อะไรคือ “การเรียนรู้ที่สำคัญ”?


สิ่งหนึ่งที่ภาระงานที่ครูต้องทำขณะออกแบบการสอนคือการตัดสินใจว่าพวกเขาต้องการให้เด็กๆเรียนรู้ หรือได้รับจากบทเรียนคืออะไร? แน่นอนว่านักเรียนเรียนบางสิ่ง แต่ครูที่ดีคือต้องการให้เด็กๆเรียนรู้เรื่องสำคัญมากกว่าไม่สำคัญ สิ่งนี้นำไปสู่คำถามที่เกี่ยวกับการสอนว่า การเรียนรู้ที่สำคัญคืออะไรบ้าง? หากเรามีหรือพัฒนาภาษาและกรอบความคิดในการบ่งชี้ถึงสิ่งที่สำคัญหลายสิ่งจนครูสามารถกำหนดการเรียนรู้ที่สำคัญและนำไปสนับสนุนและทำให้เกิดในบทเรียนที่ไปสอนเด็กๆได้

สิ่งนี้ดำรงอยู่ในความคิดจนฉันได้ปฏิบัติงาน และในที่สุดก็ก่อให้เกิดประเภทของการเรียนรู้แบบใหม่ (a new taxonomy of learning) ที่ฉันเรียกว่า “ประเภทของการเรียนรู้ที่สำคัญ” ขึ้นมา (Taxonomy of Significant Learning)

ในความคิดของฉันประเภทการเรียนรู้อันใหม่เป็นผลมาจากประเภทการเรียนรู้แบบเก่า นั่นคือประเภทการเรียนรู้ที่มีชื่อเสียง ที่ Benjamin Bloom และเพื่อนร่วมงานได้สร้างเมื่อทศวรรษ 1950 ถึงแม้ว่ากลุ่มจะแบ่งแยกออกเป็น 3 ได้แก่พุทธพิสัย, เจตพิสัย, และทักษะพิสัย แต่โดยมากครูจะเลือกพุทธพิสัยเป็นอับแรก ประเภทแบบพุทธพิสัยประกอบไปด้วยการเรียนรู้ 6 ชนิด ที่เรียงไปตามลำดับ ในที่นี้คือจากซับซ้อนที่สุดไปสู่ง่ายทีสุด

-การประเมินค่า

-การสังเคราะห์

-การวิเคราะห์

-การนำไปใช้

-ความเข้าใจ

-ความรู้ (หมายถึงการระลึกถึงความรู้ได้)

ครูสามารถใช้ประเภทการเรียนรู้แบบนี้ ซึ่งอาจเป็นกรอบโครงในการสร้างสรรค์จุดประสงค์การเรียนรู้ และเป็นพื้นฐานในการประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียน

ไม่มีคำถามถึงคุณค่ากับการแยกประเภทที่สร้างสรรค์โดย Bloom และคณะ โมเดลใดก็ตามที่ทำให้ผู้คนใช้กันมาเกือบครึ่งศตวรรษนั้นเป็นโมเดลที่ดีเลิศ อย่างไรก็ตามปัจเจกบุคคล และองค์กรทั้งหลายอย่างโรงเรียน ที่เกี่ยวข้องในจุดการประสงค์เรียนรู้ระดับสูงกำลังเรียกร้องจุดการประสงค์ที่ไม่ได้ปรากฏในการแยกประเภทของ Bloom เช่น การเรียนวิธีที่จะเรียน, ทักษะการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความเป็นผู้นำ, จริยธรรม, ทักษะการสื่อสาร, การทำตนให้เหมาะสมกับบทบาท, ความอดทน, และความสามารถในการปรับตัวเพื่อการเปลี่ยนแปลง ฯลฯ การตีความของฉันที่เกี่ยวกับจุดประสงค์เหล่านี้นั่นคือพวกเขากำลังเรียกร้องจุดประสงค์อันใหม่ หรือจุดประสงค์ที่ไปไกลกว่าการแยกประเภทของ Bloom ที่ไม่เหมือนกับพุทธพิสัย นี่คือคำแนะนำว่าเราเองต้องไปถึงจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กว้างกว่า Bloom

ด้วยการตระหนักถึงเรื่องนี้ ฉันจึงได้ทบทวนกับคำพรรณนาการสอนและการเรียนรู้ขั้นสูง และพยายามจะสร้างการแยกประเภทอันใหม่ ที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ลักษณะสำคัญ การแยกประเภทอันใหม่นี้จะแสดงให้เห็นถึงจุดประสงค์การเรียนรู้ที่สำคัญ และนำเสนอการสังเคราะห์บทสนทนากับนักเรียนและครูในจุดประสงค์อันใหม่อันนั้น

ในกระบวนการสร้างสรรค์การจัดประเภทอันใหม่ ฉันถูกนำโดยมุมมองการเรียนรู้แบบจำเพาะ นั่นคือ ฉันจะนิยามการเรียนรู้โดยการเปลี่ยนแปลง เมื่อมีการเรียนรู้เกิดขึ้น ก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงในตัวผู้เรียน หากไม่มีการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้ก็ไม่เกิดขึ้น และการเรียนรู้แบบสำคัญนั้นจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงที่ยังคงอยู่ในตัวผู้เรียน ด้วยการมีมุมมองแบบนี้ ฉันสร้างการจัดแบ่งประเภทเป็น 6 ประเภทที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ (ภาพ 2.1)

ประเภทของลำดับการเรียนรู้ใหม่

-ความรู้พื้นฐาน หมายถึง เข้าใจ และจำ ข้อมูลหรือความคิดได้

-การประยุกต์ใช้ หมายถึง การใช้ทักษะ, ความคิด ซึ่งออกเป็นความคิดเชิงปฏิบัติ, สร้างสรรค์, และวิพากษ์

-การบูรณาการ หมายถึง การรวมกันของความคิด, ผู้คน, และขอบเขตของชีวิตได้

-มิติมนุษย์ หมายถึง การเรียนรู้ตนเองและผู้อื่น

-การดูแลเอาใจใส่ หมายถึงการพัฒนาความรู้สึก, ความสนใจ, และคุณค่าใหม่ได้

-การเรียนรู้วิธีการเรียนรู้ หมายถึง การกลายมาเป็นนักเรียนที่ดีขึ้น, การสอบถามเกี่ยวกับรายวิชาหรือสิ่งที่เรียน, และผู้เรียนที่กำหนดการเรียนของตนเอง

ในแต่ละประเภทของการเรียนรู้ จะบรรจุไว้ด้วยการเรียนรู้เฉพาะทาง ซึ่งอาจเป็นค่านิยมที่ไม่คุ้นเคยกับผู้เรียน ต่อจากนี้ฉันจะได้ทบทวนการเรียนรู้แต่ประเภททั้ง 6 อย่าง และจะให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการแยกประเภทแบบใหม่นี้ด้วย

การแยกประเภทหลักๆในประเภทของการเรียนรู้ที่สำคัญ

-ความรู้พื้นฐาน ในลำดับแรกของประเภทของการเรียนรู้ที่สำคัญคือ ต้องการให้ผู้เรียน “รู้” บางสิ่งบางอย่าง คำว่า “รู้” ในที่นี้คือความสามารถของนักเรียนในการทำความเข้าใจ และจำข้อมูลและความคิดเฉพาะได้ มันเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับผู้คนในยุคนี้ที่จะมีความรู้พื้นฐานที่ถูกต้องไม่ว่าจะเป็นเรื่องวิทยาศาสตร์, ประวัติศาสตร์, วรรณคดี, ภูมิศาสตร์ และอื่นๆอีกมากมาย นักเรียนจำเป็นต้องเข้าใจความคิดและมุมมองเฉพาะ เช่น การวิวัฒนาการหมายถึงอะไร และสิ่งใดไม่ใช่วิวัฒนาการ, ทุนนิยมคืออะไร และสิ่งใดที่ไม่ใช่ทุนนิยม, และอื่นๆอีกมากมาย คุณค่าที่ต้องจำไว้ก็คือ: ความรู้พื้นฐานจะนำเสนอความเข้าใจแบบธรรมดา ที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ขั้นอื่นๆต่อไป

-การประยุกต์ การเรียนรู้ที่คุ้นเคยเกิดขึ้นเมื่อนักเรียนเรียนรู้ในการเกี่ยวข้องในสถานการณ์ใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นเชิงวิชาการ, เชิงร่างกาย, และสังคม ฯลฯ การเรียนรู้ในการเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ใหม่ หรือการคิดใหม่ๆ (เชิงวิพากษ์, เชิงสร้างสรรค์, เชิงปฏิบัติ) เป็นรูปแบบที่สำคัญในการประยุกต์ความรู้ แต่ประเภทของการเรียนรู้ที่สำคัญจะรวมไปถึงทักษะในการพัฒนาอื่นๆด้วย เช่น ทักษะการสื่อสาร และการเล่นเปียโน หรือเรียนรู้ในการจัดการกับโครงงานที่สลับซับซ้อน คุณค่าที่ต้องจดจำไว้สำหรับการประยุกต์ใช้ก็คือ: การเรียนรู้เพื่อการประยุกต์ใช้จะทำให้การเรียนรู้อื่นๆมีประโยชน์

-การบูรณาการ เมื่อนักเรียนมีความสามารถที่จะเห็นและเข้าใจความเชื่อมโยงเกี่ยวกับสิ่งต่างๆหลายสิ่ง ก็แสดงว่าพวกเขาเข้าใจเกี่ยวกับการบูรณาการแล้ว บางครั้งพวกนักเรียนสามารถทำการเชื่อมโยงระหว่างความคิดที่เฉพาะเจาะจง, ระหว่างขอบเขตของความคิด, ระหว่างความเชื่อมโยงของผู้คน และหรือระหว่างขอบเขตของชีวิต เช่น ระหว่างโรงเรียนกับชีวิต หรือระหว่างโรงเรียนกับการใช้เวลาว่าง คุณค่าที่ต้องจดจำไว้สำหรับการบูรณาการก็คือ: ความสามารถในการเชื่อมโยงใหม่ๆจะทำให้ผู้เรียนมีอำนาจเหนือบางสิ่ง นั่นคือความสามารถเชิงวิชาการ

-มิติมนุษย์ เมื่อนักเรียนเรียนรู้บางสิ่งที่สำคัญกับตนเองและผู้อื่น มันจะนำให้พวกเขามีปฏิสัมพันธ์อย่างมีประสิทธิภาพกับตนเองและผู้อื่นด้วย พวกเขาจะค้นพบนัยยะเกี่ยวกับตนเองและสังคมกับสิ่งที่พวกเขาได้เรียนรู้ สิ่งที่พวกเขาเรียนรู้และวิธีการที่พวกเขาได้เรียนจะให้ความเข้าใจอันใหม่เกี่ยวกับตนเอง (ภาพลักษณ์ของตนเอง) หรือภาพลักษณ์อันใหม่ที่พวกเขาต้องการจะเป็น (ภาพลักษณ์เชิงอุดมคติ) และนักเรียนได้รับความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับผู้อื่น ในแง่ที่ว่า อย่างไรและทำไมคนอื่นๆจึงกระทำอย่างที่พวกเขาทำ หรือนักเรียนจะมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ คุณค่าที่ต้องจดจำไว้สำหรับมิติมนุษย์ก็คือ: การเรียนรู้อันนี้จะให้ความสัมพันธ์กับคุณค่าของมนุษย์

-การดูแลเอาใจใส่ บางครั้งประสบการณ์การเรียนรู้แบบนี้เปลี่ยนระดับความสามารถที่จะนักเรียนจะเอาใจใส่บางสิ่งบางอย่างได้ สิ่งนี้จะสะท้อนจากรูปแบบของความรู้สึก, ความสนใจ, และหรือคุณค่าอันใหม่ๆ ไม่ว่าการเปลี่ยนแปลงจะเกิดแบบไหนก็ตาม ก็หมายความถึงนักเรียนเอาใจใส่บางสิ่งที่มากกว่าเมื่อก่อนนี้ คุณค่าที่ต้องจดจำไว้สำหรับการดูแลเอาใจใส่ก็คือ: เมื่อนักเรียนเอาใจใส่บางสิ่ง ก็หมายความว่าพวกเขามีพลังในการเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้น และทำให้บางสิ่งเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต หากไม่มีพลังในการเรียนรู้แล้ว ก็ไม่มีสิ่งใดมีความหมายในการเรียน

-การเรียนรู้วิธีการเรียนรู้ สิ่งนี้เกิดขึ้น เมื่อนักเรียนเรียนรู้บางสิ่งเกี่ยวกับกระบวนการการเรียนรู้ของตนเอง พวกเขาอาจเป็นนักเรียนที่ดีขึ้น, วิธีการเกี่ยวข้องกับการถามบางประเภท เช่น การใช้วิธีการแบบวิทยาศาสตร์, หรือการเป็นผู้เรียนที่เรียนรู้ด้วยตนเอง และทั้งหมดนี้เป็นรูปแบบที่สำคัญในการเรียนรู้ด้วยตนเอง คุณค่าที่ต้องจดจำไว้สำหรับวิธีการเรียนรู้ด้วยตนเองก็คือ: จุดประสงค์การเรียนรู้แบบนี้กระตุ้นให้นักเรียนทำการเรียนต่อไปในอนาคต และทำอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย

ธรรมชาติที่มีการกระทำระหว่างกันของการเรียนรู้ที่สำคัญ

ลักษณะหนึ่งที่สำคัญของการแยกประเภทนี้คือมันไม่ใช่เป็นลำดับขั้นตอน แต่เป็นเชิงเทียบเคียงและมีปฏิสัมพันธ์กันมากกว่า แผนภาพที่ 2.2 แสดงตัวอย่างให้เห็นถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างประเภททั้ง 6 ขั้น แผนภาพที่มีพลวัต จึงตั้งใจแสดงการเรียนแต่ละขั้นที่มีปฏิสัมพันธ์ และการที่นักเรียนคนใดประสบความสำเร็จในประเภทใดมีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จในการเรียนรู้อื่นๆด้วย ทำไมสิ่งนี้จึงสำคัญหละ?

คุณลักษณ์การมีปฏิสัมพันธ์เป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับครู เพราะมันหมายความว่าการเรียนรู้แต่ละประเภทนั้นมีการทำงานร่วมกัน ในทางกลับกัน การสอนจึงไม่ได้หมายถึงเกมผลรวมเป็นศูนย์ (หมายความต้องมีผู้ชนะและผู้แพ้) นั่นคือครูจะไม่ยกเลิกจุดประสงค์ที่สอนอยู่ เพื่อให้ได้จุดประสงค์อันใหม่ที่ซับซ้อนกว่าเดิม กล่าวให้ง่ายๆก็คือครูหาวิธีการในการให้นักเรียนบรรลุจุดประสงค์อันหนึ่ง สิ่งนี้จะกระตุ้น มิใช่ลดทอน ให้เด็กๆประสบผลสำเร็จกับจุดประสงค์อันอื่นๆด้วย เช่น หากครูหาวิธีการในการสอนเด็กๆให้รู้จักการใช้ข้อมูลและสังกัปเพื่อแก้ปัญหาบางอย่าง (การเรียนรู้การประยุกต์ใช้) การทำให้เด็กๆตื่นเต้นเกี่ยวกับคุณค่าของคนอื่นๆก็เป็นสิ่งที่ง่ายๆ (การเอาใจใส่) หรือการที่นักเรียนเรียนรู้การเชื่อมโยงระหว่างวิชากับความคิดหรือวิชาอื่นๆ (การบูรณาการ) การทำให้นักเรียนเห็นความสำคัญของสื่อการสอนเพื่อตนเองและคนอื่นๆก็เป็นสิ่งที่ง่ายๆ (มิติมนุษย์) เมื่อบทเรียน หรือประสบการณ์เรียนรู้มีความสามารถในการนำเสนอจุดประสงค์การเรียนรู้ 6 อย่าง เราก็จะได้ประสบการเรียนรู้ที่มีความสำคัญ

สรุปข้อคิดเห็น

หากเราย้อนกลับไปถึงคำถามที่ว่า “อะไรคือการเรียนรู้ที่สำคัญ?” คำตอบอยู่ที่ตรงนี้ : การเรียนรู้ใดๆที่มีเพียงหนึ่ง หรือหลายๆอย่างของจุดประสงค์การเรียนรู้ ซึ่งได้แก่ ความรู้พื้นฐาน, การเรียนรู้การประยุกต์ใช้, การบูรณาการ, การเรียนรู้มิติมนุษย์, การเอาใจใส่ดูแล, และการเรียนวิธีการเรียนรู้ด้วยตนเอง

ยิ่งจุดประสงค์การเรียนรู้หลายอย่างนี้เกิดบ่อยครั้งมากขึ้นเท่าใด ก็ยิ่งทำให้ประสบการณ์เรียนรู้สำคัญมากขึ้นเท่านั้น แต่ประสบการณ์เรียนที่สำคัญที่สุดคือการให้นักเรียนได้รับจุดประสงค์ทั้ง 6 ข้อพร้อมๆกัน และสิ่งนี้มีโอกาสเป็นไปได้ หากครูดำเนินการออกแบบบทเรียนอย่างมีประสิทธิภาพโดยการมีจุดประสงค์ไว้ในใจ นั่นคือสิ่งที่เราเรียกว่า ความสามารถพิเศษใน “การออกแบบบทเรียนเชิงบูรณาการ”

แปลและเรียบเรียงข้อมูลจาก

Dr. L. Dee Fink. WHAT IS “SIGNIFICANT LEARNING”?. Pdf.

หมายเลขบันทึก: 677620เขียนเมื่อ 25 พฤษภาคม 2020 18:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2020 18:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท