ไนโตรซามีน สารก่อมะเร็ง ส่งวิเคราะห์ได้แล้วที่ OSIT ม.สงขลานครินทร์


แม้จะต้องระวังโควิด-19 กันอยู่ แต่เราก็ยังจำเป็นต้องมีความปลอดภัยในการรับประทานอาหารที่อาจมีสารก่อมะเร็งปนเปื้อนกันอยู่ทุกวันนะคะ

อาหารหลายประเภทที่มีโปรตีนเป็นองค์ประกอบ เช่น แหนม ไส้กรอก หรือแม้แต่ปลาร้า หากนำมาให้ความร้อนสูง เช่น ทอด อบ จนไหม้เกรียม อาจเป็นสาเหตุให้เกิดสารประกอบไนโตรซามีนซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งประเภทหนึ่งได้ หรือแม้แต่ในผลิตภัณฑ์ที่มาจากน้ำยางพารา หากมีโปรตีนหรือสารที่เป็นที่มาของสารไนโตรซามีน หากผลิตผลิตภัณฑ์ที่ใช้โดยการสัมผัสกับร่างกายก็ต้องตรวจสอบจนมั่นใจก่อนการส่งออกจำหน่าย

สำนักเครื่องมือวิทยาศาสตร์และการทดสอบ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (เดิม ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์) เป็นหน่วยงานไม่กี่แห่งในประเทศไทย ที่มีเครื่อง GC-TEA (Gas Chromatograph - Thermal Energy Analyser) ซึ่งสามารถให้บริการการวิเคราะห์สารประเภทนี้ได้ค่ะ

หากท่านต้องการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารหรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ต้องการสร้างความมั่นใจให้ลูกค้า สามารถติดต่อส่งตัวอย่างวิเคราะห์ได้ที่

สำนักเครื่องมือวิทยาศาสตร์และการทดสอบ ชั้น 1 อาคารบริหารวิชาการรวม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110

โทรศัพท์ 074-286904-7, 074-286910

E-mail: [email protected]

หมายเลขบันทึก: 675988เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2020 15:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มีนาคม 2020 15:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท