เครือข่ายการติดต่อสื่อสารของกลุ่มชีวจิต


งานวิจัยนี้ มุ่งเน้นการศึกษาเครือข่ายการติดต่อสื่อสารของกลุ่มชีวจิต ผลการวิจัยพบว่า

1) ปัจจัยด้านคุณสมบัติของแนวคิดชีวจิตในด้านของหลักในการปฏิบัติตัวและการยอมรับของบุคคล ได้แก่
- เนื้อหามีหลักการ และอธิบายแนวคิดได้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์มีแหล่งที่มา
– ผลการวิจัยจากสถาบันของต่างประเทศรองรับกลุ่มบุคคลที่สนใจแนวคิดชีวจิต
– ความสามารถนำแนวคิดชีวจิตไปทดลองและปฏิบัติและได้ผล
– ความ สามารถสังเกตเห็นได้จากสื่อต่างๆ ที่นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลตามแนวชีวจิตและ มีอาการดีขึ้น หรือจากบุคคลใกล้ชิดที่ปฏิบัติตามแนวคิดนี้แล้วมีสุขภาพที่ดีขึ้นรวมทั้งมี ความสอดคล้องกับพฤติกรรมของบุคคลในสังคมที่ยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติ อยู่ก่อนแล้ว
- ประโยชน์เชิงเทียบ เนื่องจากเห็นผลจากการปฏิบัติตามแนวคิดชีวจิต เมื่อเทียบกับแนวคิดอื่นๆ พบว่าแนวคิดชีวจิตให้ประโยชน์ได้มากกว่าแนวคิดอื่นๆ

2) กลุ่มคนที่สนใจในการปฏิบัติตามแนวทางชีวจิต ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มผู้ที่สนใจในเรื่องของการดูแลสุขภาพ

3) ผู้ที่สนใจแนวคิดและทดลองลงมือปฏิบัติตามแนวทางชีวจิตนั้น ส่วนใหญ่จะมีอายุตั้งแต่ 30 ปี ขึ้นไป เป็นกลุ่มชนชั้นกลางของสังคมซึ่งอาศัยอยู่ในเมือง มีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป มักเป็นเจ้าของกิจการ พนักงานบริษัทเอกชน ตลอดจนรับราชการ โดยกลุ่มคนเหล่านี้ค่อนข้างจะมีรายได้แน่นอนในระดับหนึ่ง

4) พัฒนาการของเครือข่ายกลุ่มชีวจิตมี 5 ระยะ ได้แก่
- ระยะก่อตัว เป็นระยะที่แนวทางชีวจิตถูกนำมาเผยแพร่ในสังคมไทยเป็นครั้งแรก และได้รับความสนใจจากกลุ่มบุคคลกลุ่มเล็กๆในสังคม

- ระยะขยายตัว เป็นระยะที่แนวคิดนี้เริ่มเป็นที่รู้จักของคนในสังคมมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วย และเริ่มมีการรวมกลุ่มขึ้นมาในลักษณะของกลุ่มช่วยเหลือตนเอง

- ระยะกระจายตัว เป็นระยะที่กลุ่มมีความเข้มแข็งมากขึ้นมีการจัดตั้งเป็นมูลนิธิ ซึ่งเป็นลักษณะขององค์กรอย่างเป็นทางการ ในการจัดกิจกรรมต่างๆเพื่อเผยแพร่แนวคิดนี้ออกสู่สังคมภายนอก

- ระยะระบาด เป็นระยะที่แนวคิดนี้ได้รับการตอบรับจากสาธารณชนอย่างมาก จนก่อให้เกิดกระแสการตื่นตัวในเรื่องของการดูแลสุขภาพขึ้นมา โดยมีสื่อมวลชนเป็นตัวผลักดัน

- ระยะฝังตัว เป็นระยะที่คนซึ่งให้ความสนใจ และเห็นประโยชน์ของแนวคิดนี้ได้พยายามแสวงหาข้อมูลเพิ่มเติมในการเข้าร่วม กิจกรรมที่ทางชมรมหรือสื่อนิตยสารได้จัดขึ้น เพื่อสร้างความเข้าใจในแนวคิดนี้มากขึ้น ส่วนกลุ่มคนในสังคมรอบนอกที่ให้ความสนใจอย่างผิวเผินเริ่มลดลง ทำให้การขยายตัวของกลุ่มเริ่มดำเนินไปอย่างช้าๆ

5) องค์ประกอบของเครือข่ายการสื่อสารของกลุ่มชีวจิต ประกอบด้วย 3 กลุ่มหลัก
– มูลนิธิชีวจิต
– แกนนำภายนอก ได้แก่ กลุ่มที่สังกัดในกระทรวงสาธารณสุข กลุ่มชีวเกษมและชมรมรักษ์สุขภาพ เดอะเลกาซี่
– หน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ช่วยเผยแพร่แนวคิดนี้ออกสู่สังคม ได้แก่ โรงพยาบาลยางปะกอก และนิตยสารชีวจิต

ผู้วิจัย - จารุณี พัชรพิมานสกุล (2542)

หมายเลขบันทึก: 67985เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2006 13:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 08:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท