5.สาระมหายาน



    ลักษณะจำเพาะของสัตว์โลกในสังสารวัฏ  แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม  1.กลุ่มหยาบช้า  2.กลุ่มหยาบช้ากว่า  3.กลุ่มประณีต  4. กลุ่มประณีตกว่า  ด้วยสิ่งที่คนทั่วไปเห็นได้คือรูปกายส่วนหยาบเรียกว่า  กายนิรมิต  ซึ่งเป็นรูปกายเหมือนกับตัวผู้รับรู้

        แง่แนวคิดตรีกายของพระพุทธเจ้าคือ

  1.องค์ธรรมกาย คือกายของตถตาบริสุทธิ์ , อัตตาปรมัตถ์ , ตถตาครรภะ

 2.องค์สัมโภคกาย คือกายของพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย เป็นกายของผู้สร้างความสุขความดี

3. องค์นิรมานกายคือกายของคนทั่วไปหรือกายนิรมิต

        แนวคิดโลกทั้ง 6 ที่หมู่สัตว์จะไปเวียนว่ายตายเกิดด้วยพลังกรรมของตนคือ  โลกแห่งนรก  โลกแห่งเปรต  โลกแห่งสัตว์ดิรัฐฉาน  โลกแห่งอสุรกาย  โลกแห่งมนุษย์  และโลกแห่งเทพเทวดา  ตราบใดที่บรรดาสัตว์ยังทำกรรมอยู่ก็ยังคงเวียนว่ายตายเกิดในโลกทั้ง 6 นี้ซึ่งเป็นอาณาจักรสังสารวัฏ

        แนวคิดขันธ์ 5 ย่อลงเป็นรูปกับนาม  หรือ อารมณ์กับจิต  คนมีความเห็นผิดเพราะเชื่อว่าขันธ์ 5 เป็นของจริง  แต่สิ่งแท้จริงแล้วไร้วัตถุภายนอกที่มีตัวตนอยู่จริง  เพราะวัตุทั้งสิ้นล้วนเป็นจิตมาแต่แรกเริ่ม  เมื่อมายาเกิดขึ้นแล้ว  วัตถุทั้งสิ้นที่คิดว่าเป็นของจริงก็เกิดขึ้น  ต่อเมื่อจิตเป็นอิสระจากมายาแล้ว  วัตถุเหล่านั้นก็หายไปสิ้นเหลือเพียงจิตเดิมแท้เพียงหนึ่งเดียวที่แผ่ซ่านไปทั่วจักรวาล

        แนวคิดพระโพธิสัตว์สามารถไปสู่โลกธาตุทั่วจักรวาลได้ชั่วขณะจิตเดียว  เพื่อเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายเพื่อฟังธรรม  เมื่อพระโพธิสัตว์ทั้งหลายได้หยั่งรู้ธรรมกายแล้วล้วนแต่เป็นเอกะหนึ่งเดียวกับตถตา

        แนวคิดธรรมกายถือว่าเป็นสภาวะเนื้อแท้ของรูปกายเป็นเอกภาพกับโพธิญาณ  รูปกายของธรรมกายนั้นไร้ขอบเขตแผ่ซ่านไปทุกหนแห่ง  ตั้งแต่ต้นเค้าเดิมรูปกายและจิตไม่ใช่ของสองสิ่งเพราะธรรมกายเป็นนามกาย  คือจิตหนึ่งเดียวมาแต่ดั้งเดิมอยู่พ้นความนึกคิด คนดิบยังรับรู้อารมณ์ทั้งหลายที่เป็นมายาภาพ  พระพุทธเจ้าทั้งหลายล้วนเป็นอิสระภาพจากความนึกคิดใด ๆ ด้วยจิตของสัตว์โลกเป็นเสมือนกระจกเงา  หากมีผงฝุ่นธุลีเกาะติดกระจกอยู่จะไม่สะท้อนภาพเงาออกมาได้  เหมือนธรรมกายจะไม่เกิดกับจิตคนทั่วไปที่ติดผงฝุ่นธุลีคือความอยากหรือกิเลสบดบังไว้.

หมายเลขบันทึก: 675983เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2020 10:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มีนาคม 2020 10:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณครับ คุณ ศุภณัฐ เจตน์ครองสุข

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท