ทบทวนใหม่ ให้คำปรึกษาอย่างไร ในภาวะซึมเศร้า


ข้อมูลต่อไปนี้เกิดจากการทบทวนวรรณกรรมงานวิจัยปี 2020 แล้วนำมาวิเคราะห์เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ในการให้คำปรึกษาแก่ผู้ที่กำลังอยู่ในภาวะซึมเศร้า

  1. Self-guided digital intervention การให้คำแนะนำตัวเองผ่านอินเตอร์เน็ต ลดความคิดทำร้ายตัวเอง จะได้ผลดีเมื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายผู้ที่กำลังคิดทำร้ายตัวเองได้ทันที และนำกลุ่มเป้าหมายเข้าถึงการช่วยเหลือทางการแพทย์ได้อย่างปลอดภัย  เช่น มีการป้องกันความคิดฆ่าตัวตายอย่างย่อ 
  2. Digital health platform ช่องทางให้ข้อมูลสุขภาพผ่านอินเตอร์เน็ต มีจำนวนคนเข้าถึงได้มาก แต่คนเข้าถึงได้ไม่นานก็เลิก ถ้าขาดข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ขาดข้อมูลการช่วยเหลือฉุกเฉินในผู้ที่กำลังคิดทำร้ายตัวเอง และขาดการให้คำปรึกษารายบุคคลแบบมองเห็นหน้าอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ควรมีข้อมูลการใช้ยาจิตเวช ผลข้างเคียง และคำแนะนำที่ชาวบ้านเข้าใจง่าย ทำได้เอง 
  3. Behavioral activation การกระตุ้นพฤติกรรม เป็นหัวข้อสำคัญที่ผู้ให้คำปรึกษาควรฝึกฝนเพิ่มเติม ได้แก่ กิจกรรมอะไรที่ทำให้อารมณ์ดี ทำอย่างไรจะเพิ่มแรงจูงใจให้ผู้มีภาวะซึมเศร้าอยากออกกำลังกายง่าย ๆ ไม่เน้นรูปแบบเยอะหนักเกินไป  มีเทคนิคการสื่อสารเพิ่มแรงจูงใจให้ผู้ดูแลเป็นเพื่อนออกกำลังกายที่สนุกและต่อเนื่องใน 9 วัน ใน 12 สัปดาห์ ได้ประสิทธิผลถึง 39-87% 
  4. Peer support services (PSSs) ระบบการให้บริการสนับสนุนในกลุ่มผู้มีประสบการณ์ซึมเศร้าเหมือนกัน ประกอบด้วยหลักการ 4 ข้อ: การทำงานร่วมแรงร่วมใจกัน (mutuality) การสื่อสารสัมพันธ์ใจกัน (connection) การเชื่อมโยงรอบรู้โลก (worldwide) และการขับเคลื่อนชีวิตไปข้างหน้า (moving toward) ระหว่าง ผู้ให้บริการช่วยเหลือ จะมีความมั่นใจในสุขภาวะแห่งตน มีคุณลักษณะสื่อสารจับประเด็นพร้อมปรับคำพูดให้คิดบวกได้เร็ว (reframing) มีเทคนิคพัฒนาความรับผิดชอบด้วยตนเองได้ดี (therapeutic use of self-enhancing responsibility) และฝึกทักษะการทำงานอย่างมืออาชีพได้อย่างมีเป้าหมาย กับ ผู้รับบริการช่วยเหลือ ต้องการพลังชีวิตด้วยความหวังกับการเสริมพลังให้ใช้ชีวิตในสังคมที่ลดการตีตราและมีความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน ต้องการฝึกฝนจนมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ - รู้จักค้นหาวิธีการดูแลสุขภาพตนเองด้วยความมั่นใจและไม่ตัดสินถูกผิดคิดลบจนเกินไป ในงานวิจัยที่ผ่านมา พบว่า ระบบนี้มีประโยชน์มาก แต่ข้อสำคัญคือ การค้นหาระบบที่พัฒนาความรู้ความเข้าใจในผู้ให้บริการช่วยเหลือทั้งทางออนไลน์และการฝึกฝนอย่างมืออาชีพเพื่อให้มีสุขภาพดีด้วย 

หมายเลขบันทึก: 687390เขียนเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2020 09:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2020 07:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท