นิเทศการสอนออนไลน์ ครั้งที่ 1 การสอนที่ต้องปรับเปลี่ยน


                                  นิเทศการสอนออนไลน์ ครั้งที่ 1 การสอนที่ต้องปรับเปลี่ยน

                 การสอนผ่านระบบออนไลน์แม้จะไม่ใช่นวัตกรรมใหม่ในการจัดการเรียนรู้ หลายสถาบันจัดการเรียนรู้ผ่านรูปแบบนี้ประสพความสำเร็จมาแล้ว แต่เมื่อ สพฐ นำมาใช้กลับกลายเป็นประเด็นทางสังคมที่มีมุมมองหลากหลาย ระดับบริหารกลับตัวแทบไม่ทันจะด้วยคนรายงานการให้ข้อมูลหรืออะไรก็ตามและสิ่งที่ระดับเขตพื้นที่กำลังดำเนินการแม้จะไม่เกิดความสับสน แต่โรงเรียนก็ประสพปัญหา ผู้ปกครองก็รู้สึกเพิ่มภาระงานและเพิ่มค่าใช้จ่ายในการจัดหาอุปกรณ์ หรือแม้แต่ค่าอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง 

                 จากการออกนิเทศติดตามการจัดการเรียนการสอนในสัปดาห์แรก แยกเป็นประเด็นด้านการบริหารจัดการของโรงเรียน ผู้ปกครอง นักเรียน อุปกรณ์ และบรรยากาศในการจัดการเรียนรู้ ดังนี้ 

               ด้านการบริหารจัดการของโรงเรียน โรงเรียนมีการชี้แจงผู้ปกครองในเหตุผลและความจำเป็นของการจัดการเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ ครูสำรวจความพร้อมของผู้ปกครองว่ามีความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนมากน้อยเพียงใด ครูจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ มอบสื่อ ใบงานใบความรู้ ชุดฝึกต่างๆให้ผู้ปกครอง ครูติดตามการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง 

               ด้านผู้ปกครอง ยังขาดความรู้ความเข้าใจการสอนผ่านออนไลน์ ขาดวัสดุอุปกรณ์เช่นโทรทัศน์ โทศัพท์สมาร์ทโฟน ไม่มีความรู้ด้านเนื้อหา ไม่มีเวลาสอนต้องประกอบอาชีพ จึงถือว่าการสอนออนไลน์เป็นปัญหาและอุปสรรคอย่างยิ่งสำหรับนักเรียน แม้ว่าครูจะใช้สื่อใบงานก็ยังไม่ดีพอทีจะทำให้นักเรียนสนใจหรือเกิดการเรียนรู้เพราะธรรมชาติของเด็กประถม และธรรมชาติในรายวิชาที่มีความแตกต่างในการจัดการเรียนรู้ ด้านนักเรียน จากการสังเกตสอบถามผู้ปกครองส่วนใหญ่เห็นว่านักเรียนจะขาดแรงจูงใจในการเรียนรู้ ไม่มีความกระตือรื้นร้น จะด้วยอะไรก็ตามที่เป็นปัญหาหรืออุปสรรคแสดงว่า ครู ผู้ปกครองต้องกระตุ้น ส่งเสริมให้นักเรียนอยากรู้อยากเรียน (แม้ว่าช่วงนี้จะเป็นแค่การทดลองเรียน) หรือให้เรียนรู้ผ่านชีวิตจริงตามธรรมชาติของนักเรียนจะดีกว่าการยัดเยียดให้นักเรียนเรียนเนื้อหาวิชาการหน้าทีวี หรือผ่านใบงาน เปิดโอกาสให้นักเรียนเรียนรู้สิงที่ตนสนใจและเขียนรายงานข้อค้นพบ ข้อสังเกต เรื่องนั่นๆ สั้นๆครูผู้ปกครองคอยเติมเต็ม ส่วนเนื้อหาที่เป็นวิชาการเรียนรู้เมื่อไหร่ก็ทัน

              ด้านอุปกรณ์ โดยส่วนใหญ่คนชนบทขาดความพร้อมทางเทคโนโลยี อุปกรณ์การเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์จึงเป็นอุปสรรคอันดับแรกของผู้ปกครอง ทีวีรุ่นเก่า กล่องรุ่นเก่า การปรับจูนช่องสัญญาณการศึกษาต้องให้ผู้รู้หรือแม้แต่ผู้ให้บริการในกล่องหรือจานดาวเทียมยี่ห้อนั่นๆเป็นผู้ดำเนินการ การจะมาใช้แผงเพื่อรับสัญญาณช่องการศึกษาน่าจะเป็นเรื่องไม่ทันสมัย เป็นการเพิ่มภาระสำหรับผู้ปกครอง แม้แนวคิดไม่ให้ผู้ปกครองซื้อแต่ก็มีหลายครอบครัวให้ความสำคัญในการจัดหาและเอื้อเฟื้อถึงครอบครัวข้างเคียงด้วย 

              ด้านบรรยากาศการจัดกระบวนการเรียนรู้ บรรยากาศในการเรียนรู้ของนักเรียนสำหรับครอบครัวที่มีความพร้อมนักเรียนสามารถเรียนรู้ได้โดยมีผู้ปกครองดูแลอย่างใกล้ชิด แต่ครอบครัวนักเรียนที่ไม่พร้อมถือว่าไม่ประสพผลสำเร็จอย่างสิ้นเชิง นักเรียนยังวิ่งเล่นเดินเล่นหรือทำกิจกรรมอื่นที่ตนเองสนใจ(ยังถือว่าดีเกิดการเรียนรู้)แม้เราจะเชื่อว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกที่ ทุกมวลประสบการณ์คือการเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมถือว่าเกิดการเรียนรู้ดังนั้นบรรยาการที่ดีสำหรับนักเรียนระดับประถม ปฐมวัย ต้องจัดให้เหมาะสมกับความสนใจและวิธีการเรียนรู้ตามธรรมชาติในรายวิชา 

               การนิเทศครั้งที่ 1 เป็นการติดตามดูสภาพจริงและบริบทของโรงเรียน ชุมชนว่ามีความพร้อมในการจัดการเรียนรู้มากน้อยเพียงใด ผู้ปกครองในชุมชนได้สะท้อนประเด็นทางสังคมอย่างหลากหลาย ทั้งวิถีชวิตที่เปลี่ยนไปในเรื่องเศรษฐกิจการทำมาหากิน การดูแลบุตรหลาน การเพิ่มภาระค่าใช้จ่าย องค์ความรู้ที่ไม่สามารถเติมเต็มให้ลูกหลานได้ แต่ได้ฝึกความรับผิดชอบให้ลูกหลาน ฝึกการทำมาหากินหลังเรียนเรียนรู้การประกอบอาชีพร่วมกับผู้ปกครองที่สำคัญที่สุดผู้ปกครองมองว่าควรเปิดเทอมแต่โรงเรียนต้องมีมาตรการป้องกันโรคโควิด 19 อย่างเคร่งครัด

หมายเลขบันทึก: 677617เขียนเมื่อ 25 พฤษภาคม 2020 11:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2020 13:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท