การลอกเลียนแบบ


การลอกเลียนแบบของเราจะลอกเลียนทุกอย่าง แต่ไม่เห็นการพัฒนาในผลงานเนื้อใน ไม่ว่า จะเป็นงานวิชาการ งานช่างฝีมือ แม้แต่ งานการตลาดค้าขาย ฯลฯ เป็นเพราะเหตุใด?

          ผู้เขียน สนใจเฝ้ามอง เรื่องการลอกเลียนแบบ ของคนไทย มาเกือบ ๒๐ ปีแล้ว 

          การลอกเลียนแบบของเราจะลอกเลียนทุกอย่าง แต่ไม่เห็นการพัฒนาในผลงานเนื้อใน ไม่ว่า จะเป็นงานวิชาการ งานช่างฝีมือ แม้แต่ งานการตลาดค้าขาย ฯลฯ เป็นเพราะเหตุใด? การกำหนดกรอบความคิดในครอบครัวตั้งแต่วัยเด็ก  ตามมาด้วย การศึกษา  การทำงาน  ในช่วงชีวิตคน ใช่หรือไม่?  ในยุคที่นิยมใส่ตรรกะในความคิด มากกว่า ใช้ศิลปะ ทำให้คนไร้สามารถในการเปิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์...

          ชาวตะวันตกที่ พวกเรายกย่อง มีความแตกต่าง ในเรื่องดังกล่าว อย่างน้อยไม่ได้กำหนดกรอบความคิดในครอบครัว โอกาสในการคิดนอกกรอบ จึงมี...

          ที่น่าสนใจ คือ จีน ว่าที่มหาอำนาจใหม่นั้น ขึ้นชื่อ เรื่องการลอกเลียนแบบได้อย่างรวดเร็วที่สุดในโลก มีทั้ง แบบเหมือนเป๊ะ เปลี่ยนแปลงเล็กน้อย เพื่อหลีกเลี่ยงลิขสิทธิ์ และ การลอกเลียนแบบที่พัฒนาดีกว่าต้นฉบับ เพราะ เขาคิดลึกซึ้ง เพื่อประโยชน์ การลดเวลาในการใช้ความคิด และการพัฒนาต่อยอดเพื่อสิ่งที่ดีกว่า นั่นคือ มีการกำหนดวัตถุประสงค์ ก่อนทำการลอกเลียนแบบ 

ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า เราสบายๆ แบบไร้วัตถุประสงค์ เช่นนั้น

          การประท้วงทางการเมืองในอดีต  เสื้อเหลืองมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์มากมาย จนทีมผู้นำประท้วงประหลาดใจ ต่อมา การประท้วงเสื้อแดง ลอกเลียนแบบเสื้อเหลือง แต่ใช้วัฒนธรรมระดับรากหญ้าเข้ามาผสมผสานตามระดับคน  ต่อมา การประท้วงแนวลุงกำนัน เป็นการพัฒนาต่อยอด   ปัจจุบันนี้ ความพยายามให้เกิดการประท้วงโดย นักเรียนนักศึกษา ล้วนเลียนแบบต่างประเทศ และลอกเลียนยุคเก่ารุ่น ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖  คนยุคใหม่น่าจะมีความคิดสร้างสรรค์มากกว่ายุคเก่า สมมุติฐานนี้ไม่ถูกต้อง

          การประท้วงทางการเมือง ที่เป็นการประท้วงจริง มีโอกาสเกิดสิ่งใหม่ๆที่สร้างสรรค์ คล้ายการเกิดสงคราม เพราะเป็นเรื่องที่ ต้องทำให้ได้ ต้องผ่านความยากลำบาก

          เด็กๆที่ถูกเลี้ยงดูอย่างประคบประหงม ไม่ผ่านความยากลำบาก ก็ถือว่าถูกตีกรอบความคิดในวัยเด็กแล้ว  ช่วงหลัง เราจะได้เห็นคลิปวีดีโอ เด็กเล็กๆของจีน ทำงานบ้าน ปรุงอาหาร ช่วยพ่อแม่ ครอบครัวทำงาน นั่นเป็นแนวทางการสร้างคนในระดับหนึ่ง  เด็กไทย เป็นอย่างไร? ต้องเข้าหลักสูตร ตามกระแสฯ  ใช้เทคโนโลยีกับเด็ก จนกลายเป็นโทษ กลายเป็น ผู้ใหญ่ไร้ความสร้างสรรค์ ในการสร้างเด็กๆให้เป็นผู้ใหญ่ ที่มีศักยภาพ     แต่มีจำนวนหนึ่งที่แตกต่าง บางครอบครัว สามารถสร้าง เด็กแบบคุณภาพคับแก้ว  หาได้ในบ้านเรา เช่นกัน แต่กระแสสังคมเดิม มักนิยม สร้างข่าวให้กับ เปลือกนอกที่สวยงาม มากกว่า ส่งเสริมคนมีพลังจากเนื้อใน  จึงจำเป็นต้องยอมรับปัญหาต่างๆที่พอกพูนทับถมมากขึ้นเรื่อยๆ

          การลอกเลียนแบบไม่เป๊ะจริงอย่างไทยๆเรา ผู้ลอกเลียนแบบมักลืมไปเสมอ ที่จะคิดถึงจิตใจ เจ้าของต้นฉบับ สุดท้ายก็ไร้การต่อยอดใดๆจากสิ่งนั้น นั่นเพราะไร้วัตถุประสงค์  ผู้เขียนเคยถ่ายภาพอาหาร เพื่อขายออนไลน์  ใน ๒ ท้องที่ และได้รับความนิยมจากลูกค้ามาก จะได้เห็น ผู้ลอกเลียนแบบการถ่ายภาพ โฆษณาทันที ๔-๕ ราย  จนผู้เขียนเกิดไอเดีย อยากไปสอนเขาที่บ้านจริงๆ ให้สร้างเอกลักษณ์ของตนเอง ผู้เขียนได้ข้อมูลจากลูกค้าว่า ผู้ขายบางราย ส่งสินค้าไม่ตรงรูปภาพ นี่เป็นหลักจรรยาบรรณหนึ่งในการค้าออนไลน์ แต่ผู้ลอกเลียนแบบแค่พึงพอใจต้นฉบับ แล้วทำการขาย โดยขาดความเข้าใจเรื่องกระบวนการค้าแบบนี้จนจบ  ทำให้เกิดความไม่ไว้วางใจจากลูกค้า แต่ผู้กระทำ คงไม่ได้คิดไกลเพียงนั้น  บางคนก็ลอกเลียนแบบต้นฉบับเพื่อความสนุก  ต่างๆนานาเหล่านี้ล้วนเป็นเหตุ ให้ผู้เขียน ได้ทบทวน และบันทึก เรื่องราวนี้...

หมายเลขบันทึก: 677999เขียนเมื่อ 18 มิถุนายน 2020 10:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 สิงหาคม 2023 12:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท