Reflection 3 สะท้อนการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 10+13


สถานที่ : โรงพยาบาลหลวงพ่อเปิ่น

กิจกรรมที่ได้ไปทำรู้สึกอย่างไร   

               ตอนแรกคิดว่าน่าจะเป็นแค่โรงพยาบาลเล็กๆธรรมดาไม่มีไรน่าสนใจ แต่จริงๆแล้วไม่ใช่เลย ที่โรงพยาบาลนี้มีจุดแข็งในเรื่องของการฟื้นฟูผู้ป่วย ทั้งกายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด แพทย์แผนไทย แพทย์แผนจีน เพื่อสร้างจุดแตกต่างให้กับโรงพยาบาล มีการลงเยี่ยมชุมชน อีกทั้งยังมีการทำงานร่วมกับทีมIL ประทับใจทั้งตัวพี่ทีมILคนแรกที่มาติดต่อกับทางโรงพยาบาลรวมถึงโรงพยาบาลที่ให้โอกาสได้ลองทำ ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่เรื่องง่ายและต้องใช้เวลากว่าจะสามารถเชื่อกันได้เท่านี้แต่ผลที่ได้รับกลับมานั้นคุ้มค่า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการลงชุมชนหาคนที่สนใจในIL รวมถึงสร้างบ้านจำลองสำหรับให้ผู้พิการที่ได้รับการฟื้นฟูแล้วได้ลองใช้ก่อนไปใช้ชีวิตอยู่จริงที่บ้านทั้งเป็นการลองฝึกก่อนและเป็นแนวทางเผื่อต้องการนำไปปรับปรุงแก้ไขบ้านของตนเองและมีการลงชุมชนเพื่อหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ นักศึกษาเองได้มีโอกาสลองเข้าไปดูภายในบ้านเป็นบ้านที่ออกแบบมาได้ดีและเหมาะสมกับผู้พิการมากๆ ทางโรงพยาบาลบอกว่าออกแบบโดยพี่คนหนึ่งในทีมIL ฟังครั้งแรกรู้สึกตกใจเล็กน้อยแต่ไม่ใช่การตกใจแบบรู้สึกแย่ เป็นการตกใจแบบอัศจรรย์ใจมากกว่าเป็นการแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าพี่ทีมIL สามารถดำรงชีวิตได้อย่างอิสระจริงๆ ใช้ความสามารถทางความคิดก้าวผ่านอุปสรรคทางด้านร่างกาย(ยิ่งทางโรงพยาบาลมีการสนับสนุน) ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีและเป็นประโยชน์ต่อผู้พิการคนอื่นๆ และนอกจากนี้ยังมีโอกาสได้ลงเยี่ยมชุมชนกับพี่นักกายภาพของโรงพยาบาลไปบ้านลุง อ.(นามสมมติ) ครั้งนี้แทบไม่ได้ทำอะไรเหมือนเคยแม้ว่าจะเรียนมาแต่พอถึงเวลาจริงก็ไม่กล้าทำ แต่คราวนี้ไม่ได้รู้สึกอึดอัดเหมือนครั้งก่อนนับว่าเป็นความก้าวหน้าที่ดีขึ้นแม้จะเพียงเล็กน้อยอาจเพราะมีเคยลงชุมชนมาแล้ว การมีโรงเรียนผู้สูงอายุ(โรงเรียนผู้สูงอายุบางระกำ)ที่ทางโรงพยาบาลได้ส่งทั้งนักกิจกรรมบำบัดและนักกายภาพบำบัดไปมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมให้ความรู้และส่งเสริมสุขภาพแก่ผู้สูงอายุ เป็นอีกครั้งที่ได้มีโอกาสจัดกิจกรรมให้ผู้สูงอายุเพื่อส่งเสริมcognition กิจกรรมที่คิดไปคือให้อุปกรณ์ไปแล้วจะปรับอุปกรณ์ยังไงก็ได้ให้ตักเกลือได้เยอะที่สุด ก่อนทำกิจกรรมพอทราบมาบ้างว่าส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุติดสังคมซึ่งจะเคลื่อนไหวได้ค่อนข้างคล่องตัว มั่นคง และชอบทำกิจกรรม เคยไปทำกิจกรรมกับผู้สูงอายุมาหลายครั้ง(ส่วนใหญ่ติดเตียง)ไม่ได้คาดหวังอะไรมากแค่ผู้สูงอายุร่วมมือทำกิจกรรมก็ดีใจแล้ว แต่พอได้เจอจริงๆผู้สูงอายุสนุกมากให้การร่วมมือในการทำกิจกรรมอย่างดี มีความสุขไปกับการทำกิจกรรมที่เตรียมให้และยังเตรียมกิจกรรมรอกกะลาไว้ให้นักศึกษาได้ลองทำด้วย ตอนที่อาสาออกไปทำดูเหมือนง่ายๆไม่ใช้แรงอะไรมากเพราะเห็นว่าผู้สูงอายุเองทำได้สบายๆ แต่ความจริงไม่ใช่เลยรู้สึกได้เลยว่าอุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น หายใจถี่ขึ้น เหนื่อยกว่าที่คิดไว้ ตอนช่วงท้ายมีการจัดให้ผู้สูงอายุนั่งพูดคุยเล่าเรื่องราวในอดีตให้ฟัง ขณะนั่งฟังผู้สูงอายุเล่าเรื่องราวในอดีตอย่างมีความสุขก็รู้สึกมีความสุขไปด้วย สิ่งที่ภูมิใจ สิ่งที่ชอบ รู้สึกเหมือนเราเป็นลูกหลานคนหนึ่งที่ได้ไปนั่งฟังคุณตาคุณยายเล่าเรื่องในสมัยก่อนให้ฟัง เห็นความแตกต่างของยุคสมัยและมุมมองที่มีต่อยุคสมัยใหม่และต่อด้วยการประเมินCognitionด้านความจำและการวางแผน การประเมินวันนี้รู้สึกดีมาก ครั้งนี้ไม่ใช่แค่การประเมินเพื่อเอาผลเก็บสถิติแต่มีการแนะนำวิธี/กิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมความจำและการวางแผนด้วย และผลที่ประเมินได้ก็ส่งต่อให้พี่นักกิจกรรมบำบัดของโรงพยาบาลหลวงพ่อเปิ่นดูเพื่อเตรียมจัดกิจกรรมให้ผู้สูงอายุในคราวหน้า

ได้เรียนรู้อะไรจากการไปทำกิจกรรม

       -IL ย่อมาจาก Independent Living การดำรงชีวิตอิสระของคนพิการ คือ การที่คนพิการสามารถกำหนดแนวทางการดำรงชีวิตของตัวเองได้อย่างสมศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ โดยไม่ขึ้นอยู่กับความพิการว่าจะรุนแรงมากน้อยแค่ไหน และให้ผู้อื่นช่วยเหลือเท่าที่จำเป็น

      -การทำงานร่วมกันระหว่างทีมทางการแพทย์และทีมIL ในการลงไปเยี่ยมชุมชน เพราะเป็นการทำงานร่วมกันของหลายๆวิชาชีพ จึงทำให้การลงไปเยี่ยมชุมชนทำได้ดี โดยเฉพาะตอนที่ตามหาผู้พิการที่จะมาเป็นส่วนหนึ่งของIL แสดงให้เห็นถึงความเข้าอกเข้าใจผู้พิการเหมือนกันตอนทีมILลงไปเยี่ยมบ้านและส่งต่อให้กับทางโรงพยาบาลรักษาดูแลหรือให้การช่วยเหลือในส่วนที่ขาดทำให้มีผู้พิการที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นหลายคนในชุมชน เป็นความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากการทำงานร่วมกันของทั้ง 2 ฝ่าย

      -ผู้สูงอายุแม้มีสุขภาพดีอยู่แล้วแต่ถ้าได้รับการส่งเสริมก็จะยิ่งทำให้ดีขึ้นไปอีก

นำไปพัฒนาในวิชาชีพกิจกรรมบำบัดอย่างไร

      -การทำงานเป็นทีมจากความสามารถของหลายๆฝ่ายหลายๆวิชาชีพย่อมทำได้ดีในการเข้าถึง/รักษาผู้รับบริการได้มากยิ่งขึ้น สิ่งที่ต้องเอาไปปรับกับตัวเองคือการทำให้ตัวเองมีความรู้และพยายามมากขึ้นเพื่อที่เมื่อได้ไปอยู่ในทีมลงชุมชนครั้งหน้าจะใช้ความรู้ที่เรียนมาช่วยเหลือคนอื่นได้ และต้องกล้าลงมือทำอย่ามั่วแต่คอยโอกาส โอกาสไม่เดินมาหาเราต้องเดินไปหามัน

      -อย่าด่วนตัดสินอะไรไปก่อนที่เราทำแต่ละครั้งผลลัพธ์อาจจะไม่เหมือนกันและตัวผู้รับบริการเองก็ไม่ได้เหมือนกันทุกคน

หมายเลขบันทึก: 675009เขียนเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2020 20:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2020 22:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท