การเปลี่ยนทางสังคมในประเทศไทยที่กำลังดำเนินอยู่อย่างที่คาดไม่ถึงมาก่อน เด็กๆอายุ 14-15 ปีกำลังอยู่ในถนนเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย
พ่อแม่บางคนสนับสนุนอยู่ที่บ้าน แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะไม่ ทุกๆครอบครัวต่างกังวลใจเกี่ยวกับความปลอดภัยของลูกหลานกันทั้งนั้น
นี่คือเรื่องราวของ 3 ครอบครัว ที่ได้ถูกทำให้แตกหักในช่วงระหว่างการแตกแยกทางการเมือง แน่นอนว่าผู้สัมภาษณ์ย่อมไม่เปิดเผยชื่อและอัตลักษณ์ของตน
พ่อของฉันมองฉันเป็นศัตรู
Aungvara มาจากครอบครัวที่เคร่งครัดประเพณีครอบครัวหนึ่ง พ่อของเขามีเสื้อ T-shirt รูปมือปืนป๊อปคอร์น
มือปืนป๊อปคอร์นเป็นพวกแม่นปืนที่สนับสนุนกปปส ในระหว่างการประท้วงรัฐบาลของนายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตรในปี 2014 และถูกรัฐประหารด้วยพลเอกประยุทธ์ จันทโอชาในเวลาต่อมา
มือปืนเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงในหมู่กปปส. เพราะว่าเขายิงตำรวจที่มาคุกขามประชาชน
Aungvara อายุ 26 ปี และเริ่มสร้างความคิดทางการเมืองในขณะที่เรียนรัฐศาสตร์ในมหาวิทยาลัย กับการถกเถียงเรื่องทางการเมืองหลายหนแล้ว พ่อของเธอคิดว่าอาจารย์ในมหาวิทยาลัยล้างสมองเธอไปเรียบร้อยแล้ว
เมื่อใดก็ตามที่พ่อของเธอส่งข่าวการเมืองมาที่กลุ่มไลน์ของครอบครัว เธอเพียงแค่อธิบายว่าข้อมูลที่ได้รับมาไม่ถูกต้องและเป็นข่าวลวง ทุกๆครั้ง การสนทนาจะจบลงด้วยความโมโหเดือดดาล
เธอไม่เคยเห็นตรงกับพ่อของแม้แต่ประเด็นเดียว แต่เธอมีครอบครัว เธอเป็นแม่วัยใสที่มีลูกน้อย 2 คน เธอมีเพจทางโซเชี่ยล ที่เธอสอนวิธีการเลี้ยงลูก
พ่อของเธอเห็นโพสต์เหมือนกับว่าจะโจมตีเขาด้วย
เธอกล่าวว่า “เขากล่าวว่าฉันโจมตีเขา ถึงแม้ว่าจะเขียนเรื่องทั่วไปเพื่อสั่งสอนคนอื่นๆก็ตาม”
Aungvara ต้องการให้ลูกๆของเธอเห็นคุณค่าของความคิดที่แตกต่างกัน สามารถโต้เถียงกันได้ และมีการคิดแบบมีวิจารณญาณ รวมทั้งทันสมัยกับพัฒนาการต่างๆในโลก
“มันเป็นการท้าทายที่จะหาโรงเรียนที่มอบสิ่งต่างๆข้างต้น ฉันไม่ต้องการให้ลูกฉันได้โรงเรียนรัฐบาล แต่ต้องการให้ลูกๆเป็นตัวของตัวเอง”
“ฉันเข้าใจว่าพ่อหมายความว่าอย่างไร และสิ่งที่พ่อเชื่อเป็นสิ่งที่ถูกต้อง แต่ข้อดีในอดีตอาจประยุกต์ไม่ได้แม้ในปัจจุบัน”
แม่ขู่ว่าจะฆ่าฉัน
สำหรับ Kay คนทำงานทางสังคมอายุ 26 ปี จะไม่มีการอภิปรายกันทางการเมืองที่บ้านเป็นอันขาด นี่เป็นชีวิตที่ปกติของครอบครัว และการถกเถียงจึงมีน้อยมากๆ
จนกระทั่งเธอมีการสร้างความคิดทางการเมือง
จุดเปลี่ยนเมื่อเธอเห็นข่าว และสื่อสารทางสังคมที่ตำรวจใช้อำนาจทำให้ผู้ประท้วงแตกกระจายในเช้าวันที่ 15 ตุลาคมหน้าทำเนียบรัฐบาลและมีการจับกุมนักกิจกรรมคนอื่นๆอีกมากมาย
Kay ตัดสินใจเข้าร่วมประท้วงในตอนเย็นที่แยกราชประสงค์ แต่เธอบอกกับพ่อแม่ว่าจะไปกับเพื่อนๆ แม่ของเธอจับได้ว่าโกหก แต่เธอก็ยังคงไป
2-3 วันต่อมา หล่อนเตรียมตัวจะไปประท้วงที่แยกลาดพร้าว แม่ของเธอยื่นคำขาดว่า “จงอย่าไป”
การโต้เถียงอันเผ็ดร้อนตามมา ตามความคิดของเธอ แม่เธอกล่าวว่า “ลูกเห็นธนาธรสำคัญกว่าครอบครัวอย่างนั้นเหรอ?” แม่บ่นด่าเธอ และผู้ประท้วงปิดรถไฟฟ้า และทำลายความสะดวกของคนอื่นๆ
Kay กล่าวว่า “ฉันไม่เคยเห็นแม่ของฉันโกรธขนาดนี้มาก่อน คำที่เธอใช้เป็นคำหยาบคำบ่น”
“เธอหยิบมืดขึ้นมาและขู่จะฆ่าฉัน”
พ่อของเธอยื่นมาและทุกอย่างสงบลง
ตั้งแต่วันนั้น เธอไม่ได้เข้าร่วมการประท้วงใดๆอีก เธอคุยได้แต่กับพ่อเท่านั้น
เธอกล่าวว่า “การเปลี่ยนแปลงเป็นนิรันดร์ เธอไม่สามารถหยุดเด็กจากการเจริญเติบโตได้”
พ่อของฉันไม่ต้องการให้ฉันอยู่ที่บ้าน
Nat เป็นเด็กมัธยมอายุ 18 ปีจากครอบครัวที่มีรายได้ในระดับกลางจากทางเหนือ เธอโตมาจากการซึมซับเรื่องอนุรักษ์นิยมและคำสอนเรื่องความจงรักภักดีจากพ่อ
“ครอบครัวของเราไม่เคยมีความกังวลเรื่องทางการเมือง มันไม่เคยมีผลอะไรกับพวกเราเลย” เธออธิบายเจตคติของครอบครัวก่อนคณะราษฎรจะเกิดขึ้น
จุดเปลี่ยนของเธอเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 3 ปีก่อน เมื่อเธอย้ายโรงเรียนมาที่ตัวจังหวัดและเข้าพักที่หอพัก
เธอจะเพื่อนๆที่มาจากภูมิหลังที่หลากหลาย และเธอมีทวิตเตอร์ เธอเริ่มสร้างตัวตนทางการเมืองทั้งในแง่ความคิดและความคิดเห็น และการถกเถียงในครอบครัวเริ่มมีขึ้น
เหตุการณ์ถึงจุดขีดสุดเมื่อมีการประท้วงเพื่อประชาธิปไตยเกิดขึ้นในปีนี้
“ฉันเชื่อว่าทัศนะทางการเมืองต้องอยู่ในระดับนาๆชาติ การจ่ายภาษีต้องทรงความหมาย ทุกๆสถาบันต้องโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้”
ในทางตรงกันข้าม พ่อของเธอเชื่อว่าระบบทางการเมืองของประเทศไทยสมบูรณ์ที่สุดแล้ว
วันหนึ่ง ระหว่างการถกเถียงอันเร่าร้อน พ่อของเธอเรียกเธอว่าเด็กโง่ ยังมีคำอื่นๆอีก เธอตัดสินใจจะย้ายออกจากบ้าน เธอกลายเป็นโรคซึมเศร้า
เธอจะเจอครอบครัวของหล่อนเป็นบางครั้ง แม้ว่าจะมีความตึงเครียดกันอยู่ เธอตัดสินใจที่จะไม่พูดเรื่องการเมืองกับพ่อ แต่เธอหวังว่าวันหนึ่งพ่อจะใจกว้างและอ่านการโพสต์ของเธอทางอินเตอร์เน็ท
“กรุณาให้ฉันมีความคิดของตนเอง จงอย่าบอกฉันว่าฉันผิดปกติ ฉันหวังว่าจะพูดเรื่องการเมืองกับพ่อโดยปราศจากอารมณ์”
แปลและเรียบเรียงโดย
Phuriphat Sangkhaphat. Three tales of families torn apart due to Thailand’s political divided.
https://thisrupt.co/current-affairs/families-torn-political-divide/
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย ต้นโมกข์ ใน การวิจารณ์เพลง หนัง หนังสือ และสังคมร่วมสมัย
ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก