าใจโลกของผู้อื่นมากขึ้น รอดูผลจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้รอบนี้เมื่อขึ้นนิเทศนักศึกษาด้วยใจจดจ่อ ว่าอันตัวเราก้อเท่านี้ จะนำแนวคิดดีๆเด็ดๆไปประยุกต์ใช้ได้ดีสักเพียงไหน โปรดติดตามตอนต่อไป

การนำเรื่อง Transformative Learning การประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนให้กับนักศึกษาพยาบาล เป็นสิ่งที่ดีมากค่ะ อาจจะเริ่มต้นในกลุ่มเล็กๆ เช่น การสอนภาคปฏิบัตินักศึกษา จำนวน 7-8 คน แต่มีสิ่งที่ต้องคำนึงคือต้องเริ่มต้นที่ครูก่อนด้วยการปรับเปลี่ยนทัศนคติและความเชื่อแบบเดิมๆ และครูทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตัวนักศึกษา โดยจัดประสบการณ์ให้ครอบคลุมองค์ประกอบและกระบวนการของการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง ขอบคุณงาน KM วพบ.พุทธชินราช นะคะสำหรับองค์ความรู้

การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง Transformative Learning เป็นการเรียนรู้ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในตน ซึ่งเมื่อเราเรียนรู้เรื่องอะไร ถ้าเราเข้าใจ นำไปใช้ได้ รู้จักการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ หรือประเมินค่าได้แล้ว การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นควรนำไปสู่การเปลี่ยนใจหรือเปลี่ยน mindset ของตัวเราด้วย เพื่อจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงตนเองได้ หรือพัฒนาตนเองเพิ่มขึ้นได้

ขอบคุณความรู้ดีๆจากอาจารย์ค่ะ เรื่องแนวคิดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง ( Transformative Learning) เป็นรูปแบบการสอนที่จะช่วยพัฒนานักศึกษาให้สามารถปรับตัว เปลี่ยนแปลงเด็กยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21

เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้เรื่อง Transformative Learning ที่ดีมาก วิทยากรมีประสบการณ์หลากหลาย สามารถถ่ายทอดและกระตุ้นให้พวกเราเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ดี บรรยากาศการแลกเปลี่ยนเป็นกันเองดี
ขอบคุณทีมงานผู้จัดและขอบคุณวิทยากร ค่ะ

การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงเป็นวิธีการสอนที่สามารถนำไปใช้ในการพัฒนานักศึกษาให้มีทักษะการคิดอย่างใคร่ครวญได้ โดยผู้สอนจะต้องใช้คำถามที่กระตุ้นให้นักศึกษาคิดอยู่ตลอดเวลาและผู้สอนยังต้องเป็นผู้ฟังที่ดี โดยนักศึกษามีโอกาสตลอดเวลาที่จะแสดงความคิดเห็นในมุมมองที่แตกต่างไปจากเดิม ดังนั้น ผู้สอนต้องเป็นผู้ให้โอกาส และยอมรับนักศึกษาเสมอ ซึงจะเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับนักศึกษาที่จะเปิดใจกว้างยอมรับความแตกต่างที่หลากหลายของผู้รับบริการได้อย่างเข้าใจ..โดยส่วนตัวจะลองนำไปปรับใช้ (น่าจะเป็นรายกรณี) หากมีความเปลี่ยนแปลงอย่างไรจะนำมาเล่าสู่กันฟังนะคะ

การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงเป็นวิธีการสอนที่ควรนำมาปรับใช้ในการเรียนการสอนเพื่อสามารถทำให้เกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ดีตรงตามหลักสูตร

Transformative learning บทบาทของครูที่สำคัญคือการเข้าใจบริบทของนักศึกษาแต่ละคน ว่ามีลักษณะ จุดอ่อน จุดแข็งเป็นอย่างไร เพื่อให้ครูส่งเสริมการเรียนรู้ในวิธีการที่แตกต่างกัน

การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง Transformative Learning เป็นอีกแนวคิดที่น่าสนใจสำหรับเป็นทางเลือกในการแสวงหาความรู้/แก้ไขปัญหาของบุคคล โดยการสะท้อนคิดประสบการณ์เดิมและใช้การวิพากษ์นำไปสู่วิถีทางในการเรียนรู้ที่เหมาะสมสำหรับตนเอง บนพื้นฐานที่บุคคลนั้นต้องเปิดใจที่จะก้าวไปสู่สิ่งใหม่ ่ สำหรับตัวเองสนใจไปประยุกต์ใช้กับนักศึกษาในการฝึกปฏิบัติงาน

ได้รับความรู้และเทคนิคการสอน​ แบบการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงที่เป็นประโยชน์อย่างมากในการนำไปสอนนักศึกษาทั้งในภาคทฤษฎีและปฏิบัติ​ ทำให้เห็นจุดเด่นและจุดที่ต้องพฒนาของนักศึกษาแต่ละคนได้ดี

แนวคิดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง ( Transformative Learning) เป็นรูปแบบการสอนที่จะช่วยพัฒนานักศึกษาให้สามารถปรับตัว เปลี่ยนแปลงเด็กยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21

จะนำสิ่งที่อาจารย์แลกเปลี่ยนไปลองใช้ในการสอนนักศึกษาเพื่อให้นักศึกษาเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นบันฑิตพยาบาลตามอัตลักษณ์ของวิทยาลัยต่อไป

ได้จัดการศึกษาภาคปฏิบัติวิชาปฏิบัติการพยาบาลสุขภาพจิตฯ โดยใช้องค์ประกอบของการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง ท้ัง 4 องค์ประกอบ ผลการใช้สามารถช่วยพัฒนาการตระหนักรู้ในตนเองและเพิ่มความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองของน.ศ.พยาบาลได้มากขึ้น ก็นับว่าเป็นการสร้างความเป็นพยาบาลที่ดีในอนาคตได้ ขอขอบคุณทุกท่านที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการพัฒนาวิชาชีพของเราค่ะ

ได้รับความรู้เกี่ยวกับแนวคิดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง ( Transformative Learning) ซึ่งเป็นกระบวนการสร้าง “ความหมายใหม่” ให้แก่ประสบการณ์เดิมเพื่อชี้นําการกระทำของตนในอนาคต เป็นประโยชน์ในการนำไปสอนนักศึกษา ทำให้เห็นจุดเด่นและจุดที่ต้องพัฒนาของนักศึกษาแต่ละคน

ได้รับความรู้เรื่องกระบวนการของการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง และเป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้ในการศึกษาของการพยาบาล

-ขอบพระคุณอาจารย์ที่ได้นำความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง ( Transformative Learning) ซึ่งเป็นวิธีการเรียนการสอนอีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้ทั้งผู้สอนและผู้เรียน เกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องแล้วมีความสุขกับการเรียนรู้

การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning) ไม่ใช่เป็นเรื่องใหม่ที่คิดว่าเราปฏิบัติกันมาอยู่แล้ว เพียงแต่ว่า ไม่ได้ศึกษารายละเอียดให้เห็นเป็นขั้นตอนอย่างแท้จริง สิ่งที่สำคัญที่สุดในการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง คือ “การเข้าใจตัวเอง” อย่างแท้จริง เพราะเมื่อเราเข้าใจตัวเอง เข้าใจที่มาที่ไปของตัวเอง ก็จะเป็นพื้นฐานในการเข้าใจคนอื่น เข้าใจเหตุผลของผู้อื่น และสามารถเปลี่ยนแปลงตนเองได้จากการเรียนรู้และการเข้าใจตัวเอง และผู้อื่นจริงๆ

การเริ่มต้น คือการเข้าใจตนเองและเข้าใจผู้อื่นก่อน สำคัญที่สุด

แนวคิดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง ( Transformative Learning) ช่วยพัฒนานักศึกษาให้สามารถปรับตัว ขอบคุณวิทยากรและทีมงานที่ให้ความรู้เพื่อให้อาจารย์นำไปทดลองใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อนักศึกษา

แนวคิดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง ( Transformative Learning) ช่วยพัฒนานักศึกษาให้สามารถปรับตัว ขอบคุณวิทยากรและทีมงานที่ให้ความรู้เพื่อให้อาจารย์นำไปทดลองใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อนักศึกษา

การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงในการศึกษาทางการพยาบาล เป็นแนวคิดที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์สำหรับการจัดการเรียนการสอน ช่วยพัฒนานักศึกษาให้เข้าใจตนเองมากขึ้น ได้เรียนรู้จากบริบทและประสบการณ์เดิมที่ตนมีและประสบการณ์ใหม่ที่รับเข้ามา

แนวคิดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง ( Transformative Learning) เป็นแนวคิดที่น่าสนใจและจะนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้กับนักศึกษา เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจตนเองเพิ่มมากขึ้น

กระบวนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงที่วิทยากรบรรยายน่าสนใจมากคะ จะทดลองนำไปบูรณาการกับเทคนิคการสะท้อนคิดดูว่าจะเป็นอย่างไรนะคะ

แนวคิดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง ( Transformative Learning) ช่วยพัฒนานักศึกษาให้สามารถปรับตัว ขอบคุณวิทยากรและทีมงานที่ให้ความรู้เพื่อให้อาจารย์นำไปทดลองใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อนักศึกษา

เป็นสิ่งดีมีประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและนักศึกษาคะ

เป็นสิ่งดีมีประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและนักศึกษาคะ

การจัดการเรียนการสอนดังกล่าวเป็นการจัดการเรียนการสอนที่มีอยู่แล้วในกิจกรรมการเรียนการสอนในสาขาการพยาบาลทั้งในภาคทฤษฎีและปฏิบัติ เพียงแต่ครูผู้สอนต้องใช้คำพูดที่เล้าการอยากรู้ให้แก่ผู้เรียนในการค้นคว้าและหาแนวทางในการวางแผนช่วยเหลือผู้รับบริการ

จะนำแนวคิดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง ( Transformative Learning) มาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้นักศึกษาเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพต่อไป

Transformative Learning น่าสนใจมากที่นำไปใช้กับนักศึกษาในการฦึกภาคปฏิบัติ

การเริ่มต้นด้วยเข้าใจตนเอง เข้าใจผู้อื่น ค่ะ

สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับผู้เรียนที่หลากหลายได้ โดยวิเคราะห์ผู้เรียน

การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง ในความคิดของตนเองไม่น่าจะใช่เรื่องใหม่เช่นกัน อาจารย์ได้มาขยายความได้ชัดเจนขึ้นค่ะ

Transformative Learning เป็นวิธีการสอนที่ดีอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ที่ต้องใช้ความเข้าใจซึ่งกันและกัน แสดงออกทางความคิดอย่างอิสระและเคารพในความคิดของผู้อื่น รวมทั้งต้องเปิดใจยอมรับการเปลี่ยนแปลง ทำให้มองเห็นส่วนที่ต้องพัฒนาทั้งส่วนที่ดีและส่วนที่ต้องปรับปรุงเพิ่มเติม

เป็นเรื่องที่น่าสนใจและมีประโยชน์มาก จะนำไปประยุกต์ในการสอนนักศึกษาค่ะ

จะนำไปใช้ในการเรียนการสอนภาคปฏิยัติให้มากขึ้นค่ะ

ทำให้มีแนวคิดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง ( Transformative Learning) ในการนำวิธีการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อก้าวข้ามวิธีการแสวงหาความรู้ โดยให้ความสำคัญเฉพาะตัวเนื้อหาและ กระบวนการเรียนรู้แบบเดิม มีการเปลี่ยนแปลงให้เห็นถึงเป้าหมายและคุณค่าของการพัฒนาการเรียนรู้ที่แตกต่าง ซึ่งครอบคลุมบริบททางสังคมและวัฒนธรรม ทำให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้ค่ะ

ได้ความรู้จากวิทยากรมากค่ะ โดยเฉพาะการเริ่มต้นที่การเข้าใจตนเอง เข้าใจผู้อื่น ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการสอนนักศึกษาได้ค่ะ

Transformative Learning เป็นรูปแบบที่ น่าสนใจเหมาะกับที่นำไปใช้กับนักศึกษาพยาบาลในภาคปฏิบัติ

Transformative Learning เป็นรูปแบบที่ น่าสนใจเหมาะกับที่นำไปใช้กับนักศึกษาพยาบาลในภาคปฏิบัติ

เป็นกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่ดีน่าสนใจที่จะกระตุ้นให้นักศึกษาเกิดการคิดวิเคราะห์และสามารถวางแผนสิ่งต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งเรื่องการเรียนรู้ในห้องเรียนและเรื่องการเรียนรู้ชีวิตจริง

Transfortive learning เป็นการสอนที่ช่วยเปลี่ยนวิธีคิด เพาะบ่มจิตที่อยู่ภายในตน ให้คิดใครครวญ ให้เข้าใจตนเอง และผู้อื่นการเปลี่ยนแปลงจึงเกิดภายใน ทำให้เปลี่ยนแปลงทั้งผู้สอนและผู้เรียน ให้เกิดการเรียนรู้ด้วยความรักและเมตตา

นำไปพัฒนาการเรียนการสอนอย่างเป็นรูปธรรม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท