การสรรหาคณบดี



ผมได้แนวความคิดในการเขียนบันทึกนี้จากการร่วมประชุมสภา มช. เมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๖๓    จากการที่มีวาระเรื่อง แผนปฏิบัติงานระยะ ๔ ปี ของคณบดีคณะมนุษยศาสตร์    ที่กรรมการสภาฯ ให้ความเห็นไปในทางที่ก้าวหน้ามาก    มีการพูดถึง transformation ของมนุษยศาสตร์    รวมทั้การบูรณาการศาสตร์นี้เข้ากับศาสตร์อื่น และเข้ากับชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน   

ทำให้ผมเกิดความคิดว่า เรื่องที่สภามหาวิทยาลัยแนะนำควรมาก่อนการสรรหาบุคคลมาทำหน้าที่คณบดี    เพราะภารกิจที่สภาแนะนำต้องการคนที่มีจริตเป็น change agent หรือ leader มาทำหน้าที่บริหาร จึงจะทำงานนี้ได้สำเร็จ    ไม่ใช่มอบให้คนที่เป็นนักบริหารตามปกติเป็นผู้รับภาระ  

กล่าวใหม่ งานที่สภาฯยุให้ท่านคณบดีทำในวันนี้    เป็นงานที่มีความท้าทายสูงมาก    ควรจะเป็นข้อตกลงก่อนการสรรหา จึงจะเป็นธรรมทั้งต่อบุคคลที่อาสาเข้ามาทำหน้าที่    และเป็นธรรมต่อสถาบัน คือ มช.   และเพื่อให้ในการสรรหาเน้นเลือกคนที่จะมาบริหารการเปลี่ยนแปลงแบบ radical change หรือ transformation    ใช่คนที่จะมาทำหน้าที่บริหารแบบเดิมๆ บวกกับการพัฒนาเล็กๆ น้อยๆ   

ทำให้เกิดความคิดว่า สภามหาวิทยาลัยควรระดมความคิด เรื่องการ transform บางคณะ ที่คิดว่า ต้องการ radical change    ก่อนมีการสรรหาคณบดี    เพื่อนำความเห็นของสภาไปใช้ในการสรรหาคนที่เหมาะสมมาทำหน้าที่    และเพื่อให้ผู้อาสาเข้ามาทำหน้าที่รู้ตัวล่วงหน้าว่าจะต้องเข้าไปทำอะไร

วิจารณ์ พานิช

๒๕ เม.ย. ๖๓

 

หมายเลขบันทึก: 677623เขียนเมื่อ 25 พฤษภาคม 2020 19:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2020 19:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท