ภาษากับสมอง



บทความเรื่อง The Language You Speak Influences Where Your Attention Goes  เขียนโดย Viorica Marion  ศาสตราจารย์เกียรติยศด้าน communication sciences and disorders  และศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยา มหาวิทยาลัย นอร์ธเวสเทิร์น    นำผมสู่ศาสตร์ที่เรียกว่า psycholinguistics   เชื่อมภาษาศาสตร์กับจิตวิทยา    ซึ่งที่จริงเรารู้กันมานานแล้วว่า ภาษากับจิตใจมันเชื่อมกัน

สาระในบทความบอกว่าคำพูดของเราหรือที่เราได้ยิน มีผลต่อการเคลื่อนไหวของลูกตา (eye movement)   และเชื่อมโยงไปยังระบบประสาทส่วนอื่นๆ ได้แก่การมอง  ความสนใจ  และการควบคุมการรับรู้    กล่าวใหม่ว่า ภาษาที่เราใช้ มีผลต่อพฤติกรรมหลากหลายด้านของเรา   

ความเข้าใจนี้มีผลต่อความเข้าใจลึกๆ ด้านพฤติกรรมของมนุษย์ ซึ่งมีความหมายต่อพฤติกรรมการบริโภค  พฤติกรรมในสนามรบ  และด้านการเสพศิลปะ    

ทำให้ผมคิดเชื่อมภาษาพูดกับภาษากาย    หรือวัจนะภาษากับอวัจนะภาษา ที่เป็นการสื่อสารเช่นเดียวกัน    ในหลายกรณีผู้สื่อสื่ออวัจนะภาษาออกไปโดยไม่รู้ตัว  แต่ผู้รับสามารถรับรู้ได้    ต่อไปในยุคติดตั้ง sensor ทั่วไป    และมีโปรแกรมรับรู้ใบหน้า สีหน้า และท่าทาง    สิ่งที่เราสื่อออกมาโดยไม่รู้ตัวก็จะเป็นที่รับรู้กว้างขวางขึ้น    การเก็บความรู้สึกจะยากขึ้นทุกวัน

วิจารณ์ พานิช

๓๑ มี.ค. ๖๓

 

หมายเลขบันทึก: 677209เขียนเมื่อ 27 เมษายน 2020 17:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 เมษายน 2020 17:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท